ASTVผู้จัดการรายวัน - "จารุพงศ์" ดันฝันเป็นจริงลดต้นทุนลอจิสติกส์ประเทศลง 2% ใน 4-5 ปี ขู่ตัดงบโครงการเป้าหมายไม่ชัด ชี้ทำไม่ได้ ถูกเวียดนามแซงแน่ พร้อมเปิดกว้างเอกชนร่วมลงทุนสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูง เชื่อเสร็จเร็ว กว่ารอ งบจากรัฐบาล แต่ต้องไม่ทำให้ค่าโดยสาร สูง พร้อมมอบ "ชัชชาติ" ติดตามเร่งรัดการฟื้นฟูถนนน้ำท่วม
นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังประชุมร่วมกับหัวหน้าหน่วยราชการ วานนี้ (26 ม.ค.) ว่า ได้มอบนโยบายหลักคือดำเนินการตาม ยุทธศาสตร์หลักของกระทรวงคมนาคม 5 ข้อ โดยมีเป้าหมายลดต้นทุนลอจิสติกส์ของประเทศลง 2% หรือจากปัจจุบันที่ 17.9% ต่อผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ (GDP) เหลือ 15.9% ภายใน 4-5 ปี โดยในการดำเนินงานทุก โครงการหลังจากนี้จะต้องมีแผนที่ชัดเจนบอกได้ว่าเป้าหมายในการลงทุนโครงการนั้นๆ จะช่วยทำให้ต้นทุนด้านลอจิสติกส์ในภาพรวม ลดลง 2% ได้หรือไม่ และลดได้อย่างไร ถ้า ไม่สามารถตอบได้ชัดเจน ก็จะไม่พิจารณา งบประมาณในส่วนนั้น
"เรื่องต้นทุนด้านลอจิสติกส์เป็นเรื่องสำคัญของประเทศ หากลดค่าใช้จ่ายไม่ได้ ต้นทุนการขนส่งของไทยยังสูง ก็น่ากลัวเพราะจะแข่งขันกับประเทศอื่นไม่ได้ ซึ่งผมเชื่อว่า ทุกหน่วยงาน ทุกรัฐวิสาหกิจมีแผนอยู่แล้ว แต่จะทำอย่างไร ต่อจากนี้ต้องแจ้งให้สังคมได้รับทราบ ว่าจะลดได้จริงตามแผน" นายจารุพงศ์กล่าว
ส่วนโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) นั้น นายจารุพงศ์กล่าวว่าได้ให้แนวคิดในการลงทุนว่าจะต้องเปิดกว้างให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนโดยพิจารณาในทุก รูปแบบที่มีความเป็นไปได้ ไม่จำเป็นต้องรองบประมาณจากรัฐในการดำเนินงานอย่างเดียว เพราะอาจจะต้องใช้เวลาถึง 10 ปีซึ่งช้า ในขณะ ที่ต้องการให้ประชาชนได้ใช้บริการเร็ว การพิจารณาให้เอกชนมาร่วมลงทุนหากทำได้เร็วขึ้นเหลือ 8 ปี ก็น่าสนใจแต่การลงทุนของเอกชน จะต้องไม่ทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบต้องเสียค่าบริการสูงเพราะต้องการกำไรมาก ดังนั้น การเปิดกว้างจึงต้องระวังพิจารณาอย่างรอบคอบ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน
"การลงทุนโครงการต่างๆ รอช้าไม่ได้ มัวรอเวียดนามแซงเราจะทำอย่างไร การเปิดกว้างก็เพื่อให้มีตัวเลือกทางเลือกในการดำเนินงานมากขึ้น บางอย่างก็จำเป็นต้องคิดนอกกรอบ บ้าง ซึ่งเป็นมุมมองของฝ่ายการเมือง ส่วนฝ่ายข้าราชการประจำก็ทำในกรอบ แล้วนำมารวมกัน ส่วนการจะเพิ่มสัดส่วนการให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนกับภาครัฐ ในรูปแบบ PPP นั้น ก็จะต้องดูกันในรายละเอียด
ทั้งนี้ อีก 3 ปี จะมีการเปิดเสรีภายใต้กรอบประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ซึ่งการดำเนินการหรือการสร้างระบบต่างๆ จะต้อง เป็นเครือข่ายและมีความสอดคล้องกัน เพราะไม่ได้ทำเพื่อรองรับคนไทย 65 ล้านคนเท่านั้นแต่ต้องรองรับประชาชนกว่า 600 ล้านคนใน AEC นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญกับการพัฒนา บุคลากร ซึ่งจะใช้แนวทางเดียวกับที่กระทรวงแรงงาน ที่มีข้อบังคับให้โรงงานนำเงิน 10% ของกำไรมาพัฒนาบุคลากร เพื่อทำให้เกิดจริยธรรม และประสิทธิภาพที่จะนำไปสู่การให้บริการประชาชนที่ดี โดยจะไม่ใช้รูปแบบเดิมๆ เช่น การ ฝึกอบรมหรือไปดูงานเมืองทอง แต่ควรปรับใหม่ เช่น นำประสบการณ์เหตุการณ์น้ำท่วมที่ผ่านมาใช้เป็นบทเรียนและทำหลักสูตรและมีการซักซ้อม เหมือนทหารที่มีการฝึกซ้อมร่วมกัน 3 เหล่าทัพ เป็นการบูรณาการของแผน เงิน วัฒนธรรมองค์กร ให้
บุคลากรมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ในอนาคตการเกิดภัยพิบัติจะรุนแรงขึ้น
สำหรับงานเร่งด่วนคือ การฟื้นฟูบูรณะถนนที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้กำชับมาที่ตนในฐานะที่เป็นประธานคณะกรรมการฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐาน (กคฐ.) จะเร่งรัดให้เป็นไปตามแผนโดยมอบหมายให้นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นผู้ติดตามเร่งรัด
ด้านนายศิลปชัย จารุเกษมรัตนะ รักษาการปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่สามารถกำหนดได้ชัดเจนว่า โครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพ-นครราชสีมา หรือกรุงเทพ-เชียงใหม่ เส้นทาง ไหนจะดำเนินการได้ก่อน เนื่องจากจะต้องมีการ ศึกษาความเหมาะสมในหลายเรื่อง เช่น ลักษณะการก่อสร้างของแต่ละเส้นทาง ว่าจะมีทางราบ ทางขึ้นเขาลงเขาระยะทางเท่าไร หลังจากนั้นก็ต้องพิจารณาค่าก่อสร้าง ระยะเวลาก่อสร้าง จึงจะทราบว่าเส้นทางไหนจะสามารถก่อสร้างก่อน รวมถึงการคัดเลือกเอกชนเข้ามาดำเนินงาน (Operator) การหาแหล่งเงินทุน ผู้ร่วมทุน เพราะหลักการรัฐบาลจะมีการลงทุนบางส่วน
นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังประชุมร่วมกับหัวหน้าหน่วยราชการ วานนี้ (26 ม.ค.) ว่า ได้มอบนโยบายหลักคือดำเนินการตาม ยุทธศาสตร์หลักของกระทรวงคมนาคม 5 ข้อ โดยมีเป้าหมายลดต้นทุนลอจิสติกส์ของประเทศลง 2% หรือจากปัจจุบันที่ 17.9% ต่อผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ (GDP) เหลือ 15.9% ภายใน 4-5 ปี โดยในการดำเนินงานทุก โครงการหลังจากนี้จะต้องมีแผนที่ชัดเจนบอกได้ว่าเป้าหมายในการลงทุนโครงการนั้นๆ จะช่วยทำให้ต้นทุนด้านลอจิสติกส์ในภาพรวม ลดลง 2% ได้หรือไม่ และลดได้อย่างไร ถ้า ไม่สามารถตอบได้ชัดเจน ก็จะไม่พิจารณา งบประมาณในส่วนนั้น
"เรื่องต้นทุนด้านลอจิสติกส์เป็นเรื่องสำคัญของประเทศ หากลดค่าใช้จ่ายไม่ได้ ต้นทุนการขนส่งของไทยยังสูง ก็น่ากลัวเพราะจะแข่งขันกับประเทศอื่นไม่ได้ ซึ่งผมเชื่อว่า ทุกหน่วยงาน ทุกรัฐวิสาหกิจมีแผนอยู่แล้ว แต่จะทำอย่างไร ต่อจากนี้ต้องแจ้งให้สังคมได้รับทราบ ว่าจะลดได้จริงตามแผน" นายจารุพงศ์กล่าว
ส่วนโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) นั้น นายจารุพงศ์กล่าวว่าได้ให้แนวคิดในการลงทุนว่าจะต้องเปิดกว้างให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนโดยพิจารณาในทุก รูปแบบที่มีความเป็นไปได้ ไม่จำเป็นต้องรองบประมาณจากรัฐในการดำเนินงานอย่างเดียว เพราะอาจจะต้องใช้เวลาถึง 10 ปีซึ่งช้า ในขณะ ที่ต้องการให้ประชาชนได้ใช้บริการเร็ว การพิจารณาให้เอกชนมาร่วมลงทุนหากทำได้เร็วขึ้นเหลือ 8 ปี ก็น่าสนใจแต่การลงทุนของเอกชน จะต้องไม่ทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบต้องเสียค่าบริการสูงเพราะต้องการกำไรมาก ดังนั้น การเปิดกว้างจึงต้องระวังพิจารณาอย่างรอบคอบ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน
"การลงทุนโครงการต่างๆ รอช้าไม่ได้ มัวรอเวียดนามแซงเราจะทำอย่างไร การเปิดกว้างก็เพื่อให้มีตัวเลือกทางเลือกในการดำเนินงานมากขึ้น บางอย่างก็จำเป็นต้องคิดนอกกรอบ บ้าง ซึ่งเป็นมุมมองของฝ่ายการเมือง ส่วนฝ่ายข้าราชการประจำก็ทำในกรอบ แล้วนำมารวมกัน ส่วนการจะเพิ่มสัดส่วนการให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนกับภาครัฐ ในรูปแบบ PPP นั้น ก็จะต้องดูกันในรายละเอียด
ทั้งนี้ อีก 3 ปี จะมีการเปิดเสรีภายใต้กรอบประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ซึ่งการดำเนินการหรือการสร้างระบบต่างๆ จะต้อง เป็นเครือข่ายและมีความสอดคล้องกัน เพราะไม่ได้ทำเพื่อรองรับคนไทย 65 ล้านคนเท่านั้นแต่ต้องรองรับประชาชนกว่า 600 ล้านคนใน AEC นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญกับการพัฒนา บุคลากร ซึ่งจะใช้แนวทางเดียวกับที่กระทรวงแรงงาน ที่มีข้อบังคับให้โรงงานนำเงิน 10% ของกำไรมาพัฒนาบุคลากร เพื่อทำให้เกิดจริยธรรม และประสิทธิภาพที่จะนำไปสู่การให้บริการประชาชนที่ดี โดยจะไม่ใช้รูปแบบเดิมๆ เช่น การ ฝึกอบรมหรือไปดูงานเมืองทอง แต่ควรปรับใหม่ เช่น นำประสบการณ์เหตุการณ์น้ำท่วมที่ผ่านมาใช้เป็นบทเรียนและทำหลักสูตรและมีการซักซ้อม เหมือนทหารที่มีการฝึกซ้อมร่วมกัน 3 เหล่าทัพ เป็นการบูรณาการของแผน เงิน วัฒนธรรมองค์กร ให้
บุคลากรมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ในอนาคตการเกิดภัยพิบัติจะรุนแรงขึ้น
สำหรับงานเร่งด่วนคือ การฟื้นฟูบูรณะถนนที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้กำชับมาที่ตนในฐานะที่เป็นประธานคณะกรรมการฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐาน (กคฐ.) จะเร่งรัดให้เป็นไปตามแผนโดยมอบหมายให้นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นผู้ติดตามเร่งรัด
ด้านนายศิลปชัย จารุเกษมรัตนะ รักษาการปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่สามารถกำหนดได้ชัดเจนว่า โครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพ-นครราชสีมา หรือกรุงเทพ-เชียงใหม่ เส้นทาง ไหนจะดำเนินการได้ก่อน เนื่องจากจะต้องมีการ ศึกษาความเหมาะสมในหลายเรื่อง เช่น ลักษณะการก่อสร้างของแต่ละเส้นทาง ว่าจะมีทางราบ ทางขึ้นเขาลงเขาระยะทางเท่าไร หลังจากนั้นก็ต้องพิจารณาค่าก่อสร้าง ระยะเวลาก่อสร้าง จึงจะทราบว่าเส้นทางไหนจะสามารถก่อสร้างก่อน รวมถึงการคัดเลือกเอกชนเข้ามาดำเนินงาน (Operator) การหาแหล่งเงินทุน ผู้ร่วมทุน เพราะหลักการรัฐบาลจะมีการลงทุนบางส่วน