วันจันทร์-อังคารที่ 23-24 มกราคม 2555 ระหว่าง 10.00 – 22.00 น.วุฒิสภาประชุมวาระพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2555 โดยพิจารณาเป็นวาระเดียวหลังอภิปรายจบก็ลงมติรับหรือไม่รับเลยไม่มีงาระ 2, 3 เหมือนในชั้นสภาผู้แทนราษฎร มีสมาชิกแสดงความจำนงขออภิปราย 86 คน ผมจับสลากได้เป็นคนที่ 36 ก็คงจะประมาณสามสี่ทุ่มของคืนวันจันทร์
ไม่ได้เตรียมตัวเกี่ยวกับร่างพ.ร.บ.งบประมาณฯมากนักเพราะเห็นว่าเป็นของปลอม !
เป็นเป้าหลอก !
แต่เมื่อได้เวลามา 15 นาทีก็คงจะพยายามชี้ให้เห็นว่าเป็นของปลอมเป็นเป้าหลอกอย่างไร ทั้งในส่วนของนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี และตัวร่างพ.ร.บ.งบประมาณฯ
ตัวร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯของประเทศนี้หลายต่อหลายปีมาแล้วที่ส่วนใหญ่เกือบร้อยละ 80 จะเป็นงบประมาณรายจ่ายประจำ งบเงินเดือนข้าราชการ ตัดไม่ได้ ปีนี้ก็เท่ากับร้อยละ 78 ส่วนงบประมาณที่จะเป็นเนื้อเป็นหนังและบอกเล่าได้จริงคืองบลงทุนในแต่ละปีก็น้อยมากไม่ถึงร้อยละ 20 วงเงินประมาณ 4 แสนล้านบาทบวกลบ ปีนี้ก็เท่ากับร้อยละ 17.8 หรือคิดเป็นตัวเงิน 423,387 ล้านบาทจากวงเงินงบประมาณรายจ่ายทั้งสิ้น 2,380,000 ล้านบาท
4 แสนล้านบาทจาก 2.3 ล้านล้านบาท !
แต่จริง ๆ แล้วงบลงทุนของประเทศยังมีอีกมากที่จะเป็นการใช้จ่ายนอกงบประมาณ ที่เห็น ๆ ก็จะมีการลงทุนในโครงการแก้ปัญหาน้ำท่วม 3.5 แสนล้านบาทที่เป็น 1 ใน 4 พระราชกำหนดที่กำลังจะออกมา ซึ่งไม่มีรายละเอียดเสนอสภาเลยว่าจะเอาไปทำอะไรบ้าง ทำไมต้องใช้ตัวเลขนี้ กระบวนตั้งตัวเลขก็ไม่ได้เป็นไปตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502
ด้านการกู้เงินก็เหมือนกันครับ ในร่างพ.ร.บ.งบประมาณฯปีนี้ตั้งยอดกู้เงินไว้ที่ 4 แสนล้านบาท ประเด็นนี้หมายความว่ายอดเก็บภาษีมีเป้าต่ำกว่างบประมาณรายจ่ายอยู่ 4 แสนล้านบาท ต้องกู้มาเพื่อทำให้สมดุล การทำงบประมาณแบบนี้เรียกว่างบประมาณขาดดุล เป็นมาอย่างนี้นับสิบปีแล้ว แม้จะตั้งเป้าว่าอีกสี่ซ้าห้าปีจะทำเป็นงบประมาณสมดุลคือไม่ต้องกู้มาชดเชยรายจ่ายที่ตั้งเกินรายได้จากภาษีอากร
แต่จริง ๆ แล้วยอดกู้ในงบประมาณนี่ก็ของปลอมครับ เพราะจะมีการกู้นอกงบประมาณอีกมาก
ที่เห็น ๆ ก็คือกู้อีก 3.5 แสนล้านบาทมาทำโครงการป้องกันน้ำท่วม ตามพระราชกำหนด 1 ใน 4 ฉบับที่จะออกมา
คณะรัฐมนตรียังอนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณที่จะลงทุนในโครงการต่าง ๆ เป็นยอดเงินมหาศาลถึง 2.2 ล้านล้านบาท ซึ่งก็ไม่มีความชัดเจนว่าจะตั้งไว้ในปีงบประมาณปีต่อ ๆ ไปเท่าไร หรือจะเป็นการใช้เงินพิเศษนอกงบประมาณ ซึ่งก็เท่ากับจะเป็นเงินกู้ทั้งหมด
เชื่อว่าในรอบ 3 ปีงบประมาณที่เหลือของรัฐบาลชุดนี้ที่เชื่อว่ายจะได้เข้ามาบริหารประเทศต่อเนื่องไปอีก 4 ปีวางแผนจะกู้เงินเพื่อสร้างอนาคตของประเทศไทยจำนวนมหาศาล
ประมาณ 2.2 ล้านล้านบาท !
จะกู้หนี้ใหม่ ความจริงก็ยังมีเพดานอยู่อีกไม่น้อย และทยอยกู้ในงบประมาณได้ทุกปีเพราะไม่ได้ใช้เงินทั้งหมดในคราวเดียว แต่ความที่รัฐบาลนี้จะเอาทุกอย่างเอาทุกท่า ทั้งลงทุนใหม่เพื่อสร้างโน่นสร้างนี่ ทั้งสร้างข่าวทันทีทันควันว่าจะลงทุนเท่านั้นเท่านี้โดยอ้างว่าเพื่อสร้างความเชื่อมั่น ทั้งจ่ายเงินในโครงการประชานิยมเก่าและใหม่ ทั้งยังจะต้องแสดงตนเป็นผู้วิเศษเป็นซูเปอร์แมนว่าไม่ได้สร้างหนี้เพิ่มขึ้น
แต่จะทั้งเพื่อ “วางบิล” ใบแรกเร็ว ๆ หรือเปล่า – อันนี้ผมไม่มีความรู้ !
มันจึงต้องเริ่มต้นด้วยความพยายามที่จะซุกหนี้ ซ่อนหนี้ ที่มีอยู่เดิมให้พ้นจากนิยามความเป็น “หนี้สาธารณะ” ก่อน เริ่มต้นจากการโอนหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ 1.14 ล้านล้านบาทออกไปจากกระทรวงการคลัง ทีแรกก็ตั้งเป้าจะไปเอาทุนสำรองระหว่างประเทศมาใช้หนี้ แต่กลัวพระท่านต้าน ก็เลยผลักภาระไปให้สถาบันการเงินต้องเสียค่าธรรมเนียมเพิ่ม ซึ่งในที่สุดสถาบันการเงินก็จะต้องผลักภาระมาที่ประชาชนอยู่ดี
การโอนหนี้ออกไปจะได้ผลทันตาเห็นในปีงบประมาณหน้าที่ไม่ต้องตั้งงบประมาณรายจ่ายดพอกเบี้ยประมาณ 6 หมื่นล้านบาทไว้ ยอดนี้จะทำให้ไปใช้จ่ายอย่างอื่นได้ และเป็นฐานให้กู้เพิ่มได้
นอกจากนั้นยังจะต้องตีความกันต่อไปว่ายอดเงินต้น 1.14 ล้านล้านบาทที่โอนไปให้กองทุนฟื้นฟูนแล้วจะนับรวมเป็นหนี้สาธารณะอยู่หรือไม่ ทั้งขั้นตอนปัจจุบัน และขั้นตอนต่อไปเมื่อพันธบัตรตัวเดิมถึงกำหนดชำระ 3.5 แสนล้านบาทเดือนสิงหาคม 2555 นี้ ซึ่งก็ต้องดูว่าการรีไฟแนนซ์ออกพันธบัตรใหม่จะออกในนามใคร
ล่าสุดมีไอเดียหรูเลิศจะให้กองทุนวายุภักษ์ซื้อหุ้นปตท.และการบินไทยออกมาแห่งละร้อยละ 2 เพื่อให้การถือหุ้นของรัฐจากร้อยละ 51 เหลือร้อยละ 49 จะได้พ้นจากความเป็นรัฐวิสาหกิจ ซึ่งจะมีผลทำให้หนี้ของรัฐวิสาหกิจทั้งสองรวมกันประมาณ 9 แสนล้านบาทพ้นจากความเป็นหนี้สาธารณะ
สรุปก็คือรัฐบาลนี้พยายามจะเสกให้หนี้สาธารณะเดิมลดลงไปประมาณ 2 ล้านล้านบาท
ใกล้เคียงตัวเลขเงินกู้สร้างอนาคตประเทศมั้ยพี่น้อง ?
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรจีบปากจีบคอพูดว่าปรับ ครม.เที่ยวนี้เข้าสู่โหมดฟื้นฟูและกอบกู้ ผมเห็นด้วยครับกับคำว่า “กอบ” และ “กู้” แต่อยากจะสลับคำให้ตรงความจริงใหม่ว่าปรับ ครม.เที่ยวนี้...
เข้าสู่โหมดกู้และกอบ(โกย) !
การสร้างอนาคตประเทศไทยไม่ใช่สิ่งไม่ดี แต่ทำไมไม่ให้รัฐสภารู้ ไม่ให้รัฐสภาร่วมพิจารณา โดยทำเข้ามาเป็นโครงการภายใต้พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี หรือถ้าจะทำเป็นโครงการพิเศษนอกงบประมาณ ทำไมไม่ทำเป็นร่างพ.ร.บ.ตามปกติ มีรายละเอียดทุกด้าน ทั้งด้านใช้จ่าย และด้านควบคุมการใช้จ่าย
ไม่ต้องถามนะครับว่าทำไมไม่พยายามลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นก่อน
มันจำเป็นหมดแหละ เพราะหาเสียงหาคะแนนนิยมกับประชาชนไว้แล้ว นอกจากจะไม่ปรับลดแล้ว ยังจะต้องเพิ่มให้อีก
เพื่อจะได้ชนะเลือกตั้งกลับเข้ามามากกว่าเดิมอีก
เพื่ออะไรหรือ ?
ก็เพื่อจะมาใช้เงินกู้สร้างอนาคตประเทศไทยใหม่ให้หนำใจตามฝันที่วาดไว้
ด้านหนึ่ง ซุกหนี้ซ่อนหนี้เพื่อกู้หนี้ใหม่และพยายามล้วงเอาสินทรัพย์ของประเทศที่เก็บไว้ใช้ในยามจำเป็นจริง ๆ ออกมาใช้โดยเร็วเพื่อสร้างรูปธรรมทางวัตถุในการลงทุนและในการทำนโยบายประชานิยมที่ไร้เขตจำกัด เพื่อแสดงตนเป็นผู้วิเศษเป็นซูเปอร์แมนเพื่อหลอกประชาชนให้ลงคะแนนเลือกตัวเองพรรคพวกตัวเองเข้ามาบริหารประเทศต่อเนื่อง อีกด้านหนึ่ง แก้กฎกติกาทางการเมืองลดอำนาจองค์กรอิสระ ลดอำนาจศาล เพิ่มอำนาจนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง โดยกระทำในนามของระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง
นี่คือการกินรวบประเทศไทย !
ไม่เพียงแต่ตัวร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯจะเป็นของปลอม เป็นเป้าหลอก ตัวนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีที่นั่งอยู่บนบัลลังก์ก็เช่นกัน ไม่เห็นมีใครเป็นตัวจริงเป็นของจริงเลยสักคน
ผมไม่อยากฟังแต่กิตติรัตน์ ณ ระนองมาใช้มาดนุ่ม ๆ สุภาพ ๆ ชี้แจงโน้มน้าวเพื่อนสมาชิกวุฒิสภา
ผมอยากเห็นทีมเศรษฐกิจและทีมยุทธศาสตร์ระดับ “มือพระกาฬเรียกพี่” ตัวจริงอย่าง ดร.วีรพงษ์ รามางกูร, นิพัทธ์ พุกกะณะสุต และพันศักดิ์ วิญรัตน์ 3 ขุนพลใหญ่ใน กยอ. มานั่งเป็นเป้าจริงบนบัลลังก์ครม.ในสภาแล้วลุกยืนขึ้นวาดภาพฝันและเล่ายุทธวิธีทางการเงินการคลังให้สมาชิกวุฒิสภาฟังและตอบทุกคำถามที่สงสัย
หากเป็นของจริงเป็นทองแท้จะกลัวอะไร !
ไม่ได้เตรียมตัวเกี่ยวกับร่างพ.ร.บ.งบประมาณฯมากนักเพราะเห็นว่าเป็นของปลอม !
เป็นเป้าหลอก !
แต่เมื่อได้เวลามา 15 นาทีก็คงจะพยายามชี้ให้เห็นว่าเป็นของปลอมเป็นเป้าหลอกอย่างไร ทั้งในส่วนของนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี และตัวร่างพ.ร.บ.งบประมาณฯ
ตัวร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯของประเทศนี้หลายต่อหลายปีมาแล้วที่ส่วนใหญ่เกือบร้อยละ 80 จะเป็นงบประมาณรายจ่ายประจำ งบเงินเดือนข้าราชการ ตัดไม่ได้ ปีนี้ก็เท่ากับร้อยละ 78 ส่วนงบประมาณที่จะเป็นเนื้อเป็นหนังและบอกเล่าได้จริงคืองบลงทุนในแต่ละปีก็น้อยมากไม่ถึงร้อยละ 20 วงเงินประมาณ 4 แสนล้านบาทบวกลบ ปีนี้ก็เท่ากับร้อยละ 17.8 หรือคิดเป็นตัวเงิน 423,387 ล้านบาทจากวงเงินงบประมาณรายจ่ายทั้งสิ้น 2,380,000 ล้านบาท
4 แสนล้านบาทจาก 2.3 ล้านล้านบาท !
แต่จริง ๆ แล้วงบลงทุนของประเทศยังมีอีกมากที่จะเป็นการใช้จ่ายนอกงบประมาณ ที่เห็น ๆ ก็จะมีการลงทุนในโครงการแก้ปัญหาน้ำท่วม 3.5 แสนล้านบาทที่เป็น 1 ใน 4 พระราชกำหนดที่กำลังจะออกมา ซึ่งไม่มีรายละเอียดเสนอสภาเลยว่าจะเอาไปทำอะไรบ้าง ทำไมต้องใช้ตัวเลขนี้ กระบวนตั้งตัวเลขก็ไม่ได้เป็นไปตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502
ด้านการกู้เงินก็เหมือนกันครับ ในร่างพ.ร.บ.งบประมาณฯปีนี้ตั้งยอดกู้เงินไว้ที่ 4 แสนล้านบาท ประเด็นนี้หมายความว่ายอดเก็บภาษีมีเป้าต่ำกว่างบประมาณรายจ่ายอยู่ 4 แสนล้านบาท ต้องกู้มาเพื่อทำให้สมดุล การทำงบประมาณแบบนี้เรียกว่างบประมาณขาดดุล เป็นมาอย่างนี้นับสิบปีแล้ว แม้จะตั้งเป้าว่าอีกสี่ซ้าห้าปีจะทำเป็นงบประมาณสมดุลคือไม่ต้องกู้มาชดเชยรายจ่ายที่ตั้งเกินรายได้จากภาษีอากร
แต่จริง ๆ แล้วยอดกู้ในงบประมาณนี่ก็ของปลอมครับ เพราะจะมีการกู้นอกงบประมาณอีกมาก
ที่เห็น ๆ ก็คือกู้อีก 3.5 แสนล้านบาทมาทำโครงการป้องกันน้ำท่วม ตามพระราชกำหนด 1 ใน 4 ฉบับที่จะออกมา
คณะรัฐมนตรียังอนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณที่จะลงทุนในโครงการต่าง ๆ เป็นยอดเงินมหาศาลถึง 2.2 ล้านล้านบาท ซึ่งก็ไม่มีความชัดเจนว่าจะตั้งไว้ในปีงบประมาณปีต่อ ๆ ไปเท่าไร หรือจะเป็นการใช้เงินพิเศษนอกงบประมาณ ซึ่งก็เท่ากับจะเป็นเงินกู้ทั้งหมด
เชื่อว่าในรอบ 3 ปีงบประมาณที่เหลือของรัฐบาลชุดนี้ที่เชื่อว่ายจะได้เข้ามาบริหารประเทศต่อเนื่องไปอีก 4 ปีวางแผนจะกู้เงินเพื่อสร้างอนาคตของประเทศไทยจำนวนมหาศาล
ประมาณ 2.2 ล้านล้านบาท !
จะกู้หนี้ใหม่ ความจริงก็ยังมีเพดานอยู่อีกไม่น้อย และทยอยกู้ในงบประมาณได้ทุกปีเพราะไม่ได้ใช้เงินทั้งหมดในคราวเดียว แต่ความที่รัฐบาลนี้จะเอาทุกอย่างเอาทุกท่า ทั้งลงทุนใหม่เพื่อสร้างโน่นสร้างนี่ ทั้งสร้างข่าวทันทีทันควันว่าจะลงทุนเท่านั้นเท่านี้โดยอ้างว่าเพื่อสร้างความเชื่อมั่น ทั้งจ่ายเงินในโครงการประชานิยมเก่าและใหม่ ทั้งยังจะต้องแสดงตนเป็นผู้วิเศษเป็นซูเปอร์แมนว่าไม่ได้สร้างหนี้เพิ่มขึ้น
แต่จะทั้งเพื่อ “วางบิล” ใบแรกเร็ว ๆ หรือเปล่า – อันนี้ผมไม่มีความรู้ !
มันจึงต้องเริ่มต้นด้วยความพยายามที่จะซุกหนี้ ซ่อนหนี้ ที่มีอยู่เดิมให้พ้นจากนิยามความเป็น “หนี้สาธารณะ” ก่อน เริ่มต้นจากการโอนหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ 1.14 ล้านล้านบาทออกไปจากกระทรวงการคลัง ทีแรกก็ตั้งเป้าจะไปเอาทุนสำรองระหว่างประเทศมาใช้หนี้ แต่กลัวพระท่านต้าน ก็เลยผลักภาระไปให้สถาบันการเงินต้องเสียค่าธรรมเนียมเพิ่ม ซึ่งในที่สุดสถาบันการเงินก็จะต้องผลักภาระมาที่ประชาชนอยู่ดี
การโอนหนี้ออกไปจะได้ผลทันตาเห็นในปีงบประมาณหน้าที่ไม่ต้องตั้งงบประมาณรายจ่ายดพอกเบี้ยประมาณ 6 หมื่นล้านบาทไว้ ยอดนี้จะทำให้ไปใช้จ่ายอย่างอื่นได้ และเป็นฐานให้กู้เพิ่มได้
นอกจากนั้นยังจะต้องตีความกันต่อไปว่ายอดเงินต้น 1.14 ล้านล้านบาทที่โอนไปให้กองทุนฟื้นฟูนแล้วจะนับรวมเป็นหนี้สาธารณะอยู่หรือไม่ ทั้งขั้นตอนปัจจุบัน และขั้นตอนต่อไปเมื่อพันธบัตรตัวเดิมถึงกำหนดชำระ 3.5 แสนล้านบาทเดือนสิงหาคม 2555 นี้ ซึ่งก็ต้องดูว่าการรีไฟแนนซ์ออกพันธบัตรใหม่จะออกในนามใคร
ล่าสุดมีไอเดียหรูเลิศจะให้กองทุนวายุภักษ์ซื้อหุ้นปตท.และการบินไทยออกมาแห่งละร้อยละ 2 เพื่อให้การถือหุ้นของรัฐจากร้อยละ 51 เหลือร้อยละ 49 จะได้พ้นจากความเป็นรัฐวิสาหกิจ ซึ่งจะมีผลทำให้หนี้ของรัฐวิสาหกิจทั้งสองรวมกันประมาณ 9 แสนล้านบาทพ้นจากความเป็นหนี้สาธารณะ
สรุปก็คือรัฐบาลนี้พยายามจะเสกให้หนี้สาธารณะเดิมลดลงไปประมาณ 2 ล้านล้านบาท
ใกล้เคียงตัวเลขเงินกู้สร้างอนาคตประเทศมั้ยพี่น้อง ?
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรจีบปากจีบคอพูดว่าปรับ ครม.เที่ยวนี้เข้าสู่โหมดฟื้นฟูและกอบกู้ ผมเห็นด้วยครับกับคำว่า “กอบ” และ “กู้” แต่อยากจะสลับคำให้ตรงความจริงใหม่ว่าปรับ ครม.เที่ยวนี้...
เข้าสู่โหมดกู้และกอบ(โกย) !
การสร้างอนาคตประเทศไทยไม่ใช่สิ่งไม่ดี แต่ทำไมไม่ให้รัฐสภารู้ ไม่ให้รัฐสภาร่วมพิจารณา โดยทำเข้ามาเป็นโครงการภายใต้พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี หรือถ้าจะทำเป็นโครงการพิเศษนอกงบประมาณ ทำไมไม่ทำเป็นร่างพ.ร.บ.ตามปกติ มีรายละเอียดทุกด้าน ทั้งด้านใช้จ่าย และด้านควบคุมการใช้จ่าย
ไม่ต้องถามนะครับว่าทำไมไม่พยายามลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นก่อน
มันจำเป็นหมดแหละ เพราะหาเสียงหาคะแนนนิยมกับประชาชนไว้แล้ว นอกจากจะไม่ปรับลดแล้ว ยังจะต้องเพิ่มให้อีก
เพื่อจะได้ชนะเลือกตั้งกลับเข้ามามากกว่าเดิมอีก
เพื่ออะไรหรือ ?
ก็เพื่อจะมาใช้เงินกู้สร้างอนาคตประเทศไทยใหม่ให้หนำใจตามฝันที่วาดไว้
ด้านหนึ่ง ซุกหนี้ซ่อนหนี้เพื่อกู้หนี้ใหม่และพยายามล้วงเอาสินทรัพย์ของประเทศที่เก็บไว้ใช้ในยามจำเป็นจริง ๆ ออกมาใช้โดยเร็วเพื่อสร้างรูปธรรมทางวัตถุในการลงทุนและในการทำนโยบายประชานิยมที่ไร้เขตจำกัด เพื่อแสดงตนเป็นผู้วิเศษเป็นซูเปอร์แมนเพื่อหลอกประชาชนให้ลงคะแนนเลือกตัวเองพรรคพวกตัวเองเข้ามาบริหารประเทศต่อเนื่อง อีกด้านหนึ่ง แก้กฎกติกาทางการเมืองลดอำนาจองค์กรอิสระ ลดอำนาจศาล เพิ่มอำนาจนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง โดยกระทำในนามของระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง
นี่คือการกินรวบประเทศไทย !
ไม่เพียงแต่ตัวร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯจะเป็นของปลอม เป็นเป้าหลอก ตัวนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีที่นั่งอยู่บนบัลลังก์ก็เช่นกัน ไม่เห็นมีใครเป็นตัวจริงเป็นของจริงเลยสักคน
ผมไม่อยากฟังแต่กิตติรัตน์ ณ ระนองมาใช้มาดนุ่ม ๆ สุภาพ ๆ ชี้แจงโน้มน้าวเพื่อนสมาชิกวุฒิสภา
ผมอยากเห็นทีมเศรษฐกิจและทีมยุทธศาสตร์ระดับ “มือพระกาฬเรียกพี่” ตัวจริงอย่าง ดร.วีรพงษ์ รามางกูร, นิพัทธ์ พุกกะณะสุต และพันศักดิ์ วิญรัตน์ 3 ขุนพลใหญ่ใน กยอ. มานั่งเป็นเป้าจริงบนบัลลังก์ครม.ในสภาแล้วลุกยืนขึ้นวาดภาพฝันและเล่ายุทธวิธีทางการเงินการคลังให้สมาชิกวุฒิสภาฟังและตอบทุกคำถามที่สงสัย
หากเป็นของจริงเป็นทองแท้จะกลัวอะไร !