ASTVผู้จัดการรายวัน - บสก.ประกาศความพร้อมเข้าตลาดหุ้น ลั่นต้นปี 56 เหมาะสม ยืนยันปรับเปลี่ยนรมว.คลังคนใหม่ไม่กระทบ เผยที่ปรึกษาทางการเงินมองมาร์เก็ตแคปบสก.ที่ 30,000 ล้านบาท คาดตัวเลขหนี้ในพอร์ตเกือบ 5 แสนล้าน ปลื้ม ผลเรียกเก็บหนี้เกินเป้ามาอยู่ที่ 12,000 ล้านบาท กำไร 2,900 ล้านบาท ลุยปี 55 ทำกำไรโต 10% หรือกว่า 3,100 ล้านบาท
นายสุเมธ มณีวัฒนา กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (บสก.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าในการนำบริษัทฯเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ว่า ขณะนี้ทางบสก.ได้เตรียมความพร้อมในทุกๆด้านไว้เรียบร้อยแล้ว ทั้งในด้านการปรับปรุงการทำงานภายใน การจัดทำระบบการบริหารความเสี่ยง การปรับปรุงระบบสารสนเทศ(ไอที)ให้มีประสิทธิภาพ รวมถึงการจัดกำลังพนักงาน เพื่อให้นักลงทุนเกิดความมั่นใจในการเข้ามาลงทุนในหุ้นบสก.
ทั้งนี้ กรอบในการนำหุ้นเข้ากระจายหุ้นนั้น ทางบสก.ได้หารือกับที่ปรึกษาทางการเงิน(FA) โดยที่ปรึกษาฯเห็นว่าช่วงปลายปี 2555 ไม่เหมาะสม เนื่องจากนักลงทุนชะลอการลงทุนและใกล้เทศกาลสำคัญ ดังนั้น ควรจะกระจายหุ้นบสก.ประมาณต้นปี 2556 ขณะเดียวกัน ทางที่ปรึกษาฯได้วางเป้าของมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (มาร์เก็ตแคป) ของบสก.ก่อนปี 56 ไว้ที่ 30,000 ล้านบาท
” ทางบสก.ยังไม่เริ่มยื่นแบบแสดงข้อมูลการเสนอขายหุ้นใหม่ หรือ ไฟลิ่ง แม้ว่าทางกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ ได้อนุมัติแผนการดำเนินธุรกิจ รวมถึงการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แต่เนื่องจาก ทางกองทุนฯต้องการให้กระทรวงการคลัง รับทราบและเห็นชอบ ซึ่งเราได้เสนอแผนให้คลังเดือนต.ค.ปีที่ผ่านมา และขณะนี้ คงต้องรอความชัดเจนอีกครั้ง หลังจากรัฐบาลได้ปรับคณะรัฐมนตรีใหม่ โดยต้องรอ รมว.คลังคนใหม่เข้ามารับทราบ เนื่องจากกระทรวงจะดูความรวมของประเทศ แต่ถึงอย่างไร บสก.เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ พร้อมสนองทางการ ใครมาเป็นรมว.คลัง บสก.ก็ทำหน้าที่ได้เต็มที่ ” นายสุเมธกล่าว
ปัจจุบัน บสก.มีเอ็นพีแอลประมาณ 230,000 ล้านบาท มีทรัพย์สินรอการขาย(เอ็นพีเอ)ประมาณ 38,000-40,000 ล้านบาท ทุนจดทะเบียน 13,500 ล้านบาท มูลค่าทางบัญชี อยู่ที่ 56 บาทต่อหุ้น มีราคาพาร์อยู่ที่ 25 บาท ซึ่งในกรณีที่เข้าตลาดหลักทรัพย์ ต้องมีการลดราคาพาร์ลง เนื่องจากราคาสูงมาก และเท่าที่ประเมินภาพรวมก่อนเข้าตลาดหุ้นในปี 56 คาดว่าตัวเลขเอ็นพีแอลจะเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว หรือมีหนี้เอ็นพีแอล ประมาณ 500,000 ล้านบาท ในกรณีที่บสก.ได้เข้าไปซื้อหนี้ของบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย(บสท.) ที่มีอยู่ประมาณ 400,000 ล้านบาท ซึ่งในส่วนนี้คงต้องรอเจ้าหนี้ในส่วนของสถาบันการเงินอื่น จะรับซื้อไปตามสิทธิหรือไม่ และในส่วนของทรัพย์สินรอการขาย(เอ็นพีเอ)น่าจะเพิ่มเป็น 60,000 ล้านบาท
สำหรับผลการดำเนินงานในปี 54 ทางบสก.สามารถสร้างผลกำไรได้ 2,900 ล้านบาท สูงกว่าเป้า 5-6 % จากเป้าที่ 2,800 ล้านบาท โดยมีผลเรียกเก็บหนี้ทั้งปีเกิน 12,000 ล้านบาท แยกเป็นส่วนของการปรับโครงสร้างหนี้และการบริหารเอ็นพีเอในสัดส่วนอย่างละ 6,000 ล้านบาท
“ ในปี 55 คาดว่า วางเป้าจะเข้าไปประมูลซื้อหนี้และเอ็นพีเอจากสถาบันการเงินต่างๆ ประมาณ 15,000 ล้านบาท ขณะที่ ผลการเรียกเก็บไม่น่าจะต่ำกว่าปีที่ผ่านมา โดยในปีนี้ ทางบสก.จะเน้นเรื่องผลกำไรตามนโยบายของกองทุนฟื้นฟูฯ คาดว่าจะมีกำไรเพิ่มขึ้น 10% หรือเพิ่มเป็นกว่า 3,100 ล้านบาท โดยจะมีกบริหารค่าใช้จ่ายให้เหมาะสม ลดขั้นตอนในการทำงาน การประชุมผ่านระบบ video conference ผ่านสาขา เพื่อประหยัดค่าเดินทาง ” นายสุเมธกล่าว
อนึ่ง บสก.ได้มีการคืนทุนให้แก่กองทุนฟื้นฟูฯจนหมด 41,000 ล้านบาท ซึ่งในแต่ละปีจะมีปันผลกำไรให้ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ประมาณ 60% ของผลกำไร.
นายสุเมธ มณีวัฒนา กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (บสก.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าในการนำบริษัทฯเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ว่า ขณะนี้ทางบสก.ได้เตรียมความพร้อมในทุกๆด้านไว้เรียบร้อยแล้ว ทั้งในด้านการปรับปรุงการทำงานภายใน การจัดทำระบบการบริหารความเสี่ยง การปรับปรุงระบบสารสนเทศ(ไอที)ให้มีประสิทธิภาพ รวมถึงการจัดกำลังพนักงาน เพื่อให้นักลงทุนเกิดความมั่นใจในการเข้ามาลงทุนในหุ้นบสก.
ทั้งนี้ กรอบในการนำหุ้นเข้ากระจายหุ้นนั้น ทางบสก.ได้หารือกับที่ปรึกษาทางการเงิน(FA) โดยที่ปรึกษาฯเห็นว่าช่วงปลายปี 2555 ไม่เหมาะสม เนื่องจากนักลงทุนชะลอการลงทุนและใกล้เทศกาลสำคัญ ดังนั้น ควรจะกระจายหุ้นบสก.ประมาณต้นปี 2556 ขณะเดียวกัน ทางที่ปรึกษาฯได้วางเป้าของมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (มาร์เก็ตแคป) ของบสก.ก่อนปี 56 ไว้ที่ 30,000 ล้านบาท
” ทางบสก.ยังไม่เริ่มยื่นแบบแสดงข้อมูลการเสนอขายหุ้นใหม่ หรือ ไฟลิ่ง แม้ว่าทางกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ ได้อนุมัติแผนการดำเนินธุรกิจ รวมถึงการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แต่เนื่องจาก ทางกองทุนฯต้องการให้กระทรวงการคลัง รับทราบและเห็นชอบ ซึ่งเราได้เสนอแผนให้คลังเดือนต.ค.ปีที่ผ่านมา และขณะนี้ คงต้องรอความชัดเจนอีกครั้ง หลังจากรัฐบาลได้ปรับคณะรัฐมนตรีใหม่ โดยต้องรอ รมว.คลังคนใหม่เข้ามารับทราบ เนื่องจากกระทรวงจะดูความรวมของประเทศ แต่ถึงอย่างไร บสก.เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ พร้อมสนองทางการ ใครมาเป็นรมว.คลัง บสก.ก็ทำหน้าที่ได้เต็มที่ ” นายสุเมธกล่าว
ปัจจุบัน บสก.มีเอ็นพีแอลประมาณ 230,000 ล้านบาท มีทรัพย์สินรอการขาย(เอ็นพีเอ)ประมาณ 38,000-40,000 ล้านบาท ทุนจดทะเบียน 13,500 ล้านบาท มูลค่าทางบัญชี อยู่ที่ 56 บาทต่อหุ้น มีราคาพาร์อยู่ที่ 25 บาท ซึ่งในกรณีที่เข้าตลาดหลักทรัพย์ ต้องมีการลดราคาพาร์ลง เนื่องจากราคาสูงมาก และเท่าที่ประเมินภาพรวมก่อนเข้าตลาดหุ้นในปี 56 คาดว่าตัวเลขเอ็นพีแอลจะเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว หรือมีหนี้เอ็นพีแอล ประมาณ 500,000 ล้านบาท ในกรณีที่บสก.ได้เข้าไปซื้อหนี้ของบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย(บสท.) ที่มีอยู่ประมาณ 400,000 ล้านบาท ซึ่งในส่วนนี้คงต้องรอเจ้าหนี้ในส่วนของสถาบันการเงินอื่น จะรับซื้อไปตามสิทธิหรือไม่ และในส่วนของทรัพย์สินรอการขาย(เอ็นพีเอ)น่าจะเพิ่มเป็น 60,000 ล้านบาท
สำหรับผลการดำเนินงานในปี 54 ทางบสก.สามารถสร้างผลกำไรได้ 2,900 ล้านบาท สูงกว่าเป้า 5-6 % จากเป้าที่ 2,800 ล้านบาท โดยมีผลเรียกเก็บหนี้ทั้งปีเกิน 12,000 ล้านบาท แยกเป็นส่วนของการปรับโครงสร้างหนี้และการบริหารเอ็นพีเอในสัดส่วนอย่างละ 6,000 ล้านบาท
“ ในปี 55 คาดว่า วางเป้าจะเข้าไปประมูลซื้อหนี้และเอ็นพีเอจากสถาบันการเงินต่างๆ ประมาณ 15,000 ล้านบาท ขณะที่ ผลการเรียกเก็บไม่น่าจะต่ำกว่าปีที่ผ่านมา โดยในปีนี้ ทางบสก.จะเน้นเรื่องผลกำไรตามนโยบายของกองทุนฟื้นฟูฯ คาดว่าจะมีกำไรเพิ่มขึ้น 10% หรือเพิ่มเป็นกว่า 3,100 ล้านบาท โดยจะมีกบริหารค่าใช้จ่ายให้เหมาะสม ลดขั้นตอนในการทำงาน การประชุมผ่านระบบ video conference ผ่านสาขา เพื่อประหยัดค่าเดินทาง ” นายสุเมธกล่าว
อนึ่ง บสก.ได้มีการคืนทุนให้แก่กองทุนฟื้นฟูฯจนหมด 41,000 ล้านบาท ซึ่งในแต่ละปีจะมีปันผลกำไรให้ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ประมาณ 60% ของผลกำไร.