วานนี้(17ม.ค.) เวลา 16.20 น. นายสาธิต ปิตุเตชะ ส.ส.ระยอง พรรคประชาธิปัตย์ เดินทางมายื่นคำร้องขอไต่สวนฉุกเฉินเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งกำหนดมาตรการวิธีบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาเพิ่มเติม จากกรณีที่ได้ยื่นฟ้องน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี ต่อศาลปกครองกลาง เมื่อวันที่ 16 ม.ค.ที่ผ่านมา เพื่อขอให้เพิกถอนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 ม.ค.2555 ที่อนุมัติให้มีการจ่ายเงินชดเชยผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่วันที่ 19 ก.ย. 2549-พ.ค. 2553 และขอให้ศาลพิพากษาสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีมีมติกำหนดกฎเกณฑ์ในการเยียวยาความเสียหายให้กับผู้ได้รับผลกระทบในเหตุการณ์ความรุนแรงในครั้งต่างๆ อย่างเท่าเทียมกันจากข้อเท็จจริงในแต่ละกรณีอย่างเป็นธรรม โดยไม่รวมถึงกรณีผู้กระทำความผิดตามกฎหมายในเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้น
ทั้งนี้ เหตุที่ขอให้ศาลปกครองไต่สวนฉุกเฉินมี 5 ประเด็นคือ 1.หากมติครม.มีการบังคับนั้นจะทำให้การจ่ายเงินขัดต่อหลักกฎหมาย เนื่องจากอยู่นอกกรอบกฎหมายและไม่มีกฎหมายอื่นรองรับ 2.หากมีการบังคับใช้ตามมติครม.ก็จะทำให้สังคมเกิดความแตกแยก เพราะหลักการเยียวยาที่อ้างว่าต้องการให้เกิดความปรองดองนั้นไม่มีมาตรฐานในการจ่ายค่าชดเชย รวมทั้งหลักเกณฑ์ก็ไม่ครอบคลุมในเรื่องของผู้ที่ได้รับผลกระทบทางการเมือง 3.มติครม.นี้อาจทำให้คนในสังคมไม่เคารพกฎหมาย เพราะผู้มีสิทธิ์ได้รับเงินเยียวยาเป็นผู้ที่กระทำผิดกฎหมายจากการชุมนุม ซึ่งหากมีการจ่ายเงินชดเชยเยียวยาก็จะเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนออกไปชุมนุมเพื่อสนับสนุนกลุ่มที่ตนต้องการให้เข้ามาบริหารประเทศมากขึ้น และหวังที่จะได้รับเงินเยียวยาจำนวนมาก ทำให้เกิดความไม่ย่ำเกรงต่อกฎหมาย
4.งบประมาณที่ใช้จ่ายในกรณีดังกล่าวมีจำนวนมหาศาล หากมีผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์อื่นต้องการได้รับการเยียวยาบ้างก็ยากที่จะพูดถึงความเป็นธรรม และ5.มติดังกล่าวนี้สร้างความเสียหายต่อกระบวนการยุติธรรม ทำให้เกิดการเลือกปฏิบัติแบบสองมาตรฐาน เพราะมีการเมืองเข้ามาแทรกแซง ดังนั้นจึงมานำเสนอต่อศาลเพื่อขอไต่สวนฉุกเฉินคดีดังกล่าว แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของศาลว่าจะพิจารณาคำขอไต่สวนฉุกเฉินเพื่อกำหนดมาตรการบรรเทาทุกข์ชั่วคราวหรือไม่
เวลา 17.15 น.ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศาลปกครองไม่รับคำขอไต่สวนฉุกเฉินฉุก คดีที่นาย ยื่นฟ้อง ครม.ที่อนุมัติงบประมาณเยียวยาเหยื่อชุมนุมขัดกฎหมาย เนื่องจากไม่มีเหตุจำเป็นที่จะต้องไต่สวนฉุกเฉิน เพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งกำหนดมาตรการวิธีบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา และศาลยังไม่ได้กำหนดวันที่จะนัดไต่สวนคดีดังกล่าว
**เชิญ“แม่น้องเกด”คุยเงินเยียวยา
ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายสาธิต กล่าวถึงกรณีที่นางพะเยาว์ อัคฮาด มารดาของ น.ส.กมนเกด อัคฮาด หรือน้องเกด พยาบาลอาสาที่ถูกยิงเสียชีวิตในวัดปทุมวนาราม จากเหตุสลายการชุมนุมทางการเมืองเมื่อปี53 จะไปประท้วงและให้ของขวัญตนที่สภาฯ และถ้าไม่ออกมาพบก็จะยืนรอจนถึงวันที่ 20 ม.ค.ว่า ไม่ต้องไปข้างถนนหน้าสภาฯ แต่อยากเชิญแม่น้องเกดและญาติผู้เสียชีวิต มาพบกันที่ห้องรับรองสภาฯ อย่างมีเหตุผลและเนื้อหาสาระ เพราะที่ตนดำเนินการยื่นศาลปกครองไปนั้น ไม่ได้ขัดขวางว่ารัฐบาลจะจ่ายเงินเยียวยาให้แม่น้องเกด แต่ทักท้วงว่าเป็นเรื่องสองมาตรฐาน สร้างความขัดแย้งของคนในสังคมมากขึ้น เพราะกรณีนี้ได้ไปบั่นทอนขวัญกำลังใจของข้าราชการ ทหาร ตำรวจ ที่ปฏิบัติหน้าที่ แล้วสูญเสียแต่ไม่ได้รับการเยียวยาเท่าเทียมกับการชุมนุมของคนเสื้อแดง
“อยากให้แม่น้องเกด ไปศึกษาคำขอท้ายฟ้องที่ผมยื่นต่อศาลปกครองไป ก็จะเข้าใจถึงเจตนาการปฏิบัติหน้าที่ของการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่สำคัญแม่น้องเกดควรเห็นใจและเข้าใจผู้ที่สูญเสียในสถานการณ์อื่น ที่เป็นกรณีเดียวกันด้วยว่าควรได้รับการเยียวยาอย่างเท่าเทียมกัน เว้นแต่แม่น้องเกดเห็นแก่ได้ เห็นกับตัวเองและพวกพ้อง จึงไม่สนใจผู้สูญเสียในกรณีอื่นๆ ที่อยู่ในฐานะเดียวกัน”นายสาธิต กล่าว
**ฝ่ายค้านกระทู้ถามนายกฯแจงมาตรฐาน
ที่รัฐสภา นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน หรือ วิปฝ่ายค้าน แถลงว่า ที่ประชุมมีมติที่จะยื่นกระทู้ถามสดนายกรัฐมนตรี ในวันที่19 ม.ค.กรรณีที่ครมมีมติมอบเงินเยียวยากลุ่มผู้ชุมนุมทางการเมือง ทั้งนี้วิปเห็นว่า 1.มติดังกล่าวส้รางความแตกแยกในสังคมมากกว่าการสร้างความปรองดอง 2เลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม เพราะเลือกมีการเยียวยาในบาช่วงของเหตุการณ์โดยเลือกตั้งแต่ปี 48-53 โดยไม่คลอบคลุมไปถึงเหตุการณ์ที่มีลักษะใกล้เคียงกันที่มีทั้งผู้เสียชีวิต และทุพพลภาพ เช่น กรือเซะ ตากใบ หรือกรณีการฆ่าตัดตอน เรื่องนี้ฝ่ายค้านมองว่า เหตุที่ไม่มีการชดเชย เพราะเป็นผลงานชิ้นโบว์ดำของรัฐบาลบางชุด 3.มติดังกล่าวใช้เงินภาษีของประชาชนเพื่อตอบแทนทางการเมือง และ 4.เป็นการสร้างบรรทัดฐานที่ไม่เหมาะสมและเป็นการสร้างปัญหาให้เกิดขึ้นในสังคม
** “เติ้ง”ไม่รู้มาตรการเยียวยาแดง
นายบรรหาร ศิลปอาชา ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา (ชทพ.) กล่าวถึงการออกมติคณะรัฐมนตรีเพื่อตั้งงบประมาณชดเชยให้ครอบครัวผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองว่า ส่วนตัวไม่ทราบรายละอียด ขอศึกษาข้อมูลก่อนเพราะบางกรณีหรือบางคนก็อาจมีความจำเป็นก็ได้
**อาสาปกป้องฯค้านมติครม.เยียวยา
เวลา 09.30 น. เครือข่ายพลเมืองอาสาปกป้องแผ่นดิน พร้อมผู้ชุมนุมกว่า 20 คน เดินทางมายังทำเนียบรัฐบาล เพื่อยื่นหนังสือคัดค้านการจ่ายเงินชดเชยให้กับผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บจากการชุมนุมทางการเมืองช่วงปีพ.ศ.2548 - 2553 ตามมติของคณะรัฐมนตรี โดยมีนายสมภาส นิลพันธ์ ผู้อำนวยการศูนย์บริการประชาชน สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นตัวแทนรับหนังสือ
ทั้งนี้เรียกร้องให้รัฐบาลยุติการนำภาษีของประชาชนไปจ่ายให้กลับกลุ่มคนเสื้อแดง ที่มาเรียกร้องชุมนุมให้รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี ยุบสภา เพื่อให้พรรคเพื่อไทยกลับมามีอำนาจ เพราะเรื่องนี้ไม่ใช่การชุมนุมทางประชาธิปไตย อีกทั้งยังมีการเผาบ้านเผาเมือง สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก ทั้งนี้คดีก่อการร้ายก็ยังอยู่ในชั้นอัยการ ซึ่งคณะรัฐมนตรีต้องรอกระบวนการพิจารณาตามกระบวนการขั้นตอนของศาลว่าการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงนั้นถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ และการเบิกจ่ายเงินชดเชยนั้นจำเป็นต้องมีกฎหมายมารองรับด้วยหรือไม่ อย่างไรก็ตามหากรัฐบาลไม่ยุติมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว ทางเครือข่ายพลเมืองอาสาปกป้องแผ่นดินจะดำเนินการฟ้องร้องต่อศาลต่อไป
**ธิดาอ้งไม่สูงเกินจริงเร่งช่วยติดคุก
นางธิดา ถาวรเศรษฐ์ รักษาการ ประธาน นปช. กล่าวภายหลังเยี่ยมให้กำลังใจนักโทษเสื้อแดงภายในเรือนจำชั่วคราวหลักสี่ ว่าการนำนักโทษการเมืองมาคุมขังที่เรือนจำหลักสี่แห่งนี้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการแก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง ซึ่งเป็นการแยกนักโทษการเมือง ออกมาจากนักโทษในคดีอาญาอื่นๆ
สำหรับการขับเคลื่อนในการให้ความช่วยเหลือนักโทษเสื้อแดงที่ยังอยู่ในเรือนจำฯ นั้น ทาง แกนนำ นปช. จะเร่งดำเนินการในเรื่องการประกันตัว การต่อสู้คดี และการเยียวยา ซึ่งในส่วนของการเยียวยาผู้สูญเสียในเหตุการณ์ทางการเมืองนั้น หลายกลุ่มวิพากษ์วิจารณ์ว่า เป็นการเสนอให้เงินที่สูงเกินจริง แต่ นางธิดา มองว่า การให้ค่าตอบแทนดังกล่าว มีหลักการและเหตุผล ซึ่งตนมองว่า ชีวิตมนุษย์ไม่สามารถตีค่าเป็นเงินได้
**กี้ร์ขอขมาผู้ใหญ่ลาบวช 1 เดือน
เวลา 15.00 น. ที่พรรคเพื่อไทย นายอริสมันต์ พงศ์เรืองรอง แกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) ได้เดินทางมายังพรรคเพื่อไทย เนื่องจากมีการประชุม ส.ส.ของพรรคประจำสัปดาห์ โดยนายอริสมันต์ ได้นำพานธูปเทียน เพื่อขอขมาลาโทษกับผู้ใหญ่ ผู้บริหาร ส.ส.และสมาชิกของพรรคเพื่อไทย โดยมีความตั้งใจที่จะลาอุปสมบท เพื่อที่จะใช้เวลาดังกล่าวเรียนรู้ศีล สมาธิ และปัญญา รวมทั้งตอบแทนผู้ที่มีพระคุณ พร้อมถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว บิดา มารดา และประชาชนที่ได้เสียสละที่ออกมาเรียกร้องประชาธิปไตยจนเกิดความสูญเสีย
ทั้งนี้ เหตุที่ขอให้ศาลปกครองไต่สวนฉุกเฉินมี 5 ประเด็นคือ 1.หากมติครม.มีการบังคับนั้นจะทำให้การจ่ายเงินขัดต่อหลักกฎหมาย เนื่องจากอยู่นอกกรอบกฎหมายและไม่มีกฎหมายอื่นรองรับ 2.หากมีการบังคับใช้ตามมติครม.ก็จะทำให้สังคมเกิดความแตกแยก เพราะหลักการเยียวยาที่อ้างว่าต้องการให้เกิดความปรองดองนั้นไม่มีมาตรฐานในการจ่ายค่าชดเชย รวมทั้งหลักเกณฑ์ก็ไม่ครอบคลุมในเรื่องของผู้ที่ได้รับผลกระทบทางการเมือง 3.มติครม.นี้อาจทำให้คนในสังคมไม่เคารพกฎหมาย เพราะผู้มีสิทธิ์ได้รับเงินเยียวยาเป็นผู้ที่กระทำผิดกฎหมายจากการชุมนุม ซึ่งหากมีการจ่ายเงินชดเชยเยียวยาก็จะเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนออกไปชุมนุมเพื่อสนับสนุนกลุ่มที่ตนต้องการให้เข้ามาบริหารประเทศมากขึ้น และหวังที่จะได้รับเงินเยียวยาจำนวนมาก ทำให้เกิดความไม่ย่ำเกรงต่อกฎหมาย
4.งบประมาณที่ใช้จ่ายในกรณีดังกล่าวมีจำนวนมหาศาล หากมีผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์อื่นต้องการได้รับการเยียวยาบ้างก็ยากที่จะพูดถึงความเป็นธรรม และ5.มติดังกล่าวนี้สร้างความเสียหายต่อกระบวนการยุติธรรม ทำให้เกิดการเลือกปฏิบัติแบบสองมาตรฐาน เพราะมีการเมืองเข้ามาแทรกแซง ดังนั้นจึงมานำเสนอต่อศาลเพื่อขอไต่สวนฉุกเฉินคดีดังกล่าว แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของศาลว่าจะพิจารณาคำขอไต่สวนฉุกเฉินเพื่อกำหนดมาตรการบรรเทาทุกข์ชั่วคราวหรือไม่
เวลา 17.15 น.ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศาลปกครองไม่รับคำขอไต่สวนฉุกเฉินฉุก คดีที่นาย ยื่นฟ้อง ครม.ที่อนุมัติงบประมาณเยียวยาเหยื่อชุมนุมขัดกฎหมาย เนื่องจากไม่มีเหตุจำเป็นที่จะต้องไต่สวนฉุกเฉิน เพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งกำหนดมาตรการวิธีบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา และศาลยังไม่ได้กำหนดวันที่จะนัดไต่สวนคดีดังกล่าว
**เชิญ“แม่น้องเกด”คุยเงินเยียวยา
ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายสาธิต กล่าวถึงกรณีที่นางพะเยาว์ อัคฮาด มารดาของ น.ส.กมนเกด อัคฮาด หรือน้องเกด พยาบาลอาสาที่ถูกยิงเสียชีวิตในวัดปทุมวนาราม จากเหตุสลายการชุมนุมทางการเมืองเมื่อปี53 จะไปประท้วงและให้ของขวัญตนที่สภาฯ และถ้าไม่ออกมาพบก็จะยืนรอจนถึงวันที่ 20 ม.ค.ว่า ไม่ต้องไปข้างถนนหน้าสภาฯ แต่อยากเชิญแม่น้องเกดและญาติผู้เสียชีวิต มาพบกันที่ห้องรับรองสภาฯ อย่างมีเหตุผลและเนื้อหาสาระ เพราะที่ตนดำเนินการยื่นศาลปกครองไปนั้น ไม่ได้ขัดขวางว่ารัฐบาลจะจ่ายเงินเยียวยาให้แม่น้องเกด แต่ทักท้วงว่าเป็นเรื่องสองมาตรฐาน สร้างความขัดแย้งของคนในสังคมมากขึ้น เพราะกรณีนี้ได้ไปบั่นทอนขวัญกำลังใจของข้าราชการ ทหาร ตำรวจ ที่ปฏิบัติหน้าที่ แล้วสูญเสียแต่ไม่ได้รับการเยียวยาเท่าเทียมกับการชุมนุมของคนเสื้อแดง
“อยากให้แม่น้องเกด ไปศึกษาคำขอท้ายฟ้องที่ผมยื่นต่อศาลปกครองไป ก็จะเข้าใจถึงเจตนาการปฏิบัติหน้าที่ของการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่สำคัญแม่น้องเกดควรเห็นใจและเข้าใจผู้ที่สูญเสียในสถานการณ์อื่น ที่เป็นกรณีเดียวกันด้วยว่าควรได้รับการเยียวยาอย่างเท่าเทียมกัน เว้นแต่แม่น้องเกดเห็นแก่ได้ เห็นกับตัวเองและพวกพ้อง จึงไม่สนใจผู้สูญเสียในกรณีอื่นๆ ที่อยู่ในฐานะเดียวกัน”นายสาธิต กล่าว
**ฝ่ายค้านกระทู้ถามนายกฯแจงมาตรฐาน
ที่รัฐสภา นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน หรือ วิปฝ่ายค้าน แถลงว่า ที่ประชุมมีมติที่จะยื่นกระทู้ถามสดนายกรัฐมนตรี ในวันที่19 ม.ค.กรรณีที่ครมมีมติมอบเงินเยียวยากลุ่มผู้ชุมนุมทางการเมือง ทั้งนี้วิปเห็นว่า 1.มติดังกล่าวส้รางความแตกแยกในสังคมมากกว่าการสร้างความปรองดอง 2เลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม เพราะเลือกมีการเยียวยาในบาช่วงของเหตุการณ์โดยเลือกตั้งแต่ปี 48-53 โดยไม่คลอบคลุมไปถึงเหตุการณ์ที่มีลักษะใกล้เคียงกันที่มีทั้งผู้เสียชีวิต และทุพพลภาพ เช่น กรือเซะ ตากใบ หรือกรณีการฆ่าตัดตอน เรื่องนี้ฝ่ายค้านมองว่า เหตุที่ไม่มีการชดเชย เพราะเป็นผลงานชิ้นโบว์ดำของรัฐบาลบางชุด 3.มติดังกล่าวใช้เงินภาษีของประชาชนเพื่อตอบแทนทางการเมือง และ 4.เป็นการสร้างบรรทัดฐานที่ไม่เหมาะสมและเป็นการสร้างปัญหาให้เกิดขึ้นในสังคม
** “เติ้ง”ไม่รู้มาตรการเยียวยาแดง
นายบรรหาร ศิลปอาชา ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา (ชทพ.) กล่าวถึงการออกมติคณะรัฐมนตรีเพื่อตั้งงบประมาณชดเชยให้ครอบครัวผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองว่า ส่วนตัวไม่ทราบรายละอียด ขอศึกษาข้อมูลก่อนเพราะบางกรณีหรือบางคนก็อาจมีความจำเป็นก็ได้
**อาสาปกป้องฯค้านมติครม.เยียวยา
เวลา 09.30 น. เครือข่ายพลเมืองอาสาปกป้องแผ่นดิน พร้อมผู้ชุมนุมกว่า 20 คน เดินทางมายังทำเนียบรัฐบาล เพื่อยื่นหนังสือคัดค้านการจ่ายเงินชดเชยให้กับผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บจากการชุมนุมทางการเมืองช่วงปีพ.ศ.2548 - 2553 ตามมติของคณะรัฐมนตรี โดยมีนายสมภาส นิลพันธ์ ผู้อำนวยการศูนย์บริการประชาชน สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นตัวแทนรับหนังสือ
ทั้งนี้เรียกร้องให้รัฐบาลยุติการนำภาษีของประชาชนไปจ่ายให้กลับกลุ่มคนเสื้อแดง ที่มาเรียกร้องชุมนุมให้รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี ยุบสภา เพื่อให้พรรคเพื่อไทยกลับมามีอำนาจ เพราะเรื่องนี้ไม่ใช่การชุมนุมทางประชาธิปไตย อีกทั้งยังมีการเผาบ้านเผาเมือง สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก ทั้งนี้คดีก่อการร้ายก็ยังอยู่ในชั้นอัยการ ซึ่งคณะรัฐมนตรีต้องรอกระบวนการพิจารณาตามกระบวนการขั้นตอนของศาลว่าการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงนั้นถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ และการเบิกจ่ายเงินชดเชยนั้นจำเป็นต้องมีกฎหมายมารองรับด้วยหรือไม่ อย่างไรก็ตามหากรัฐบาลไม่ยุติมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว ทางเครือข่ายพลเมืองอาสาปกป้องแผ่นดินจะดำเนินการฟ้องร้องต่อศาลต่อไป
**ธิดาอ้งไม่สูงเกินจริงเร่งช่วยติดคุก
นางธิดา ถาวรเศรษฐ์ รักษาการ ประธาน นปช. กล่าวภายหลังเยี่ยมให้กำลังใจนักโทษเสื้อแดงภายในเรือนจำชั่วคราวหลักสี่ ว่าการนำนักโทษการเมืองมาคุมขังที่เรือนจำหลักสี่แห่งนี้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการแก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง ซึ่งเป็นการแยกนักโทษการเมือง ออกมาจากนักโทษในคดีอาญาอื่นๆ
สำหรับการขับเคลื่อนในการให้ความช่วยเหลือนักโทษเสื้อแดงที่ยังอยู่ในเรือนจำฯ นั้น ทาง แกนนำ นปช. จะเร่งดำเนินการในเรื่องการประกันตัว การต่อสู้คดี และการเยียวยา ซึ่งในส่วนของการเยียวยาผู้สูญเสียในเหตุการณ์ทางการเมืองนั้น หลายกลุ่มวิพากษ์วิจารณ์ว่า เป็นการเสนอให้เงินที่สูงเกินจริง แต่ นางธิดา มองว่า การให้ค่าตอบแทนดังกล่าว มีหลักการและเหตุผล ซึ่งตนมองว่า ชีวิตมนุษย์ไม่สามารถตีค่าเป็นเงินได้
**กี้ร์ขอขมาผู้ใหญ่ลาบวช 1 เดือน
เวลา 15.00 น. ที่พรรคเพื่อไทย นายอริสมันต์ พงศ์เรืองรอง แกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) ได้เดินทางมายังพรรคเพื่อไทย เนื่องจากมีการประชุม ส.ส.ของพรรคประจำสัปดาห์ โดยนายอริสมันต์ ได้นำพานธูปเทียน เพื่อขอขมาลาโทษกับผู้ใหญ่ ผู้บริหาร ส.ส.และสมาชิกของพรรคเพื่อไทย โดยมีความตั้งใจที่จะลาอุปสมบท เพื่อที่จะใช้เวลาดังกล่าวเรียนรู้ศีล สมาธิ และปัญญา รวมทั้งตอบแทนผู้ที่มีพระคุณ พร้อมถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว บิดา มารดา และประชาชนที่ได้เสียสละที่ออกมาเรียกร้องประชาธิปไตยจนเกิดความสูญเสีย