ระยองเพียวฯลุ้นปตท.จะหยุดส่งวัตถุดิบ31 ม.ค.นี้หรือไม่ หลังไม่ได้ข้อสรุปจากอนุญาโตตุลาการ ยอมรับหยุดกระทบแน่นอน เล็งดูลู่ทางลงทุนโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 5-10เมกะวัตต์ รอรัฐเปิดซื้อไฟฟ้าอีกครั้ง
นางศิรพร กฤษณกาญจน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท ระยองเพียวริฟายเออร์ จำกัด (มหาชน)(RPC) เปิดเผยความคืบหน้าข้อพิพาทสัญญาซื้อขายวัตถุดิบระหว่างบริษัทฯ กับ บริษัทปตท จำกัด (มหาชน)ว่า ขณะนี้บริษัทฯรอกระบวนการชี้ขาดจากอนุญาโตตุลาการ ซึ่งระหว่างการรอการคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการนี้ ปตท.ควรต้องจัดส่งวัตถุดิบ คือ คอนเดนเสทเรซิดิวให้บริษัทฯต่อไปแม้ว่าก่อนหน้านี้ ปตท.แจ้งว่าจะระงับการส่งคอนเดนเสทเรซิดิวให้หลังสิ้นสุดวันที่ 31 ม.ค. 2555
โดยยอมรับว่าบริษัทฯได้รับผลกระทบอย่างแน่นอน หากปตท.หยุดส่งวัตถุดิบในสิ้นเดือนม.ค.นี้ เพียงแต่กระทบในระยะสั้นหรือระยะยาว เนื่องจากบริษัทฯไม่สามารถจัดหาวัตถุดิบอื่นมาทดแทนได้ ซึ่งเดิมบริษัทฯมีแผนจะจัดหากากปิโตรเลียมจากบริษัท สยามกัลฟ์ ปิโตรเคมีคัล (SGPC) มาเป็นวัตถุดิบแทน แต่จนถึงปัจจุบันนี้ สยามกัลฟ์ฯยังไม่สามารถเดินเครืองผลิตเชิงพาณิชย์ได้
ส่วนการนำเข้าวัตถุดิบนั้น คงทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น เนื่องจากโรงกลั่นอาร์พีซีตั้งอยู่ห่างจากท่าเทียบเรือทำให้การขนส่งลำบาก อีกทั้งมีขนาดการกลั่นเพียง 1.7 หมื่นบาร์เรล/วัน ทำให้ไม่มีอำนาจต่อรองในการนำเข้าวัตถุดิบได้
นางศิรพร กล่าวต่อไปว่า บริษัทฯมีแนวคิดนอกกรอบ หากไม่สามารถจัดหาวัตถุดิบได้ว่า บริษัทฯมองลู่ทางการลงทุนธุรกิจอื่นๆแทน อาทิ การลงทุนโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งขณะนี้มีความพร้อมที่จะลงทุนทั้งซัพพลายเออร์และแหล่งเงินกู้ เพียงแต่รอภาครัฐกำหนดนโยบายการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนอีกครั้ง โดยบริษัทฯสนใจลงทุนโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 5-10 เมกะวัตต์
" ที่ผ่านมาบริษัทไม่มีไลเซ่นส์ผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ แต่ก็มีการเจรจากับผู้ที่เป็นเจ้าของไลเซ่นส์หลายราย แต่ยังไม่มึความคืบหน้าในการลงทุนในช่วงนี้ คงอาจต้องรอรัฐเปิดให้ไลเซ่นส์อีกครั้ง ก็จะยื่นเรือง และช่วงนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาเทคโนโลยีในการผลิตให้ต้นทุนต่อหน่วยต่ำ มีต้นทุนน้อยกว่า 100 ล้านบาทต่อเมกะวัตต์"
ส่วนโรงไฟฟ้าพลังลมนั้นยังไม่สนใจ เนื่องจากใช้เงินลงทุนสูงและใช้พื้นที่จำนวนมาก เช่นเดียวกับโรงไฟฟ้าไบโอแมส ที่มีปัญหาราคาวัตถุดิบผันผวน
ส่วนธุรกิจปิโตรเลียมที่บริษัทฯมีความชำนาญ ดังนั้นการลงทุนในอนาคตอาจไม่จำเป็นต้องผูกมัดอยู่เฉพาะในไทย แต่อาจจะลงทุนในต่างประเทศ หรือรับจ้างออกแบบโรงกลั่น เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม หากระยองเพียวฯไม่สามารถกลั่นน้ำมันได้หลังสิ้นเดือนม.ค.นี้ บริษัทฯก็ยังรับรู้รายได้จากบริษัทลูกที่มีรายได้รวมกันประมาณปีละ 7,000 ล้านบาท ขณะที่กลุ่มบริษัทระยองเพียวฯมีรายได้รวมปีละ1.9 หมื่นล้านบาท แต่หากปตท.ป้อนวัตถุดิบเช่นเดิม เชื่อว่าผลการดำเนินงานในปีนี้คงไม่ด้อยกว่าปีที่แล้วอย่างแน่นอน
ก่อนหน้านี้ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้แจ้งบริษัทฯว่าจะไม่ขายคอนเดนเสท เรสซิดิว (CR)ที่ผลิตจากบริษัท ปตท.อะโรเมติกส์และการกลั่น จำกัด (มหาชน) ชื่อเดิมของบริษัท พีทีที โกลบอลเคมิคอล จำกัด (มหาชน) ให้กับโรงกลั่นของบมจ.ระยองเพียว ริฟายเออร์ หลังสิ้นสุดสัญญาซื้อขายครบ 15ปีในวันที่ 31 ม.ค. 2555 แต่ระยองเพียวฯเห็นว่าสัญญาซื้อขายนี้เป็นสัญญาที่ไม่มีกำหนดเวลาสิ้นสุด โดยสัญญาจะต่ออายุอัตโนมัติเมื่อครบ 15ปีแรก หากจะยกเลิกสัญญาต้องได้รับความยินยอมทั้ง 2ฝ่าย
ทำให้ระยองเพียวฯตัดสินใจยื่นฟ้องศาลแพ่งเรียกร้องค่าเสียหายประมาณ 9 พันล้านบาท หากปตท.หยุดป้อนวัตถุดิบให้บริษัทฯ ขณะเดียวกันก็ฟ้องอนุญาโตตุลาการเพื่อให้ปตท. เพื่อให้ปตท.ส่งวัตถุดิบเช่นเดิมหรือยอมชดใช้ค่าเสียหายเกือบ 1 หมื่นล้านบาท ซึ่งอยู่ในกระบวนการพิจารณาศาลฯ
ทั้งนี้ ระยองเพียวฯ มีกำลังการกลั่น 1.7 หมื่นบาร์เรล/วันหรือประมาณ 80 ล้านลิตรต่อเดือน โดยใช้วัตถุดิบคือคอนเดนเสท เรสซิดิวเป็นวัตถุดิบ ขณะเดียวกันก็มีบริษัทลูกที่ดำเนินธุรกิจปั๊มน้ำมันเพียวภายใต้ชื่อเพียวพลังงานไทย บริษัท เพียวไบโอดีเซล จำกัด ดำเนินธุรกิจผลิตไบโอดีเซล และบริษัท เพียวสัมมากร จำกัด ดำเนินธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น
นางศิรพร กฤษณกาญจน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท ระยองเพียวริฟายเออร์ จำกัด (มหาชน)(RPC) เปิดเผยความคืบหน้าข้อพิพาทสัญญาซื้อขายวัตถุดิบระหว่างบริษัทฯ กับ บริษัทปตท จำกัด (มหาชน)ว่า ขณะนี้บริษัทฯรอกระบวนการชี้ขาดจากอนุญาโตตุลาการ ซึ่งระหว่างการรอการคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการนี้ ปตท.ควรต้องจัดส่งวัตถุดิบ คือ คอนเดนเสทเรซิดิวให้บริษัทฯต่อไปแม้ว่าก่อนหน้านี้ ปตท.แจ้งว่าจะระงับการส่งคอนเดนเสทเรซิดิวให้หลังสิ้นสุดวันที่ 31 ม.ค. 2555
โดยยอมรับว่าบริษัทฯได้รับผลกระทบอย่างแน่นอน หากปตท.หยุดส่งวัตถุดิบในสิ้นเดือนม.ค.นี้ เพียงแต่กระทบในระยะสั้นหรือระยะยาว เนื่องจากบริษัทฯไม่สามารถจัดหาวัตถุดิบอื่นมาทดแทนได้ ซึ่งเดิมบริษัทฯมีแผนจะจัดหากากปิโตรเลียมจากบริษัท สยามกัลฟ์ ปิโตรเคมีคัล (SGPC) มาเป็นวัตถุดิบแทน แต่จนถึงปัจจุบันนี้ สยามกัลฟ์ฯยังไม่สามารถเดินเครืองผลิตเชิงพาณิชย์ได้
ส่วนการนำเข้าวัตถุดิบนั้น คงทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น เนื่องจากโรงกลั่นอาร์พีซีตั้งอยู่ห่างจากท่าเทียบเรือทำให้การขนส่งลำบาก อีกทั้งมีขนาดการกลั่นเพียง 1.7 หมื่นบาร์เรล/วัน ทำให้ไม่มีอำนาจต่อรองในการนำเข้าวัตถุดิบได้
นางศิรพร กล่าวต่อไปว่า บริษัทฯมีแนวคิดนอกกรอบ หากไม่สามารถจัดหาวัตถุดิบได้ว่า บริษัทฯมองลู่ทางการลงทุนธุรกิจอื่นๆแทน อาทิ การลงทุนโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งขณะนี้มีความพร้อมที่จะลงทุนทั้งซัพพลายเออร์และแหล่งเงินกู้ เพียงแต่รอภาครัฐกำหนดนโยบายการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนอีกครั้ง โดยบริษัทฯสนใจลงทุนโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 5-10 เมกะวัตต์
" ที่ผ่านมาบริษัทไม่มีไลเซ่นส์ผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ แต่ก็มีการเจรจากับผู้ที่เป็นเจ้าของไลเซ่นส์หลายราย แต่ยังไม่มึความคืบหน้าในการลงทุนในช่วงนี้ คงอาจต้องรอรัฐเปิดให้ไลเซ่นส์อีกครั้ง ก็จะยื่นเรือง และช่วงนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาเทคโนโลยีในการผลิตให้ต้นทุนต่อหน่วยต่ำ มีต้นทุนน้อยกว่า 100 ล้านบาทต่อเมกะวัตต์"
ส่วนโรงไฟฟ้าพลังลมนั้นยังไม่สนใจ เนื่องจากใช้เงินลงทุนสูงและใช้พื้นที่จำนวนมาก เช่นเดียวกับโรงไฟฟ้าไบโอแมส ที่มีปัญหาราคาวัตถุดิบผันผวน
ส่วนธุรกิจปิโตรเลียมที่บริษัทฯมีความชำนาญ ดังนั้นการลงทุนในอนาคตอาจไม่จำเป็นต้องผูกมัดอยู่เฉพาะในไทย แต่อาจจะลงทุนในต่างประเทศ หรือรับจ้างออกแบบโรงกลั่น เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม หากระยองเพียวฯไม่สามารถกลั่นน้ำมันได้หลังสิ้นเดือนม.ค.นี้ บริษัทฯก็ยังรับรู้รายได้จากบริษัทลูกที่มีรายได้รวมกันประมาณปีละ 7,000 ล้านบาท ขณะที่กลุ่มบริษัทระยองเพียวฯมีรายได้รวมปีละ1.9 หมื่นล้านบาท แต่หากปตท.ป้อนวัตถุดิบเช่นเดิม เชื่อว่าผลการดำเนินงานในปีนี้คงไม่ด้อยกว่าปีที่แล้วอย่างแน่นอน
ก่อนหน้านี้ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้แจ้งบริษัทฯว่าจะไม่ขายคอนเดนเสท เรสซิดิว (CR)ที่ผลิตจากบริษัท ปตท.อะโรเมติกส์และการกลั่น จำกัด (มหาชน) ชื่อเดิมของบริษัท พีทีที โกลบอลเคมิคอล จำกัด (มหาชน) ให้กับโรงกลั่นของบมจ.ระยองเพียว ริฟายเออร์ หลังสิ้นสุดสัญญาซื้อขายครบ 15ปีในวันที่ 31 ม.ค. 2555 แต่ระยองเพียวฯเห็นว่าสัญญาซื้อขายนี้เป็นสัญญาที่ไม่มีกำหนดเวลาสิ้นสุด โดยสัญญาจะต่ออายุอัตโนมัติเมื่อครบ 15ปีแรก หากจะยกเลิกสัญญาต้องได้รับความยินยอมทั้ง 2ฝ่าย
ทำให้ระยองเพียวฯตัดสินใจยื่นฟ้องศาลแพ่งเรียกร้องค่าเสียหายประมาณ 9 พันล้านบาท หากปตท.หยุดป้อนวัตถุดิบให้บริษัทฯ ขณะเดียวกันก็ฟ้องอนุญาโตตุลาการเพื่อให้ปตท. เพื่อให้ปตท.ส่งวัตถุดิบเช่นเดิมหรือยอมชดใช้ค่าเสียหายเกือบ 1 หมื่นล้านบาท ซึ่งอยู่ในกระบวนการพิจารณาศาลฯ
ทั้งนี้ ระยองเพียวฯ มีกำลังการกลั่น 1.7 หมื่นบาร์เรล/วันหรือประมาณ 80 ล้านลิตรต่อเดือน โดยใช้วัตถุดิบคือคอนเดนเสท เรสซิดิวเป็นวัตถุดิบ ขณะเดียวกันก็มีบริษัทลูกที่ดำเนินธุรกิจปั๊มน้ำมันเพียวภายใต้ชื่อเพียวพลังงานไทย บริษัท เพียวไบโอดีเซล จำกัด ดำเนินธุรกิจผลิตไบโอดีเซล และบริษัท เพียวสัมมากร จำกัด ดำเนินธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น