ที่ประชุมวุฒิสภาวานนี้ (16 ม.ค.) โดยมีนางพรทิพย์ โล่ห์วีระ จันทร์รัตนปรีดา รองประธานวุฒิสภาคนที่ 2 ทำหน้าที่เป็นประธาน ได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) สัญชาติ (ฉบับที่ ... ) พ.ศ. .... ในวาระ 2 หลังจากที่คณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.สัญชาติ ที่มีนายมงคล ศรีกำแหง ส.ว.จันทรบุรี เป็นประธาน ได้พิจารณาแล้วเสร็จ โดยกรรมาธิการวิสามัญฯ ได้พิจารณาแก้ไข ใน 2 ประเด็น คือ มาตรา 3 นิยามของคำว่าคนไทยพลัดถิ่น และมาตรา 4 ที่ได้เพิ่มขอเพิ่มข้อความในมาตรา 7/1
ที่ประชุมส่วนใหญ่ได้มีการอภิปรายคัดค้านการผ่านร่าง พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่...) พ.ศ. ... เนื่องจากเห็นว่าการกำหนดนิยามคำว่า คนไทยพลัดถิ่น มีความคลุมเครือ และอาจเป็นผลทำให้คนต่างด้าวลักลอบเข้าประเทศเพื่อขอสัญชาติไทยได้
ด้าน นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา กล่าวว่า นิยามในมาตรา 3 ยังถือว่าไม่มีความชัดเจนและอาจจะทำให้เกิดความสับสนได้ในอนาคต ดังนั้นประเด็นนี้ตนขอเสนอญัตติให้กรรมาธิการวิสามัญฯ ถอนร่างดังกล่าว ออกไปพิจารณาใหม่
นายอนุรักษ์ นิยมเวช ส.ว.สรรหา กล่าวว่า ตามร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวไม่ได้มีการกำหนดระยะเวลาที่จะให้สัญชาติกับคนไทยพลัดถิ่นที่แน่นอน ระบุเพียงว่า ผู้ที่มีเชื้อสายไทย ที่ต้องกลายเป็นคนในบังคับของประเทศอื่น โดยเหตุอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงอาณาเขตของราชอาณาจักรไทยในอดีต ดังนั้นอาจจะทำให้ตีความหมายได้ว่าหมายรวมถึงคนไทยที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงอาณาเขตของประเทศไทย รวม 13 ครั้งที่ผ่านมาด้วยหรือไม่ อย่างไรก็ตามหากเป็นเช่นนั้นจะมีเครื่องพิสูจน์ได้อย่างไรว่า บุคคลที่มาขอสัญชาตินั้นเป็นคนไทยโดยแท้จริง
โดยที่ประชุมฯลงมติเสียงส่วนใหญ่เห็นด้วย 50 เสียง ไม่เห็นด้วย 41 เสียง งดออกเสียง 3 เสียง และไม่ลงคะแนน 1 เสียง ซึ่งที่ประชุมได้มีมติให้กรรมาธิการฯ ถอนร่าง พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่) พ.ศ.... ออกเพื่อนำกลับไปทบทวน
ก่อนหน้านั้นที่หน้ารัฐสภา กลุ่มเครือข่ายการแก้ปัญหาคืนสัญชาติคนไทยจังหวัดระนองและจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เรียกร้องต่อสมาชิกวุฒิสภา เพื่อคัดค้านการเพิ่มเติมเนื้อหามาตรา 7/1 เข้ามาในร่างพระราชบัญญัติสัญชาติ เพราะการสำรวจที่ผ่านมายังไม่ครอบคลุมคนไทยพลัดถิ่นทั้งหมด โดยมีนายวรินทร์ เทียมจรัส ในฐานะที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาการบังคับใช้กฎหมายและแนวทางแก้ไขการไร้สถานะและสิทธิของบุคคลในประเทศไทย วุฒิสภาออกมารับเรื่อง.
ที่ประชุมส่วนใหญ่ได้มีการอภิปรายคัดค้านการผ่านร่าง พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่...) พ.ศ. ... เนื่องจากเห็นว่าการกำหนดนิยามคำว่า คนไทยพลัดถิ่น มีความคลุมเครือ และอาจเป็นผลทำให้คนต่างด้าวลักลอบเข้าประเทศเพื่อขอสัญชาติไทยได้
ด้าน นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา กล่าวว่า นิยามในมาตรา 3 ยังถือว่าไม่มีความชัดเจนและอาจจะทำให้เกิดความสับสนได้ในอนาคต ดังนั้นประเด็นนี้ตนขอเสนอญัตติให้กรรมาธิการวิสามัญฯ ถอนร่างดังกล่าว ออกไปพิจารณาใหม่
นายอนุรักษ์ นิยมเวช ส.ว.สรรหา กล่าวว่า ตามร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวไม่ได้มีการกำหนดระยะเวลาที่จะให้สัญชาติกับคนไทยพลัดถิ่นที่แน่นอน ระบุเพียงว่า ผู้ที่มีเชื้อสายไทย ที่ต้องกลายเป็นคนในบังคับของประเทศอื่น โดยเหตุอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงอาณาเขตของราชอาณาจักรไทยในอดีต ดังนั้นอาจจะทำให้ตีความหมายได้ว่าหมายรวมถึงคนไทยที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงอาณาเขตของประเทศไทย รวม 13 ครั้งที่ผ่านมาด้วยหรือไม่ อย่างไรก็ตามหากเป็นเช่นนั้นจะมีเครื่องพิสูจน์ได้อย่างไรว่า บุคคลที่มาขอสัญชาตินั้นเป็นคนไทยโดยแท้จริง
โดยที่ประชุมฯลงมติเสียงส่วนใหญ่เห็นด้วย 50 เสียง ไม่เห็นด้วย 41 เสียง งดออกเสียง 3 เสียง และไม่ลงคะแนน 1 เสียง ซึ่งที่ประชุมได้มีมติให้กรรมาธิการฯ ถอนร่าง พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่) พ.ศ.... ออกเพื่อนำกลับไปทบทวน
ก่อนหน้านั้นที่หน้ารัฐสภา กลุ่มเครือข่ายการแก้ปัญหาคืนสัญชาติคนไทยจังหวัดระนองและจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เรียกร้องต่อสมาชิกวุฒิสภา เพื่อคัดค้านการเพิ่มเติมเนื้อหามาตรา 7/1 เข้ามาในร่างพระราชบัญญัติสัญชาติ เพราะการสำรวจที่ผ่านมายังไม่ครอบคลุมคนไทยพลัดถิ่นทั้งหมด โดยมีนายวรินทร์ เทียมจรัส ในฐานะที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาการบังคับใช้กฎหมายและแนวทางแก้ไขการไร้สถานะและสิทธิของบุคคลในประเทศไทย วุฒิสภาออกมารับเรื่อง.