ประเทศไทยเป็นประเทศที่ใช้รัฐธรรมนูญเปลืองที่สุด คือ มีมาแล้ว 20 กว่าฉบับ ผิดกับประเทศอื่นที่รัฐธรรมนูญของเขามีการเปลี่ยนแปลงก็เฉพาะการแก้ไขให้ทันสมัยขึ้น ส่วนหลักการเดิมยังคงเหมือนเดิม
มีคนให้ข้อสังเกตว่า รัฐธรรมนูญนั้นเป็นกติกาที่คณะผู้มีอำนาจจัดทำขึ้นตามความต้องการเฉพาะของพวกตนเอง ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับผลประโยชน์ของมหาชน จะว่าไปแล้วนี่ก็เป็นการพูดเกินความจริงไป เพราะแม้รัฐธรรมนูญจะเปลี่ยนไปหลายครั้ง แต่โดยรวมแล้วก็ต้องถือว่าสิทธิเสรีภาพของประชาชนดีขึ้น โดยเฉพาะสิทธิใหม่ๆ เช่น สิทธิของชุมชน และการมีส่วนร่วม เป็นต้น
ในสมัยก่อน การต่อสู้และความขัดแย้งทางการเมืองไทย เป็นประเด็นเกี่ยวกับความไม่เป็นประชาธิปไตยของรัฐธรรมนูญ แต่ปัญหานี้หมดไปแล้ว คงเหลือแต่การที่จะหาโอกาสของความได้เปรียบ-เสียเปรียบทางการเมืองที่มีอยู่ในบทบัญญัติบางมาตราเท่านั้น
ประเด็นสำคัญก็คือ การจำกัดอำนาจของนักการเมืองว่าจะทำอะไรได้ และทำอะไรไม่ได้ เหมือนอย่างความต้องการที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็เช่นกัน โดยมีข้ออ้างว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้ คณะปฏิวัติเป็นผู้จัดทำขึ้น
เนื่องจากประชาธิปไตยของไทย ทำให้นักการเมืองมีความชอบธรรม และมีอำนาจมาก รัฐธรรมนูญในสมัยหลังๆ จึงเป็นเรื่องของความพยายามที่จะเหนี่ยวรั้งการใช้อำนาจของนักการเมือง ซึ่งก็เป็นความจริง ดังจะเห็นได้จากความพยายามในการออกพระราชกำหนดโอนหนี้ไปให้กับธนาคารแห่งประเทศไทย เพราะจะเอาเงินมาใช้ฟื้นฟูประเทศโดยมีข้ออ้างว่า เนื่องจากธนาคารแห่งประเทศไทย ไม่ใช่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ จึงไม่ต้องเอาหนี้มารวมเป็นหนี้ของประเทศ นี่คือการใช้วิธีการของศรีธนญชัยเราดีๆ นั่นเอง
ความพยายามในการเหนี่ยวรั้งการใช้อำนาจของนักการเมืองนี้เป็นสิ่งจำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าพลังทางการเมืองภายในระบบ เช่น พรรคการเมืองไม่อาจทำหน้าที่นี้ได้ ก็ต้องอาศัยพลังอื่นๆ แทน ในประเทศที่เป็นประชาธิปไตยที่ก้าวหน้าแล้ว พลังทางการเมืองเข้มแข็งพอที่จะถ่วงดุลเหนี่ยวรั้งอำนาจของแต่ละกลุ่มได้ จึงไม่มีความจำเป็นจะต้องไปกำหนดมาตรการเหล่านี้ไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่สำหรับประเทศไทยแล้ว การเมืองกลายเป็นธุรกิจเพราะมีการใช้เงินแข่งขันกันมาก พรรคที่ชนะการเลือกตั้งเป็นพรรคที่มีเงิน หากไม่ระมัดระวังคอยตรวจสอบแล้ว พรรคนั้นก็จะอ้างความชอบธรรมมากำหนดนโยบาย และใช้เงินงบประมาณเพื่อสนองตอบต่อผลประโยชน์ของตนเอง
รัฐธรรมนูญมีบทบัญญัติบางบทที่แรงมาก เช่น การลงโทษพรรคการเมืองถึงกับขั้นยุบพรรค เป็นต้น บทบัญญัตินี้มีผลเพียงการห้ามผู้ถูกลงโทษดำรงตำแหน่งทางการเมือง แต่ตามความเป็นจริงแล้ว นักการเมืองเหล่านี้ก็ยังสามารถเข้ามาชักใยอยู่เบื้องหลัง โดยให้เมีย พี่เขย หรือลูกน้องเป็นแทน แต่การตัดสินใจยังคงอยู่ที่นักการเมืองผู้นั้น
อีกไม่นาน นักการเมืองที่ถูกลงโทษก็จะพ้นโทษแล้ว คงจะมีการปรับเปลี่ยนคณะรัฐมนตรีกันอีก แต่ก็คงไม่มีอะไรดีไปกว่าเดิม
ปัญหาใหญ่ที่รัฐบาลต้องเผชิญคือ ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน ปีนี้ก็ยังมีผู้คาดการณ์ว่าน้ำจะท่วมอีกหากเป็นความจริง เศรษฐกิจก็คงจะย่อยยับ เพราะเราหวังไม่ได้ว่าการจัดการจะดีขึ้น ผู้คนคงตกงานอีกมาก โจรผู้ร้ายก็จะชุกชุม
ประเด็นที่เริ่มเป็นปัญหาของสังคม แม้จะจำกัดวงเล็กๆ แต่ก็น่าติดตาม นั่นคือการเริ่มเข้าไปแตะต้องบทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ ถึงกับมีข้อเสนอว่า พระมหากษัตริย์ไม่ควรมีพระราชดำรัส นี่เป็นเรื่องที่มากไปกว่าการคิดจะแก้ไขมาตรา 112 ซึ่งก็ยังคงฟังขึ้นในแง่ของความรุนแรงในบทลงโทษ การห้ามพระมหากษัตริย์มีพระราชดำรัสนี้ ก้าวล่วงไปถึงขั้นการทำลายความสัมพันธ์ระหว่างพระมหากษัตริย์กับประชาชน และสะท้อนถึงความกลัวพลังของสถาบันพระมหากษัตริย์ บุคคลเหล่านี้ต้องการให้สถาบันพระมหากษัตริย์มีฐานะเพียงสัญลักษณ์เท่านั้น ซึ่งคงเป็นไปไม่ได้ เพราะสังคมไทยมีวิวัฒนาการแตกต่างไปจากสังคมอื่น
สรุปแล้ว การเมืองไทยปีนี้ จะต้องเผชิญกับปัญหาของการพยายามขัดขวางการเหนี่ยวรั้งอำนาจของนักการเมือง การแก้รัฐธรรมนูญที่เป็นเพียงการให้นักการเมืองมีอำนาจมากขึ้น ย่อมไม่เป็นผลดีต่อประชาชน และประเทศชาติโดยรวม
มีคนให้ข้อสังเกตว่า รัฐธรรมนูญนั้นเป็นกติกาที่คณะผู้มีอำนาจจัดทำขึ้นตามความต้องการเฉพาะของพวกตนเอง ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับผลประโยชน์ของมหาชน จะว่าไปแล้วนี่ก็เป็นการพูดเกินความจริงไป เพราะแม้รัฐธรรมนูญจะเปลี่ยนไปหลายครั้ง แต่โดยรวมแล้วก็ต้องถือว่าสิทธิเสรีภาพของประชาชนดีขึ้น โดยเฉพาะสิทธิใหม่ๆ เช่น สิทธิของชุมชน และการมีส่วนร่วม เป็นต้น
ในสมัยก่อน การต่อสู้และความขัดแย้งทางการเมืองไทย เป็นประเด็นเกี่ยวกับความไม่เป็นประชาธิปไตยของรัฐธรรมนูญ แต่ปัญหานี้หมดไปแล้ว คงเหลือแต่การที่จะหาโอกาสของความได้เปรียบ-เสียเปรียบทางการเมืองที่มีอยู่ในบทบัญญัติบางมาตราเท่านั้น
ประเด็นสำคัญก็คือ การจำกัดอำนาจของนักการเมืองว่าจะทำอะไรได้ และทำอะไรไม่ได้ เหมือนอย่างความต้องการที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็เช่นกัน โดยมีข้ออ้างว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้ คณะปฏิวัติเป็นผู้จัดทำขึ้น
เนื่องจากประชาธิปไตยของไทย ทำให้นักการเมืองมีความชอบธรรม และมีอำนาจมาก รัฐธรรมนูญในสมัยหลังๆ จึงเป็นเรื่องของความพยายามที่จะเหนี่ยวรั้งการใช้อำนาจของนักการเมือง ซึ่งก็เป็นความจริง ดังจะเห็นได้จากความพยายามในการออกพระราชกำหนดโอนหนี้ไปให้กับธนาคารแห่งประเทศไทย เพราะจะเอาเงินมาใช้ฟื้นฟูประเทศโดยมีข้ออ้างว่า เนื่องจากธนาคารแห่งประเทศไทย ไม่ใช่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ จึงไม่ต้องเอาหนี้มารวมเป็นหนี้ของประเทศ นี่คือการใช้วิธีการของศรีธนญชัยเราดีๆ นั่นเอง
ความพยายามในการเหนี่ยวรั้งการใช้อำนาจของนักการเมืองนี้เป็นสิ่งจำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าพลังทางการเมืองภายในระบบ เช่น พรรคการเมืองไม่อาจทำหน้าที่นี้ได้ ก็ต้องอาศัยพลังอื่นๆ แทน ในประเทศที่เป็นประชาธิปไตยที่ก้าวหน้าแล้ว พลังทางการเมืองเข้มแข็งพอที่จะถ่วงดุลเหนี่ยวรั้งอำนาจของแต่ละกลุ่มได้ จึงไม่มีความจำเป็นจะต้องไปกำหนดมาตรการเหล่านี้ไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่สำหรับประเทศไทยแล้ว การเมืองกลายเป็นธุรกิจเพราะมีการใช้เงินแข่งขันกันมาก พรรคที่ชนะการเลือกตั้งเป็นพรรคที่มีเงิน หากไม่ระมัดระวังคอยตรวจสอบแล้ว พรรคนั้นก็จะอ้างความชอบธรรมมากำหนดนโยบาย และใช้เงินงบประมาณเพื่อสนองตอบต่อผลประโยชน์ของตนเอง
รัฐธรรมนูญมีบทบัญญัติบางบทที่แรงมาก เช่น การลงโทษพรรคการเมืองถึงกับขั้นยุบพรรค เป็นต้น บทบัญญัตินี้มีผลเพียงการห้ามผู้ถูกลงโทษดำรงตำแหน่งทางการเมือง แต่ตามความเป็นจริงแล้ว นักการเมืองเหล่านี้ก็ยังสามารถเข้ามาชักใยอยู่เบื้องหลัง โดยให้เมีย พี่เขย หรือลูกน้องเป็นแทน แต่การตัดสินใจยังคงอยู่ที่นักการเมืองผู้นั้น
อีกไม่นาน นักการเมืองที่ถูกลงโทษก็จะพ้นโทษแล้ว คงจะมีการปรับเปลี่ยนคณะรัฐมนตรีกันอีก แต่ก็คงไม่มีอะไรดีไปกว่าเดิม
ปัญหาใหญ่ที่รัฐบาลต้องเผชิญคือ ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน ปีนี้ก็ยังมีผู้คาดการณ์ว่าน้ำจะท่วมอีกหากเป็นความจริง เศรษฐกิจก็คงจะย่อยยับ เพราะเราหวังไม่ได้ว่าการจัดการจะดีขึ้น ผู้คนคงตกงานอีกมาก โจรผู้ร้ายก็จะชุกชุม
ประเด็นที่เริ่มเป็นปัญหาของสังคม แม้จะจำกัดวงเล็กๆ แต่ก็น่าติดตาม นั่นคือการเริ่มเข้าไปแตะต้องบทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ ถึงกับมีข้อเสนอว่า พระมหากษัตริย์ไม่ควรมีพระราชดำรัส นี่เป็นเรื่องที่มากไปกว่าการคิดจะแก้ไขมาตรา 112 ซึ่งก็ยังคงฟังขึ้นในแง่ของความรุนแรงในบทลงโทษ การห้ามพระมหากษัตริย์มีพระราชดำรัสนี้ ก้าวล่วงไปถึงขั้นการทำลายความสัมพันธ์ระหว่างพระมหากษัตริย์กับประชาชน และสะท้อนถึงความกลัวพลังของสถาบันพระมหากษัตริย์ บุคคลเหล่านี้ต้องการให้สถาบันพระมหากษัตริย์มีฐานะเพียงสัญลักษณ์เท่านั้น ซึ่งคงเป็นไปไม่ได้ เพราะสังคมไทยมีวิวัฒนาการแตกต่างไปจากสังคมอื่น
สรุปแล้ว การเมืองไทยปีนี้ จะต้องเผชิญกับปัญหาของการพยายามขัดขวางการเหนี่ยวรั้งอำนาจของนักการเมือง การแก้รัฐธรรมนูญที่เป็นเพียงการให้นักการเมืองมีอำนาจมากขึ้น ย่อมไม่เป็นผลดีต่อประชาชน และประเทศชาติโดยรวม