ตอนนี้ขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อล้มล้างกฎหมายอาญามาตรา 112 กำลังขยายตัวอย่างกว้างขวาง ฝ่ายที่ต่อต้านมาตรานี้ส่วนใหญ่บอกว่า ให้ยกเลิกมาตรานี้ไปแล้วให้ไปใช้กฎหมายหมิ่นประมาทปกติ และให้สำนักราชเลขาธิการเป็นผู้ร้องทุกข์กล่าวโทษเท่านั้น
กล่าวง่ายๆ ก็คือให้สำนักราชเลขาธิการเป็นตัวแทนของพระมหากษัตริย์ในการแจ้งความดำเนินคดีเอากับผู้หมิ่นประมาทเฉกเช่นเดียวกับบุคลทั่วไป ต่างกันเพียงแต่พระมหากษัตริย์ไม่ได้ลงมาแจ้งความดำเนินคดีด้วยพระองค์เอง
กฎหมายอาญา มาตรา 112 ระบุว่า “ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย (1) พระมหากษัตริย์ (2) พระราชินี (3) รัชทายาท หรือ (4) ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี”
จะเห็นว่า กฎหมายมาตรานี้ไม่ได้ล่วงละเมิดสิทธิเสรีภาพของใครเลย
แสดงให้เห็นว่า มาตรานี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อคุ้มครององค์ประมุขของประเทศ แม้กระทั่งประเทศเยอรมนีซึ่งเป็น “สาธารณรัฐ” ก็มีกฎหมายทำนองนี้
ถามว่าประเทศต่างๆ ที่เป็นราชอาณาจักร เช่น เนเธอร์แลนด์ สเปน นอร์เวย์ สวีเดน จอร์แดน เดนมาร์ก เป็นอย่างไร คำตอบก็คือประเทศเหล่านี้ล้วนมีมาตราที่ระบุให้กษัตริย์อยู่ในสถานะที่ละเมิดหรือกล่าวโทษไม่ได้
กฎหมายมาตรานี้จึงเป็นไปตามบรรทัดฐานของสากล
ในฐานะที่เราเป็นสังคมอารยะ ผมเห็นด้วยที่มีการวิพากษ์วิจารณ์มาตรานี้ แต่ต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของเหตุและผล อย่าว่าแต่วิจารณ์มาตรานี้เลยแม้กระทั่งในหลวงเองก็ทรงเคยตรัสในวันเฉลิมพระชนมพรรษาปี 2548 มีใจความที่สำคัญตอนหนึ่งว่า
“ความจริง ก็จะต้องวิจารณ์บ้างเหมือนกัน แล้วก็ไม่กลัวถ้าใครจะวิจารณ์ ว่าทำไม่ดีตรงนั้นๆ จะได้รู้ เพราะว่าถ้าบอกว่าพระเจ้าอยู่หัว ไปวิจารณ์ท่านไม่ได้ ก็หมายความว่าพระเจ้าอยู่หัวไม่เป็นคน”
แม้กฎหมายมาตรา 112 จะเขียนขึ้นมาปกป้องสถานะประมุขของประเทศ แต่สิ่งที่ในหลวงทรงทำเสมอมา และกล่าวไว้ในพระราชดำรัสครั้งนั้นก็คือ พระองค์ทรงให้อภัย
“แต่อย่างไรก็ตาม เข้าคุกแล้ว ถ้าเป็นการละเมิด ละเมิดพระมหากษัตริย์ พระมหากษัตริย์เองเดือดร้อน เดือดร้อนหลายทาง ทางหนึ่งต่างประเทศเขาบอกว่าเมืองไทยนี่ พูดวิจารณ์พระมหากษัตริย์ไม่ได้ วิจารณ์ไม่ได้ก็เข้าคุก มีที่เข้าคุก เดือดร้อนพระมหากษัตริย์ ต้องบอกว่า เข้าคุกแล้ว ต้องให้อภัย ทั้งที่เขาด่าเราอย่างหนักๆ”
ผมคิดว่าน้ำพระทัยอันกว้างขวางของพระองค์นั้น ต้องแยกออกจากบรรทัดฐานของสังคม นั่นคือ สังคมต้องมีกฎหมายเพื่อสร้างกติการ่วมกัน
ประเด็นสำคัญที่ต้องถกเถียงกัน คือ การบังคับใช้กฎหมายต้องมีความเป็นธรรมหรือไม่ สอดคล้องกับแนวทางพระราชดำรัสหรือไม่
ผมเห็นว่า ในระยะหลังนี้มีการวิพากษ์วิจารณ์บทบาทและสถานะของสถาบันพระมหากษัตริย์กันอย่างเปิดเผยและกว้างขวาง แต่เราต้องยอมรับความจริงข้อหนึ่งว่า ไม่ได้หมายความว่า ผู้วิพากษ์วิจารณ์ทุกคนจะถูกดำเนินคดีด้วยมาตรา 112 แต่อย่างไร เข้าไปอ่านเฟซบุ๊กของสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ก็มีการวิพากษ์วิจารณ์บทบาทและสถานะของพระมหากษัตริย์และสถาบันพระมหากษัตริย์ทุกวัน วันละหลายๆ ครั้ง แม้สมศักดิ์จะเป็นผู้หนึ่งที่กำลังถูกดำเนินคดีตามมาตรา 112 แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า สมศักดิ์จะถูกแจ้งความดำเนินคดีในทุกครั้งและทุกวัน
แต่การวิพากษ์วิจารณ์นั้นย่อมมีความหมายที่แตกต่างกับการด่าทอแบบหยาบๆคายๆ การใส่ร้าย การทำให้เสื่อมเสีย หรือการบิดเบือนความจริง
แต่ถ้าเราเห็นการเคลื่อนไหวของขบวนการไม่เอาสถาบันพระมหากษัตริย์ที่เคลื่อนไหวอย่างเปิดเผย โดยเฉพาะในสังคมออนไลน์นั้นส่วนใหญ่ได้ล้ำเส้นการวิพากษ์วิจารณ์ไปแล้ว มีข้อความที่หยาบคายเต็มไปหมด ข้อความที่ปรากฏเหล่านั้นอย่าว่าแต่กล่าวหาพระมหากษัตริย์เลย แม้กระทั่งการกล่าวหาบุคคลทั่วไปก็ต้องนับเป็นข้อความที่รุนแรงมาก
ฝ่ายที่ออกมารณรงค์ให้ทบทวนกฎหมายมาตรา 112 อาจจะไม่สามารถพูดได้ทั้งหมดว่า เป็นฝ่ายไม่เอาเจ้า แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เช่นกันว่า กำลังสำคัญคือกลุ่มไม่เอาเจ้า และแม้ว่าจะปฏิเสธไม่ได้เช่นกันว่า คนเสื้อแดงส่วนหนึ่งยังเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ ไม่ใช่คนเสื้อแดงทั้งหมดไม่เอาเจ้า แต่ต้องยอมรับว่าคนที่ไม่เอาเจ้าส่วนใหญ่นั้นเป็นคนเสื้อแดง
แม้ผมเห็นด้วยกับที่สังคมนำกฎหมายอาญา มาตรา 112 มาถกเถียงกัน แต่ผมไม่เห็นด้วยการตั้งโจทย์แบบว่า กฎหมายผิดดังนั้นต้องยกเลิก แต่ต้องถกเถียงกันด้วยข้อเท็จจริงและบริบทของเนื้อหาของแต่ละคดีที่แตกต่างกันไป มองที่การบังคับใช้กฎหมายว่าเป็นธรรมหรือไม่ ไม่ใช่กระทำความผิด กล้ากระทำความผิด กระทำเพื่อท้าทายกฎหมายแล้วโทษว่า กฎหมายผิด
เพราะการเคลื่อนไหวที่ออกมายกเลิกมาตรานี้มีนัยสำคัญที่ได้ยินบ่อยและนำมาอ้างคือ ความถี่ในการฟ้องร้องคดี และฝ่ายต่อต้านเห็นว่า มีการฟ้องร้องเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ อย่างมีนัยสำคัญ
ซึ่งผมคิดว่าเป็นเรื่องที่ตลกมาก เพราะปัญหาเรื่องความถี่ และการฟ้องร้องที่เพิ่มจำนวนขึ้นไม่ได้เป็นข้ออ้างที่ฟังขึ้นเสียทั้งหมด ประเด็นนี้จึงต้องไปดูว่า เพราะมีคนกระทำความผิดและท้าทายกฎหมายนี้มากขึ้นด้วยหรือไม่ และเราคงปฏิเสธความจริงไม่ได้ว่า มีคนออกมาท้าทายกล่าวหาจาบจ้วงสถาบันเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเช่นเดียวกัน
การเพิ่มขึ้นของการฟ้องร้องบังคับใช้กฎหมายนี้ จึงเป็นการเพิ่มขึ้นตามอุปสงค์อุปทานของมัน ไม่เป็นเหตุเป็นผลว่า กฎหมายนี้มีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นจากในอดีตแต่อย่างไร นอกจากกฎหมายเป็นเช่นนั้นของมันอยู่แล้ว เพียงแต่มีผู้ไปกระทำผิดมากขึ้นเท่านั้นเอง
หรืออย่าไปอ้างแบบลิเกว่า เพราะมีกฎหมายมาตรา 112 อยู่ ทำให้ไม่สามารถเขียนหนังสือได้ เพราะเป็นการประจานตัวเองว่าไม่มีศิลปะในการเขียนและการซ่อนนัย หรืออยากแก้ผ้าโชว์นมหมดอายุแต่อ้างเรื่องนี้มาบังหน้า
กรณีชายที่ถูกกล่าวหาว่า ส่ง SMS เข้าข่ายความผิดตามมาตรานี้นั้น ต้องดูที่เนื้อหาและพฤติกรรมว่ากระทำผิดจริงหรือไม่ ถ้าไม่ได้กระทำผิดเป็นผม ผมก็ต้องต่อสู้คดีเพื่อแสวงหาความยุติธรรม แต่ผมจะไม่ยอมตกเป็นเครื่องมือของขบวนการล้มเจ้าและพวกที่ต้องการนำคดีนี้ไปขยายผลเพื่อตอบสนองความต้องการของตัวเอง
ผมเห็นด้วยว่า ต้องดูว่าคดีนี้ผู้ถูกกล่าวหาได้รับความเป็นธรรมหรือไม่ การบังคับใช้กฎหมายเป็นธรรมหรือไม่ ผู้ต้องหากระทำความผิดจริงหรือไม่ แต่ผมไม่เห็นด้วยกับวิธีที่กำลังดราม่าสังคมว่า ชายคนนี้เป็น “อากง” เพื่อให้ดูว่าเป็นคนแก่ถูกทำร้าย หรือตั้งคำถามทำนองว่า ส่ง SMS ทำไมจำคุกตั้ง 20 ปี ทั้งที่จริงๆ แล้วเป็นความผิดในแต่ละกระทงซึ่งเป็นหลักการของการพิจารณาคดีอาญาโดยทั่วไป ซึ่งประเด็นไม่ได้อยู่ที่กระทำความผิดด้วยวิธีส่ง SMS หรือวิธีไหน ไม่เช่นนั้นก็จะกล่าวได้ว่า แทงคนตายด้วยเข็มกับมีดโทษต้องไม่เท่ากัน
แต่ถ้าไม่มีทางออก ผมขอท้าทายรัฐบาลของคนเสื้อแดงว่า เรามาทำประชาพิจารณ์ไหมว่า คนไทยต้องการให้มีมาตรา 112 ไว้หรือไม่ ในเมื่อเราต่างอ้างว่า เป็นนักประชาธิปไตยและผมเชื่อว่าในหลวงก็ทรงเป็นนักประชาธิปไตย
กล่าวง่ายๆ ก็คือให้สำนักราชเลขาธิการเป็นตัวแทนของพระมหากษัตริย์ในการแจ้งความดำเนินคดีเอากับผู้หมิ่นประมาทเฉกเช่นเดียวกับบุคลทั่วไป ต่างกันเพียงแต่พระมหากษัตริย์ไม่ได้ลงมาแจ้งความดำเนินคดีด้วยพระองค์เอง
กฎหมายอาญา มาตรา 112 ระบุว่า “ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย (1) พระมหากษัตริย์ (2) พระราชินี (3) รัชทายาท หรือ (4) ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี”
จะเห็นว่า กฎหมายมาตรานี้ไม่ได้ล่วงละเมิดสิทธิเสรีภาพของใครเลย
แสดงให้เห็นว่า มาตรานี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อคุ้มครององค์ประมุขของประเทศ แม้กระทั่งประเทศเยอรมนีซึ่งเป็น “สาธารณรัฐ” ก็มีกฎหมายทำนองนี้
ถามว่าประเทศต่างๆ ที่เป็นราชอาณาจักร เช่น เนเธอร์แลนด์ สเปน นอร์เวย์ สวีเดน จอร์แดน เดนมาร์ก เป็นอย่างไร คำตอบก็คือประเทศเหล่านี้ล้วนมีมาตราที่ระบุให้กษัตริย์อยู่ในสถานะที่ละเมิดหรือกล่าวโทษไม่ได้
กฎหมายมาตรานี้จึงเป็นไปตามบรรทัดฐานของสากล
ในฐานะที่เราเป็นสังคมอารยะ ผมเห็นด้วยที่มีการวิพากษ์วิจารณ์มาตรานี้ แต่ต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของเหตุและผล อย่าว่าแต่วิจารณ์มาตรานี้เลยแม้กระทั่งในหลวงเองก็ทรงเคยตรัสในวันเฉลิมพระชนมพรรษาปี 2548 มีใจความที่สำคัญตอนหนึ่งว่า
“ความจริง ก็จะต้องวิจารณ์บ้างเหมือนกัน แล้วก็ไม่กลัวถ้าใครจะวิจารณ์ ว่าทำไม่ดีตรงนั้นๆ จะได้รู้ เพราะว่าถ้าบอกว่าพระเจ้าอยู่หัว ไปวิจารณ์ท่านไม่ได้ ก็หมายความว่าพระเจ้าอยู่หัวไม่เป็นคน”
แม้กฎหมายมาตรา 112 จะเขียนขึ้นมาปกป้องสถานะประมุขของประเทศ แต่สิ่งที่ในหลวงทรงทำเสมอมา และกล่าวไว้ในพระราชดำรัสครั้งนั้นก็คือ พระองค์ทรงให้อภัย
“แต่อย่างไรก็ตาม เข้าคุกแล้ว ถ้าเป็นการละเมิด ละเมิดพระมหากษัตริย์ พระมหากษัตริย์เองเดือดร้อน เดือดร้อนหลายทาง ทางหนึ่งต่างประเทศเขาบอกว่าเมืองไทยนี่ พูดวิจารณ์พระมหากษัตริย์ไม่ได้ วิจารณ์ไม่ได้ก็เข้าคุก มีที่เข้าคุก เดือดร้อนพระมหากษัตริย์ ต้องบอกว่า เข้าคุกแล้ว ต้องให้อภัย ทั้งที่เขาด่าเราอย่างหนักๆ”
ผมคิดว่าน้ำพระทัยอันกว้างขวางของพระองค์นั้น ต้องแยกออกจากบรรทัดฐานของสังคม นั่นคือ สังคมต้องมีกฎหมายเพื่อสร้างกติการ่วมกัน
ประเด็นสำคัญที่ต้องถกเถียงกัน คือ การบังคับใช้กฎหมายต้องมีความเป็นธรรมหรือไม่ สอดคล้องกับแนวทางพระราชดำรัสหรือไม่
ผมเห็นว่า ในระยะหลังนี้มีการวิพากษ์วิจารณ์บทบาทและสถานะของสถาบันพระมหากษัตริย์กันอย่างเปิดเผยและกว้างขวาง แต่เราต้องยอมรับความจริงข้อหนึ่งว่า ไม่ได้หมายความว่า ผู้วิพากษ์วิจารณ์ทุกคนจะถูกดำเนินคดีด้วยมาตรา 112 แต่อย่างไร เข้าไปอ่านเฟซบุ๊กของสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ก็มีการวิพากษ์วิจารณ์บทบาทและสถานะของพระมหากษัตริย์และสถาบันพระมหากษัตริย์ทุกวัน วันละหลายๆ ครั้ง แม้สมศักดิ์จะเป็นผู้หนึ่งที่กำลังถูกดำเนินคดีตามมาตรา 112 แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า สมศักดิ์จะถูกแจ้งความดำเนินคดีในทุกครั้งและทุกวัน
แต่การวิพากษ์วิจารณ์นั้นย่อมมีความหมายที่แตกต่างกับการด่าทอแบบหยาบๆคายๆ การใส่ร้าย การทำให้เสื่อมเสีย หรือการบิดเบือนความจริง
แต่ถ้าเราเห็นการเคลื่อนไหวของขบวนการไม่เอาสถาบันพระมหากษัตริย์ที่เคลื่อนไหวอย่างเปิดเผย โดยเฉพาะในสังคมออนไลน์นั้นส่วนใหญ่ได้ล้ำเส้นการวิพากษ์วิจารณ์ไปแล้ว มีข้อความที่หยาบคายเต็มไปหมด ข้อความที่ปรากฏเหล่านั้นอย่าว่าแต่กล่าวหาพระมหากษัตริย์เลย แม้กระทั่งการกล่าวหาบุคคลทั่วไปก็ต้องนับเป็นข้อความที่รุนแรงมาก
ฝ่ายที่ออกมารณรงค์ให้ทบทวนกฎหมายมาตรา 112 อาจจะไม่สามารถพูดได้ทั้งหมดว่า เป็นฝ่ายไม่เอาเจ้า แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เช่นกันว่า กำลังสำคัญคือกลุ่มไม่เอาเจ้า และแม้ว่าจะปฏิเสธไม่ได้เช่นกันว่า คนเสื้อแดงส่วนหนึ่งยังเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ ไม่ใช่คนเสื้อแดงทั้งหมดไม่เอาเจ้า แต่ต้องยอมรับว่าคนที่ไม่เอาเจ้าส่วนใหญ่นั้นเป็นคนเสื้อแดง
แม้ผมเห็นด้วยกับที่สังคมนำกฎหมายอาญา มาตรา 112 มาถกเถียงกัน แต่ผมไม่เห็นด้วยการตั้งโจทย์แบบว่า กฎหมายผิดดังนั้นต้องยกเลิก แต่ต้องถกเถียงกันด้วยข้อเท็จจริงและบริบทของเนื้อหาของแต่ละคดีที่แตกต่างกันไป มองที่การบังคับใช้กฎหมายว่าเป็นธรรมหรือไม่ ไม่ใช่กระทำความผิด กล้ากระทำความผิด กระทำเพื่อท้าทายกฎหมายแล้วโทษว่า กฎหมายผิด
เพราะการเคลื่อนไหวที่ออกมายกเลิกมาตรานี้มีนัยสำคัญที่ได้ยินบ่อยและนำมาอ้างคือ ความถี่ในการฟ้องร้องคดี และฝ่ายต่อต้านเห็นว่า มีการฟ้องร้องเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ อย่างมีนัยสำคัญ
ซึ่งผมคิดว่าเป็นเรื่องที่ตลกมาก เพราะปัญหาเรื่องความถี่ และการฟ้องร้องที่เพิ่มจำนวนขึ้นไม่ได้เป็นข้ออ้างที่ฟังขึ้นเสียทั้งหมด ประเด็นนี้จึงต้องไปดูว่า เพราะมีคนกระทำความผิดและท้าทายกฎหมายนี้มากขึ้นด้วยหรือไม่ และเราคงปฏิเสธความจริงไม่ได้ว่า มีคนออกมาท้าทายกล่าวหาจาบจ้วงสถาบันเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเช่นเดียวกัน
การเพิ่มขึ้นของการฟ้องร้องบังคับใช้กฎหมายนี้ จึงเป็นการเพิ่มขึ้นตามอุปสงค์อุปทานของมัน ไม่เป็นเหตุเป็นผลว่า กฎหมายนี้มีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นจากในอดีตแต่อย่างไร นอกจากกฎหมายเป็นเช่นนั้นของมันอยู่แล้ว เพียงแต่มีผู้ไปกระทำผิดมากขึ้นเท่านั้นเอง
หรืออย่าไปอ้างแบบลิเกว่า เพราะมีกฎหมายมาตรา 112 อยู่ ทำให้ไม่สามารถเขียนหนังสือได้ เพราะเป็นการประจานตัวเองว่าไม่มีศิลปะในการเขียนและการซ่อนนัย หรืออยากแก้ผ้าโชว์นมหมดอายุแต่อ้างเรื่องนี้มาบังหน้า
กรณีชายที่ถูกกล่าวหาว่า ส่ง SMS เข้าข่ายความผิดตามมาตรานี้นั้น ต้องดูที่เนื้อหาและพฤติกรรมว่ากระทำผิดจริงหรือไม่ ถ้าไม่ได้กระทำผิดเป็นผม ผมก็ต้องต่อสู้คดีเพื่อแสวงหาความยุติธรรม แต่ผมจะไม่ยอมตกเป็นเครื่องมือของขบวนการล้มเจ้าและพวกที่ต้องการนำคดีนี้ไปขยายผลเพื่อตอบสนองความต้องการของตัวเอง
ผมเห็นด้วยว่า ต้องดูว่าคดีนี้ผู้ถูกกล่าวหาได้รับความเป็นธรรมหรือไม่ การบังคับใช้กฎหมายเป็นธรรมหรือไม่ ผู้ต้องหากระทำความผิดจริงหรือไม่ แต่ผมไม่เห็นด้วยกับวิธีที่กำลังดราม่าสังคมว่า ชายคนนี้เป็น “อากง” เพื่อให้ดูว่าเป็นคนแก่ถูกทำร้าย หรือตั้งคำถามทำนองว่า ส่ง SMS ทำไมจำคุกตั้ง 20 ปี ทั้งที่จริงๆ แล้วเป็นความผิดในแต่ละกระทงซึ่งเป็นหลักการของการพิจารณาคดีอาญาโดยทั่วไป ซึ่งประเด็นไม่ได้อยู่ที่กระทำความผิดด้วยวิธีส่ง SMS หรือวิธีไหน ไม่เช่นนั้นก็จะกล่าวได้ว่า แทงคนตายด้วยเข็มกับมีดโทษต้องไม่เท่ากัน
แต่ถ้าไม่มีทางออก ผมขอท้าทายรัฐบาลของคนเสื้อแดงว่า เรามาทำประชาพิจารณ์ไหมว่า คนไทยต้องการให้มีมาตรา 112 ไว้หรือไม่ ในเมื่อเราต่างอ้างว่า เป็นนักประชาธิปไตยและผมเชื่อว่าในหลวงก็ทรงเป็นนักประชาธิปไตย