ASTVผู้จัดการรายวัน - พม.เสนอฟื้นโครงการบ้านเอื้ออาทร เตรียมสร้างเพิ่ม 4 แสนยูนิต ขาย 6 แสนบาทต่อยูนิต 2.4 แสนล้านบาท คาดต้องใช้งบอุดหนุนแบบให้เปล่ากว่า 4 หมื่นล้านบาท คาดหลัง กยน.สรุปผลข้อมูลระบบระบายน้ำ การบุกรุกปลูกสร้างที่อยู่อาศัยล้ำคูคลองใน กทม.ชัด
นายสันติ พร้อมพัฒน์ รมว.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เปิดเผยว่า หลังจากคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการวางระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.) สรุปข้อมูลความเสียหาย และการศึกษาพื้นที่คูคลองที่ถูกรุกล้ำก่อสร้างที่อยู่อาศัยในกทม. และระบบระบายน้ำทั้งหมดชัดเจนแล้ว พม.จะนำแผนการพัฒนาโครงการบ้านเอื้ออาทรกลับมาก่อสร้างใหม่ โดยให้เพิ่มยูนิตก่อสร้างอีก 4แสนยูนิต เพื่อรองรับความต้องการด้านที่อย่อาศัยซึ่งยังมีอยู่ต่อเนื่อง
“ข้อสรุปของ กยน. จะทำให้ทราบว่ามีพื้นที่บริเวณรอบคูคลอง และพื้นที่คูคลองที่ถูกบุกรุกในกทม.มีพื้นที่มากน้อยหรือมีจำนวนเท่าใด และหลังจากนั้นรัฐบาลจะทำหน้าที่ขอคืนพื้นที่คูคลองต่างๆ ที่ถูกบุกรุกคืน เพื่อปรับปรุงระบบระบายน้ำเพื่อแก้ปัญหาทางระบายน้ำในระยะยาว ส่วนประชาชนทที่บุกรุกก่อสร้างที่อยู่อาศัยในพื้นที่คูคลองต่างๆนั้น รัฐบาลจะจัดหาที่อยู่อาศัยให้ใหม่ โดยเบื้องต้นนั้น จะย้ายถูกที่บุกรุกคูคลองต่างๆ ไปอยู่ในบ้านเอื้ออาทร”
ทั้งนี้ โครงการบ้านเอื้อาทรเดิมมีแผนจะก่อสร้างบ้านทั้งสิ้น 6แสนยูนิต แต่ถูกรัฐบาลชุดก่อนหน้าปรับลดจำนวนการก่อสร้างลงเหลือ 2.3 แสนยูนิต ทำให้ยังมีดีมานด์ที่ตกค้างอยู่จำนวนมาก ซึ่งจากการสำรวจล่าสุดพบว่ายังมีดีมานด์ไม่น้อยกว่า 5-7หมื่นยูนิต ขณะที่จำนวนบ้านเอื้อฯที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ อยู่ระหว่างการส่งมอบและเป็นสต๊อกที่รอขายในมือ การเหคะแห่งชาติในขระนี้มีจำนวนรวมกว่า3-4หมือนยูนิต
สำหรับโครงการบ้านเอื้ออาทรล็อตใหม่จำนวน4 แสนยูนิต หรือคิดเป็นมูลค่ารวมกว่า2.4แสนล้านบาท ที่จะพัฒนานั้นจะใช้ที่ดินเดิมของการเคหะฯบางส่วน ที่รับซื้อจากเอกชนไว้แตถูกยกเลิกการก่อสร้างบ้านไป และเป็นที่ดินในทำเลใหม่ๆ ที่จะต้องซื้อเข้ามาพัฒนาโครงการบ้านเอื้อฯตามแผนของกคช.โดยจะมีการสำรวจความต้องการที่อยู่อาศัยในแต่ละพื้นที่ก่อนที่จะเลือกทำเลในการพัฒนาต่อไป
ส่วนระดับราคาของบ้านเอื้อาทร4แสนยูนิตที่จะพัฒนาขึ้นใหม่นั้นจะอยู่ที่ 6แสนบาทต่อยูนิต ซึ่งสูงกว่าราคาบ้านเอื้อาทรเดิม เนื่องจากปัจจุบันราคาวัสดุก่อสร้างและต้นทุนต่างๆ ได้ปรับตัวสูงขึ้นไปค่อนข้างมาก ทำให้ต้นทุนก่อสร้างบ้านเอื้อฯล็อตใหม่ต้องขยับขึ้นตามต้นทุนใหม่ไปด้วย โดยบ้านเอื้อฯล็อตใหม่นี้รับบาลจะให้เงินอุหนุนต่หลังเท่าใดนั้นขระนี้ยังไม่ได้ข้อสรุป เพราะต้องรอกยน.สรุปข้อมูลทั้งงหมดก่อน
“โครงการบ้านเอื้อาทรเดิมนั้นมีราคาขายต่อหน่วยที่ 420,000 บาท โดยรัฐบาลช่วยเงินอุดหนุนแบบให้ฟรีแก่ประชาชนที่ซื้อ80,000 บาทต่อยูนิต ทำให้กคช.สามารถขายบ้านเอื้อให้แก่ประชาชนได้ในราคา390,000 บาทต่อยูนิต แต่ผลกระทบจากการปรับัวของต้นทุนวัสดุก่อสร้างใหม่ที่ปรับตัวสูงขึ้นทำให้ในช่วงที่ผ่านมากคช.ต้องมีการรับราคาขายบ้านเอื้อฯเป็น420,000บาทต่อยูนิตในปัจจุบัน อนึ่ง ในส่วนโครงการบ้านเอื้อาทรล็อตใหม่จำนวน4แสนหน่วยนั้น คาดว่ารับบาลจะต้องให้เงินอุดหนุนแบบให้เปล่าต่อยูนิตไม่ต่ำกว่า100,000บาทหรือคิดเป็นเงินที่รัฐบาลต้องอุดหนุนแบบให้เปล่ากว่า 40,000 ล้านบาท”
รมว.พม.กล่าวว่า นอกจากนี้ การเคหะแห่งชาติ (กคช.)ไปจัดทำแผน5ปีมาเสนอต่อพม. ซึ่งล่าสุด พม.ได้นำเสนอแผนการพัฒนาที่อยู่อาสัยระยะยาวของ กคช.ที่เสนอมาต่อสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ วึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาและพิจารณาของสภาพัฒน์ฯอยู่ โดยในแผนดังกล่าว กคช.เสนอให้มีการก่อสร้างบ้านเพื่อผู้มีรายได้น้อย หรือกลุ่มผู้มีรายได้ไม่เกิน20,000บาทต่อครัวเรือนต่อเดือน จำนวน1.5 แสนยูนิต ระดับราคา4-6แสนบาทต่อยูนิต และยังมีแผนการพัฒนาที่อยู่อาศัยในเชิงพาณิย์ ให้แก่ผู้มีรายได้ระดับกลางราคาเฉลี่ย2-3ล้านบาท ทั้งบ้านเดี่ยวชั้นเดียวราคา2ล้านบาท ทาวน์เฮาส์ 2ชั้น ราคา1ล้านบาทเศษ และคอนโดมิอเนียมขนาด20-30ตร.ม.ราคา8-9แสนบาทต่อยูนิต
สำหรับพื้นที่หรือทำเลในการก่อสร้างบ้านสำหรับผู้มีรายได้น้อยนั้น จะเลือกทำเลที่อยู่ใกล้ระบบขนส่งมวลชนสาธารณะให้มากขึ้น เช่น พื้นที่ใกล้สถานีรถไฟฟ้าทุกสถานี ซึ่งห่างจากสถานีรถไฟฟ้าไม่เกิน5-8กม. เพื่อให้ผุ้อยู่อาสัยสามารถเข้าถึงระบบขนส่งมวลชนได้ง่ายขึ้น ขณะที่โครงการบ้านเพื่อผู้มีรายได้น้อยนั้นจะเลือกทำเลในย่านชาญเมืองและโครงการเชิงพาณิชย์จะเน้นเลือกทำเลในย่านกลางเมืองของกทม.และจังหวัดต่างๆในการพัฒนาโครงการ.
นายสันติ พร้อมพัฒน์ รมว.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เปิดเผยว่า หลังจากคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการวางระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.) สรุปข้อมูลความเสียหาย และการศึกษาพื้นที่คูคลองที่ถูกรุกล้ำก่อสร้างที่อยู่อาศัยในกทม. และระบบระบายน้ำทั้งหมดชัดเจนแล้ว พม.จะนำแผนการพัฒนาโครงการบ้านเอื้ออาทรกลับมาก่อสร้างใหม่ โดยให้เพิ่มยูนิตก่อสร้างอีก 4แสนยูนิต เพื่อรองรับความต้องการด้านที่อย่อาศัยซึ่งยังมีอยู่ต่อเนื่อง
“ข้อสรุปของ กยน. จะทำให้ทราบว่ามีพื้นที่บริเวณรอบคูคลอง และพื้นที่คูคลองที่ถูกบุกรุกในกทม.มีพื้นที่มากน้อยหรือมีจำนวนเท่าใด และหลังจากนั้นรัฐบาลจะทำหน้าที่ขอคืนพื้นที่คูคลองต่างๆ ที่ถูกบุกรุกคืน เพื่อปรับปรุงระบบระบายน้ำเพื่อแก้ปัญหาทางระบายน้ำในระยะยาว ส่วนประชาชนทที่บุกรุกก่อสร้างที่อยู่อาศัยในพื้นที่คูคลองต่างๆนั้น รัฐบาลจะจัดหาที่อยู่อาศัยให้ใหม่ โดยเบื้องต้นนั้น จะย้ายถูกที่บุกรุกคูคลองต่างๆ ไปอยู่ในบ้านเอื้ออาทร”
ทั้งนี้ โครงการบ้านเอื้อาทรเดิมมีแผนจะก่อสร้างบ้านทั้งสิ้น 6แสนยูนิต แต่ถูกรัฐบาลชุดก่อนหน้าปรับลดจำนวนการก่อสร้างลงเหลือ 2.3 แสนยูนิต ทำให้ยังมีดีมานด์ที่ตกค้างอยู่จำนวนมาก ซึ่งจากการสำรวจล่าสุดพบว่ายังมีดีมานด์ไม่น้อยกว่า 5-7หมื่นยูนิต ขณะที่จำนวนบ้านเอื้อฯที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ อยู่ระหว่างการส่งมอบและเป็นสต๊อกที่รอขายในมือ การเหคะแห่งชาติในขระนี้มีจำนวนรวมกว่า3-4หมือนยูนิต
สำหรับโครงการบ้านเอื้ออาทรล็อตใหม่จำนวน4 แสนยูนิต หรือคิดเป็นมูลค่ารวมกว่า2.4แสนล้านบาท ที่จะพัฒนานั้นจะใช้ที่ดินเดิมของการเคหะฯบางส่วน ที่รับซื้อจากเอกชนไว้แตถูกยกเลิกการก่อสร้างบ้านไป และเป็นที่ดินในทำเลใหม่ๆ ที่จะต้องซื้อเข้ามาพัฒนาโครงการบ้านเอื้อฯตามแผนของกคช.โดยจะมีการสำรวจความต้องการที่อยู่อาศัยในแต่ละพื้นที่ก่อนที่จะเลือกทำเลในการพัฒนาต่อไป
ส่วนระดับราคาของบ้านเอื้อาทร4แสนยูนิตที่จะพัฒนาขึ้นใหม่นั้นจะอยู่ที่ 6แสนบาทต่อยูนิต ซึ่งสูงกว่าราคาบ้านเอื้อาทรเดิม เนื่องจากปัจจุบันราคาวัสดุก่อสร้างและต้นทุนต่างๆ ได้ปรับตัวสูงขึ้นไปค่อนข้างมาก ทำให้ต้นทุนก่อสร้างบ้านเอื้อฯล็อตใหม่ต้องขยับขึ้นตามต้นทุนใหม่ไปด้วย โดยบ้านเอื้อฯล็อตใหม่นี้รับบาลจะให้เงินอุหนุนต่หลังเท่าใดนั้นขระนี้ยังไม่ได้ข้อสรุป เพราะต้องรอกยน.สรุปข้อมูลทั้งงหมดก่อน
“โครงการบ้านเอื้อาทรเดิมนั้นมีราคาขายต่อหน่วยที่ 420,000 บาท โดยรัฐบาลช่วยเงินอุดหนุนแบบให้ฟรีแก่ประชาชนที่ซื้อ80,000 บาทต่อยูนิต ทำให้กคช.สามารถขายบ้านเอื้อให้แก่ประชาชนได้ในราคา390,000 บาทต่อยูนิต แต่ผลกระทบจากการปรับัวของต้นทุนวัสดุก่อสร้างใหม่ที่ปรับตัวสูงขึ้นทำให้ในช่วงที่ผ่านมากคช.ต้องมีการรับราคาขายบ้านเอื้อฯเป็น420,000บาทต่อยูนิตในปัจจุบัน อนึ่ง ในส่วนโครงการบ้านเอื้อาทรล็อตใหม่จำนวน4แสนหน่วยนั้น คาดว่ารับบาลจะต้องให้เงินอุดหนุนแบบให้เปล่าต่อยูนิตไม่ต่ำกว่า100,000บาทหรือคิดเป็นเงินที่รัฐบาลต้องอุดหนุนแบบให้เปล่ากว่า 40,000 ล้านบาท”
รมว.พม.กล่าวว่า นอกจากนี้ การเคหะแห่งชาติ (กคช.)ไปจัดทำแผน5ปีมาเสนอต่อพม. ซึ่งล่าสุด พม.ได้นำเสนอแผนการพัฒนาที่อยู่อาสัยระยะยาวของ กคช.ที่เสนอมาต่อสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ วึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาและพิจารณาของสภาพัฒน์ฯอยู่ โดยในแผนดังกล่าว กคช.เสนอให้มีการก่อสร้างบ้านเพื่อผู้มีรายได้น้อย หรือกลุ่มผู้มีรายได้ไม่เกิน20,000บาทต่อครัวเรือนต่อเดือน จำนวน1.5 แสนยูนิต ระดับราคา4-6แสนบาทต่อยูนิต และยังมีแผนการพัฒนาที่อยู่อาศัยในเชิงพาณิย์ ให้แก่ผู้มีรายได้ระดับกลางราคาเฉลี่ย2-3ล้านบาท ทั้งบ้านเดี่ยวชั้นเดียวราคา2ล้านบาท ทาวน์เฮาส์ 2ชั้น ราคา1ล้านบาทเศษ และคอนโดมิอเนียมขนาด20-30ตร.ม.ราคา8-9แสนบาทต่อยูนิต
สำหรับพื้นที่หรือทำเลในการก่อสร้างบ้านสำหรับผู้มีรายได้น้อยนั้น จะเลือกทำเลที่อยู่ใกล้ระบบขนส่งมวลชนสาธารณะให้มากขึ้น เช่น พื้นที่ใกล้สถานีรถไฟฟ้าทุกสถานี ซึ่งห่างจากสถานีรถไฟฟ้าไม่เกิน5-8กม. เพื่อให้ผุ้อยู่อาสัยสามารถเข้าถึงระบบขนส่งมวลชนได้ง่ายขึ้น ขณะที่โครงการบ้านเพื่อผู้มีรายได้น้อยนั้นจะเลือกทำเลในย่านชาญเมืองและโครงการเชิงพาณิชย์จะเน้นเลือกทำเลในย่านกลางเมืองของกทม.และจังหวัดต่างๆในการพัฒนาโครงการ.