เอเจนซีส์ – ญี่ปุ่นประกาศดำเนินมาตรการรูปธรรมเพื่อลดการนำเข้าน้ำมันจากอิหร่าน เป็นการปลอบใจขุนคลังแดนอินทรีที่ผิดหวังจากจีนมาหมาดๆ ขณะที่คลินตันออกมาปฏิเสธข้อกล่าวหาของเตหะราน เรื่องสหรัฐฯมีส่วนรู้เห็นในการลอบสังหารนักวิจัยอิหร่าน
จุน อะสึมิ รัฐมนตรีคลังญี่ปุ่น แถลงเมื่อวานนี้ (12) ภายหลังพบหารือกับ ทิโมธี ไกธ์เนอร์ รัฐมนตรีคลังสหรัฐฯ ที่เดินทางมาเยือนว่า น้ำมันดิบที่แดนอาทิตย์อุทัยนำเข้าทั้งหมดเวลานี้ มาจากอิหร่านประมาณ 10% ญี่ปุ่นจะดำเนินมาตรการรูปธรรมเพื่อลดการสั่งซื้อน้ำมันดิบเหล่านี้ แต่สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่น้ำมันดิบจากอิหร่านนั้น ยังต้องขอเวลาระยะหนึ่งในการพิจารณาปรับลดการสั่งซื้อ
การลดการนำเข้าน้ำมันจากอิหร่าน อาจนำความเสี่ยงมาสู่ญี่ปุ่นซึ่งต้องพึ่งพิงพลังงานนำเข้า แถมยังมีแนวโน้มจะต้องนำเข้าเชื้อเพลิงมากขึ้นอีกเพื่อชดเชยพลังงานนิวเคลียร์ที่หดหายลงไปหลังวิกฤตสึนามิและแผ่นดินไหวต้นปีที่แล้ว
นายกรัฐมนตรีโยชิฮิโกะ โนดะ ซึ่งได้พบปะกับไกธ์เนอร์วานนี้เช่นกัน ได้แถลงแสดงความวิตกในประเด็นที่ว่ามาตรการแซงก์ชันอิหร่านระลอกล่าสุดของสหรัฐฯ ซึ่งมุ่งเล่นงานเศรษฐกิจและภาคการเงิน โดยเฉพาะการส่งออกน้ำมันของอิหร่านนั้น หากบังคับใช้อย่างผิดพลาดแล้ว ก็อาจส่งผลกระทบร้ายแรงต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่นและเศรษฐกิจโลก
ในกฎหมายมาตรการลงโทษคว่ำบาตรอิหร่านระลอกล่าสุดของสหรัฐฯนั้น กำหนดให้ขับสถาบันการเงินของประเทศใดก็ตามที่ทำธุรกิจกับธนาคารกลางอิหร่าน ให้ออกไปจากตลาดอเมริกา ถึงแม้มีบทบัญญัติที่อาจพิจารณายกเว้นให้ หากมีความจำเป็นในเรื่องเสถียรภาพของตลาดพลังงาน หรือหากประเทศแม่ของสถาบันการเงินแห่งนั้นได้ลดการค้ากับอิหร่านเป็นจำนวนมาก
โตเกียวนั้นหวังว่า ธนาคารญี่ปุ่นจะรอดพ้นจากการแซงก์ชันของอเมริกา ด้วยการที่แดนอาทิตย์อุทัยลดการนำเข้าน้ำมันดิบอิหร่าน กระนั้น ญี่ปุ่นยังต้องตัดสินใจว่าจะลดการนำเข้าอย่างไร และขึ้นอยู่กับวอชิงตันว่าจะยอมยกเว้นอะไรให้หรือไม่ โดยโตเกียวมีกำหนดเสนอ “เมนู” ทางเลือกที่เป็นไปได้ให้วอชิงตันพิจารณาปลายเดือนหน้า
ทางด้านไกธ์เนอร์แสดงความยินดีต่อการให้ความร่วมมือของญี่ปุ่น ซึ่งถือเป็นสัญญาณที่ดีสำหรับนโยบายการทูตของสหรัฐฯ หลังจากที่เขาต้องออกจากกรุงปักกิ่งแบบมือเปล่าก่อนหน้านี้ เพราะจีนไม่ยินยอมร่วมสังฆกรรมเพื่อตัดรายได้จากน้ำมันของอิหร่าน
กระนั้น เจ้าหน้าที่อเมริกันมองแง่ดีว่า จะมุ่งเน้นความสนใจไปที่การดำเนินการของปักกิ่งมากกว่าแถลงการณ์ที่เผยแพร่ต่อสาธารณะ โดยจีนนั้นได้ลดการนำเข้าน้ำมันดิบจากอิหร่านสำหรับเดือนนี้และเดือนหน้าแล้ว เนื่องจากตกลงราคากันไม่ได้
ความพยายามที่จะขันเกลียวมาตรการแซงก์ชันให้แน่นขึ้นของสหรัฐฯ กระตุ้นให้เกิดกิจกรรมการทูตคึกคักระหว่างเอเชียกับผู้ผลิตน้ำมันในตะวันออกกลาง โดยรัฐมนตรีต่างประเทศญี่ปุ่น โคอิชิโร เกมบะ ขอให้ซาอุดีอาระเบียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สมาชิกโอเปก จัดหาน้ำมันชดเชยให้
สุดสัปดาห์นี้ นายกรัฐมนตรีเวินเจียเป่าเตรียมเยือนซาอุดีฯ ยูเออี และการ์ตา ขณะที่นายกรัฐมนตรีเกาหลีใต้มีกำหนดเยือนยูเออีและโอมานตั้งแต่วันศุกร์ (13)
เตหะรานตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะถูกลดการสั่งซื้อจากจีน ญี่ปุ่น และอินเดีย ที่สั่งซื้อรวมกันกว่า 49% ของปริมาณน้ำมันดิบส่งออกของอิหร่าน ขณะที่พวกรัฐสมาชิกของสหภาพยุโรป (อียู) ลูกค้าสำคัญอีกราย ได้เห็นพ้องกันในหลักการที่จะการนำเข้าน้ำมันอิหร่านแล้ว โดยคาดว่าจะตกลงในรายละเอียดได้ในวันที่ 23 นี้
ต้นตอความขัดแย้งมาจากโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่านที่เจ้าตัวบอกว่า มีเป้าหมายเพื่อสันติ แต่ตะวันตกไม่เชื่อและเดินหน้าผลักดันมาตรการลงโทษเข้มข้นขึ้น
ความตึงเครียดรุนแรงขึ้นเมื่อวันพุธ (11) ที่เกิดเหตุลอบสังหารนักวิจัยคนสำคัญในโครงการนิวเคลียร์อิหร่าน ซึ่งเตหะรานชี้นิ้วทันทีว่า เป็นฝีมืออิสราเอล โดยมีสหรัฐฯ รู้เห็นเป็นใจ
เกี่ยวกับเรื่องนี้ ฮิลลารี คลินตัน รัฐมนตรีต่างประเทศแดนอินทรี ได้ออกมาปฏิเสธข้อกล่าวหาตั้งแต่วันพุธ
วันเดียวกันนั้น โฆษกกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ จอห์น เคอร์บี้ แถลงว่า เรือบรรทุกเครื่องบิน ยูเอสเอส คาร์ล วินสัน เดินทางถึงภูมิภาคอ่าวเปอร์เซียแล้วเพื่อปฏิบัติภารกิจตามปกติ แต่จะไม่เข้าสู่อ่าวเปอร์เซียหรือแล่นผ่านช่องแคบฮอร์มุซ เส้นทางลำเลียงน้ำมันสำคัญของโลกที่อิหร่านขู่ว่าจะปิด หากถูกโจมตีหรือถูกตะวันตกแซงก์ชันเพิ่มเติม
จุน อะสึมิ รัฐมนตรีคลังญี่ปุ่น แถลงเมื่อวานนี้ (12) ภายหลังพบหารือกับ ทิโมธี ไกธ์เนอร์ รัฐมนตรีคลังสหรัฐฯ ที่เดินทางมาเยือนว่า น้ำมันดิบที่แดนอาทิตย์อุทัยนำเข้าทั้งหมดเวลานี้ มาจากอิหร่านประมาณ 10% ญี่ปุ่นจะดำเนินมาตรการรูปธรรมเพื่อลดการสั่งซื้อน้ำมันดิบเหล่านี้ แต่สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่น้ำมันดิบจากอิหร่านนั้น ยังต้องขอเวลาระยะหนึ่งในการพิจารณาปรับลดการสั่งซื้อ
การลดการนำเข้าน้ำมันจากอิหร่าน อาจนำความเสี่ยงมาสู่ญี่ปุ่นซึ่งต้องพึ่งพิงพลังงานนำเข้า แถมยังมีแนวโน้มจะต้องนำเข้าเชื้อเพลิงมากขึ้นอีกเพื่อชดเชยพลังงานนิวเคลียร์ที่หดหายลงไปหลังวิกฤตสึนามิและแผ่นดินไหวต้นปีที่แล้ว
นายกรัฐมนตรีโยชิฮิโกะ โนดะ ซึ่งได้พบปะกับไกธ์เนอร์วานนี้เช่นกัน ได้แถลงแสดงความวิตกในประเด็นที่ว่ามาตรการแซงก์ชันอิหร่านระลอกล่าสุดของสหรัฐฯ ซึ่งมุ่งเล่นงานเศรษฐกิจและภาคการเงิน โดยเฉพาะการส่งออกน้ำมันของอิหร่านนั้น หากบังคับใช้อย่างผิดพลาดแล้ว ก็อาจส่งผลกระทบร้ายแรงต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่นและเศรษฐกิจโลก
ในกฎหมายมาตรการลงโทษคว่ำบาตรอิหร่านระลอกล่าสุดของสหรัฐฯนั้น กำหนดให้ขับสถาบันการเงินของประเทศใดก็ตามที่ทำธุรกิจกับธนาคารกลางอิหร่าน ให้ออกไปจากตลาดอเมริกา ถึงแม้มีบทบัญญัติที่อาจพิจารณายกเว้นให้ หากมีความจำเป็นในเรื่องเสถียรภาพของตลาดพลังงาน หรือหากประเทศแม่ของสถาบันการเงินแห่งนั้นได้ลดการค้ากับอิหร่านเป็นจำนวนมาก
โตเกียวนั้นหวังว่า ธนาคารญี่ปุ่นจะรอดพ้นจากการแซงก์ชันของอเมริกา ด้วยการที่แดนอาทิตย์อุทัยลดการนำเข้าน้ำมันดิบอิหร่าน กระนั้น ญี่ปุ่นยังต้องตัดสินใจว่าจะลดการนำเข้าอย่างไร และขึ้นอยู่กับวอชิงตันว่าจะยอมยกเว้นอะไรให้หรือไม่ โดยโตเกียวมีกำหนดเสนอ “เมนู” ทางเลือกที่เป็นไปได้ให้วอชิงตันพิจารณาปลายเดือนหน้า
ทางด้านไกธ์เนอร์แสดงความยินดีต่อการให้ความร่วมมือของญี่ปุ่น ซึ่งถือเป็นสัญญาณที่ดีสำหรับนโยบายการทูตของสหรัฐฯ หลังจากที่เขาต้องออกจากกรุงปักกิ่งแบบมือเปล่าก่อนหน้านี้ เพราะจีนไม่ยินยอมร่วมสังฆกรรมเพื่อตัดรายได้จากน้ำมันของอิหร่าน
กระนั้น เจ้าหน้าที่อเมริกันมองแง่ดีว่า จะมุ่งเน้นความสนใจไปที่การดำเนินการของปักกิ่งมากกว่าแถลงการณ์ที่เผยแพร่ต่อสาธารณะ โดยจีนนั้นได้ลดการนำเข้าน้ำมันดิบจากอิหร่านสำหรับเดือนนี้และเดือนหน้าแล้ว เนื่องจากตกลงราคากันไม่ได้
ความพยายามที่จะขันเกลียวมาตรการแซงก์ชันให้แน่นขึ้นของสหรัฐฯ กระตุ้นให้เกิดกิจกรรมการทูตคึกคักระหว่างเอเชียกับผู้ผลิตน้ำมันในตะวันออกกลาง โดยรัฐมนตรีต่างประเทศญี่ปุ่น โคอิชิโร เกมบะ ขอให้ซาอุดีอาระเบียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สมาชิกโอเปก จัดหาน้ำมันชดเชยให้
สุดสัปดาห์นี้ นายกรัฐมนตรีเวินเจียเป่าเตรียมเยือนซาอุดีฯ ยูเออี และการ์ตา ขณะที่นายกรัฐมนตรีเกาหลีใต้มีกำหนดเยือนยูเออีและโอมานตั้งแต่วันศุกร์ (13)
เตหะรานตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะถูกลดการสั่งซื้อจากจีน ญี่ปุ่น และอินเดีย ที่สั่งซื้อรวมกันกว่า 49% ของปริมาณน้ำมันดิบส่งออกของอิหร่าน ขณะที่พวกรัฐสมาชิกของสหภาพยุโรป (อียู) ลูกค้าสำคัญอีกราย ได้เห็นพ้องกันในหลักการที่จะการนำเข้าน้ำมันอิหร่านแล้ว โดยคาดว่าจะตกลงในรายละเอียดได้ในวันที่ 23 นี้
ต้นตอความขัดแย้งมาจากโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่านที่เจ้าตัวบอกว่า มีเป้าหมายเพื่อสันติ แต่ตะวันตกไม่เชื่อและเดินหน้าผลักดันมาตรการลงโทษเข้มข้นขึ้น
ความตึงเครียดรุนแรงขึ้นเมื่อวันพุธ (11) ที่เกิดเหตุลอบสังหารนักวิจัยคนสำคัญในโครงการนิวเคลียร์อิหร่าน ซึ่งเตหะรานชี้นิ้วทันทีว่า เป็นฝีมืออิสราเอล โดยมีสหรัฐฯ รู้เห็นเป็นใจ
เกี่ยวกับเรื่องนี้ ฮิลลารี คลินตัน รัฐมนตรีต่างประเทศแดนอินทรี ได้ออกมาปฏิเสธข้อกล่าวหาตั้งแต่วันพุธ
วันเดียวกันนั้น โฆษกกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ จอห์น เคอร์บี้ แถลงว่า เรือบรรทุกเครื่องบิน ยูเอสเอส คาร์ล วินสัน เดินทางถึงภูมิภาคอ่าวเปอร์เซียแล้วเพื่อปฏิบัติภารกิจตามปกติ แต่จะไม่เข้าสู่อ่าวเปอร์เซียหรือแล่นผ่านช่องแคบฮอร์มุซ เส้นทางลำเลียงน้ำมันสำคัญของโลกที่อิหร่านขู่ว่าจะปิด หากถูกโจมตีหรือถูกตะวันตกแซงก์ชันเพิ่มเติม