วานนี้(11 ม.ค.) ที่รัฐสภา นายอุดมเดช รัตนเสถียร ส.ส.นนทบุรี พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) เปิดเผยถึงผลการประชุมวิปรัฐบาลนัดพิเศษ เพื่อหารือถึงแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า ในการประชุมเมื่อวันที่ 9 ม.ค.ที่ผ่านมา ที่ประชุมได้ให้ผู้แทนของแต่ละพรรคกลับไปสอบถามทางพรรคว่า หากมี ส.ส.ยื่นร่างแก้ไขมาตรา 291 ของรัฐธรรมนูญ พร้อมที่จะมีส่วนร่วมหรือไม่ มาในวันนี้ก็ได้รับคำตอบจากทุกพรรคว่า ยินดีทีจะร่วมลงชื่อหากมีการเสนอเข้ามา และหากพรรคการเมืองใดจะเสนอร่างแก้ไขของพรรคตัวเองมาก็ไม่ว่ากัน สามารถลงชื่อร่วมกันได้
แต่ในส่วนของพรรคเพื่อไทยทราบว่า ฝ่ายกฎหมายที่รับผิดชอบน่าจะร่างใกล้แล้วเสร็จ คาดว่า ภายในต้นเดือน ก.พ.นี้ จะสามารถยื่นเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมสภาฯได้ โดยคาดว่าจะพิจารณาควบคู่ไปกับร่างที่ภาคประชาชนเป็นผู้เสนอ
ก่อนหน้านั้น ประธานวิปรัฐบาลย้ำว่า พรรคเพื่อไทย และวิปรัฐบาล จะไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับแนวทางการสรรหาสภาร่างรัฐธรรมนูญ แต่แค่ยืนยันที่ประชาชนต้องมีส่วนร่วม
นายอุดมเดช กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่มีใครเสนอต้นแบบร่าง แก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 และยืนยันว่า พรรคเพื่อไทย ยังไม่มีต้นแบบในการร่าง ตามที่เป็นข่าวมาก่อนหน้านี้
ส่วนข้อเสนอของ คอ.นธ. ที่ให้ตั้งคณะกรรมการ 34 คน เพื่อพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น หากรัฐบาลไม่รับข้อเสนอ ก็ไม่ถือว่าเป็นการเสียหน้า เนื่องจากส่วนตัวเห็นว่า ที่มาของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ควรมาจากประชาชน
**พท.ยันตกผลึกแก้รธน.ทันสมัยประชุม
นายพีรพันธุ์ พาลุสุข ส.ส.ยโสธร พรรคเพื่อไทย ในฐานะคณะทำงานฝ่ายกฎหมายของพรรค เปิดเผยว่า รายละเอียดการแก้ไขรัฐธรรมนูญของพรรค จะตกผลึก มีมติได้ภายในสมัยประชุมสภาผู้แทนราษฎรนี้ แต่เบื้องต้น ส.ส. พรรคทุกคน เห็นพ้องในทิศทางเดียวกัน ในการแก้รัฐธรรมนูญมาตรา 291 เพื่อตั้ง สภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ สสร.3 ส่วนร่างของภาคประชาชน ก็แยกกันเสนอ
**เล็งนำร่างของ“อุกฤษ”เสนอ สสร.3
เช่นเดียวกับร่างของ นายอุกฤษ มงคลนาวิน ประธานกรรมการอิสระว่าด้วยการส่งเสริมหลักนิติธรรมแห่งชาติ (คอ.นธ.) ที่สามารถทำควบคู่ไป แล้วนำมาให้ สสร. ศึกษาได้ ซึ่งจะทำให้เกิดความรวดเร็วในการแก้ไขรัฐธรรมนูญอีกด้วย นอกจากนี้ ยังจะรอดูท่าทีของรัฐบาลด้วยว่า จะเสนอร่างด้วยหรือไม่ เพราะยังไม่ชัดเจน
**ปูยังไม่เห็น ข้อเสนอ คอ.นธ.ตั้งสสร.
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีหนังสือรายละเอียดที่นายอุกฤษ เสนอให้ตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญแทนการตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.3) ว่า ขณะนี้ตนยังไม่เห็นหนังสือดังกล่าว ส่วนจะต้องเรียกนายอุกฤษ มาหารือหรือไม่นั้น คงต้องขอดูอีกครั้ง
**ธิดาแดงค้านตั้ง 34 อรหันต์แก้รธน.
นางธิดา ถาวรเศรษฐ์ รักษาการประธาน นปช. กล่าวว่า ทางกลุ่มนปช. เห็นควรให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2550 โดยมีทางเลือก 2 แบบคือจะต้องมีการแก้บางมาตรา หรือแก้ทั้งไขทั้งหมด ซึ่งจะรวบรวมรายชื่อพี่น้องประชาชนให้ได้ 5 หมื่นรายชื่อคาดว่าจะไม่เกินสิ้นเดือนนี้เพื่อส่งให้รัฐบาลพิจารณา
ส่วนกรณีที่นายอุกฤษ จะมีการตั้ง 34 บุคคลซึ่งเป็นบุคคลสาธารณะมาร่วมแก้ไขรัฐธรรมนูญ กลุ่มนปช. เห็นว่าประชาชนควรจะมีส่วนร่วมในการแก้ รธน.มากกว่า อย่างไรก็ตามทางกลุ่มนปช. หวังว่ารัฐบาลและพรรคเพื่อไทยจะทำทุกอย่างเพื่อผลประโยชน์ของพี่น้องประชาชนและประเทศชาติเป็นหลัก
**ปชป.จี้นายกฯ อย่าเล่นละครตบตา
นายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงความเคลื่อนไหวการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ของรัฐบาลว่า ยังมีความสับสนทั้งในส่วนรของรัฐบาลและพรรคเพื่อไทยซึ่งนำมาสับสนขัดแย้งมาสู่ประชาชนจากกรณีที่มติวิปพรรคร่วมรัฐบาลมีมติให้แก้ไขมาตรา 291 ทั้งที่พรรคเพื่อไทยยังไม่มีมติพรรคในเรื่องนี้ ประกอบกับนายกฯยังมีท่าทีตอบรับข้อเสนอของคณะกรรมการอิสระว่าด้วยหลักนิติธรรม (คอ.นธ.) ที่เสนอให้ตั้งคณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญ 34 คน และยังยืนยันที่จะผลักดันแนวคิดดังกล่าวให้รัฐบาลยอมรับ
จึงอยากให้รัฐบาลโดยเฉพาะนายกฯแสดงความชัดเจนในเรื่องแก้รัฐธรรมนูญว่าจะยึดตามมติวิปพรรคร่วมรัฐบาลหรือแนวทางของ คอ.นธ. ถ้ายึดมติวิปรัฐบาล ก็ควรที่จะยุบคอ.นธ.เสียเพราะรัฐบาลนี้เป็นผู้ที่แต่งตั้งให้มีกรรมการชุดนี้ แต่กลับปฏิเสธข้อเสนอของคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นเอง แสดงถึงรัฐบาลไม่มีความจริงใจเพราะไม่รับฟังคำแนะนำของกรรมการชุดนี้ ถือเป็นการเล่นละครตบตาประชาชนเท่านั้น แต่ถ้ายึดแนวทางของคอ.นธ.ก็ควรให้พรรคเพื่อไทยมีมติพรรคออกมาล้มล้างมติของวิปรัฐบาลเพื่อไม่ให้สังคมไทยสับสนมากกว่านี้ นายกฯควรที่จะแสดงภาวะผู้นำ โดยประกาศตัวถือธงนำในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
**ปปช.ไม่กังวล กระทบหน้าที่องค์กรอิสระ
นายเมธี ครองแก้ว คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กล่าวว่า กรณีที่อาจมีผลกระทบกับการทำหน้าที่ขององค์กรอิสระนั้น ตนไม่รู้สึกกังวล เพราะเข้ามาทำหน้าที่ตามคำขอร้องให้มาทำงาน ซึ่งหากมีผู้มีอำนาจอยากให้ไปก็สามารถดำเนินการได้ และไม่ติดใจกับกรณีดังกล่าว
“ไม่ทราบความคิดเห็นของคณะกรรมการ ป.ป.ช.คนอื่นๆ ส่วนการอ้างอิงว่า การทำหน้าที่ขององค์กรอิสระหลายองค์กรขัดต่อหลักนิติธรรมนั้น ตนไม่ขอแสดงความคิดเห็น แต่เชื่อว่าผลงานจะเป็นเครื่องพิสูจน์ว่าเราทำงานเป็นหรือไม่เป็น”นายเมธีกล่าวพร้อมระบุด้วยว่า หากเห็นว่า การทำงานของ ป.ป.ช.ไม่ถูกต้อง ก็หาทางที่จะไม่ให้เราอยู่ในตำแหน่งหน้าที่ ก็ถือว่าไม่ผิดกติกา แต่การที่ระบุว่า บุคคลที่เข้ามาโดยวิธีการต่างๆ ที่ไม่ดีนั้น ตนไม่เห็นด้วย เพราะทุกอย่างต้องดูที่ผลงาน ขอยืนยันว่า ทาง ป.ป.ช.ไม่ได้เป็นคู่ขัดแย้งกับฝ่ายใด และทำงานอย่างตรงไปตรงมา
**ยื่นกสม.ทบทวนศึกษาแก้ม.112
อีกด้านเครือข่ายพลเมืองอาสาป้องกันแผ่นดินได้เข้าพบนางอมรา พงศาพิชญ์ ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชน และนพ. นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ หลังมีผู้ร้องเรียนเรื่องที่กรรมการสิทธิฯตั้งคณะทำงานจัดทำข้อเสนอเพื่อแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ในส่วนที่เกี่ยวข้อง
แถลงการณ์คัดค้านการแก้ไขหรือยกเลิกประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เพราะหากไม่มีมาตรานี้ กลุ่มล้มล้างสถาบันก็จะกระทำการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ หรือใส่ร้ายสถาบันรุนแรงมากขึ้น การพิจารณาลงโทษผู้กระทำผิดตามาตรา 112 เป็นไปตามหลักสากล ไม่ได้ละเมิดสิทธิมนุษยชนแต่อย่างใด แม้แต่ข้อ 19 ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ยังระบุว่าสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก จะต้องไม่ละเมิดสิทธิผู้อื่น ไม่กระทบต่อความมั่นคงและความสงบเรียบร้อยของสังคม การจำกัดสิทธิในการแสดงออกเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ ก็ระบุไว้อย่างชัดเจนในมาตรา 112 กรรมการสิทธิพึงทำความเข้าใจแยกแยะ ระหว่างการกระทำผิดกฎหมายจนถูกลงโทษ กับการละเมิดสิทธิมนุษยชน กรณีอากงส่งข้อความหมิ่นถูกจำคุก 20 ปี จึงไม่ใช่กรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชน แต่เป็นการกระทำผิดกฎหมาย ทั้งนี้ในช่วง 5 ปีมานี้มีผู้กระทำผิดคดีหมิ่นมากขึ้น แต่เมื่อตรวจสอบแล้วพบว่าเป็นคนกลุ่มเดียวกัน จึงขอเรียกร้องให้ประชาชนและสื่อทำความเข้าใจในเรื่องดังกล่าวด้วย
“อยากให้กรรมการสิทธิพิจารณาทบทวนเรื่องการตั้งคณะทำงานขึ้นมา โดยเฉพาะการจะตั้งนายจอน อึ๊งภากรณ์ ซึ่งเป็นพี่ชายนายใจ อึ้งภากรณ์ เป็นประธานคณะทำงาน”
แต่ในส่วนของพรรคเพื่อไทยทราบว่า ฝ่ายกฎหมายที่รับผิดชอบน่าจะร่างใกล้แล้วเสร็จ คาดว่า ภายในต้นเดือน ก.พ.นี้ จะสามารถยื่นเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมสภาฯได้ โดยคาดว่าจะพิจารณาควบคู่ไปกับร่างที่ภาคประชาชนเป็นผู้เสนอ
ก่อนหน้านั้น ประธานวิปรัฐบาลย้ำว่า พรรคเพื่อไทย และวิปรัฐบาล จะไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับแนวทางการสรรหาสภาร่างรัฐธรรมนูญ แต่แค่ยืนยันที่ประชาชนต้องมีส่วนร่วม
นายอุดมเดช กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่มีใครเสนอต้นแบบร่าง แก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 และยืนยันว่า พรรคเพื่อไทย ยังไม่มีต้นแบบในการร่าง ตามที่เป็นข่าวมาก่อนหน้านี้
ส่วนข้อเสนอของ คอ.นธ. ที่ให้ตั้งคณะกรรมการ 34 คน เพื่อพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น หากรัฐบาลไม่รับข้อเสนอ ก็ไม่ถือว่าเป็นการเสียหน้า เนื่องจากส่วนตัวเห็นว่า ที่มาของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ควรมาจากประชาชน
**พท.ยันตกผลึกแก้รธน.ทันสมัยประชุม
นายพีรพันธุ์ พาลุสุข ส.ส.ยโสธร พรรคเพื่อไทย ในฐานะคณะทำงานฝ่ายกฎหมายของพรรค เปิดเผยว่า รายละเอียดการแก้ไขรัฐธรรมนูญของพรรค จะตกผลึก มีมติได้ภายในสมัยประชุมสภาผู้แทนราษฎรนี้ แต่เบื้องต้น ส.ส. พรรคทุกคน เห็นพ้องในทิศทางเดียวกัน ในการแก้รัฐธรรมนูญมาตรา 291 เพื่อตั้ง สภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ สสร.3 ส่วนร่างของภาคประชาชน ก็แยกกันเสนอ
**เล็งนำร่างของ“อุกฤษ”เสนอ สสร.3
เช่นเดียวกับร่างของ นายอุกฤษ มงคลนาวิน ประธานกรรมการอิสระว่าด้วยการส่งเสริมหลักนิติธรรมแห่งชาติ (คอ.นธ.) ที่สามารถทำควบคู่ไป แล้วนำมาให้ สสร. ศึกษาได้ ซึ่งจะทำให้เกิดความรวดเร็วในการแก้ไขรัฐธรรมนูญอีกด้วย นอกจากนี้ ยังจะรอดูท่าทีของรัฐบาลด้วยว่า จะเสนอร่างด้วยหรือไม่ เพราะยังไม่ชัดเจน
**ปูยังไม่เห็น ข้อเสนอ คอ.นธ.ตั้งสสร.
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีหนังสือรายละเอียดที่นายอุกฤษ เสนอให้ตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญแทนการตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.3) ว่า ขณะนี้ตนยังไม่เห็นหนังสือดังกล่าว ส่วนจะต้องเรียกนายอุกฤษ มาหารือหรือไม่นั้น คงต้องขอดูอีกครั้ง
**ธิดาแดงค้านตั้ง 34 อรหันต์แก้รธน.
นางธิดา ถาวรเศรษฐ์ รักษาการประธาน นปช. กล่าวว่า ทางกลุ่มนปช. เห็นควรให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2550 โดยมีทางเลือก 2 แบบคือจะต้องมีการแก้บางมาตรา หรือแก้ทั้งไขทั้งหมด ซึ่งจะรวบรวมรายชื่อพี่น้องประชาชนให้ได้ 5 หมื่นรายชื่อคาดว่าจะไม่เกินสิ้นเดือนนี้เพื่อส่งให้รัฐบาลพิจารณา
ส่วนกรณีที่นายอุกฤษ จะมีการตั้ง 34 บุคคลซึ่งเป็นบุคคลสาธารณะมาร่วมแก้ไขรัฐธรรมนูญ กลุ่มนปช. เห็นว่าประชาชนควรจะมีส่วนร่วมในการแก้ รธน.มากกว่า อย่างไรก็ตามทางกลุ่มนปช. หวังว่ารัฐบาลและพรรคเพื่อไทยจะทำทุกอย่างเพื่อผลประโยชน์ของพี่น้องประชาชนและประเทศชาติเป็นหลัก
**ปชป.จี้นายกฯ อย่าเล่นละครตบตา
นายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงความเคลื่อนไหวการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ของรัฐบาลว่า ยังมีความสับสนทั้งในส่วนรของรัฐบาลและพรรคเพื่อไทยซึ่งนำมาสับสนขัดแย้งมาสู่ประชาชนจากกรณีที่มติวิปพรรคร่วมรัฐบาลมีมติให้แก้ไขมาตรา 291 ทั้งที่พรรคเพื่อไทยยังไม่มีมติพรรคในเรื่องนี้ ประกอบกับนายกฯยังมีท่าทีตอบรับข้อเสนอของคณะกรรมการอิสระว่าด้วยหลักนิติธรรม (คอ.นธ.) ที่เสนอให้ตั้งคณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญ 34 คน และยังยืนยันที่จะผลักดันแนวคิดดังกล่าวให้รัฐบาลยอมรับ
จึงอยากให้รัฐบาลโดยเฉพาะนายกฯแสดงความชัดเจนในเรื่องแก้รัฐธรรมนูญว่าจะยึดตามมติวิปพรรคร่วมรัฐบาลหรือแนวทางของ คอ.นธ. ถ้ายึดมติวิปรัฐบาล ก็ควรที่จะยุบคอ.นธ.เสียเพราะรัฐบาลนี้เป็นผู้ที่แต่งตั้งให้มีกรรมการชุดนี้ แต่กลับปฏิเสธข้อเสนอของคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นเอง แสดงถึงรัฐบาลไม่มีความจริงใจเพราะไม่รับฟังคำแนะนำของกรรมการชุดนี้ ถือเป็นการเล่นละครตบตาประชาชนเท่านั้น แต่ถ้ายึดแนวทางของคอ.นธ.ก็ควรให้พรรคเพื่อไทยมีมติพรรคออกมาล้มล้างมติของวิปรัฐบาลเพื่อไม่ให้สังคมไทยสับสนมากกว่านี้ นายกฯควรที่จะแสดงภาวะผู้นำ โดยประกาศตัวถือธงนำในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
**ปปช.ไม่กังวล กระทบหน้าที่องค์กรอิสระ
นายเมธี ครองแก้ว คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กล่าวว่า กรณีที่อาจมีผลกระทบกับการทำหน้าที่ขององค์กรอิสระนั้น ตนไม่รู้สึกกังวล เพราะเข้ามาทำหน้าที่ตามคำขอร้องให้มาทำงาน ซึ่งหากมีผู้มีอำนาจอยากให้ไปก็สามารถดำเนินการได้ และไม่ติดใจกับกรณีดังกล่าว
“ไม่ทราบความคิดเห็นของคณะกรรมการ ป.ป.ช.คนอื่นๆ ส่วนการอ้างอิงว่า การทำหน้าที่ขององค์กรอิสระหลายองค์กรขัดต่อหลักนิติธรรมนั้น ตนไม่ขอแสดงความคิดเห็น แต่เชื่อว่าผลงานจะเป็นเครื่องพิสูจน์ว่าเราทำงานเป็นหรือไม่เป็น”นายเมธีกล่าวพร้อมระบุด้วยว่า หากเห็นว่า การทำงานของ ป.ป.ช.ไม่ถูกต้อง ก็หาทางที่จะไม่ให้เราอยู่ในตำแหน่งหน้าที่ ก็ถือว่าไม่ผิดกติกา แต่การที่ระบุว่า บุคคลที่เข้ามาโดยวิธีการต่างๆ ที่ไม่ดีนั้น ตนไม่เห็นด้วย เพราะทุกอย่างต้องดูที่ผลงาน ขอยืนยันว่า ทาง ป.ป.ช.ไม่ได้เป็นคู่ขัดแย้งกับฝ่ายใด และทำงานอย่างตรงไปตรงมา
**ยื่นกสม.ทบทวนศึกษาแก้ม.112
อีกด้านเครือข่ายพลเมืองอาสาป้องกันแผ่นดินได้เข้าพบนางอมรา พงศาพิชญ์ ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชน และนพ. นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ หลังมีผู้ร้องเรียนเรื่องที่กรรมการสิทธิฯตั้งคณะทำงานจัดทำข้อเสนอเพื่อแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ในส่วนที่เกี่ยวข้อง
แถลงการณ์คัดค้านการแก้ไขหรือยกเลิกประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เพราะหากไม่มีมาตรานี้ กลุ่มล้มล้างสถาบันก็จะกระทำการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ หรือใส่ร้ายสถาบันรุนแรงมากขึ้น การพิจารณาลงโทษผู้กระทำผิดตามาตรา 112 เป็นไปตามหลักสากล ไม่ได้ละเมิดสิทธิมนุษยชนแต่อย่างใด แม้แต่ข้อ 19 ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ยังระบุว่าสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก จะต้องไม่ละเมิดสิทธิผู้อื่น ไม่กระทบต่อความมั่นคงและความสงบเรียบร้อยของสังคม การจำกัดสิทธิในการแสดงออกเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ ก็ระบุไว้อย่างชัดเจนในมาตรา 112 กรรมการสิทธิพึงทำความเข้าใจแยกแยะ ระหว่างการกระทำผิดกฎหมายจนถูกลงโทษ กับการละเมิดสิทธิมนุษยชน กรณีอากงส่งข้อความหมิ่นถูกจำคุก 20 ปี จึงไม่ใช่กรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชน แต่เป็นการกระทำผิดกฎหมาย ทั้งนี้ในช่วง 5 ปีมานี้มีผู้กระทำผิดคดีหมิ่นมากขึ้น แต่เมื่อตรวจสอบแล้วพบว่าเป็นคนกลุ่มเดียวกัน จึงขอเรียกร้องให้ประชาชนและสื่อทำความเข้าใจในเรื่องดังกล่าวด้วย
“อยากให้กรรมการสิทธิพิจารณาทบทวนเรื่องการตั้งคณะทำงานขึ้นมา โดยเฉพาะการจะตั้งนายจอน อึ๊งภากรณ์ ซึ่งเป็นพี่ชายนายใจ อึ้งภากรณ์ เป็นประธานคณะทำงาน”