ASTVผู้จัดการรายวัน-ร.ฟ.ท.ยืนยันไม่มีการปรับรูปแบบตลาดนัดจตุจักร คงขายเสาร์-อาทิตย์ เล็งเพิ่มขายวันจันทร์-อังคารในระยะต่อไป แต่จะต้องไม่กระทบผู้ค้าหลัก เผยเจรจาค่าทรัพย์สินกับกทม.ไม่น่ามีปัญหา ชี้ต้องแยกส่วนจ่ายเฉพาะที่เป็นของกทม.จริงๆ ไม่เกี่ยวกับที่ผู้ค้าและธนาคารลงทุน
นายทวีศักดิ์ สุทธิเสริม ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารทรัพย์สิน การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 9 ม.ค.ที่ผ่านมา ผู้ค้าตลาดนัดจตุจักรประมาณ 100-200 ราย ได้เข้าหารือกับ ร.ฟ.ท. เพื่อขอให้รักษาความปลอดภัยในพื้นที่ตลาดนัดจตุจักร และขอให้คิดค่าเช่าที่เป็นธรรม รวมถึงไม่ต้องการให้เอกชนเข้าไปบริหารตลาด ซึ่งแนวทางที่ผู้ค้าเสนอมานั้น เป็นแนวทางที่ร.ฟ.ท.ดำเนินการอยู่แล้ว โดยยืนยันว่า ร.ฟ.ท.จะเป็นผู้บริหารจัดการเอง ไม่ให้เอกชนเข้าไปบริหาร และจะคงตลาดนัดจตุจักรเป็นชั้นเดียว ไม่ทำในลักษณะของศูนย์การค้าแน่นอน ส่วนเรื่องมาเฟียเรียกเก็บเงิน ทางผู้ค้ายืนยันว่าขณะนี้ไม่มีปัญหาดังกล่าวแล้ว แต่ยังจับตามองอย่างใกล้ชิด
ทั้งนี้ แผนการดำเนินงานของ ร.ฟ.ท. เบื้องต้น จะไม่มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงรูปแบบการขาย ในช่วงวันเสาร์ และอาทิตย์ แต่อาจพิจารณาหาแนวทางให้เกิดการค้าขาย ในวันที่เป็นวันว่าง เช่น วันจันทร์ และอังคาร ที่เป็นวันทำความสะอาด ซึ่งจะไม่ให้ส่งผลกระทบกับผู้ค้าปกติ โดยถือเป็นแผนระยะยาวที่จะดำเนินการ และจะดำเนินการหลังจากที่การบริหารจัดการตลาดเข้าสู่ระบบก่อน ส่วนภาพรวมขณะนี้ถือว่า ผู้ค้าค่อนข้างพอใจการทำงานของ ร.ฟ.ท. โดยเฉพาะการรักษาความสะอาด ที่มีการเก็บขยะทุกครึ่งชั่วโมง ด้วยการใช้รถปิกอัพ 5 คัน ให้บริการตลอดทั้งวัน
สำหรับผู้ค้าแผงเร่ในตลาดนัดจตุจักร ที่มีประมาณ 600 แผง เปิดขายมาประมาณ 1-2 ปี โดยกทม.ใช้วิธีเรียกเก็บค่าปรับจากผู้ค้ารายละ 300 บาทต่อวัน เงินที่ได้จึงไม่ผูกพันกับรายได้ที่เข้ากรุงเทพมหานคร (กทม.) เมื่อเปรียบเทียบสัดส่วนแผงค้าข้างถนนกับผู้ค้าที่จดทะเบียนถูกต้องประมาณ 8,800 แผง ก็จำเป็นรักษาผู้ค้าที่จดทะเบียนถูกต้องไว้เพื่อไม่ให้ได้รับผลกระทบต่อไป
นายทวีศักดิ์กล่าวว่า การเจรจาหาข้อสรุปทรัพย์สินในตลาดนัดจตุจักรร่วมกับกทม. ได้มีการประสานไปยังนายทวีศักดิ์ เดชเดโช รองปลัด กรุงเทพมหานคร (กทม.) ในฐานะประธานคณะทำงานเจรจาหาข้อสรุปทรัพย์สินในตลาดนัดจตุจักร ให้ร่วมประชุมกับคณะทำงานของ ร.ฟ.ท.ที่มีนายประเสริฐ อัตตะนันทน์ รองผู้ว่าการ ร.ฟ.ท. เป็นประธานคณะทำงานแล้ว จึงมั่นใจว่าจะสามารถประชุมกันได้ในสัปดาห์นี้ ไม่มีการเลื่อนประชุมอีก เนื่องจาก เมื่อวันที่ 4 ม.ค. ที่ต้องเลื่อนการประชุมเพราะฝ่าย กทม.ไม่มีความพร้อม
“สิ่งที่ต้องพิจารณาร่วมกัน คือ ร.ฟ.ท.ต้องจ่ายค่าเช่าใช้ทรัพย์สินในตลาดนัดจตุจักรที่ กทม.ระบุว่าเป็นของ กทม.จำนวนเท่าไร โดยจะต้องหักค่าเช่าส่วนต่างที่เป็นผู้ค้าและธนาคารเป็นผู้ลงทุนออก เพื่อให้เป็นค่าเช่าเฉพาะทรัพย์สินที่เป็นของกทม.จริงๆเท่านั้น”นายทวีศักดิ์กล่าว
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา กทม. ได้ขนทรัพย์สินออกไปบ้างแล้ว เช่น เก้าอี้ที่ให้บริการภายในตลาดนัดจตุจักร หลอดไฟให้บริการส่วนกลาง และลำโพงเสียงตามสาย เป็นต้น ดังนั้น ร.ฟ.ท.จึงต้องเร่งติดตั้งหลอดไฟให้ความสว่างใหม่ทั้งหมด และยังติดตั้งเพิ่มในจุดที่แสงสว่างไม่เพียงพอ รวมถึงนำอุปกรณ์ที่ กทม.นำออกไปเข้าไปแทน
นายทวีศักดิ์ สุทธิเสริม ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารทรัพย์สิน การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 9 ม.ค.ที่ผ่านมา ผู้ค้าตลาดนัดจตุจักรประมาณ 100-200 ราย ได้เข้าหารือกับ ร.ฟ.ท. เพื่อขอให้รักษาความปลอดภัยในพื้นที่ตลาดนัดจตุจักร และขอให้คิดค่าเช่าที่เป็นธรรม รวมถึงไม่ต้องการให้เอกชนเข้าไปบริหารตลาด ซึ่งแนวทางที่ผู้ค้าเสนอมานั้น เป็นแนวทางที่ร.ฟ.ท.ดำเนินการอยู่แล้ว โดยยืนยันว่า ร.ฟ.ท.จะเป็นผู้บริหารจัดการเอง ไม่ให้เอกชนเข้าไปบริหาร และจะคงตลาดนัดจตุจักรเป็นชั้นเดียว ไม่ทำในลักษณะของศูนย์การค้าแน่นอน ส่วนเรื่องมาเฟียเรียกเก็บเงิน ทางผู้ค้ายืนยันว่าขณะนี้ไม่มีปัญหาดังกล่าวแล้ว แต่ยังจับตามองอย่างใกล้ชิด
ทั้งนี้ แผนการดำเนินงานของ ร.ฟ.ท. เบื้องต้น จะไม่มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงรูปแบบการขาย ในช่วงวันเสาร์ และอาทิตย์ แต่อาจพิจารณาหาแนวทางให้เกิดการค้าขาย ในวันที่เป็นวันว่าง เช่น วันจันทร์ และอังคาร ที่เป็นวันทำความสะอาด ซึ่งจะไม่ให้ส่งผลกระทบกับผู้ค้าปกติ โดยถือเป็นแผนระยะยาวที่จะดำเนินการ และจะดำเนินการหลังจากที่การบริหารจัดการตลาดเข้าสู่ระบบก่อน ส่วนภาพรวมขณะนี้ถือว่า ผู้ค้าค่อนข้างพอใจการทำงานของ ร.ฟ.ท. โดยเฉพาะการรักษาความสะอาด ที่มีการเก็บขยะทุกครึ่งชั่วโมง ด้วยการใช้รถปิกอัพ 5 คัน ให้บริการตลอดทั้งวัน
สำหรับผู้ค้าแผงเร่ในตลาดนัดจตุจักร ที่มีประมาณ 600 แผง เปิดขายมาประมาณ 1-2 ปี โดยกทม.ใช้วิธีเรียกเก็บค่าปรับจากผู้ค้ารายละ 300 บาทต่อวัน เงินที่ได้จึงไม่ผูกพันกับรายได้ที่เข้ากรุงเทพมหานคร (กทม.) เมื่อเปรียบเทียบสัดส่วนแผงค้าข้างถนนกับผู้ค้าที่จดทะเบียนถูกต้องประมาณ 8,800 แผง ก็จำเป็นรักษาผู้ค้าที่จดทะเบียนถูกต้องไว้เพื่อไม่ให้ได้รับผลกระทบต่อไป
นายทวีศักดิ์กล่าวว่า การเจรจาหาข้อสรุปทรัพย์สินในตลาดนัดจตุจักรร่วมกับกทม. ได้มีการประสานไปยังนายทวีศักดิ์ เดชเดโช รองปลัด กรุงเทพมหานคร (กทม.) ในฐานะประธานคณะทำงานเจรจาหาข้อสรุปทรัพย์สินในตลาดนัดจตุจักร ให้ร่วมประชุมกับคณะทำงานของ ร.ฟ.ท.ที่มีนายประเสริฐ อัตตะนันทน์ รองผู้ว่าการ ร.ฟ.ท. เป็นประธานคณะทำงานแล้ว จึงมั่นใจว่าจะสามารถประชุมกันได้ในสัปดาห์นี้ ไม่มีการเลื่อนประชุมอีก เนื่องจาก เมื่อวันที่ 4 ม.ค. ที่ต้องเลื่อนการประชุมเพราะฝ่าย กทม.ไม่มีความพร้อม
“สิ่งที่ต้องพิจารณาร่วมกัน คือ ร.ฟ.ท.ต้องจ่ายค่าเช่าใช้ทรัพย์สินในตลาดนัดจตุจักรที่ กทม.ระบุว่าเป็นของ กทม.จำนวนเท่าไร โดยจะต้องหักค่าเช่าส่วนต่างที่เป็นผู้ค้าและธนาคารเป็นผู้ลงทุนออก เพื่อให้เป็นค่าเช่าเฉพาะทรัพย์สินที่เป็นของกทม.จริงๆเท่านั้น”นายทวีศักดิ์กล่าว
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา กทม. ได้ขนทรัพย์สินออกไปบ้างแล้ว เช่น เก้าอี้ที่ให้บริการภายในตลาดนัดจตุจักร หลอดไฟให้บริการส่วนกลาง และลำโพงเสียงตามสาย เป็นต้น ดังนั้น ร.ฟ.ท.จึงต้องเร่งติดตั้งหลอดไฟให้ความสว่างใหม่ทั้งหมด และยังติดตั้งเพิ่มในจุดที่แสงสว่างไม่เพียงพอ รวมถึงนำอุปกรณ์ที่ กทม.นำออกไปเข้าไปแทน