ASTVผู้จัดการรายวัน - ร.ฟ.ท.ยืนยันไม่มีการปรับรูปแบบตลาดนัดจตุจักร คงขายเสาร์-อาทิตย์ เล็งเพิ่มขายวันจันทร์-อังคาร ในระยะต่อไป แต่จะต้องไม่กระทบผู้ค้าหลัก เผยเจรจาค่าทรัพย์สินกับ กทม.ไม่น่ามีปัญหา ชี้ ต้องแยกส่วนจ่ายเฉพาะที่เป็นของ กทม.จริงๆ ไม่เกี่ยวกับที่ผู้ค้าและธนาคารลงทุน
นายทวีศักดิ์ สุทธิเสริม ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารทรัพย์สิน การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 9 ม.ค.ที่ผ่านมา ผู้ค้าตลาดนัดจตุจักรประมาณ 100-200 ราย ได้เข้าหารือกับ ร.ฟ.ท.เพื่อขอให้รักษาความปลอดภัยในพื้นที่ตลาดนัดจตุจักร และขอให้คิดค่าเช่าที่เป็นธรรม รวมถึงไม่ต้องการให้เอกชนเข้าไปบริหารตลาด ซึ่งแนวทางที่ผู้ค้าเสนอมานั้น เป็นแนวทางที่ ร.ฟ.ท.ดำเนินการอยู่แล้ว โดยยืนยันว่า ร.ฟ.ท.จะเป็นผู้บริหารจัดการเอง ไม่ให้เอกชนเข้าไปบริหาร และจะคงตลาดนัดจตุจักรเป็นชั้นเดียว ไม่ทำในลักษณะของศูนย์การค้าแน่นอน ส่วนเรื่องมาเฟียเรียกเก็บเงิน ทางผู้ค้ายืนยันว่าขณะนี้ไม่มีปัญหาดังกล่าวแล้ว แต่ยังจับตามองอย่างใกล้ชิด
ทั้งนี้ แผนการดำเนินงานของ ร.ฟ.ท.เบื้องต้น จะไม่มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงรูปแบบการขาย ในช่วงวันเสาร์ และอาทิตย์ แต่อาจพิจารณาหาแนวทางให้เกิดการค้าขาย ในวันที่เป็นวันว่าง เช่น วันจันทร์ และ อังคาร ที่เป็นวันทำความสะอาด ซึ่งจะไม่ให้ส่งผลกระทบกับผู้ค้าปกติ โดยถือเป็นแผนระยะยาวที่จะดำเนินการ และจะดำเนินการหลังจากที่การบริหารจัดการตลาดเข้าสู่ระบบก่อน ส่วนภาพรวมขณะนี้ถือว่า ผู้ค้าค่อนข้างพอใจการทำงานของ ร.ฟ.ท.โดยเฉพาะการรักษาความสะอาด ที่มีการเก็บขยะทุกครึ่งชั่วโมง ด้วยการใช้รถปิกอัพ 5 คัน ให้บริการตลอดทั้งวัน
สำหรับผู้ค้าแผงเร่ในตลาดนัดจตุจักร ที่มีประมาณ 600 แผง เปิดขายมาประมาณ 1-2 ปี โดยกทม.ใช้วิธีเรียกเก็บค่าปรับจากผู้ค้ารายละ 300 บาทต่อวัน เงินที่ได้จึงไม่ผูกพันกับรายได้ที่เข้ากรุงเทพมหานคร (กทม.) เมื่อเปรียบเทียบสัดส่วนแผงค้าข้างถนนกับผู้ค้าที่จดทะเบียนถูกต้องประมาณ 8,800 แผง ก็จำเป็นรักษาผู้ค้าที่จดทะเบียนถูกต้องไว้เพื่อไม่ให้ได้รับผลกระทบต่อไป
นายทวีศักดิ์ กล่าวว่า การเจรจาหาข้อสรุปทรัพย์สินในตลาดนัดจตุจักร ร่วมกับ กทม.ได้มีการประสานไปยัง นายทวีศักดิ์ เดชเดโช รองปลัดกรุงเทพมหานคร (กทม.) ในฐานะประธานคณะทำงานเจรจาหาข้อสรุปทรัพย์สินในตลาดนัดจตุจักร ให้ร่วมประชุมกับคณะทำงานของ ร.ฟ.ท.ที่มี นายประเสริฐ อัตตะนันทน์ รองผู้ว่าการ ร.ฟ.ท.เป็นประธานคณะทำงานแล้ว จึงมั่นใจว่า จะสามารถประชุมกันได้ในสัปดาห์นี้ ไม่มีการเลื่อนประชุมอีก เนื่องจากเมื่อวันที่ 4 ม.ค.ที่ต้องเลื่อนการประชุมเพราะฝ่าย กทม.ไม่มีความพร้อม
“สิ่งที่ต้องพิจารณาร่วมกัน คือ ร.ฟ.ท.ต้องจ่ายค่าเช่าใช้ทรัพย์สินในตลาดนัดจตุจักรที่ กทม.ระบุว่าเป็นของ กทม.จำนวนเท่าไร โดยจะต้องหักค่าเช่าส่วนต่างที่เป็นผู้ค้า และธนาคารเป็นผู้ลงทุนออก เพื่อให้เป็นค่าเช่าเฉพาะทรัพย์สินที่เป็นของ กทม.จริงๆ เท่านั้น” นายทวีศักดิ์ กล่าว
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา กทม.ได้ขนทรัพย์สินออกไปบ้างแล้ว เช่น เก้าอี้ที่ให้บริการภายในตลาดนัดจตุจักร หลอดไฟให้บริการส่วนกลาง และลำโพงเสียงตามสาย เป็นต้น ดังนั้น ร.ฟ.ท.จึงต้องเร่งติดตั้งหลอดไฟให้ความสว่างใหม่ทั้งหมด และยังติดตั้งเพิ่มในจุดที่แสงสว่างไม่เพียงพอ รวมถึงนำอุปกรณ์ที่ กทม.นำออกไปเข้าไปแทน
นายทวีศักดิ์ สุทธิเสริม ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารทรัพย์สิน การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 9 ม.ค.ที่ผ่านมา ผู้ค้าตลาดนัดจตุจักรประมาณ 100-200 ราย ได้เข้าหารือกับ ร.ฟ.ท.เพื่อขอให้รักษาความปลอดภัยในพื้นที่ตลาดนัดจตุจักร และขอให้คิดค่าเช่าที่เป็นธรรม รวมถึงไม่ต้องการให้เอกชนเข้าไปบริหารตลาด ซึ่งแนวทางที่ผู้ค้าเสนอมานั้น เป็นแนวทางที่ ร.ฟ.ท.ดำเนินการอยู่แล้ว โดยยืนยันว่า ร.ฟ.ท.จะเป็นผู้บริหารจัดการเอง ไม่ให้เอกชนเข้าไปบริหาร และจะคงตลาดนัดจตุจักรเป็นชั้นเดียว ไม่ทำในลักษณะของศูนย์การค้าแน่นอน ส่วนเรื่องมาเฟียเรียกเก็บเงิน ทางผู้ค้ายืนยันว่าขณะนี้ไม่มีปัญหาดังกล่าวแล้ว แต่ยังจับตามองอย่างใกล้ชิด
ทั้งนี้ แผนการดำเนินงานของ ร.ฟ.ท.เบื้องต้น จะไม่มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงรูปแบบการขาย ในช่วงวันเสาร์ และอาทิตย์ แต่อาจพิจารณาหาแนวทางให้เกิดการค้าขาย ในวันที่เป็นวันว่าง เช่น วันจันทร์ และ อังคาร ที่เป็นวันทำความสะอาด ซึ่งจะไม่ให้ส่งผลกระทบกับผู้ค้าปกติ โดยถือเป็นแผนระยะยาวที่จะดำเนินการ และจะดำเนินการหลังจากที่การบริหารจัดการตลาดเข้าสู่ระบบก่อน ส่วนภาพรวมขณะนี้ถือว่า ผู้ค้าค่อนข้างพอใจการทำงานของ ร.ฟ.ท.โดยเฉพาะการรักษาความสะอาด ที่มีการเก็บขยะทุกครึ่งชั่วโมง ด้วยการใช้รถปิกอัพ 5 คัน ให้บริการตลอดทั้งวัน
สำหรับผู้ค้าแผงเร่ในตลาดนัดจตุจักร ที่มีประมาณ 600 แผง เปิดขายมาประมาณ 1-2 ปี โดยกทม.ใช้วิธีเรียกเก็บค่าปรับจากผู้ค้ารายละ 300 บาทต่อวัน เงินที่ได้จึงไม่ผูกพันกับรายได้ที่เข้ากรุงเทพมหานคร (กทม.) เมื่อเปรียบเทียบสัดส่วนแผงค้าข้างถนนกับผู้ค้าที่จดทะเบียนถูกต้องประมาณ 8,800 แผง ก็จำเป็นรักษาผู้ค้าที่จดทะเบียนถูกต้องไว้เพื่อไม่ให้ได้รับผลกระทบต่อไป
นายทวีศักดิ์ กล่าวว่า การเจรจาหาข้อสรุปทรัพย์สินในตลาดนัดจตุจักร ร่วมกับ กทม.ได้มีการประสานไปยัง นายทวีศักดิ์ เดชเดโช รองปลัดกรุงเทพมหานคร (กทม.) ในฐานะประธานคณะทำงานเจรจาหาข้อสรุปทรัพย์สินในตลาดนัดจตุจักร ให้ร่วมประชุมกับคณะทำงานของ ร.ฟ.ท.ที่มี นายประเสริฐ อัตตะนันทน์ รองผู้ว่าการ ร.ฟ.ท.เป็นประธานคณะทำงานแล้ว จึงมั่นใจว่า จะสามารถประชุมกันได้ในสัปดาห์นี้ ไม่มีการเลื่อนประชุมอีก เนื่องจากเมื่อวันที่ 4 ม.ค.ที่ต้องเลื่อนการประชุมเพราะฝ่าย กทม.ไม่มีความพร้อม
“สิ่งที่ต้องพิจารณาร่วมกัน คือ ร.ฟ.ท.ต้องจ่ายค่าเช่าใช้ทรัพย์สินในตลาดนัดจตุจักรที่ กทม.ระบุว่าเป็นของ กทม.จำนวนเท่าไร โดยจะต้องหักค่าเช่าส่วนต่างที่เป็นผู้ค้า และธนาคารเป็นผู้ลงทุนออก เพื่อให้เป็นค่าเช่าเฉพาะทรัพย์สินที่เป็นของ กทม.จริงๆ เท่านั้น” นายทวีศักดิ์ กล่าว
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา กทม.ได้ขนทรัพย์สินออกไปบ้างแล้ว เช่น เก้าอี้ที่ให้บริการภายในตลาดนัดจตุจักร หลอดไฟให้บริการส่วนกลาง และลำโพงเสียงตามสาย เป็นต้น ดังนั้น ร.ฟ.ท.จึงต้องเร่งติดตั้งหลอดไฟให้ความสว่างใหม่ทั้งหมด และยังติดตั้งเพิ่มในจุดที่แสงสว่างไม่เพียงพอ รวมถึงนำอุปกรณ์ที่ กทม.นำออกไปเข้าไปแทน