xs
xsm
sm
md
lg

“มาม่า”รุกตปท.ขยายฐานผลิต รับเออีซี-หนีไทยอิ่มตัว

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ASTVผู้จัดการรายวัน – บิ๊กบอส “มาม่า” ชี้ตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเดือดรับเออีซี แถมใกล้อิ่มตัวแล้ว ลั่นไม่กลัวแข่งขันแต่กลัวตลาดอิ่มตัวมากกว่า เปิดแผน 3 ยุทธวิธีรุก ทุ่มงบตั้งโรงงานต่างประเทศขยายฐาน

นายพิพัฒ พะเนียงเวทย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟู้ดส์ จำกัด (มหาชน) หรือทีเอฟ ผู้ผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมาม่า ในเครือสหพัตน์ เปิดเผยว่า ปี 2555 ตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปจะมีการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้นกว่าเดิม จากผู้ประกอบการรายใหญ่ 3 รายเดิมในไทยคือ มาม่า ไวไว ยำยำ นอกจากนั้นจะมีแบรนด์จากต่างประเทศเข้ามาทำตลาดมากขึ้นหลังจากที่ได้ชิมลางทดลองนำเข้ามาทำตลาดเมื่อปีที่แล้วที่เข้ามาช่วงเกิดเหตุน้ำท่าวมใหญ่ ซึ่งถือเป็นการทดลองตลาดก่อนเข้ามาทำตลาดจริงจังจากนี้ในช่วงปี 2558 ที่เออีซีจะมีผลบังคับใช้ (ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน/ ASEAN ECONOMIC COMMITTEE )
ขณะเดียวกันตลาดบะหมี่กี่งสำเร็จรูปในประเทศไทยถือว่าใกล้ถึงจุดอิ่มตัวแล้ว โดยมีอัตราการบริโภคประมาณ 39 ซองต่อคนต่อปี ขณะที่จากการศึกษาประเทศที่เจริญแล้วเช่น ญี่ปุน ไต้หวัน พบว่า ทุกวันนี้อิ่มตัวแล้วการบริโภคอยู่ที่ 40 ซองต่อคนต่อปี แต่เกาหลีใต้ 70 ซองต่อคนต่อปี เนื่องจากทางรัฐบาลให้การสนับสนุนและส่งเสริม
“เรากลัวเรื่องตลาดอิ่มตัวมากกว่า ส่วนเรื่องของแบรนด์ต่างชาติหรือการแข่งขันนั้นเราไม่กลัว เพราะว่าเรามีสหพัฒน์เป็นผู้จัดจำหน่าย สินค้าเราดีมีคุณภาพ การตลาดเราก็ไม่ห่วง ส่วนต้นทุนเราสูงกว่าบางประเทศ”
ทั้งนี้แผนธุรกิจของมาม่าจากนี้จะเน้นไปที่ 3 ประเด็นหลักคือ 1.การขยายตลาดชนิดถ้วย (CUP/คัพ) เนื่องจากมีราคาสูงกว่า จะทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้นแม้การบริโภคจะเท่าเดิม 2.การพัฒนาสินค้าใหัมีรสชาติใหม่ๆและมีนวัตกรรมเป็นการเพิ่มมูลค่า เช่น โอเรียนทัลคิทเช่น หรือมาม่าราเมง เป็นต้น โดยที่สินค้ามีราคาสูงขึ้น และ 3. การขยายตลาดและการลงทุนในต่างประเทศ
ปัจจุบันมาม่าส่งออกกว่า 50 ประเทศทั่วโลก มีรายได้ส่งออกประมาณ 1,700 ล้านบาท ตั้งเป้าหมายรายได้ส่งออกปี 2555 ไว้ที่ 2,000 ล้านบาท ซึ่งประเทศใดที่มีศักยภาพและเหมาะสมก็จะตั้งโรงงานผลิต ซึ่งที่ผ่านมามีการตั้งโรงงานแล้วเช่นที่ เขมร กว่า 10 ปีแล้ว ผลิตได้ 35,000 หีบต่อเดือน และที่พม่า มี 1 โรง 6 เครื่องจักร ผลิตได้ 35,000 หีบต่อเดือน เป็นต้น
สำหรับแผนการลงทุนต่างประเทศในปี 2555 ล่าสุดอยู่ระหว่างเตรียมตั้งโรงงานอีกแห่งที่พม่า ซึ่งล่าสุดต้นปี 2555 คุณบุณยสิทธิ์ โชควัฒนา ประธานเครือสหพัฒน์ แลละทีมงานได้เดินทางไปพม่า เพื่อดูลู่ทางและความพร้อมด้านการลงทุนด้านพลังงานในนามของสหโคเจน ซึ่งอาจจะเป็นไปได้ว่า ทีเอฟจะตั้งโรงงานติดกันเพื่อนำเอาไอน้ำจกาาโรงงานพลังงานนั้นมาผลิตมาม่า ส่วนสหโคเจนก็ขายพลังงานให้รัฐบาลพม่า ทำให้ต้นทุนเราต่ำลง ซึ่งทุกวันนี้โรงงานของเราที่ศรีราชาและลำพูนก็ใช้ไอน้ำมาผาป็นพลังงางานเช่นกัน
ขณะนี้อยู่ระหว่าางพิจารณาทำเลโดยที่ย่างกั้งนั้นที่ดินไร่ละ 3 ล้านบาท ส่วนที่มัณฑะเลย์ ไร่ละ 2 แสนบาท และเป็นการเช่า 60 ปี และสามารถต่อได้อีก ยังไม่สรุปว่าจะลงทุนที่เมืองใด ซึ่งเมื่อแล้วเสร็จอาจจะย้ายโรงงานเดิมไปที่ใหม่รวมกัน ซึ่งโรงงานเดิมผลิตได้ 30,000 หีบต่อเดือน
ส่วนอีกประเทศคือ บังคลาเทศ เตรียมแผนสร้างโรงงานเช่นกัน ขณะนี้ได้ซื้อที่ดินไว้แล้ว คาดลงทุนขั้นต่ำ 100 ล้านบาท โดยทางทีเอฟถือหุ้น 55% สหพัฒน์ 10% และทางบังคลาเทศ 35% ซึ่งคาดว่าจะก่อสร้างเสร็จเริ่มผลิตได้กลางปี 2555 ซึ่งที่บังคลาเทศนี้มีโรงงานอยู่แล้ว 1 แห่ง แต่จะลงทุนเพื่อใช้เป็นฐานบุกตลาดประเทศอินเดีย เนื่องจากทุกวันนี้นำเข้าไใปอินเดียเสียภาษีนำเข้า 60% แต่ถ้าหากลงทุนในบังคลาเทศอาจจะได้รับสิทธิ์พิเศษทางการค้าของ2 ประเทศนี้
สำหรับการลงทุนในไทยคือ การลงทุนก่อสร้างโรงงานผลิตแป้งสาลี กำลังผลิต 300 ตันต่อวัน ในเฟสแรก มูลค่า 500 ล้านบาท ที่ระยอง คาดว่าจะแล้วเสร็จปี 2556 เพื่อนำมาใช้ในการผลิตมาม่า จากเดิมที่มีโรงงานร่วมทุนอยู่แล้วที่ร่วมทุนอยู่กับลุ่มเชียงการีล่าในนามเคอร์รี่ โดยบีริษัทถือหุ้น น30% โดยโรงงานใหม่นี้ให้ทางเคอร์รี่เข้ามาถือหุ้น 30% เกีน ส่วนทีเอฟ 605 และเพรซิเดนท์เบเกอรี่ 10%
นายพิพัฒกล่าวว่า ผลประกอบการปีที่แล้วมีรายได้รวม 9,000 ล้านบาท ส่วนปี 2555 นี้ตั้งเป้าหมายรายได้รวมไว้ที่ 10,000 ล้านบาท
กำลังโหลดความคิดเห็น