มหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นกับประเทศไทยในช่วงปลายปี 2554 นี้ถือเป็นเหตุการณ์ที่สร้างความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สินอย่างใหญ่หลวงต่อประเทศไทย และเป็นเหตุการรณ์ที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อนว่าจะรุนแรงขนาดนี้
เหตุการณ์ครั้งนี้ ได้ให้บทเรียนอะไรแก่คนไทยไว้บ้าง
“เอเอสทีวีผู้จัดการรายวัน” สัมภาษณ์พิเศษ ความคิดเห็นของนักธุรกิจไทย เพื่อสะท้อนภาพดังกล่าว ซึ่งต่างคนต่างก็มีความคิดเห็นและมุมมองที่แตกต่างกันไปอย่างน่าสนใจ
ก่อนอำลาปี 2554 โดยทิ้งทุกอย่างที่เกิดขึ้นไว้เบื้องหลัง ด้วยการก้าวข้ามเหตุการณ์ที่เศร้าสะเทือนครั้งนี้ เพื่อให้เป็นบทเรียนต่อไป
*** “สมชาย พรรัตนเจริญ”
นายกสมาคมค้าส่ง-ปลีกไทย
“สิ่งที่ได้รับจากเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ครั้งนี้ ที่เห็นชัดเจนที่สุดและถือเป็นบทเรียนที่ดีก็คือ การที่ประเทศไทยเราพึ่งพาแต่เฉพาะทุนใหญ่ โดยในด้านค้าปลีกนั้น พึ่งพาเฉพาะ 5 โมเดิร์นเทรดใหญ่ (บิ๊กซี เทสโก้โลตัส แม็คโคร ท็อปส์ เซเว่นอีเลฟเว่น) ซึ่งล้วนแต่เป็นของต่างชาติทั้งสิ้น ให้มาคุมชะตากรรมผู้บริโภคคนไทยและประเทศไว้ในมือของเขา เมื่อเกิดเหตุน้ำท่วมหนักคราวนี้ คนไทยแทบจะแย่กันหมดพรามะเมือ่ผุ้ประกอบการทั้งห้ารายหรือบิ๊กไฟว์นี้ ได้รับผลกระทบเพราะดีซีหลายแห่งของแต่ละค่ายจมนย้ำเช่นที่บางบัวทอง บางใหญ่ วังน้อย เป็นต้น ทำให้สินค้าขาดตลาด
แต่ยังดีที่เรายังมีกิจการโชห่วย ร้านรากหญ้าอีกมาก ไม่อย่างนั้น ช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาที่เกิดเหตุน้ำท่วม คนไทยโดยเฉพาะคนกรึงเทพนเดี้ยงแน่นอน นั่นหมายความว่า ธุรกิจรายเล็กๆแบบดั้งเดิมก็ยังมีประโยชน์ รัฐบาลควรที่จะเข้ามาส่งเสริมสนับสนุนและดูแลการทำธุรกิจให้อยู่รอดได้ ไม่ใช่มองแต่รายใหญ่เท่านั้นเพราะที่ผานมามีแต่ช่วยเหลอืรายใหญ่อย่างเดียว”
นายสมชายอธิบายว่า จริงๆแล้ว นี่เป็นตัวอย่างที่ดี ที่จะสะท้อนให้ภาครัฐเห็นว่า รัฐควรต้องจัดการบริหารเรื่องการกระจายความเสี่ยงในการให้เอกชนกระจายความเสี่ยงไปหลายภูมิภาค เพราะเมื่อภูมิภาคหนึ่งเกิดปัญหาก็ยังมีภูมิภาคอื่นที่ยังรองรับได้
***“ชำนาญ เมธปรีชากุล”
ผู้อำนวยการใหญ่อาวุโสการตลาด บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด
“ภาพรวมของปี 2554 ทำให้ได้บทเรียน และข้อเตือนใจ เหมือนคำที่พระพุทธเจ้าสอนไว้ว่า “จงยังกิจทั้งปวงด้วยความไม่ประมาทเถิด” ซึ่งในช่วงเหตุการณ์ดีๆ ต้องรีบทำในสิ่งที่ควรทำ ต้องปรับยุทธวิธีให้เร็วภายในกลยุทธ์ที่ยืดหยุ่น แต่คงไว้ที่จุดหมายที่มั่นคง ซึ่งเดอะมอลล์ เราเองก็ทำการตลาดที่ไม่ประมาท ใน 3 ไตรมาสแรกที่สามารถสร้างยอดขายได้เติบโตกว่า 17 % ในช่วงไตรมาสสุดท้ายที่เกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้น เราจึงสามารถปิดยอดขายได้ดี”
*** “นลินี ไพบูลย์”
ประธานกรรมการ บริษัท กิฟฟารีน สกายไลน์ ยูนิตี้ จำกัด
“สิ่งที่เกิดขึ้นนี้เรามองได้ทั้งสองมุม โดยในมุมลบ ก็อย่างที่รู้กันอยู่แล้วบทเรียนหนักที่สุดก็คือ อุทกภัยครั้งร้ายแรงปีนี้ ส่งผลเสียหายอย่างใหญ่หลวงต่อประเทศทั้งภาพลักษณ์ ภาพรวมเศรษฐกิจ คนตกงาน คนเดือดร้อนไร้ที่อาศัยมากมาย ธุรกิจเสียหายเป็นทิวแถว ซึ่งไม่อยากจะย้ำอีก
แต่หากมองในมุมบวก มันก็มีประโยชน์อยู่เหมือนกันหลายอย่างในเรื่องน้ำท่มวครั้งนี้ เพราะทำให้รู้ว่าคนไทยเราก็มีความเข้มแข็ง มีน้ำใจไมตรีที่ยากจะหาได้ในปรเทศอื่น ใครพร้อมและตัดสินใจเร็วจะดีกว่า จะฟื้นตัวเร็วกว่า รวมทั้งเตือนธุรกิจว่าควรต้องทำประกันอุทกภัยไว้ด้วย เพราะภัยธรรมชาติเกิดได้ทุกอย่าง
ส่วนเรื่องเงินสำรองก็สำคัญ ในเชิงภาคครอบครัวสะท้อนได้ดีว่า คนกรุงเทพฯ ไม่ค่อยมีเงินสำรองมากเท่าใด เมื่อเกิดเหตุวิกฤติที่ไม่คาดฝัน หลายคนเก็บอะไรในบ้านออกมาไม่ทัน ไม่มีเงินติดตัวเลย กลายเป็นคนสินเนื้อประดาตัวไปในพริบตา เราต้องไม่ประมาทต้องมีการวางแผนที่ดี ที่สำคัญแผนนั้นต้องสามารถนำมาปฎิบัติได้จริงด้วย
ในแง่ของผู้ประกอบการ ต้องคิดว่าปีหน้าน้ำคงจะท่วมอีกแน่นอนนเพราะว่าจะได้ตั้งตัวทัน มีการสำรวจสถานที่ผลิตให้ดี มีการดัดแปลงสถานที่โรงงานใหม่ ให้สามารถรับมือได้ เครื่องจักร ต้องมีสำรองไว้ เหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้เราได้มาซึ่งวิธีคิดและการตัดสินใจที่ต้องเร็วและรอบคอบ”
*** “สุวิทย์ กิ่งแก้ว”
รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน)
“แน่นอนว่า ภัยธรรมชาติเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และเราไม่สามารถควบคุมมันได้ เพราะฉะนั้นเราต้องไม่ประมาท และมองว่าต้องมีอะไรเกิดขึ้นอีกแน่จะได้เตรียมตัวได้ทัน อย่างน้อยที่สุดก็จะได้ผ่อนหนักเป็นเบาได้บ้าง
ส่วนในเรื่องของภาคธุรกิจนั้น สำหรับเหตุการณ์น้ำท่วมที่ผ่านมาในเรื่องของโรงงานการผลิตหรือดีซี ต้องมองว่าอนาคตเราจะวางแผนรับมืออย่างไรกับน้ำท่วมที่อาจจะเกิดขึ้นได้อีก จะต้องย้ายทำเลหรือไม่ หรือต้องเสริมการป้องกันโรงงานเดิมที่ถูกน้ำท่วม รวมทั้งยังได้บทเรียนนด้านระบบการจัดการ การบริหาร ระดับประเทศว่าภัยธรรมชาติจากนี้จะรุนแรงและไม่คาดคิดมากขึ้น เราต้องมองระบบการจัดการบริหารให้ดี และที่สำคัญเรื่องการจัดการด้านอาหาร การขนส่ง ที่จะต้องไม่ให้เกิดวิกฤติเมื่อเกิดภัยธรรมชาติ โดยเอาครั้งนี้เป็นข้อมูลการศึกษาและวางแผนกัน”
*** “วรพันธ์ โลกิตสถาพร”
กรรมการผู้จัดการ สำนักพิมพ์ สถาพรบุ๊กส์
“เป็นการตอกย้ำชัดเจนว่า ทุกอย่างไม่เที่ยงแท้แน่นอน อะไรที่จะเกิดมนัก็ต้องเกิด แต่เมื่อเกิดแล้วทุกคนต้องทำตัวให้แข็งแรงให้ได้ ไม่ว่าอะไรจะเกิดต้องปรับตัวเองให้ได้ก็จะอยู่รอด
ถ้าถามว่าในแง่ธุรกิจเราได้รับบทเรียนอะไรบ้าง ซึ่งตัวผมเองสำนักพิมพ์ก็โดนน้ำท่วม เหมือนกัน ผมทำงานไม่ได้หลายสัปดาห์ เราต้องมีก๊อกสองหรืออแผนสำรอง เมื่อเกิดเหตุไม่คาดฝัน ต้องมีทุนสำรองสะสมไว้บ้าง ถ้า 2 เดือนที่ทำธุรกิจไม่ได้ไม่มีเงินจะอยู่อย่างไร เพราะถ้าทำตัวเป็นเหมือนคนกินเงินเดือน เดือนต่อเดือน อย่างนี้ก็ตาย ต้องมีสำรองไว้ แต่ที่สำคัญที่สุดก็คือทุกอย่างทุกคนต้องมีสติและตั้งตัวได้ก็จะผ่านทุกอย่างไปได้”
*** เกษม อินทร์แก้ว
ประธานกรรมการ บริษัท เคเบิล ไทย โฮลดิ้ง จํากัด (มหาชน) หรือ CTH
”จากสถานการณ์การเมืองและอุทกภัยที่เกิดขึ้นในช่วงปี 2554 ที่ผ่านมา มีทั้งผลดีและผลเสียที่เกิดขึ้นกับธุรกิจเคเบิลทีวี โดยในส่วนของผลดีนั้น เกิดจากสถานการณ์การเมือง ที่ส่งให้ผู้บริโภคหันมารับชมผ่านสื่อเคเบิลทีวีมากยิ่งขึ้น เพื่อต้องการการรับชมข่าวสารที่หลากหลายและไม่ปิดกั้น
ส่วนผลเสียนั้น เกิดจากปัญหาน้ำท่วมโดยตรง ทั้งในส่วนของผู้ประกอบการเอง ที่พื้นที่ตั้งของเครื่องส่งได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม รวมถึงสมาชิกด้วย ที่ได้รับความเดือดร้อน ทำให้เราไม่สามารถเก็บค่าสมาชิกได้”
*** วิทวัส ชัยปราณี”
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ครีเอทีฟ จูซ\จีวัน จำกัด
“สถานการณ์การเมืองและโดยเฉพาะอุทกภัยที่เกิดขึ้นในปี2554ที่ผ่านมา ถือเป็นประสบการณ์ที่ดีสำหรับวงการโฆษณา โดยเฉพาะในช่วงน้ำท่วมกรุงเทพฯหนักๆในระยะเวลา 2 อาทิตย์นั้น ยอมรับว่าค่อนข้างใจหาย เนื่องจากลูกค้าระงับการใช้งบโฆษณาค่อนข้างมาก โดยเฉพาะลูกค้าที่โรงงานได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้น เพราะส่งผลโดยตรงกับยอดการผลิต และยอดขายที่จะหายไปตามมา
แต่ในช่วงเวลาดังกล่าว กลับพบว่าลูกค้าที่ระงับการใช้งบโฆษณา กลับหันมาใช้งบโฆษณาในรูปแบบ ซีเอสอาร์ ส่งเสริมสังคมแทน รวมแล้วไม่ต่ำกว่า 50 เรื่อง ทำให้ช่วงเวลานั้นเม็ดเงินโฆษณาจึงหายไปไม่มากนัก ซึ่งจากเหตุการณ์ครั้งนี้ ได้ส่งผลต่อนักการตลาดและโฆษณา มุ่งให้ความสำคัญกับซีเอสอาร์มากยิ่งขึ้น เชื่อว่า วิธีการทำตลาดผ่านซีเอสอาร์ในปีหน้าจะเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ลูกค้าจะต่อยอดให้ความสำคัญมากขึ้นไปอีก”
*** “เกรียงศักดิ์ ตันติภิภพ”
ผู้บริหารอาวุโสสายการตลาด บริษัท สยามพารากอน ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด
“สิ่งที่ได้รับจากเหตุการณ์น้ำท่วมนี้ ทำให้การทำตลาดจากนี้ต้องเลปลี่ยนไปทิศทางการทำตลาดในปีหน้าจะปรับรูปแบบใหม่ ที่มุ่งทำการตลาดแบบเข้าไปร่วมสุขและทุกข์พร้อมกับประชาชน และเข้าไปทำกิจกรรมให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า หรือเข้าไปอยู่ในใจของผู้บริโภคให้ได้ (แคร์ริ่ง แอนด์ แชร์ริ่ง) ถือเป็นหัวใจสำคัญของการทำธุรกิจค้าปลีกแบบใหม่ จากเดิมที่ผ่านมา จะเน้นทำโปรโมชั่น และทำกิจกรรม ซีเอสอาร์ เท่านั้น
ความเป็นหนึ่งเดียวและมีสายสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า เข้าไปร่วมทุกข์ร่วมสุขกับประชาชน คุณสุขเราสุข คุณทุกข์ เราทุกข์ เพื่อเป็นหนึ่งเดียวกับลูกค้า หรือใช้กลยุทธ์ แคร์ริ่ง แอนด์ แชร์ริ่ง คือหัวใจสำคัญของการทำธุรกิจค้าปลีกแบบใหม่ ถ้าไม่สามารถเข้าไปอยู่ในใจของผู้บริโภค ก็คงอยู่ไม่ได้แน่นอน”
เหตุการณ์ครั้งนี้ ได้ให้บทเรียนอะไรแก่คนไทยไว้บ้าง
“เอเอสทีวีผู้จัดการรายวัน” สัมภาษณ์พิเศษ ความคิดเห็นของนักธุรกิจไทย เพื่อสะท้อนภาพดังกล่าว ซึ่งต่างคนต่างก็มีความคิดเห็นและมุมมองที่แตกต่างกันไปอย่างน่าสนใจ
ก่อนอำลาปี 2554 โดยทิ้งทุกอย่างที่เกิดขึ้นไว้เบื้องหลัง ด้วยการก้าวข้ามเหตุการณ์ที่เศร้าสะเทือนครั้งนี้ เพื่อให้เป็นบทเรียนต่อไป
*** “สมชาย พรรัตนเจริญ”
นายกสมาคมค้าส่ง-ปลีกไทย
“สิ่งที่ได้รับจากเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ครั้งนี้ ที่เห็นชัดเจนที่สุดและถือเป็นบทเรียนที่ดีก็คือ การที่ประเทศไทยเราพึ่งพาแต่เฉพาะทุนใหญ่ โดยในด้านค้าปลีกนั้น พึ่งพาเฉพาะ 5 โมเดิร์นเทรดใหญ่ (บิ๊กซี เทสโก้โลตัส แม็คโคร ท็อปส์ เซเว่นอีเลฟเว่น) ซึ่งล้วนแต่เป็นของต่างชาติทั้งสิ้น ให้มาคุมชะตากรรมผู้บริโภคคนไทยและประเทศไว้ในมือของเขา เมื่อเกิดเหตุน้ำท่วมหนักคราวนี้ คนไทยแทบจะแย่กันหมดพรามะเมือ่ผุ้ประกอบการทั้งห้ารายหรือบิ๊กไฟว์นี้ ได้รับผลกระทบเพราะดีซีหลายแห่งของแต่ละค่ายจมนย้ำเช่นที่บางบัวทอง บางใหญ่ วังน้อย เป็นต้น ทำให้สินค้าขาดตลาด
แต่ยังดีที่เรายังมีกิจการโชห่วย ร้านรากหญ้าอีกมาก ไม่อย่างนั้น ช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาที่เกิดเหตุน้ำท่วม คนไทยโดยเฉพาะคนกรึงเทพนเดี้ยงแน่นอน นั่นหมายความว่า ธุรกิจรายเล็กๆแบบดั้งเดิมก็ยังมีประโยชน์ รัฐบาลควรที่จะเข้ามาส่งเสริมสนับสนุนและดูแลการทำธุรกิจให้อยู่รอดได้ ไม่ใช่มองแต่รายใหญ่เท่านั้นเพราะที่ผานมามีแต่ช่วยเหลอืรายใหญ่อย่างเดียว”
นายสมชายอธิบายว่า จริงๆแล้ว นี่เป็นตัวอย่างที่ดี ที่จะสะท้อนให้ภาครัฐเห็นว่า รัฐควรต้องจัดการบริหารเรื่องการกระจายความเสี่ยงในการให้เอกชนกระจายความเสี่ยงไปหลายภูมิภาค เพราะเมื่อภูมิภาคหนึ่งเกิดปัญหาก็ยังมีภูมิภาคอื่นที่ยังรองรับได้
***“ชำนาญ เมธปรีชากุล”
ผู้อำนวยการใหญ่อาวุโสการตลาด บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด
“ภาพรวมของปี 2554 ทำให้ได้บทเรียน และข้อเตือนใจ เหมือนคำที่พระพุทธเจ้าสอนไว้ว่า “จงยังกิจทั้งปวงด้วยความไม่ประมาทเถิด” ซึ่งในช่วงเหตุการณ์ดีๆ ต้องรีบทำในสิ่งที่ควรทำ ต้องปรับยุทธวิธีให้เร็วภายในกลยุทธ์ที่ยืดหยุ่น แต่คงไว้ที่จุดหมายที่มั่นคง ซึ่งเดอะมอลล์ เราเองก็ทำการตลาดที่ไม่ประมาท ใน 3 ไตรมาสแรกที่สามารถสร้างยอดขายได้เติบโตกว่า 17 % ในช่วงไตรมาสสุดท้ายที่เกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้น เราจึงสามารถปิดยอดขายได้ดี”
*** “นลินี ไพบูลย์”
ประธานกรรมการ บริษัท กิฟฟารีน สกายไลน์ ยูนิตี้ จำกัด
“สิ่งที่เกิดขึ้นนี้เรามองได้ทั้งสองมุม โดยในมุมลบ ก็อย่างที่รู้กันอยู่แล้วบทเรียนหนักที่สุดก็คือ อุทกภัยครั้งร้ายแรงปีนี้ ส่งผลเสียหายอย่างใหญ่หลวงต่อประเทศทั้งภาพลักษณ์ ภาพรวมเศรษฐกิจ คนตกงาน คนเดือดร้อนไร้ที่อาศัยมากมาย ธุรกิจเสียหายเป็นทิวแถว ซึ่งไม่อยากจะย้ำอีก
แต่หากมองในมุมบวก มันก็มีประโยชน์อยู่เหมือนกันหลายอย่างในเรื่องน้ำท่มวครั้งนี้ เพราะทำให้รู้ว่าคนไทยเราก็มีความเข้มแข็ง มีน้ำใจไมตรีที่ยากจะหาได้ในปรเทศอื่น ใครพร้อมและตัดสินใจเร็วจะดีกว่า จะฟื้นตัวเร็วกว่า รวมทั้งเตือนธุรกิจว่าควรต้องทำประกันอุทกภัยไว้ด้วย เพราะภัยธรรมชาติเกิดได้ทุกอย่าง
ส่วนเรื่องเงินสำรองก็สำคัญ ในเชิงภาคครอบครัวสะท้อนได้ดีว่า คนกรุงเทพฯ ไม่ค่อยมีเงินสำรองมากเท่าใด เมื่อเกิดเหตุวิกฤติที่ไม่คาดฝัน หลายคนเก็บอะไรในบ้านออกมาไม่ทัน ไม่มีเงินติดตัวเลย กลายเป็นคนสินเนื้อประดาตัวไปในพริบตา เราต้องไม่ประมาทต้องมีการวางแผนที่ดี ที่สำคัญแผนนั้นต้องสามารถนำมาปฎิบัติได้จริงด้วย
ในแง่ของผู้ประกอบการ ต้องคิดว่าปีหน้าน้ำคงจะท่วมอีกแน่นอนนเพราะว่าจะได้ตั้งตัวทัน มีการสำรวจสถานที่ผลิตให้ดี มีการดัดแปลงสถานที่โรงงานใหม่ ให้สามารถรับมือได้ เครื่องจักร ต้องมีสำรองไว้ เหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้เราได้มาซึ่งวิธีคิดและการตัดสินใจที่ต้องเร็วและรอบคอบ”
*** “สุวิทย์ กิ่งแก้ว”
รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน)
“แน่นอนว่า ภัยธรรมชาติเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และเราไม่สามารถควบคุมมันได้ เพราะฉะนั้นเราต้องไม่ประมาท และมองว่าต้องมีอะไรเกิดขึ้นอีกแน่จะได้เตรียมตัวได้ทัน อย่างน้อยที่สุดก็จะได้ผ่อนหนักเป็นเบาได้บ้าง
ส่วนในเรื่องของภาคธุรกิจนั้น สำหรับเหตุการณ์น้ำท่วมที่ผ่านมาในเรื่องของโรงงานการผลิตหรือดีซี ต้องมองว่าอนาคตเราจะวางแผนรับมืออย่างไรกับน้ำท่วมที่อาจจะเกิดขึ้นได้อีก จะต้องย้ายทำเลหรือไม่ หรือต้องเสริมการป้องกันโรงงานเดิมที่ถูกน้ำท่วม รวมทั้งยังได้บทเรียนนด้านระบบการจัดการ การบริหาร ระดับประเทศว่าภัยธรรมชาติจากนี้จะรุนแรงและไม่คาดคิดมากขึ้น เราต้องมองระบบการจัดการบริหารให้ดี และที่สำคัญเรื่องการจัดการด้านอาหาร การขนส่ง ที่จะต้องไม่ให้เกิดวิกฤติเมื่อเกิดภัยธรรมชาติ โดยเอาครั้งนี้เป็นข้อมูลการศึกษาและวางแผนกัน”
*** “วรพันธ์ โลกิตสถาพร”
กรรมการผู้จัดการ สำนักพิมพ์ สถาพรบุ๊กส์
“เป็นการตอกย้ำชัดเจนว่า ทุกอย่างไม่เที่ยงแท้แน่นอน อะไรที่จะเกิดมนัก็ต้องเกิด แต่เมื่อเกิดแล้วทุกคนต้องทำตัวให้แข็งแรงให้ได้ ไม่ว่าอะไรจะเกิดต้องปรับตัวเองให้ได้ก็จะอยู่รอด
ถ้าถามว่าในแง่ธุรกิจเราได้รับบทเรียนอะไรบ้าง ซึ่งตัวผมเองสำนักพิมพ์ก็โดนน้ำท่วม เหมือนกัน ผมทำงานไม่ได้หลายสัปดาห์ เราต้องมีก๊อกสองหรืออแผนสำรอง เมื่อเกิดเหตุไม่คาดฝัน ต้องมีทุนสำรองสะสมไว้บ้าง ถ้า 2 เดือนที่ทำธุรกิจไม่ได้ไม่มีเงินจะอยู่อย่างไร เพราะถ้าทำตัวเป็นเหมือนคนกินเงินเดือน เดือนต่อเดือน อย่างนี้ก็ตาย ต้องมีสำรองไว้ แต่ที่สำคัญที่สุดก็คือทุกอย่างทุกคนต้องมีสติและตั้งตัวได้ก็จะผ่านทุกอย่างไปได้”
*** เกษม อินทร์แก้ว
ประธานกรรมการ บริษัท เคเบิล ไทย โฮลดิ้ง จํากัด (มหาชน) หรือ CTH
”จากสถานการณ์การเมืองและอุทกภัยที่เกิดขึ้นในช่วงปี 2554 ที่ผ่านมา มีทั้งผลดีและผลเสียที่เกิดขึ้นกับธุรกิจเคเบิลทีวี โดยในส่วนของผลดีนั้น เกิดจากสถานการณ์การเมือง ที่ส่งให้ผู้บริโภคหันมารับชมผ่านสื่อเคเบิลทีวีมากยิ่งขึ้น เพื่อต้องการการรับชมข่าวสารที่หลากหลายและไม่ปิดกั้น
ส่วนผลเสียนั้น เกิดจากปัญหาน้ำท่วมโดยตรง ทั้งในส่วนของผู้ประกอบการเอง ที่พื้นที่ตั้งของเครื่องส่งได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม รวมถึงสมาชิกด้วย ที่ได้รับความเดือดร้อน ทำให้เราไม่สามารถเก็บค่าสมาชิกได้”
*** วิทวัส ชัยปราณี”
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ครีเอทีฟ จูซ\จีวัน จำกัด
“สถานการณ์การเมืองและโดยเฉพาะอุทกภัยที่เกิดขึ้นในปี2554ที่ผ่านมา ถือเป็นประสบการณ์ที่ดีสำหรับวงการโฆษณา โดยเฉพาะในช่วงน้ำท่วมกรุงเทพฯหนักๆในระยะเวลา 2 อาทิตย์นั้น ยอมรับว่าค่อนข้างใจหาย เนื่องจากลูกค้าระงับการใช้งบโฆษณาค่อนข้างมาก โดยเฉพาะลูกค้าที่โรงงานได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้น เพราะส่งผลโดยตรงกับยอดการผลิต และยอดขายที่จะหายไปตามมา
แต่ในช่วงเวลาดังกล่าว กลับพบว่าลูกค้าที่ระงับการใช้งบโฆษณา กลับหันมาใช้งบโฆษณาในรูปแบบ ซีเอสอาร์ ส่งเสริมสังคมแทน รวมแล้วไม่ต่ำกว่า 50 เรื่อง ทำให้ช่วงเวลานั้นเม็ดเงินโฆษณาจึงหายไปไม่มากนัก ซึ่งจากเหตุการณ์ครั้งนี้ ได้ส่งผลต่อนักการตลาดและโฆษณา มุ่งให้ความสำคัญกับซีเอสอาร์มากยิ่งขึ้น เชื่อว่า วิธีการทำตลาดผ่านซีเอสอาร์ในปีหน้าจะเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ลูกค้าจะต่อยอดให้ความสำคัญมากขึ้นไปอีก”
*** “เกรียงศักดิ์ ตันติภิภพ”
ผู้บริหารอาวุโสสายการตลาด บริษัท สยามพารากอน ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด
“สิ่งที่ได้รับจากเหตุการณ์น้ำท่วมนี้ ทำให้การทำตลาดจากนี้ต้องเลปลี่ยนไปทิศทางการทำตลาดในปีหน้าจะปรับรูปแบบใหม่ ที่มุ่งทำการตลาดแบบเข้าไปร่วมสุขและทุกข์พร้อมกับประชาชน และเข้าไปทำกิจกรรมให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า หรือเข้าไปอยู่ในใจของผู้บริโภคให้ได้ (แคร์ริ่ง แอนด์ แชร์ริ่ง) ถือเป็นหัวใจสำคัญของการทำธุรกิจค้าปลีกแบบใหม่ จากเดิมที่ผ่านมา จะเน้นทำโปรโมชั่น และทำกิจกรรม ซีเอสอาร์ เท่านั้น
ความเป็นหนึ่งเดียวและมีสายสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า เข้าไปร่วมทุกข์ร่วมสุขกับประชาชน คุณสุขเราสุข คุณทุกข์ เราทุกข์ เพื่อเป็นหนึ่งเดียวกับลูกค้า หรือใช้กลยุทธ์ แคร์ริ่ง แอนด์ แชร์ริ่ง คือหัวใจสำคัญของการทำธุรกิจค้าปลีกแบบใหม่ ถ้าไม่สามารถเข้าไปอยู่ในใจของผู้บริโภค ก็คงอยู่ไม่ได้แน่นอน”