สวนดุสิตโพล เผยผลสำรวจความเห็นเรื่อง "น้ำท่วมกรุงเทพฯและปริมณฑล" โดยสำรวจจาก ประชาชน 2,136 คน ทั้งที่อาศัยในศูนย์พักพิง และตามบ้านเรือน พบว่า 37.83 ไม่คาดคิดว่าจะท่วมกทม. เพราะเป็นเมืองหลวงเป็นเขตเศรษฐกิจ น่าจะป้องกันได้ ฯลฯ 33.57 % ไม่แน่ใจ เพราะไม่ได้รับข้อมูลที่แท้จริง ส่วน 28.60 % คาดว่าจะท่วม เพราะ มีปริมาณน้ำเป็นจำนวนมาก
ต่อคำถามที่ว่า หากถ้าน้ำท่วมจะอพยพออกจากบ้านหรือไม่นั้น ผู้ที่ระบุว่าจะไม่อพยพมีถึง 68.07 % โดยระบุว่าไม่อยากทิ้งบ้าน กลัวโจรขโมย, คิดว่าคงท่วมไม่มาก อยู่ที่บ้านน่าจะสบายกว่า, การอพยพเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยุ่งยาก ฯลฯ ส่วนที่ยัง ไม่แน่ใจ มี 21.36 % ซึ่งให้เหตุผลว่าขอดูระดับน้ำก่อนว่าจะมีปริมาณมาก น้อยเพียงใด ฯลฯ มีเพียง 10.57 % ที่ระบุว่าจะอพยพ เนื่องจากมีลูกหลานเป็นเด็กเล็ก, ป่วย สุขภาพไม่ดี, ไม่มีที่นอน, การเดินทางลำบากฯลฯ
อย่างไรก็ตาม เมื่อถามว่าประชาชนคิดอย่างไร กับข้อมูล เกี่ยวกับน้ำท่วมกรุงเทพฯ และปริมณฑลที่ฝ่ายรัฐบาลนำเสนอ ณ วันนี้ 37.27 % ระบุว่า ข้อมูลสับสนไม่ชัดเจน ขาดความน่าเชื่อถือ ขณะที่ 24.20 % ระบุว่าข้อมูลแต่ละหน่วยงาน / บุคคล มีความขัดแย้งกันเอง จนไม่รู้ว่าจะเชื่อข้อมูลจากหน่วยงาน / บุคคลใด และ 19.34 % เห็นว่าการประชาสัมพันธ์ยังไม่ทั่วถึง
** เชื่อมั่นทหารให้ความช่วยเหลือได้
ส่วนคำถามเรื่องประชาชนมี ความมั่นใจต่อความช่วยเหลือในสถานการณ์น้ำท่วมกรุงเทพฯ และปริมณฑล จากฝ่ายใด ปรากฏว่า ทหาร มาเป็นอันดับหนึ่ง 84.88 % เพราะ มีกำลังพลมาก, มีเครื่องมืออุปกรณ์ ที่สามารถให้ความช่วยเหลือได้อย่างทั่วถึงฯลฯ อันดับ 2 สื่อมวลชน 80.24 % เพราะมีศักยภาพด้านการประชาสัมพันธ์ และการระดมสิ่งของต่างๆ เพื่อนำมาช่วยเหลือผู้ประสบภัยฯลฯ
ส่วนรัฐบาลมาเป็น อันดับ 3 71.11 % เพราะนายกรัฐมนตรีเอาจริงเอาจัง ขยันลงพื้นที่ ฯลฯ อันดับ 4 ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เจ้าหน้าที่กรุงเทพมหานคร 70.22 % เพราะเป็นผู้รับผิดชอบกรุงเทพฯโดยตรง ฯลฯ อันดับ 5 เจ้าหน้าที่รัฐ เจ้าหน้าที่ท้องถิ่น 67.18 % เพราะ อยู่ในพื้นที่ประสบภัย เป็นหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติ ฯลฯ อันดับ 6 อาสาสมัคร มูลนิธิต่างๆ 66.15 % เพราะ มีความเสียสละฯลฯ
เมื่อถามว่า ประชาชน เห็นใจในความเสียสละเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพฯ และปริมณฑล จากฝ่ายใดมากที่สุด ปรากฏว่า ทหารก็ยังมา อันดับหนึ่ง 93.16 % อันดับ 2 นายกรัฐมนตรี 91.06 % อันดับ 3 สื่อมวลชน 88.48 % อันดับ 4 ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เจ้าหน้าที่กรุงเทพมหานคร 73.97 % อันดับ 5 เจ้าหน้าที่รัฐ เจ้าหน้าที่ท้องถิ่น 71.63 % อันดับ 6 อาสาสมัคร มูลนิธิต่างๆ 70.08 %
**เอแบคโพลล์ชี้คนเครียดน้ำท่วม
นายนพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง "ความทุกข์ ความเสียสละ และการให้โอกาสรัฐบาลทำงานแก้ไขปัญหาภัยพิบัติน้ำท่วม" โดยศึกษาจากประชาชนใน กทม. 1,457 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 28 - 29 ตุลาคม ที่ผ่านมา พบว่า 77.4 % รู้สึกเบื่อหน่าย เครียด และวิตกกังวลเป็นความทุกข์ยากที่เกิดขึ้นในช่วงภัยพิบัติน้ำท่วม รองลงมาคือ76.9 % ระบุไม่สะดวกในการเดินทาง 66.8 % ไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 58.5 % อาหาร น้ำสะอาด ยารักษาโรคมีไม่เพียงพอ และ 38.9 % กำลังขาดรายได้
อย่างไรก็ตาม เมื่อถามถึงการรับรู้ต่อการสื่อสารการทำงานแก้ปัญหาภัยพิบัติน้ำท่วมของรัฐบาลผ่านศปภ. ภายหลังปรับเปลี่ยนการทำงานของทีมโฆษกศปภ. พบว่า 54.5 % ระบุดีขึ้น แต่ 34.2 % ระบุเหมือนเดิมและ 11.3 % ระบุแย่ลง ตามลำดับ
ที่น่าพิจารณาคือ ส่วนใหญ่ 63.8 % ไม่ประสงค์จะอพยพ หรือเดินทางออกต่างจังหวัดเพื่อหนีภัยน้ำท่วม เพราะเป็นห่วงบ้าน ทรัพย์สิน / ไม่ปลอดภัย ไม่สะดวก มีคนเจ็บ คนชราและเด็กเล็กต้องดูแล และไม่มีที่จะไป ไปแล้วก็ลำบาก สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมากขึ้นไปอีก เป็นต้น
ทั้งนี้ 74.9 % ระบุความช่วยเหลือของรัฐบาล และหน่วยงานของรัฐต่อประชาชนผู้ประสบภัยไม่ทั่วถึง อย่างไรก็ตาม 61.9 % ยังให้โอกาสน.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แก้ไขปัญหาภัยพิบัติน้ำท่วมต่อไป
สำหรับสิ่งที่ต้องการให้นายกรัฐมนตรี สั่งการช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วมอย่างเร่งด่วน พบว่า ส่วนใหญ่หรือ 73.3 % ปรับปรุงการทำงานของตำรวจ ไฟฟ้า น้ำประปา เป็นการเร่งด่วน รองลงมาคือ 70.2 % ช่วยเหลือให้ทั่วถึง ไม่เลือกปฏิบัติ ไม่ช่วยเฉพาะกลุ่มหัวคะแนนของตน 68.4 % แก้ปัญหาสินค้าราคาแพง ขาดตลาด 65.0 % ติดตามจับกุมมิจฉาชีพ คนร้ายลักทรัพย์ประชาชนผู้ประสบภัยพิบัติให้ได้ 61.5 % เรียกร้องให้ปรับปรุงการทำงานของศูนย์ Hot Line ให้ความช่วยเหลือประชาชนด้านต่างๆ 58.1 % ลงพื้นที่เข้าถึงชาวบ้าน และ 52.4 % แก้ปัญหาขาดรายได้ การประกอบอาชีพของประชาชน ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม สิ่งดีๆ ที่ประชาชนพบเห็นในภัยพิบัติน้ำท่วมครั้งนี้ พบว่า 89.4 % ระบุความช่วยเหลือเกื้อกูล ความมีน้ำใจของคนในชาติ รองลงมา 76.3 % ความเสียสละ 73.5 % ความอดทน 70.9 % ความสามัคคี และ 69.5 % ความรักและการแบ่งปัน ตามลำดับ นอกจากนี้ประชาชน 40.6 % เริ่มมีความเชื่อมั่นต่อการแก้ปัญหาน้ำท่วมของรัฐบาลและกรุงเทพมหานคร 22.8 % เชื่อมั่น 23.9 % ไม่ค่อยเชื่อมั่น และ 12.7 % ไม่เชื่อมั่น ตามลำดับ
** การทำงานยังขาดความเป็นเอกภาพ
นายนพดล ยังระบุว่า การโฆษณาชวนเชื่ออาจเป็นอันตรายต่อสังคมประชาธิปไตยยุคปัจจุบัน ถ้าภาพที่ปรากฏในจอทีวี และสื่อต่างๆ ว่ารัฐบาลและเจ้าหน้าที่ของรัฐระดมช่วยเหลือเหยื่อผู้ประสบภัยพิบัติน้ำท่วมไม่ตรงกับความเป็นจริงที่คนในบ้าน และหน้าบ้านของประชาชนผู้เป็นเหยื่อ ซึ่งไม่พบหน่วยงานใดเข้าให้การช่วยเหลืออย่างทั่วถึง จึงเสนอให้
1. รัฐบาลบูรณาการกำลังทหาร ตำรวจ ฝ่ายปกครอง และภาคประชาชน ตรวจตราดูแลความปลอดภัยสร้างความวางใจให้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชน ใช้โมเดลเดียวกับการแก้ปัญหายาเสพติดตามยุทธศาสตร์พลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด มาเป็นยุทธศาสตร์พลังแผ่นดินฝ่าฟันมหาอุทกภัย นำผืนแผ่นดินคืนสู่ประชาชน
2. จำเป็นต้องดูแลกระจายสินค้าให้ถึงมือประชาชนที่อยู่ในราคาปกติและสังคมกำลังเรียกร้องกลุ่มนายทุนใหญ่ให้ร่วมดูแลผู้บริโภคตามร้านสะดวกซื้อต่างๆ อาจพิจารณาลดราคาในพื้นที่ประสบภัยเป็นพิเศษ
3. เสนอให้แกนนำบ้านเลขที่ 111 และผู้ใหญ่ของฝ่ายการเมืองทุกคน แบ่งสายกันลงพื้นที่เข้าถึงทุกชุมชนโดยไม่เลือกสีเลือกข้าง เป็นการทำ Political Social Responsibility หรือ PSR ในหมู่ประชาชน ผลที่คาดว่าจะได้รับต่อสังคมไทยคือ จุดตั้งต้นของความรักความสามัคคีความปรองดองของคนในชาติ และน่าจะนำมาซึ่งความสงบสุขของบ้านเมืองตามแนวทางของระบอบประชาธิปไตยที่ยั่งยืนต่อไป
ต่อคำถามที่ว่า หากถ้าน้ำท่วมจะอพยพออกจากบ้านหรือไม่นั้น ผู้ที่ระบุว่าจะไม่อพยพมีถึง 68.07 % โดยระบุว่าไม่อยากทิ้งบ้าน กลัวโจรขโมย, คิดว่าคงท่วมไม่มาก อยู่ที่บ้านน่าจะสบายกว่า, การอพยพเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยุ่งยาก ฯลฯ ส่วนที่ยัง ไม่แน่ใจ มี 21.36 % ซึ่งให้เหตุผลว่าขอดูระดับน้ำก่อนว่าจะมีปริมาณมาก น้อยเพียงใด ฯลฯ มีเพียง 10.57 % ที่ระบุว่าจะอพยพ เนื่องจากมีลูกหลานเป็นเด็กเล็ก, ป่วย สุขภาพไม่ดี, ไม่มีที่นอน, การเดินทางลำบากฯลฯ
อย่างไรก็ตาม เมื่อถามว่าประชาชนคิดอย่างไร กับข้อมูล เกี่ยวกับน้ำท่วมกรุงเทพฯ และปริมณฑลที่ฝ่ายรัฐบาลนำเสนอ ณ วันนี้ 37.27 % ระบุว่า ข้อมูลสับสนไม่ชัดเจน ขาดความน่าเชื่อถือ ขณะที่ 24.20 % ระบุว่าข้อมูลแต่ละหน่วยงาน / บุคคล มีความขัดแย้งกันเอง จนไม่รู้ว่าจะเชื่อข้อมูลจากหน่วยงาน / บุคคลใด และ 19.34 % เห็นว่าการประชาสัมพันธ์ยังไม่ทั่วถึง
** เชื่อมั่นทหารให้ความช่วยเหลือได้
ส่วนคำถามเรื่องประชาชนมี ความมั่นใจต่อความช่วยเหลือในสถานการณ์น้ำท่วมกรุงเทพฯ และปริมณฑล จากฝ่ายใด ปรากฏว่า ทหาร มาเป็นอันดับหนึ่ง 84.88 % เพราะ มีกำลังพลมาก, มีเครื่องมืออุปกรณ์ ที่สามารถให้ความช่วยเหลือได้อย่างทั่วถึงฯลฯ อันดับ 2 สื่อมวลชน 80.24 % เพราะมีศักยภาพด้านการประชาสัมพันธ์ และการระดมสิ่งของต่างๆ เพื่อนำมาช่วยเหลือผู้ประสบภัยฯลฯ
ส่วนรัฐบาลมาเป็น อันดับ 3 71.11 % เพราะนายกรัฐมนตรีเอาจริงเอาจัง ขยันลงพื้นที่ ฯลฯ อันดับ 4 ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เจ้าหน้าที่กรุงเทพมหานคร 70.22 % เพราะเป็นผู้รับผิดชอบกรุงเทพฯโดยตรง ฯลฯ อันดับ 5 เจ้าหน้าที่รัฐ เจ้าหน้าที่ท้องถิ่น 67.18 % เพราะ อยู่ในพื้นที่ประสบภัย เป็นหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติ ฯลฯ อันดับ 6 อาสาสมัคร มูลนิธิต่างๆ 66.15 % เพราะ มีความเสียสละฯลฯ
เมื่อถามว่า ประชาชน เห็นใจในความเสียสละเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพฯ และปริมณฑล จากฝ่ายใดมากที่สุด ปรากฏว่า ทหารก็ยังมา อันดับหนึ่ง 93.16 % อันดับ 2 นายกรัฐมนตรี 91.06 % อันดับ 3 สื่อมวลชน 88.48 % อันดับ 4 ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เจ้าหน้าที่กรุงเทพมหานคร 73.97 % อันดับ 5 เจ้าหน้าที่รัฐ เจ้าหน้าที่ท้องถิ่น 71.63 % อันดับ 6 อาสาสมัคร มูลนิธิต่างๆ 70.08 %
**เอแบคโพลล์ชี้คนเครียดน้ำท่วม
นายนพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง "ความทุกข์ ความเสียสละ และการให้โอกาสรัฐบาลทำงานแก้ไขปัญหาภัยพิบัติน้ำท่วม" โดยศึกษาจากประชาชนใน กทม. 1,457 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 28 - 29 ตุลาคม ที่ผ่านมา พบว่า 77.4 % รู้สึกเบื่อหน่าย เครียด และวิตกกังวลเป็นความทุกข์ยากที่เกิดขึ้นในช่วงภัยพิบัติน้ำท่วม รองลงมาคือ76.9 % ระบุไม่สะดวกในการเดินทาง 66.8 % ไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 58.5 % อาหาร น้ำสะอาด ยารักษาโรคมีไม่เพียงพอ และ 38.9 % กำลังขาดรายได้
อย่างไรก็ตาม เมื่อถามถึงการรับรู้ต่อการสื่อสารการทำงานแก้ปัญหาภัยพิบัติน้ำท่วมของรัฐบาลผ่านศปภ. ภายหลังปรับเปลี่ยนการทำงานของทีมโฆษกศปภ. พบว่า 54.5 % ระบุดีขึ้น แต่ 34.2 % ระบุเหมือนเดิมและ 11.3 % ระบุแย่ลง ตามลำดับ
ที่น่าพิจารณาคือ ส่วนใหญ่ 63.8 % ไม่ประสงค์จะอพยพ หรือเดินทางออกต่างจังหวัดเพื่อหนีภัยน้ำท่วม เพราะเป็นห่วงบ้าน ทรัพย์สิน / ไม่ปลอดภัย ไม่สะดวก มีคนเจ็บ คนชราและเด็กเล็กต้องดูแล และไม่มีที่จะไป ไปแล้วก็ลำบาก สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมากขึ้นไปอีก เป็นต้น
ทั้งนี้ 74.9 % ระบุความช่วยเหลือของรัฐบาล และหน่วยงานของรัฐต่อประชาชนผู้ประสบภัยไม่ทั่วถึง อย่างไรก็ตาม 61.9 % ยังให้โอกาสน.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แก้ไขปัญหาภัยพิบัติน้ำท่วมต่อไป
สำหรับสิ่งที่ต้องการให้นายกรัฐมนตรี สั่งการช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วมอย่างเร่งด่วน พบว่า ส่วนใหญ่หรือ 73.3 % ปรับปรุงการทำงานของตำรวจ ไฟฟ้า น้ำประปา เป็นการเร่งด่วน รองลงมาคือ 70.2 % ช่วยเหลือให้ทั่วถึง ไม่เลือกปฏิบัติ ไม่ช่วยเฉพาะกลุ่มหัวคะแนนของตน 68.4 % แก้ปัญหาสินค้าราคาแพง ขาดตลาด 65.0 % ติดตามจับกุมมิจฉาชีพ คนร้ายลักทรัพย์ประชาชนผู้ประสบภัยพิบัติให้ได้ 61.5 % เรียกร้องให้ปรับปรุงการทำงานของศูนย์ Hot Line ให้ความช่วยเหลือประชาชนด้านต่างๆ 58.1 % ลงพื้นที่เข้าถึงชาวบ้าน และ 52.4 % แก้ปัญหาขาดรายได้ การประกอบอาชีพของประชาชน ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม สิ่งดีๆ ที่ประชาชนพบเห็นในภัยพิบัติน้ำท่วมครั้งนี้ พบว่า 89.4 % ระบุความช่วยเหลือเกื้อกูล ความมีน้ำใจของคนในชาติ รองลงมา 76.3 % ความเสียสละ 73.5 % ความอดทน 70.9 % ความสามัคคี และ 69.5 % ความรักและการแบ่งปัน ตามลำดับ นอกจากนี้ประชาชน 40.6 % เริ่มมีความเชื่อมั่นต่อการแก้ปัญหาน้ำท่วมของรัฐบาลและกรุงเทพมหานคร 22.8 % เชื่อมั่น 23.9 % ไม่ค่อยเชื่อมั่น และ 12.7 % ไม่เชื่อมั่น ตามลำดับ
** การทำงานยังขาดความเป็นเอกภาพ
นายนพดล ยังระบุว่า การโฆษณาชวนเชื่ออาจเป็นอันตรายต่อสังคมประชาธิปไตยยุคปัจจุบัน ถ้าภาพที่ปรากฏในจอทีวี และสื่อต่างๆ ว่ารัฐบาลและเจ้าหน้าที่ของรัฐระดมช่วยเหลือเหยื่อผู้ประสบภัยพิบัติน้ำท่วมไม่ตรงกับความเป็นจริงที่คนในบ้าน และหน้าบ้านของประชาชนผู้เป็นเหยื่อ ซึ่งไม่พบหน่วยงานใดเข้าให้การช่วยเหลืออย่างทั่วถึง จึงเสนอให้
1. รัฐบาลบูรณาการกำลังทหาร ตำรวจ ฝ่ายปกครอง และภาคประชาชน ตรวจตราดูแลความปลอดภัยสร้างความวางใจให้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชน ใช้โมเดลเดียวกับการแก้ปัญหายาเสพติดตามยุทธศาสตร์พลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด มาเป็นยุทธศาสตร์พลังแผ่นดินฝ่าฟันมหาอุทกภัย นำผืนแผ่นดินคืนสู่ประชาชน
2. จำเป็นต้องดูแลกระจายสินค้าให้ถึงมือประชาชนที่อยู่ในราคาปกติและสังคมกำลังเรียกร้องกลุ่มนายทุนใหญ่ให้ร่วมดูแลผู้บริโภคตามร้านสะดวกซื้อต่างๆ อาจพิจารณาลดราคาในพื้นที่ประสบภัยเป็นพิเศษ
3. เสนอให้แกนนำบ้านเลขที่ 111 และผู้ใหญ่ของฝ่ายการเมืองทุกคน แบ่งสายกันลงพื้นที่เข้าถึงทุกชุมชนโดยไม่เลือกสีเลือกข้าง เป็นการทำ Political Social Responsibility หรือ PSR ในหมู่ประชาชน ผลที่คาดว่าจะได้รับต่อสังคมไทยคือ จุดตั้งต้นของความรักความสามัคคีความปรองดองของคนในชาติ และน่าจะนำมาซึ่งความสงบสุขของบ้านเมืองตามแนวทางของระบอบประชาธิปไตยที่ยั่งยืนต่อไป