ASTVผู้จัดการรายวัน-ชาวอำเภอดอยหลวงยังคงรำลึกถึง “ครูจูหลิง” เหยื่อเหตุรุนแรง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ไม่เสื่อมคลาย พร้อมใจร่วมทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ในโอกาสครบรอบ 5 ปีของการจากไป พ่อเผย “ยังคิดถึงลูกทุกวัน หวังครูไทยยึดอุดมการณ์สอนเด็กด้วยจิตวิญญาณครูอย่างแท้จริง”
วานนี้ (8 ม.ค.) ที่หอศิลป์ครูจูหลิง หลังโรงเรียนอนุบาลดอยหลวง ต.ปงน้อย อ.ดอยหลวง จ.เชียงราย ชาว อ.ดอยหลวง ร่วมกับนายสุน นางคำมี ปงกันมูล บิดาและมารดาของ น.ส.จูหลิง ปงกันมูล อดีตครูซึ่งเสียชีวิตจากเหตุการณ์ความไม่สงบพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เมื่อหลายปีก่อน ได้ร่วมกันทำบุญเพื่ออุทิศ่สวนกุศลไปให้กับครูจูหลิงในโอกาสวันครบรอบการเสียชีวิตครบ 5 ปี โดยมีข้าราชการครู ประชาชน ข้าราชการ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยเฉพาะองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ปงน้อย ไปร่วมงานเป็นจำนวนมากเหมือนเช่นทุกปี
ในการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ครูจูหลิง ครั้งนี้ พระสงฆ์จากวัดปงน้อย ได้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ประชาชนนำโดยนายสุน-นางคำมี ถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ จากนั้นวิทยากร และนายสุน ได้กล่าวแสดงความอาลัยที่มีต่อครูจูหลิง ก่อนที่ผู้ไปร่วมงานจะช่วยกันทำความสะอาดบริเวณหอศิลป์ฯ เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้เข้าชม และยึดถือเป็นแบบอย่างของครูที่ดีต่อไป ซึ่งภายในหอศิลป์มีการจัดแสดงรูปจำลอง ของใช้ วาดภาพผลงานของครูจูหลิง ตั้งแต่ยังมีชีวิตอยู่ก่อนเดินทางไปทำงานที่ภาคใต้ด้วย
นายสุน กล่าวว่า รู้สึกยินดีอย่างยิ่งที่แม้ว่าบุตรสาวของตนจะเสียชีวิตไปนานหลายปีแล้ว แต่ประชาชนทั่วไปก็ยังไม่หลงลืม ดังนั้นภายในใจก็อยากให้เหตุการณ์ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้สงบสุข เพื่อไม่ให้ครอบครัวไหนได้รับความสูญเสียเหมือนครอบครัวตนเอง
“แม้จะผ่านไปหลายปีแล้วแต่ตนและนางคำมี ก็ยังคิดถึงบุตรสาวคนนี้อยู่ไม่เสื่อมคลาย และคาดหวังว่าอุดมการณ์ของเขาจะเป็นจริงนั่นก็คือให้ความรู้กับเด็กไทยอย่างไม่ย่อท้อและเกรงกลัวต่อภัยอันตรายใดๆ”
รายงานข่าวแจ้งว่า ครูจูหลิง เสียชีวิตขณะทำหน้าที่เป็นข้าราชการครู ตำแหน่ง ครูผู้ช่วย โรงเรียนบ้านกูจิงลือปะ อ.ระแงะ จ.นราธิวาส โดยถูกคนร้ายทำร้ายร่างกายขณะอยู่ในโรงเรียนเมื่อวันที่ 19 พ.ค.2549 เจ้าหน้าที่สามารถช่วยครูจูหลิง ได้และนำตัวส่งโรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ ก่อนส่งต่อไปยังโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา แต่ในที่สุดครูจูหลิง ก็เสียชีวิตลงที่โรงพยาบาลเมื่อวันที่ 5 ม.ค.2550
ซึ่งด้วยความที่มีประวัติที่น่าสนใจและชื่นชอบงานศิลปะตั้งแต่เด็ก โดยได้วาดภาพที่สวยงามหลายภาพ บวกกับประวัติของครูจูหลิงที่ยอมเสียสละความสุขในการทำงานที่ภาคเหนือ ไปทำงานที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วยอุดมการณ์จะสอนเด็กนักเรียนไทยโดยไม่เลือกสถานที่ จึงทำให้เธอได้รับการยกย่องให้เป็นผู้ที่เสียสละอย่างยิ่ง
โดยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานน้ำหลวงอาบศพและพวงมาลาหน้าศพและทรงรับงานศพของครูจูหลิงที่จะตั้งบำเพ็ญกุศลที่บ้านเกิดใน จ.เชียงราย ไว้ในพระบรมราชินูปถัมภ์ด้วย กระทั่งวันที่ 16 ม.ค.2550 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในพิธีพระราชทานเพลิงศพครูจูหลิง ณ ฌาปนสถานบ้านปงน้อย หมู่ที่ 10 ต.ปงน้อย ก่อนที่ชาว อ.ดอยหลวง จะร่วมกันสร้างหอศิลป์ครูจูหลิงเพื่อรำลึกถึงคุณงามความดีและทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลเป็นประจำทุกปีดังกล่าว.
วานนี้ (8 ม.ค.) ที่หอศิลป์ครูจูหลิง หลังโรงเรียนอนุบาลดอยหลวง ต.ปงน้อย อ.ดอยหลวง จ.เชียงราย ชาว อ.ดอยหลวง ร่วมกับนายสุน นางคำมี ปงกันมูล บิดาและมารดาของ น.ส.จูหลิง ปงกันมูล อดีตครูซึ่งเสียชีวิตจากเหตุการณ์ความไม่สงบพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เมื่อหลายปีก่อน ได้ร่วมกันทำบุญเพื่ออุทิศ่สวนกุศลไปให้กับครูจูหลิงในโอกาสวันครบรอบการเสียชีวิตครบ 5 ปี โดยมีข้าราชการครู ประชาชน ข้าราชการ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยเฉพาะองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ปงน้อย ไปร่วมงานเป็นจำนวนมากเหมือนเช่นทุกปี
ในการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ครูจูหลิง ครั้งนี้ พระสงฆ์จากวัดปงน้อย ได้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ประชาชนนำโดยนายสุน-นางคำมี ถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ จากนั้นวิทยากร และนายสุน ได้กล่าวแสดงความอาลัยที่มีต่อครูจูหลิง ก่อนที่ผู้ไปร่วมงานจะช่วยกันทำความสะอาดบริเวณหอศิลป์ฯ เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้เข้าชม และยึดถือเป็นแบบอย่างของครูที่ดีต่อไป ซึ่งภายในหอศิลป์มีการจัดแสดงรูปจำลอง ของใช้ วาดภาพผลงานของครูจูหลิง ตั้งแต่ยังมีชีวิตอยู่ก่อนเดินทางไปทำงานที่ภาคใต้ด้วย
นายสุน กล่าวว่า รู้สึกยินดีอย่างยิ่งที่แม้ว่าบุตรสาวของตนจะเสียชีวิตไปนานหลายปีแล้ว แต่ประชาชนทั่วไปก็ยังไม่หลงลืม ดังนั้นภายในใจก็อยากให้เหตุการณ์ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้สงบสุข เพื่อไม่ให้ครอบครัวไหนได้รับความสูญเสียเหมือนครอบครัวตนเอง
“แม้จะผ่านไปหลายปีแล้วแต่ตนและนางคำมี ก็ยังคิดถึงบุตรสาวคนนี้อยู่ไม่เสื่อมคลาย และคาดหวังว่าอุดมการณ์ของเขาจะเป็นจริงนั่นก็คือให้ความรู้กับเด็กไทยอย่างไม่ย่อท้อและเกรงกลัวต่อภัยอันตรายใดๆ”
รายงานข่าวแจ้งว่า ครูจูหลิง เสียชีวิตขณะทำหน้าที่เป็นข้าราชการครู ตำแหน่ง ครูผู้ช่วย โรงเรียนบ้านกูจิงลือปะ อ.ระแงะ จ.นราธิวาส โดยถูกคนร้ายทำร้ายร่างกายขณะอยู่ในโรงเรียนเมื่อวันที่ 19 พ.ค.2549 เจ้าหน้าที่สามารถช่วยครูจูหลิง ได้และนำตัวส่งโรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ ก่อนส่งต่อไปยังโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา แต่ในที่สุดครูจูหลิง ก็เสียชีวิตลงที่โรงพยาบาลเมื่อวันที่ 5 ม.ค.2550
ซึ่งด้วยความที่มีประวัติที่น่าสนใจและชื่นชอบงานศิลปะตั้งแต่เด็ก โดยได้วาดภาพที่สวยงามหลายภาพ บวกกับประวัติของครูจูหลิงที่ยอมเสียสละความสุขในการทำงานที่ภาคเหนือ ไปทำงานที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วยอุดมการณ์จะสอนเด็กนักเรียนไทยโดยไม่เลือกสถานที่ จึงทำให้เธอได้รับการยกย่องให้เป็นผู้ที่เสียสละอย่างยิ่ง
โดยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานน้ำหลวงอาบศพและพวงมาลาหน้าศพและทรงรับงานศพของครูจูหลิงที่จะตั้งบำเพ็ญกุศลที่บ้านเกิดใน จ.เชียงราย ไว้ในพระบรมราชินูปถัมภ์ด้วย กระทั่งวันที่ 16 ม.ค.2550 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในพิธีพระราชทานเพลิงศพครูจูหลิง ณ ฌาปนสถานบ้านปงน้อย หมู่ที่ 10 ต.ปงน้อย ก่อนที่ชาว อ.ดอยหลวง จะร่วมกันสร้างหอศิลป์ครูจูหลิงเพื่อรำลึกถึงคุณงามความดีและทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลเป็นประจำทุกปีดังกล่าว.