xs
xsm
sm
md
lg

ผู้จัดการสุดสัปดาห์

x

ของขวัญปีใหม่ จากรัฐบาล “ยิ่งลักษณ์

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


ASTVผู้จัดการสุดสัปดาห์-จะบอกได้ว่าเป็นของขวัญปีใหม่ จากรัฐบาล “ยิ่งลักษณ์" ได้หรือเปล่าก็ไม่รู้ กลางเดือนธ.ค.ปีที่แล้ว หลังจากแจกบัตรพลังงานเอ็นจีวี เพื่อผู้ขับขี่รถรับจ้างสาธารณะโดยเฉพาะกลุ่มรถแท็กซี่ รถสามล้อและรถตู้ร่วม ขสมก.ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล

วันนั้นผู้ขับขี่รถรับจ้างสาธารณะประกาศคัดค้าน การขึ้นราคาแก๊ส แอลพีจี และเอ็นจีวี ตามแผนในวันที่ 16 มกราคมนี้ โดยต้องการให้รัฐบาลชะลอ แถมขู่ว่าหากรัฐยังยืนยันที่จะขึ้นราคา ผู้ประกอบการรถแท็กซี่ จะขอปรับขึ้นราคามิเตอร์เริ่มต้นเป็น 50 บาท จากปัจจุบันเริ่มต้นอยู่ที่ 35 บาท

ผ่านปีใหม่ 2555 มาไม่กี่วัน “สมบุญ จรรยาเลิศ” ประธานปกป้องสิทธิคนขับรถแท็กซี่ เป็นกลุ่มแรกที่ออกมาเคลื่อนไหว ยื่นข้อเสนอต่อ“พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต”รมว.คมนาคม เสนอตั้งทีมศึกษาอัตราปรับขึ้นราคามิเตอร์ใหม่ โดยอ้างอิง “เอ็นจีวี” หลังจากที่ 10 ปีที่แล้ว อ้างอิงจาก “ราคาน้ำมันล้วนๆ” โดยอ้างว่าเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อ ผู้ขับแท็กซี่ และประชาชนที่ใช้บริการ

กลุ่มนี้อ้างว่า ได้รับผลกระทบจากการปรับราคาเอ็นจีที่จะปรับขึ้นอีกเดือนละ 50 สตางค์ ส่งผลให้ราคาเอ็นจีวี ปรับขึ้นจากปัจจุบัน 8.50 บาท เป็น 14.50 บาท ในเดือนธ.ค. 2555

เขาอ้างว่าอัตราค่าบริการแท๊กซี่ เริ่มต้น ไม่ได้มีการปรับเพิ่มขึ้นตามสภาพเศรษฐกิจ ราคาเริ่มต้นใหม่ควรจะอยู่ที่ 50 บาท แต่หากการเพิ่มขึ้น 50 บาททำให้ประชาชนเดือดร้อนก็ยินดีที่จะปรับลดลงมาเหลือ 45 บาท แต่จะต้องมีการแก้กฎหมาย เนื่องจากกฎหมายในปัจจุบันระบุว่า อัตรา ค่าบริการแท็กซี่ 2 กิโลเมตรแรกจะไม่เกิน 50 บาท

เขาอ้างว่า ที่ผ่านมา มีกลุ่มสหกรณ์แท็กซี่จะปรับขึ้นราคาค่าโดยสารนอกมิเตอร์อีก 20 บาท ซึ่งเป็นเรื่อง ผิดกฎหมาย ทางกลุ่มขู่ว่าอาจจะต้องยื่นฟ้องศาลปกครองฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ หากภาครัฐไม่เหลียวแล

รวมถึงข้อเสนออื่น ๆเช่น พิจารณาปรับราคาอัตราการให้บริการ ณ ท่าอากาศยาน จากปัจจุบันคิดเพิ่มขึ้นจากมิเตอร์ 50 บาท โดยขอเพิ่มเป็น 100 บาท จัดหาที่จอดรถแท็กซี่ ในสถานีขนส่งผู้โดยสารต่างๆ

แต่อีกด้านหนึ่ง “ชินวัฒน์ หาบุญพาด” ที่ปรึกษารมว.คมนาคม อดีตขาใหญ่ “แท็กซี่กทม.” และแกนนำคนเสื้อแดง เคยเป็นถึงนายกสมาคมแท็กซี่กลุ่มแดง กลับบอกว่า ไม่ได้เกิดจากการปรับขึ้นค่าเอ็นจีวี-แอลพีจี
เขาอ้างว่า คนขับรถแท็กซี่ที่มีรายได้ดี แต่ปัจจุบันมีรถแท็กซี่ให้บริการเป็นจำนวนมากถึง 70,000 คัน จากที่ต้องมีประมาณ 35,000 คัน แถมผู้โดยสารยังมีเท่าเดิมจึงทำให้มีรายได้ลดลง

เขาเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาว่าจะต้องควบคุมนิติบุคคล สหกรณ์แท็กซี่ ที่ออกรถมาให้บริการเป็นจำนวนมากจนเกินไป โดยออกกฎหมายควบคุมการออกรถว่าสามารถออกได้จำนวนเท่าไหร่ ขณะเดียวกันเห็นว่าการออกมาเรียกร้องดังกล่าวไม่ใช่แท็กซี่ส่วนบุคคล แต่เป็นผู้ประกอบการ และสหกรณ์แท็กซี่ ที่ต้องการมีรายได้จากค่าเช่ารถเพิ่มขึ้นมากกว่า

ตรงนี้เป็นความเห็นต่างของคนที่เกี่ยวข้องแท๊กซี่ 2 กลุ่ม

เชื่อว่า รมว.คมนาคม คงโยนเรื่องให้“กรมขนส่งทางบก” (ขบ.) ไปศึกษาบ้างแล้ว เพราะนักการเมืองยังไงก็ต้องเลือกที่จะเพิ่มฐานเสียงอยู่แล้ว ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ฐานะเสียงของพรรคเพื่อไทย และแนวร่วมคนเสื้อแดง ส่วนใหญ่ก็คือ “แท๊กซี่” การจะเอาใจโดย “ปรับราคาค่าแท็กซี่”จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะทำไม่ได้

ช่วงนโยบายสมัยทักษิณ ที่ต้องการให้แท็กซี่มีสภาพใหม่ ๆ น่านั่งเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว ให้ชาวต่างชาติพอใจ ก็มีนโยบายแท็กซี่เสรี ลดข้อได้เปรียบนายทุนแท็กซี่ทั้งหลาย

เอาใจถึงเสนอให้ขอเงินซื้อรถจากธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย( SME แบงค์ ) ปรากฏว่าเป็นหนี้เสียกันบานตะไท คนชื่อ “โชติศักดิ์ อาสภวิริยะ” กรรมการผู้จัดการ ช่วงนั้นน่าจะรู้ดี

ฝ่ายที่บอกว่า “แท็กซี่มากเกินไป” ไม่เกี่ยวกับการปรับขึ้นค่าเอ็นจีวี-แอลพีจี เสนอให้ควบคุมสหกรณ์แท็กซี่และนายทุนไม่ให้มีรถเยอะเพราะตามถนนปฏิเสธไม่ได้ว่า“แท็กซี่”เป็นตัวการทำให้รถติด
คนเหล่านี้เชื่อว่า หากปรับอัตราใหม่ จะกลับไปเป็นแบบเก่าอีก เพื่อให้นายทุนคนปล่อยเช่ารถแบบเสือนอนกินได้ร่ำรวย ผูกขาด แถมจับผิดว่าที่เสนอปรับอัตราค่าโดยสาร ในอดีตเป็นการคิดจากต้นทุนของน้ำมันไม่ใช่คิดจากต้นทุนของก๊าซ ซึ่งในอดีตมีแต่ก๊าซแอลพีจี

แถมการใช้ก๊าซของแท็กซี่เป็นไปเพื่อลดต้นทุน ราคา เริ่มต้นที่ 35 บาทเดิมนั้น ส่วนใหญ่ใช้ระบบน้ำมันเบนซินกันในช่วงนั้น แต่พอหลัง ๆ ก็เปลี่ยนกัน ซึ่งต้นทุนก็ต่ำกว่าน้ำมันเบนซินเกือบ 4เท่า

ยุคหนึ่งก็เคยมีคุมกำเนิดแท็กซี่ ราคาคันละ6 แสนกว่าบาท นายทุนเจ้าของรถนั่งกินนอนกินกันสบาย พอรัฐบาลช่วงนั้น ปล่อยเสรีโดยติดมิเตอร์ ใครมีเงินก็จดทะเบียนได้ ไม่ว่าจะเป็นส่วนตัวเหลืองเขียว หรือในรูป สหกรณ์ ทำให้ผู้ใช้บริการ มีทางเลือก ไม่ถูกโก่งราคา

มาวันนี้นายทุน อ้างว่ามีรถเยอะไป กำไรไม่มี ขอให้รัฐคุม

ช่วงรัฐบาลหนึ่ง เคยเสนอขึ้นราคาให้รถแท็กซี่ โดยไม่ได้เปลี่ยนราคาเริ่มต้น แต่ราคาจะปรับขึ้นทีละ 2 บาทเร็วกว่าเดิม ในช่วงที่ราคาน้ำมันก็สูง ค่าครองชีพก็สูง

แต่อีกฝ่ายมองว่า ไม่ใช่แค่คนขับที่กำลังจะจนตาย แต่ตอนนี้คนปล่อยเช่าก็จะตายหมดเเล้วเหมือนกัน

เพราะเมื่อก่อนคนมีเงินหน่อยก็เปิดอู่ให้คนขับผ่อนรถให้ เก็บค่าเช่าวันละ 550-650 บาท ค่าเเก๊สอีก วันละ 300 ค่าล้างรถ ฯลฯ วันนึงต้องหาให้ได้ 900 บาท ขยันหน่อยก็น่าจะได้ 1-2 พันบาทสูงสุด

เดี๋ยวนี้กว่าครึ่งเติมเอ็นจีวี บางคันต้องเติมก่อนส่งรถ เสียเวลาเติมเเก๊ส

มีคนเล่าให้ฟังว่า “โควตาเเท็กซี่เเบบเดิม” นักการเมืองกับลิ่วล้อจะหากินกันโดยการจำกัดโควตา อ้างรถเยอะทำให้รถติดเอาแค่พวกตัวเอง ไม่อยากให้เปิดเสรี

หากมาถามประชาชนคนนั่งแท็กซี่ ส่วนใหญ่พูดตรงกันเลยว่า ถ้าขึ้นราคาแล้วบริการดี ขับรถปลอดภัย ไม่ขับอ้อม เลิกนิสัยว่า "ไม่รับคนไทย รับแต่ฝรั่ง กำลังไปเติมแก๊ส กำลังไปส่งรถ ถ้าไกลกูไม่ไป ถ้าทำได้จริง ๆขึ้นราคามิเตอร์50บาทน้อยไป เพราะทุกวันแท็กซี่รายได้น้อย ค่าใช้จ่าย ถ้าขึ้นก็ให้มันสมเหตุสมผล แล้วก็ออกมาตรการว่า “ปฏิเสธผู้โดยสารไม่ได้”บริการดีขึ้น มาตรฐานรถดีขึ้น คนใช้บริการก็จะอยากใช้มากขึ้น

ใช้โอกาสนี้ ปรับระบบรถแท๊กซี่เมืองไทยไปเลยก็ดีเหมือนกัน

นอกจากค่าแท็กซี่ที่จะเพิ่มขึ้นเป็นเขาตามตัวแล้ว ที่กำลังจ่ออยู่ “ค่าไฟฟ้า ที่จ่อขึ้นราคาหลังเม.ย.” เหตุเพราะอั้นภาระตรึงค่าเอฟทีไม่ไหว คนของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(เรกูเลเตอร์)เชื่อว่า แนวโน้มค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติหรือเอฟทีในปี 2555 มีทิศทางขาขึ้นจากราคาก๊าซธรรมชาติที่เป็นต้นทุนเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้าปรับตามราคาน้ำมัน โดยเฉพาะราคาก๊าซช่วง 6 เดือนย้อนหลัง ส่วนค่าเอฟที ในรอบ4 เดือนแรกของปี 55 (มกราคม-เมษายน 2555) เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายให้ตรึงราคาไว้เพื่อลดผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจจากวิกฤติน้ำท่วม โดยการตรึงเอฟทีงวดดังกล่าวคิดเป็นค่าไฟฟ้าที่จะต้องปรับขึ้น 0.18 บาทต่อหน่วย หรือคิดเป็นเงิน 11,600 ล้านบาท แต่ไม่สามารถปรับขึ้นได้

อย่างไรก็ตามหากรัฐบาลยังมีนโยบายในการตรึงค่าเอฟทีงวดต่อไปอีก คงทำได้ยาก เพราะการไฟฟ้าฝ่ายผลิตมีภาระเดิมที่ต้องแบกรับอยู่แล้ว หากจะให้ดำเนินการอีกรัฐบาลจะต้องจัดสรรงบประมาณเข้ามาดูแล

อีกด้าน “ข้าวสารถุง ก็จ่อที่จะขยับราคา 5-10% ปีนี้” โดยเหตุต้นทุนข้าวเปลือกขึ้นจากรับจำนำสูง ส่วนส่งออกแย่หดจาก 11 ล้านตัน เหลือ 7 ล้านตัน

เมื่อมาเทียบกับตัวเลข ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป(CPI) เดือน ธ.ค.54 ที่” กระทรวงพาณิชย์”ออกมาเปิดเผยว่าอยู่ที่ 112.77 เพิ่มขึ้น 3.53% จากช่วงเดียวกันปีก่อน ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ที่ 4.0% ขณะที่เมื่อเทียบเดือนก่อนหน้า ลดลง 0.48% ทำให้ทั้งปี 2554เงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ที่ 3.81% เทียบกับที่เพิ่มขึ้น 3.3% ในปีก่อนหน้า

สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน(Core CPI) ซึ่งไม่รวมหมวดอาหารสดและ พลังงาน ใน ธ.ค.อยู่ที่ 106.98 เพิ่มขึ้น 2.66% จากช่วงเดียวกันปีก่อน และเพิ่มขึ้น 0.11% จากเดือนก่อนหน้า ซึ่งนักวิเคราะห์คาดไว้เพิ่มขึ้น 2.6% เมื่อเทียบปีต่อปี และเฉลี่ยทั้งปีเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ 2.36%

ดัชนีราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มอยู่ที่ 135.77 เพิ่มขึ้น 9.09% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ลดลง 1.20% เมื่อเทียบกับเดือน พ.ย.54 ส่วนดัชนีราคาหมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มอยู่ที่ 99.55 เพิ่มขึ้น 0.17% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อเทียบกับเดือน พ.ย.54 ไม่เปลี่ยนแปลง
กระทรวงพาณิชย์ ยังคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2555 อยู่ที่ 3.3-3.8%

ตั้งแต่ต้นปี 2555 “ค่าไฟฟ้า” ที่จ่อขึ้นราคา หลังเม.ย. ข้าวสารถุง”ก็จ่อที่จะขยับราคา 5-10% ปีนี้แถม จะมีการขึ้นราคาก๊าซ แอลพีจี และเอ็นจีวี ตามแผนในวันที่ 16 ม.ค.นี้

และฟันธงได้เลยว่าราคาแท็กซี่มิเตอร์ในกทม. ไม่ต่ำกว่า 45 บาทแน่เชื่อเลย!

เชื่อแล้วละ ของขวัญปีใหม่ จากรัฐบาล “ยิ่งลักษณ์”
สภาฯ ถกงบวันที่ 3 ปชป.ซัดรัฐกู้เพิ่มเมินใช้หนี้ จวกตั้งคนไร้ประสบการณ์นั่งบอร์ด
สภาฯ ถกงบวันที่ 3 ปชป.ซัดรัฐกู้เพิ่มเมินใช้หนี้ จวกตั้งคนไร้ประสบการณ์นั่งบอร์ด
สภา ถกงบปี 55 วันที่ 3 ปชป.ดาหน้าถล่มงบฯ คลัง 1.9 แสนล้านบาท จัดสรรไร้ประสิทธิภาพ “ณัฐพล” จี้ตอบตั้ง “แกนนำแดงเพชร” ข่มขู่สื่อนั่งบอร์ด ทอท. แถมตั้งละอ่อนนั่งบริหาร ธ.กรุงไทย “กรณ์” จัดหนัก 6 ประเด็น ห่วงรัฐตั้งแท่นกู้เพิ่ม ไม่สนใช้หนี้เก่า เมินหนุนเงินออม ดันเทงบลงโครงการรถคันแรก โวยลดเกณฑ์ไฟฟรีทำคนจนเดือดร้อน ด้าน “หมอวรงค์” ติดใจตั้งอดีตจำเลยฆ่า ดาบยิ้ม นั่ง ผอ.องค์การคลังสินค้า ไร้ประสบการณ์ ขณะที่ พท.อ้อมแอ้มยังยกรถคันแรกไปเริ่มปี 56 แถแต่งตั้งบุคคลเหมาะสมทุกราย
กำลังโหลดความคิดเห็น