ฉบับที่ 17 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 เป็นรัฐธรรมนูญที่เกิดจากการกระทำการยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินเป็นผลสำเร็จ ของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) นำโดย พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน เป็นหัวหน้าคณะ เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 อันมีสาเหตุมาจากการบริหารบ้านเมืองที่เต็มไปด้วยการโกงกิน ทุจริต ประพฤติมิชอบ ความเสื่อมศรัทธาและไร้ประสิทธิภาพในการบริหารราชการแผ่นดินที่เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางจนกลายเป็นวิกฤตการณ์ร้ายแรงทางการเมืองการปกครองประเทศขณะนั้น
รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่อ้างว่ามาจากการเลือกตั้งของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ ปี 2540 กลับเป็นผู้ทำลายกลไกของรัฐธรรมนูญเสียเอง เป็นผู้ทำลายระบอบประชาธิปไตย จนถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ทำให้ “รัฐธรรมนูญ ปี 2540 ตายแล้ว” หรือทำให้ระบอบประชาธิปไตยกลายเป็น “ระบอบสมบูรณาญาสิทธิทุน” หรือ “ระบอบทักษิณ” นั่นเอง
รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวนี้มีทั้งสิ้น 39 มาตราเท่านั้น แต่ก็ได้วางหลักการสำคัญๆ เพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤตการเมืองขณะนั้นไว้หลายเรื่อง คือ มีการจัดตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติจำนวนไม่เกินสองร้อยห้าสิบคน เพื่อทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติและให้ความเห็นชอบกับการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับถาวร โดยให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) เพื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาอีกคณะหนึ่งมีจำนวนหนึ่งร้อยคน นอกจากนี้ยังได้กำหนดหลักการขึ้นมาใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อนในรัฐธรรมนูญฉบับใดๆ คือ เมื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญเสร็จสิ้นแล้ว ต้องนำไปออกเสียงประชามติให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งให้ความเห็นชอบโดยเสียงข้างมากอีกด้วย จึงจะมีผลบังคับใช้ได้ และยังห้ามมิให้กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกวุฒิสภา นับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่ง
รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ฉบับที่ 17 นี้ ได้ประกาศใช้เพียง 11 เดือน 4 วัน ก็ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2550 เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2550 เป็นฉบับถาวร จนถึงปัจจุบัน
ฉบับที่ 18 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับถาวรที่มีผลต่อเนื่องมาจากการยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) นั่นเอง แต่ก็ถือได้ว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการร่างมากที่สุดเท่าที่เคยมีมา นอกจากมีสภาร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากการเลือกของประชาชนสาขาอาชีพต่างๆ ที่เรียกว่า “ สมัชชาแห่งชาติ ” จำนวนไม่เกินสองพันคน ซึ่งได้รับพระบรมราชโองการแต่งตั้งแล้วคัดเลือกสมาชิกสภาร่างฯ ให้เหลือหนึ่งร้อยคน ทำหน้าที่เป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ และเมื่อร่างเสร็จแล้วยังมีขั้นตอนการทำประชามติจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั่วประเทศอีกด้วย
นอกจากนี้ในกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญยังจัดให้มีการทำประชาพิจารณ์รับฟังความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ แม้จะเป็นรัฐธรรมนูญที่เกิดขึ้นจากการยึดอำนาจ แต่ก็มีความเป็นประชาธิปไตยสูงยิ่งกว่ารัฐธรรมนูญฉบับใดๆ ส่วนสาระสำคัญของรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 นี้ ยังมีสาระสำคัญ 4 แนวทางด้วยกันคือ 1) การคุ้มครองส่งเสริม และขยายสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างเต็มที่ 2) ลดการผูกขาดอำนาจรัฐและขจัดการใช้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรม 3) การทำให้การเมืองมีความโปร่งใส มีคุณธรรม และจริยธรรม 4) การทำให้ระบบตรวจสอบมีความเข้มแข็งและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทั้งหมดจะปรากฏรายละเอียดอยู่ในรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวแล้ว รัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2550 ถึงปัจจุบัน ได้ผ่านการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญนี้มาแล้ว 2 ครั้ง คือ การเลือกตั้งครั้งที่ 25 เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2550 และการเลือกตั้งครั้งที่ 26 เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 มีนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญฉบับนี้ถึง 4 คน คือ นายสมัคร สุทรเวช, นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์, นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ทำให้ระบอบการเมืองการปกครองประเทศ และระบอบประชาธิปไตยของไทยเดินหน้ามาโดยลำดับ รัฐธรรมนูญจึงมิได้เป็นปัญหาและอุปสรรคในการแก้ไขปัญหาของชาติบ้านเมือง หรือการบริหารราชการแผ่นดินแต่อย่างใด
เมื่อได้ศึกษาและพิจารณาถึงวิวัฒนาการและความเป็นมาของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแต่ละฉบับแล้ว มีคำถามอันเป็นประเด็นสำคัญว่า รัฐบาลและพรรคเพื่อไทย ทำไมต้องแก้รัฐธรรมนูญและต้องการทำเพื่อความประสงค์ใดกันแน่
เหตุผลที่พรรคเพื่อไทย และรัฐบาล ‘ปู’ ยิ่งลักษณ์ อ้างกับประชาชนว่าเป็นหนึ่งนโยบายที่ได้หาเสียงไว้กับประชาชนและคนเสื้อแดง จะถือเป็นข้ออ้างเพื่อการแก้ไขล้มล้างรัฐธรรมนูญเห็นจะไม่ได้ เพราะประชาชนและคนเสื้อแดงเป็นเพียงคนส่วนน้อย ที่สนับสนุนและเลือกตั้งพรรคเพื่อไทย แต่คนส่วนใหญ่ทั้งประเทศ มิได้นิยมหรือเลือกพรรคเพื่อไทยทั้งหมด จะอ้างเสียงสนับสนุนการลงคะแนน 10 กว่าล้านเสียงมาล้มล้างกฎหมายสูงสุดของประเทศ ย่อมมิอาจจะอ้างได้
และที่สำคัญ รัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ยังเป็นรัฐธรรมนูญที่ได้ผ่านการลงประชามติของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า 14 ล้านเสียงเศษอีกด้วย จึงย่อมมีศักดิ์และสิทธิเหนือกว่าคะแนนเสียงจากการเลือกตั้ง เพราะประชาชนที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ย่อมตัดสินใจลงคะแนนด้วยเหตุหลายปัจจัย แต่การลงประชามติเป็นการถามคำถามเดียวเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญเท่านั้น ข้ออ้างนี้ของพรรคเพื่อไทยจึงฟังไม่ขึ้น
ส่วนประเด็นข้ออ้างว่ารัฐธรรมนูญ 2550 เป็นผลิตผลของการยึดอำนาจโดยการรัฐประหาร ผู้ขอแก้ไขต้องการลบล้างผลของการรัฐประหาร แสดงความเป็นประชาธิปไตยนั้น ข้ออ้างนี้ก็ฟังไม่ขึ้นเช่นเดียวกัน เพราะหากพิจารณารัฐธรรมนูญของไทยแทบทุกฉบับก็ล้วนมาจากการปฏิวัติรัฐประหารแทบทั้งสิ้น แม้จะเป็นรัฐธรรมนูญที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาของการมีประชาธิปไตย และการเลือกตั้งก็ล้วนแต่เป็นผลต่อเนื่องจากภายหลังการรัฐประหารแล้วทั้งสิ้น ไม่ว่ารัฐธรรมนูญปี 2517 หรือ 2540 ก็ตาม ข้ออ้างนี้จึงมิใช่เหตุที่จะขอแก้รัฐธรรมนูญ หากไม่ยอมรับรัฐธรรมนูญที่มาจากการปฏิวัติรัฐประหาร ก็ต้องไม่ยอมรับทุกฉบับ หากจะอ้างว่ารัฐธรรมนูญ 2550 จงใจเขียนเพื่อเล่นงานทักษิณ ก็หาเป็นความจริงแต่อย่างใดไม่
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นที่รู้กันโดยทั่วไปว่า ผู้ที่ได้รับผลประโยชน์จากการรัฐประหารมากที่สุดก็คือทักษิณ จากการได้รับสัมปทานสัญญาณดาวเทียมไทยคม และเข้าเป็นรัฐมนตรีต่างประเทศ, รองนายกรัฐมนตรี หรือนายกรัฐมนตรี กระทั่งมีอำนาจเหนือรัฐบาลปัจจุบัน ก็หาได้มีรัฐธรรมนูญเป็นอุปสรรคแต่อย่างใด ข้ออ้างเรื่องการลบล้างผลพวงของคดีและความผิดที่ทักษิณก่อไว้กับบ้านเมืองเท่านั้น จึงมิอาจนำมาเป็นข้ออ้างในการขอแก้ไขรัฐธรรมนูญแต่อย่างใด
เมื่อพิจารณาจากข้อเท็จจริงและเหตุผลที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ความจำเป็นและเหตุผลที่รัฐบาลและพรรคเพื่อไทยนำมาอ้างเพื่อการขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ จึงไม่มีความชัดเจน ไร้เหตุผล ขาดน้ำหนักที่จะอาศัยเป็นข้ออ้าง ความเป็นจริงแล้วกฎหมายรัฐธรรมนูญ แม้เป็นกฎหมายสำคัญสูงสุดของประเทศที่ปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยก็ตาม หากมีความสำคัญและจำเป็นจริงๆ ก็ย่อมแก้ไขได้ แต่การขอแก้ไขควรมีเหตุผลและข้ออ้างที่สมเหตุผล และมีน้ำหนักเพียงพอทั้งต้องกระทำโดยเจตนาบริสุทธิ์ สุจริตใจต่อชาติบ้านเมือง เพื่อประโยชน์สุขของมหาชน และเป็นไปเพื่อการปฏิรูปประเทศชาติบ้านเมือง ให้มีความเจริญมั่นคงก้าวหน้าสืบไป มิใช่การกระทำเพื่อประโยชน์ของใครคนใดคนหนึ่งหรือเพื่อลบล้างความผิดให้กับบุคคลใด
พฤติกรรมของรัฐบาลและพรรคเพื่อไทย เพื่อการนี้เห็นได้โดยชัดแจ้งว่าต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อทักษิณ โดยทักษิณ เพื่อการเมืองของทักษิณเท่านั้น หากพวกเขายังคงวนเวียนและก้าวไม่พ้นจากทักษิณ ย่อมยากที่จะทำการสำเร็จ หากคิดจะทำเพื่อการปฏิรูปประเทศชาติ สร้างความมั่นคงเข้มแข็งแก่ระบอบประชาธิปไตย ก็จงก้าวให้พ้นจากทักษิณเสีย
รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่อ้างว่ามาจากการเลือกตั้งของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ ปี 2540 กลับเป็นผู้ทำลายกลไกของรัฐธรรมนูญเสียเอง เป็นผู้ทำลายระบอบประชาธิปไตย จนถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ทำให้ “รัฐธรรมนูญ ปี 2540 ตายแล้ว” หรือทำให้ระบอบประชาธิปไตยกลายเป็น “ระบอบสมบูรณาญาสิทธิทุน” หรือ “ระบอบทักษิณ” นั่นเอง
รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวนี้มีทั้งสิ้น 39 มาตราเท่านั้น แต่ก็ได้วางหลักการสำคัญๆ เพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤตการเมืองขณะนั้นไว้หลายเรื่อง คือ มีการจัดตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติจำนวนไม่เกินสองร้อยห้าสิบคน เพื่อทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติและให้ความเห็นชอบกับการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับถาวร โดยให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) เพื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาอีกคณะหนึ่งมีจำนวนหนึ่งร้อยคน นอกจากนี้ยังได้กำหนดหลักการขึ้นมาใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อนในรัฐธรรมนูญฉบับใดๆ คือ เมื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญเสร็จสิ้นแล้ว ต้องนำไปออกเสียงประชามติให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งให้ความเห็นชอบโดยเสียงข้างมากอีกด้วย จึงจะมีผลบังคับใช้ได้ และยังห้ามมิให้กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกวุฒิสภา นับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่ง
รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ฉบับที่ 17 นี้ ได้ประกาศใช้เพียง 11 เดือน 4 วัน ก็ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2550 เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2550 เป็นฉบับถาวร จนถึงปัจจุบัน
ฉบับที่ 18 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับถาวรที่มีผลต่อเนื่องมาจากการยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) นั่นเอง แต่ก็ถือได้ว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการร่างมากที่สุดเท่าที่เคยมีมา นอกจากมีสภาร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากการเลือกของประชาชนสาขาอาชีพต่างๆ ที่เรียกว่า “ สมัชชาแห่งชาติ ” จำนวนไม่เกินสองพันคน ซึ่งได้รับพระบรมราชโองการแต่งตั้งแล้วคัดเลือกสมาชิกสภาร่างฯ ให้เหลือหนึ่งร้อยคน ทำหน้าที่เป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ และเมื่อร่างเสร็จแล้วยังมีขั้นตอนการทำประชามติจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั่วประเทศอีกด้วย
นอกจากนี้ในกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญยังจัดให้มีการทำประชาพิจารณ์รับฟังความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ แม้จะเป็นรัฐธรรมนูญที่เกิดขึ้นจากการยึดอำนาจ แต่ก็มีความเป็นประชาธิปไตยสูงยิ่งกว่ารัฐธรรมนูญฉบับใดๆ ส่วนสาระสำคัญของรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 นี้ ยังมีสาระสำคัญ 4 แนวทางด้วยกันคือ 1) การคุ้มครองส่งเสริม และขยายสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างเต็มที่ 2) ลดการผูกขาดอำนาจรัฐและขจัดการใช้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรม 3) การทำให้การเมืองมีความโปร่งใส มีคุณธรรม และจริยธรรม 4) การทำให้ระบบตรวจสอบมีความเข้มแข็งและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทั้งหมดจะปรากฏรายละเอียดอยู่ในรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวแล้ว รัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2550 ถึงปัจจุบัน ได้ผ่านการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญนี้มาแล้ว 2 ครั้ง คือ การเลือกตั้งครั้งที่ 25 เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2550 และการเลือกตั้งครั้งที่ 26 เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 มีนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญฉบับนี้ถึง 4 คน คือ นายสมัคร สุทรเวช, นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์, นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ทำให้ระบอบการเมืองการปกครองประเทศ และระบอบประชาธิปไตยของไทยเดินหน้ามาโดยลำดับ รัฐธรรมนูญจึงมิได้เป็นปัญหาและอุปสรรคในการแก้ไขปัญหาของชาติบ้านเมือง หรือการบริหารราชการแผ่นดินแต่อย่างใด
เมื่อได้ศึกษาและพิจารณาถึงวิวัฒนาการและความเป็นมาของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแต่ละฉบับแล้ว มีคำถามอันเป็นประเด็นสำคัญว่า รัฐบาลและพรรคเพื่อไทย ทำไมต้องแก้รัฐธรรมนูญและต้องการทำเพื่อความประสงค์ใดกันแน่
เหตุผลที่พรรคเพื่อไทย และรัฐบาล ‘ปู’ ยิ่งลักษณ์ อ้างกับประชาชนว่าเป็นหนึ่งนโยบายที่ได้หาเสียงไว้กับประชาชนและคนเสื้อแดง จะถือเป็นข้ออ้างเพื่อการแก้ไขล้มล้างรัฐธรรมนูญเห็นจะไม่ได้ เพราะประชาชนและคนเสื้อแดงเป็นเพียงคนส่วนน้อย ที่สนับสนุนและเลือกตั้งพรรคเพื่อไทย แต่คนส่วนใหญ่ทั้งประเทศ มิได้นิยมหรือเลือกพรรคเพื่อไทยทั้งหมด จะอ้างเสียงสนับสนุนการลงคะแนน 10 กว่าล้านเสียงมาล้มล้างกฎหมายสูงสุดของประเทศ ย่อมมิอาจจะอ้างได้
และที่สำคัญ รัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ยังเป็นรัฐธรรมนูญที่ได้ผ่านการลงประชามติของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า 14 ล้านเสียงเศษอีกด้วย จึงย่อมมีศักดิ์และสิทธิเหนือกว่าคะแนนเสียงจากการเลือกตั้ง เพราะประชาชนที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ย่อมตัดสินใจลงคะแนนด้วยเหตุหลายปัจจัย แต่การลงประชามติเป็นการถามคำถามเดียวเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญเท่านั้น ข้ออ้างนี้ของพรรคเพื่อไทยจึงฟังไม่ขึ้น
ส่วนประเด็นข้ออ้างว่ารัฐธรรมนูญ 2550 เป็นผลิตผลของการยึดอำนาจโดยการรัฐประหาร ผู้ขอแก้ไขต้องการลบล้างผลของการรัฐประหาร แสดงความเป็นประชาธิปไตยนั้น ข้ออ้างนี้ก็ฟังไม่ขึ้นเช่นเดียวกัน เพราะหากพิจารณารัฐธรรมนูญของไทยแทบทุกฉบับก็ล้วนมาจากการปฏิวัติรัฐประหารแทบทั้งสิ้น แม้จะเป็นรัฐธรรมนูญที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาของการมีประชาธิปไตย และการเลือกตั้งก็ล้วนแต่เป็นผลต่อเนื่องจากภายหลังการรัฐประหารแล้วทั้งสิ้น ไม่ว่ารัฐธรรมนูญปี 2517 หรือ 2540 ก็ตาม ข้ออ้างนี้จึงมิใช่เหตุที่จะขอแก้รัฐธรรมนูญ หากไม่ยอมรับรัฐธรรมนูญที่มาจากการปฏิวัติรัฐประหาร ก็ต้องไม่ยอมรับทุกฉบับ หากจะอ้างว่ารัฐธรรมนูญ 2550 จงใจเขียนเพื่อเล่นงานทักษิณ ก็หาเป็นความจริงแต่อย่างใดไม่
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นที่รู้กันโดยทั่วไปว่า ผู้ที่ได้รับผลประโยชน์จากการรัฐประหารมากที่สุดก็คือทักษิณ จากการได้รับสัมปทานสัญญาณดาวเทียมไทยคม และเข้าเป็นรัฐมนตรีต่างประเทศ, รองนายกรัฐมนตรี หรือนายกรัฐมนตรี กระทั่งมีอำนาจเหนือรัฐบาลปัจจุบัน ก็หาได้มีรัฐธรรมนูญเป็นอุปสรรคแต่อย่างใด ข้ออ้างเรื่องการลบล้างผลพวงของคดีและความผิดที่ทักษิณก่อไว้กับบ้านเมืองเท่านั้น จึงมิอาจนำมาเป็นข้ออ้างในการขอแก้ไขรัฐธรรมนูญแต่อย่างใด
เมื่อพิจารณาจากข้อเท็จจริงและเหตุผลที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ความจำเป็นและเหตุผลที่รัฐบาลและพรรคเพื่อไทยนำมาอ้างเพื่อการขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ จึงไม่มีความชัดเจน ไร้เหตุผล ขาดน้ำหนักที่จะอาศัยเป็นข้ออ้าง ความเป็นจริงแล้วกฎหมายรัฐธรรมนูญ แม้เป็นกฎหมายสำคัญสูงสุดของประเทศที่ปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยก็ตาม หากมีความสำคัญและจำเป็นจริงๆ ก็ย่อมแก้ไขได้ แต่การขอแก้ไขควรมีเหตุผลและข้ออ้างที่สมเหตุผล และมีน้ำหนักเพียงพอทั้งต้องกระทำโดยเจตนาบริสุทธิ์ สุจริตใจต่อชาติบ้านเมือง เพื่อประโยชน์สุขของมหาชน และเป็นไปเพื่อการปฏิรูปประเทศชาติบ้านเมือง ให้มีความเจริญมั่นคงก้าวหน้าสืบไป มิใช่การกระทำเพื่อประโยชน์ของใครคนใดคนหนึ่งหรือเพื่อลบล้างความผิดให้กับบุคคลใด
พฤติกรรมของรัฐบาลและพรรคเพื่อไทย เพื่อการนี้เห็นได้โดยชัดแจ้งว่าต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อทักษิณ โดยทักษิณ เพื่อการเมืองของทักษิณเท่านั้น หากพวกเขายังคงวนเวียนและก้าวไม่พ้นจากทักษิณ ย่อมยากที่จะทำการสำเร็จ หากคิดจะทำเพื่อการปฏิรูปประเทศชาติ สร้างความมั่นคงเข้มแข็งแก่ระบอบประชาธิปไตย ก็จงก้าวให้พ้นจากทักษิณเสีย