7 วันอันตราย ผ่านวันที่ 3 สังเวยแล้ว 165 ราย เจ็บ 1,782 ราย บุรีรัมย์ ครองแชมป์ตาย 14 ศพ เชียงรายเจ็บมากสุด 32 ราย สาเหตุการเกิดอุบัติก็ยังคงเดิมเมาสุรา และขับรถเร็วเกินกำหนด ขณะที่ ชัยภูมิ และตราด เป็น 2 จังหวัดที่ยังไม่เกิดอุบัติเหตุ สธ.เผยผลตรวจจับขายเหล้า 3วัน ดำนินคดีผู้กระทำผิดไปแล้ว32 ราย
วานนี้ (1 ม.ค.) ที่ศูนย์ป้องกันและลดอุบัติเหตุ นายฉลอง อติกนิษฐ รองอธิบดีกรมคุมประพฤติ แถลงสรุปสถิติยอดผู้เสียชีวิต และอุบัติเหตุทางถนนที่เกิดขึ้นในช่วงเทศกาลปีใหม่ ล่าสุดพบว่า 3 วันที่ผ่านมา หลังจากรณรงค์ 7วันอันตราย มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 165 ราย บาดเจ็บ 1,782 ราย โดย จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสูงสุดคือ จ. บุรีรัมย์ 14 ราย รองลงมาคือ นครราชสีมา 6 ราย
จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสูงสุดคือ จ.เชียงราย 32 ราย พิษณุโลก 29 ราย ส่วนจังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุดขณะนี้คือ จ.เชียงราย 61 ครั้ง นคสวรรค์ 56 ครั้ง สาเหตุของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นอันดับ 1 เกิดจากการเมาสุรา รองลงมาคือขับรถด้วยความเร็วเกินกว่ากำหนด ส่วนใหญ่จะเกิดจากรถจักยานยนต์ คิดเป็นร้อยละ 81.39 ในขณะที่พฤติกรรมเสี่ยงอื่น เช่น ไม่สวมหมวกนิรภัย 32,659 ราย ส่วนจังหวัดที่ยังไม่เกิดอุบัติเหตุ 2 จังหวัดคือ ชัยภูมิ และตราด
ด้านนายวิบูลย์ สงวนพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ในฐานะเลขานุการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน หรือ ศปถ. เปิดเผยว่า จากข้อมูลสถิติอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่พบว่า วันที่ 1 ม.ค. วันแรกของปี เป็นวันที่มีสถิติการเกิดอุบัติเหตุสูงสุด จึงขอเน้นย้ำให้ทุกจังหวัดกำชับเจ้าหน้าที่ประจำจุดตรวจเข้มงวดการตรวจจับบน ถนนสายรองโดยเฉพาะเส้นทางที่เป็นจุดตัดและเส้นทางเชื่อมระหว่างถนนในชุมชน กับเส้นทางหลัก ซึ่งมักเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้งพร้อมจัดชุดสายตรวจเคลื่อนที่ตระเวนจับเส้นทางเสี่ยงเพื่อป้องปรามผู้ขับขี่ไม่ให้ฝ่าฝืนกฎจราจร
ด้านนพ.สมาน ฟูตระกูล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กรมควบคุมโรค กล่าวถึงการออกตรวจจับการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ตามพ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 โดยเจ้าหน้าที่ ออกปฏิบัติงานในพื้นที่ 3 ภาค ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคใต้ และภาคอีสาน
ในวันที่ 31 ธ.ค.54 ตรวจทั้งหมด 55 ราย พบผู้กระทำผิด และดำเนินคดี 17 ราย ประกอบด้วย สายเหนือ ได้ตรวจที่อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน 15 ราย พบกระทำผิด 3 ราย โดยผิดในมาตรา 27 คือขายเหล้าในร้านขายยา 1 ราย และกระทำผิดตามมาตรา 32 การโฆษณาเพื่อส่งเสริมการขาย 2 ราย
สายภาคอีสาน ตรวจที่อ.เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ 18 ราย พบกระทำผิด 13 ราย ดำเนินคดี 17 เรื่อง ดังนี้ คือผิดในตามมาตรา 27 ขายในปั้มน้ำมัน 1 ราย ผิดในมาตรา 32 มีการโฆษณาเพื่อส่งเสริมการขาย 8 ราย และการกระทำผิดโดยขายนอกเวลาที่กฎหมายกำหนดตามประกาศคณะปฏิวัติที่ 253 จำนวน 3 ราย และการกระทำผิดตามพ.ร.บ.สุรา พ.ศ. 2493 โดยขาย หรือนำสุราออกแสดงเพื่อขายโดยไม่มีใบอนุญาต 5 ราย
ส่วนสายใต้ ตรวจที่จ.ชุมพร 22 ราย พบผู้กระทำผิด 1 ราย ดำเนินคดี 2 กระทง คือ การขายด้วยวิธีการต้องห้ามโดยมีการจัดโปรโมชั่น ตามมาตรา 30 และการโฆษณาเพื่อส่งเสริมการขายตาม มาตรา 32
ผลรวมการตรวจจับ 3 วัน ตั้งแต่วันที่ 29 -31 ธ.ค.54 ตรวจทั้งหมด 141 ราย พบผู้กระทำผิดและดำเนินคดี 32 ราย
สำหรับอัตราโทษตาม พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 2551 มาตรา 27 กับมาตรา 30 มีโทษสูงสุด คือ จำคุก 6 เดือน ปรับ 1 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ผิดในมาตรา 32 มีโทษสูงสุด จำคุก 1 ปี ปรับ 5 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และปรับรายวันอีกวันละ 5 หมื่นบาทจนกว่าจะเลิกโฆษณา หากขายหรือนำสุราออกแสดงเพื่อขายโดยไม่มีใบอนุญาต ตาม พ.ร.บ.สุรา 2493 มีโทษปรับสูงสุด 2 พันบาท และตาม ปว. 253 ขายนอกเวลาที่อนุญาต มีโทษสูงสุด จำคุก 2 ปี ปรับ 4 พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
วานนี้ (1 ม.ค.) ที่ศูนย์ป้องกันและลดอุบัติเหตุ นายฉลอง อติกนิษฐ รองอธิบดีกรมคุมประพฤติ แถลงสรุปสถิติยอดผู้เสียชีวิต และอุบัติเหตุทางถนนที่เกิดขึ้นในช่วงเทศกาลปีใหม่ ล่าสุดพบว่า 3 วันที่ผ่านมา หลังจากรณรงค์ 7วันอันตราย มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 165 ราย บาดเจ็บ 1,782 ราย โดย จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสูงสุดคือ จ. บุรีรัมย์ 14 ราย รองลงมาคือ นครราชสีมา 6 ราย
จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสูงสุดคือ จ.เชียงราย 32 ราย พิษณุโลก 29 ราย ส่วนจังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุดขณะนี้คือ จ.เชียงราย 61 ครั้ง นคสวรรค์ 56 ครั้ง สาเหตุของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นอันดับ 1 เกิดจากการเมาสุรา รองลงมาคือขับรถด้วยความเร็วเกินกว่ากำหนด ส่วนใหญ่จะเกิดจากรถจักยานยนต์ คิดเป็นร้อยละ 81.39 ในขณะที่พฤติกรรมเสี่ยงอื่น เช่น ไม่สวมหมวกนิรภัย 32,659 ราย ส่วนจังหวัดที่ยังไม่เกิดอุบัติเหตุ 2 จังหวัดคือ ชัยภูมิ และตราด
ด้านนายวิบูลย์ สงวนพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ในฐานะเลขานุการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน หรือ ศปถ. เปิดเผยว่า จากข้อมูลสถิติอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่พบว่า วันที่ 1 ม.ค. วันแรกของปี เป็นวันที่มีสถิติการเกิดอุบัติเหตุสูงสุด จึงขอเน้นย้ำให้ทุกจังหวัดกำชับเจ้าหน้าที่ประจำจุดตรวจเข้มงวดการตรวจจับบน ถนนสายรองโดยเฉพาะเส้นทางที่เป็นจุดตัดและเส้นทางเชื่อมระหว่างถนนในชุมชน กับเส้นทางหลัก ซึ่งมักเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้งพร้อมจัดชุดสายตรวจเคลื่อนที่ตระเวนจับเส้นทางเสี่ยงเพื่อป้องปรามผู้ขับขี่ไม่ให้ฝ่าฝืนกฎจราจร
ด้านนพ.สมาน ฟูตระกูล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กรมควบคุมโรค กล่าวถึงการออกตรวจจับการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ตามพ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 โดยเจ้าหน้าที่ ออกปฏิบัติงานในพื้นที่ 3 ภาค ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคใต้ และภาคอีสาน
ในวันที่ 31 ธ.ค.54 ตรวจทั้งหมด 55 ราย พบผู้กระทำผิด และดำเนินคดี 17 ราย ประกอบด้วย สายเหนือ ได้ตรวจที่อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน 15 ราย พบกระทำผิด 3 ราย โดยผิดในมาตรา 27 คือขายเหล้าในร้านขายยา 1 ราย และกระทำผิดตามมาตรา 32 การโฆษณาเพื่อส่งเสริมการขาย 2 ราย
สายภาคอีสาน ตรวจที่อ.เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ 18 ราย พบกระทำผิด 13 ราย ดำเนินคดี 17 เรื่อง ดังนี้ คือผิดในตามมาตรา 27 ขายในปั้มน้ำมัน 1 ราย ผิดในมาตรา 32 มีการโฆษณาเพื่อส่งเสริมการขาย 8 ราย และการกระทำผิดโดยขายนอกเวลาที่กฎหมายกำหนดตามประกาศคณะปฏิวัติที่ 253 จำนวน 3 ราย และการกระทำผิดตามพ.ร.บ.สุรา พ.ศ. 2493 โดยขาย หรือนำสุราออกแสดงเพื่อขายโดยไม่มีใบอนุญาต 5 ราย
ส่วนสายใต้ ตรวจที่จ.ชุมพร 22 ราย พบผู้กระทำผิด 1 ราย ดำเนินคดี 2 กระทง คือ การขายด้วยวิธีการต้องห้ามโดยมีการจัดโปรโมชั่น ตามมาตรา 30 และการโฆษณาเพื่อส่งเสริมการขายตาม มาตรา 32
ผลรวมการตรวจจับ 3 วัน ตั้งแต่วันที่ 29 -31 ธ.ค.54 ตรวจทั้งหมด 141 ราย พบผู้กระทำผิดและดำเนินคดี 32 ราย
สำหรับอัตราโทษตาม พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 2551 มาตรา 27 กับมาตรา 30 มีโทษสูงสุด คือ จำคุก 6 เดือน ปรับ 1 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ผิดในมาตรา 32 มีโทษสูงสุด จำคุก 1 ปี ปรับ 5 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และปรับรายวันอีกวันละ 5 หมื่นบาทจนกว่าจะเลิกโฆษณา หากขายหรือนำสุราออกแสดงเพื่อขายโดยไม่มีใบอนุญาต ตาม พ.ร.บ.สุรา 2493 มีโทษปรับสูงสุด 2 พันบาท และตาม ปว. 253 ขายนอกเวลาที่อนุญาต มีโทษสูงสุด จำคุก 2 ปี ปรับ 4 พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ