“พาณิชย์” ตั้งเป้าส่งออกปี 55 โต 10-15 % แม้วิกฤตอุทกภัย เศรษฐกิจยุโรปแย่ ยังตามหลอน คาดยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ เริ่มฟื้นตัวหลังไตรมาสแรก เผยเครื่องปรับอากาศ สินค้าเกษตร และอาหาร จะเป็นดาวเด่นส่งออก เตรียมรุกหนักบุกอาเซียน จีน อินเดีย เพิ่มยอด พร้อมจัดโรดโชว์เพิ่มความเชื่อมั่น และเชิญคู่ค้าทั่วโลกจับเข่าคุยผู้ส่งออกไทย
นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก เปิดเผยว่า กรมฯ ได้ตั้งเป้าหมายการส่งออกสินค้าไทยในปี 2555 ว่าจะมีอัตราการขยายตัว 10-15 % แม้ว่าปัจจัยเสี่ยงยังมีต่อเนื่อง โดยเฉพาะผลกระทบจากอุทกภัยที่ทำให้โรงงานอุตสาหกรรมบางส่วนไม่สามารถดำเนินกิจการได้ โดยเฉพาะยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ แต่เชื่อว่าหลังจากพ้นไตรมาสแรกไปแล้วจะเริ่มกลับมาส่งออกได้ตามปกติ และดีขึ้นเรื่อยๆ ไปจนถึงสิ้นปี 2555
ส่วนปัญหาการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ยังมีความเปราะบาง โดยเฉพาะปัญหาหนี้สาธารณะในยุโรป ยังถือเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ แต่กรมฯ ได้มีแผนรับมือแล้ว โดยเตรียมที่หาทางบุกเจาะตลาดอื่นทดแทน เน้นเซียน จีน และอินเดีย ซึ่งในส่วนของอาเซียน กรมฯ จะให้ความสำคัญเป็นพิเศษ โดยมีแผนที่จะใช้ประโยชน์จากการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ทั้งในด้านการค้าและการลงทุน
นอกจากนี้ ยังมีปัญหาน้ำมันแพง อัตราแลกเปลี่ยน การขาดแคลนแรงงาน ต้นทุนของผู้ประกอบการที่สูงขึ้น โดยเฉพาะการปรับขึ้นดอกเบี้ย ถือเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออก รัฐบาลควรที่จะมีการเข้ามาดูแลให้เหมาะสม
นางนันทวัลย์ กล่าวว่า แนวโน้มการส่งออกสินค้าไทยในปี 2555 จะส่งออกได้ดีไปยังประเทศในเอเชีย โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดว่าปี 2555 เศรษฐกิจเอเชียจะขยายตัวได้สูงถึง 6.1 % ซึ่งมีผลทำให้มีความต้องการสินค้ามากขึ้น ขณะเดียวกัน ความต้องการสินค้าเกษตร และอาหาร ในตลาดโลกจะเพิ่มมากขึ้น สินค้าไทยได้รับการยอมรับในเรื่องคุณภาพและมาตรฐาน มีการใช้ประโยชน์จากข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) กรอบต่างๆ ทำให้สินค้าไทยมีโอกาสบุกเจาะตลาดได้มากขึ้น
โดยกลุ่มสินค้าที่คาดว่าจะเป็นพระเอกในการส่งออกปี 2555 ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ เนื่องจากโรงงานส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมเขตจังหวัดสมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา และชลบุรี ไม่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย จึงจะส่งออกได้ต่อเนื่อง
นอกจากนี้ กลุ่มสินค้าอาหาร จะมีหลายรายการมากที่จะเป็นตัวเด่นในการส่งออก โดยเฉพาะ ข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา และน้ำตาล เนื่องจากความต้องการของตลาดโลกยังมีต่อเนื่อง และยังส่งออกได้ราคาดี ประกอบกับปัญหาเศรษฐกิจในสหรัฐฯ และยุโรป ทำให้ผู้บริโภคหันมาบริโภคอาหารภายในบ้านมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อการส่งออกอาหารแปรรูปเพิ่มมากขึ้น เช่น ไก่แปรรูป ปลาทูน่ากระป๋อง กุ้งสดแช่เย็น แช่แข็ง และแปรรูป เป็นต้น
สำหรับกลุ่มธุรกิจบริการ กรมฯ จะให้ความสำคัญกับโครงการครัวไทยสู่ครัวโลก เนื่องจากเป็นกลุ่มที่ส่งผลดีต่อการส่งออกอีกทางหนึ่ง โดยเฉพาะวัตถุดิบอาหารต่างๆ ซึ่งจะเร่งประชาสัมพันธ์ร้านอาหารไทยและเครื่องหมาย Thai Select ผ่านสื่อต่างๆ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ลูกค้าที่เข้ามารับประทานอาหารในร้านอาหารไทย
นางนันทวัลย์กล่าวว่า แผนการสร้างความเชื่อมั่นต่อประเทศไทยว่ายังส่งออกได้เป็นปกติ หลังจากพ้นวิกฤตอุทกภัย กรมฯ ได้เตรียมการที่จะจัดคณะผู้แทนการค้าไทยเดินทางออกไปโรดโชว์ยังประเทศต่างๆ ที่เป็นเป้าหมาย เพื่อฟื้นฟูความเชื่อมั่นด้านการค้า การลงทุนและการท่องเที่ยว โดยมีแผนที่จะเดินทางไปจีน ญี่ปุ่น สหรัฐฯ ยุโรป และตะวันออกกลาง
พร้อมกันนี้ ได้มอบหมายให้ทูตพาณิชย์ของไทยที่ประจำอยู่ในประเทศต่างๆ ไปสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้นำเข้าและคู่ค้าอย่างต่อเนื่องว่าไทยยังคงรักษามาตรฐานและความสามารถในการผลิตสินค้าคุณภาพสูงและส่งมอบสินค้าได้ตามกำหนดเวลา
ขณะเดียวกัน กรมฯ จะร่วมกับสมาคมต่างๆ และสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ 61 แห่งทั่วโลก เชิญผู้บริหารระดับสูงของบริษัทผู้นำเข้ารายใหญ่จากต่างประเทศจำนวน 100 ราย เดินทางมาเยือนไทย เพื่อเจรจาการค้ากับผู้ผลิต ผู้ส่งออกของไทย เป็นการสร้างความเชื่อมั่นอีกทางหนึ่งด้วย
สำหรับแผนการผลักดันการส่งออกในปี 2555 กรมฯ ได้กำหนดกลยุทธ์ต่างๆ ไว้ถึง 7 กลยุทธ์ ซึ่งได้เริ่มดำเนินการไปแล้ว และจะดำเนินการอย่างเข้มข้นต่อเนื่องตลาดทั้งปี 2555 ดังนี้
1. พัฒนาและส่งเสริมสินค้าและธุรกิจบริการที่มีมูลค่าเพิ่มและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยการพัฒนาผู้ประกอบการให้มีความรู้ด้านการออกแบบเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าแฟชั่น และสินค้าไลฟ์สไตล์ พัฒนาและส่งเสริมการออกแบบและนักออกแบบ ส่งเสริมผู้ได้รางวัลตราสัญลักษณ์ของกรมฯ ได้แก่ รางวัลสินค้าไทยที่มีการออกแบบดี (DEmark)
และรางวัลผู้ส่งออกสินค้าและบริการดีเด่น (PM Export Award) พัฒนาศักยภาพธุรกิจบริการให้สามารถเข้าสู่ตลาดเป้าหมายได้ อาทิ แฟรนไชส์ บริการสุขภาพและความงาม บันเทิง บริการซอฟแวร์และคอนเท้นท์ไทย บริการก่อสร้าง บริการการศึกษา เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีแผน การส่งเสริมร้านอาหารไทยในต่างประเทศ โดยการมอบเครื่องหมาย Thai Select
2. พัฒนาช่องทางการตลาดใหม่ๆ ตลอดจนสร้างเครือข่ายพันธมิตรกับประเทศคู่ค้า ได้แก่ ส่งเสริมการใช้ประโยชน์จาก FTAs โดยให้ความสำคัญกับตลาดอาเซียน ตลาดจีนและตลาดอินเดีย สร้างและพัฒนาเครือข่ายพันธมิตรในภาครัฐและภาคเอกชนของประเทศคู่ค้าสำคัญทั้งระดับสถาบันและผู้ประกอบการ ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไปทำธุรกิจในต่างประเทศ เพื่อขยายฐานการค้า การแสวงหาวัตถุดิบ การเปิดโรงงาน การหาตัวแทนขายในตลาดที่มีศักยภาพ เช่น อาเซียน จีน และอินเดีย
3. พัฒนาผู้ประกอบการไทยสู่เวทีการค้าระหว่างประเทศ โดยให้ความสำคัญกับ SMEs และ OTOP ได้แก่ การคัดเลือก SMEs เพื่อให้ได้ผู้ประกอบการที่มีศักยภาพและมีการช่วยเหลือจริงจัง โดยทำแผนเป็นรายๆ ไป จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการ SMEs รายใหม่ให้สามารถดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศได้ เช่น โครงการสร้าง SMEs สู่สากล โครงการขยายช่องทางตลาดส่งออกให้กับผู้ประกอบการ SMEs รายใหม่ (SMEs Road Show) พัฒนาผู้ประกอบการ OTOP โดยจัดฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการส่งออกการตลาด ด้านพัฒนาผลิตภัณฑ์ รวมถึงการสร้างความสัมพันธ์พันธมิตร พัฒนาเครือข่ายทางการค้า การลงทุน ตลอดจนการให้คำปรึกษาแก่ผู้ประกอบการ เช่น โครงการสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการ SMEs (Smart SMEs Club) โครงการจัดหน่วยเคลื่อนที่ให้คำปรึกษาธุรกิจส่งออกและการค้าระหว่างประเทศ SMEs Support Solution Center
4. ส่งเสริมการลดต้นทุนและการสร้างเครือข่ายโลจิสติกส์ทางการค้า โดยเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ และพัฒนาทักษะการบริหารจัดการโลจิสติกส์เพื่อลดต้นทุนทางการค้าอย่างเป็นระบบให้แก่ผู้ประกอบการส่งออกและผู้ประกอบการโลจิสติกส์ (Logistics Service Provider) สร้างเครือข่ายธุรกิจโลจิสติกส์ในต่างประเทศ ตลอดจน ศึกษาความเชื่อมโยงการขนส่งสินค้า และจัดทำเส้นทางขนส่งสินค้า โดยการจัดคณะผู้แทนการค้าระดับสูงทั้งภาครัฐและเอกชน เดินทางเยือนประเทศเพื่อนบ้านเพื่อสร้างความสัมพันธ์และขยายเครือข่ายโลจิสติสก์ (B2B matching LSP) ส่งเสริมและประชาสัมพันธ์การใช้ศูนย์บริการส่งออกแบบเบ็ดเสร็จ หรือ One-Stop Export Service Center (OSEC)
5. รักษาตลาดหลักขยายตลาดใหม่และส่งเสริมการใช้ประโยชน์จาก FTAs และAEC โดยการจัดงานแสดงสินค้าในประเทศ การเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ กว่า 100 งาน ส่งเสริมการขายร่วมกับห้างสรรพสินค้าในต่างประเทศ จัดคณะผู้แทนการค้า (Incoming/Outgoing Mission) ไปเจรจาการค้ากับผู้นำเข้าในต่างประเทศและนำผู้นำเข้าจากต่างประเทศมาพบผู้ผลิต ผู้ส่งออกไทย การจัดงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ (Thailand Trade Show/Exhibition)
6. ประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างภาพลักษณ์ของประเทศไทยในฐานะประเทศผู้ผลิตสินค้าคุณภาพสูง โดยประชาสัมพันธ์กิจกรรมกรมฯ ทั้งในประเทศและต่างประเทศผ่านสื่อต่างๆ ตลอดจนการเชิญสื่อมวลชนทั้งในประเทศและต่างประเทศมาทำข่าวศักยภาพสินค้าและบริการไทยในงานแสดงสินค้า และนำไปเผยแพร่ในสื่อต่างๆ ต่อไป
7. พัฒนาบุคลากรและระบบข้อมูลการค้าอย่างต่อเนื่อง โดยพัฒนาบุคลากรและระบบการบริหารจัดการองค์กรให้ทันสมัย คล่องตัว และมีประสิทธิภาพ พร้อมรับความเปลี่ยนแปลงตามสภาวะเศรษฐกิจและการค้าของโลก พัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่ออำนวยความสะดวกและให้บริการแก่บุคลากรภายในหน่วยงานและผู้ประกอบการส่งออกของไทย ตลอดจนผู้ซื้อ ผู้นำเข้าจากต่างประเทศ ส่งเสริมและพัฒนาช่องทางการตลาดในระบบเศรษฐกิจยุคใหม่ เช่น www.thaitrade.com ที่ตั้งเป้าหมายให้เป็น B2B E-Marketplace
นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก เปิดเผยว่า กรมฯ ได้ตั้งเป้าหมายการส่งออกสินค้าไทยในปี 2555 ว่าจะมีอัตราการขยายตัว 10-15 % แม้ว่าปัจจัยเสี่ยงยังมีต่อเนื่อง โดยเฉพาะผลกระทบจากอุทกภัยที่ทำให้โรงงานอุตสาหกรรมบางส่วนไม่สามารถดำเนินกิจการได้ โดยเฉพาะยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ แต่เชื่อว่าหลังจากพ้นไตรมาสแรกไปแล้วจะเริ่มกลับมาส่งออกได้ตามปกติ และดีขึ้นเรื่อยๆ ไปจนถึงสิ้นปี 2555
ส่วนปัญหาการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ยังมีความเปราะบาง โดยเฉพาะปัญหาหนี้สาธารณะในยุโรป ยังถือเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ แต่กรมฯ ได้มีแผนรับมือแล้ว โดยเตรียมที่หาทางบุกเจาะตลาดอื่นทดแทน เน้นเซียน จีน และอินเดีย ซึ่งในส่วนของอาเซียน กรมฯ จะให้ความสำคัญเป็นพิเศษ โดยมีแผนที่จะใช้ประโยชน์จากการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ทั้งในด้านการค้าและการลงทุน
นอกจากนี้ ยังมีปัญหาน้ำมันแพง อัตราแลกเปลี่ยน การขาดแคลนแรงงาน ต้นทุนของผู้ประกอบการที่สูงขึ้น โดยเฉพาะการปรับขึ้นดอกเบี้ย ถือเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออก รัฐบาลควรที่จะมีการเข้ามาดูแลให้เหมาะสม
นางนันทวัลย์ กล่าวว่า แนวโน้มการส่งออกสินค้าไทยในปี 2555 จะส่งออกได้ดีไปยังประเทศในเอเชีย โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดว่าปี 2555 เศรษฐกิจเอเชียจะขยายตัวได้สูงถึง 6.1 % ซึ่งมีผลทำให้มีความต้องการสินค้ามากขึ้น ขณะเดียวกัน ความต้องการสินค้าเกษตร และอาหาร ในตลาดโลกจะเพิ่มมากขึ้น สินค้าไทยได้รับการยอมรับในเรื่องคุณภาพและมาตรฐาน มีการใช้ประโยชน์จากข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) กรอบต่างๆ ทำให้สินค้าไทยมีโอกาสบุกเจาะตลาดได้มากขึ้น
โดยกลุ่มสินค้าที่คาดว่าจะเป็นพระเอกในการส่งออกปี 2555 ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ เนื่องจากโรงงานส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมเขตจังหวัดสมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา และชลบุรี ไม่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย จึงจะส่งออกได้ต่อเนื่อง
นอกจากนี้ กลุ่มสินค้าอาหาร จะมีหลายรายการมากที่จะเป็นตัวเด่นในการส่งออก โดยเฉพาะ ข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา และน้ำตาล เนื่องจากความต้องการของตลาดโลกยังมีต่อเนื่อง และยังส่งออกได้ราคาดี ประกอบกับปัญหาเศรษฐกิจในสหรัฐฯ และยุโรป ทำให้ผู้บริโภคหันมาบริโภคอาหารภายในบ้านมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อการส่งออกอาหารแปรรูปเพิ่มมากขึ้น เช่น ไก่แปรรูป ปลาทูน่ากระป๋อง กุ้งสดแช่เย็น แช่แข็ง และแปรรูป เป็นต้น
สำหรับกลุ่มธุรกิจบริการ กรมฯ จะให้ความสำคัญกับโครงการครัวไทยสู่ครัวโลก เนื่องจากเป็นกลุ่มที่ส่งผลดีต่อการส่งออกอีกทางหนึ่ง โดยเฉพาะวัตถุดิบอาหารต่างๆ ซึ่งจะเร่งประชาสัมพันธ์ร้านอาหารไทยและเครื่องหมาย Thai Select ผ่านสื่อต่างๆ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ลูกค้าที่เข้ามารับประทานอาหารในร้านอาหารไทย
นางนันทวัลย์กล่าวว่า แผนการสร้างความเชื่อมั่นต่อประเทศไทยว่ายังส่งออกได้เป็นปกติ หลังจากพ้นวิกฤตอุทกภัย กรมฯ ได้เตรียมการที่จะจัดคณะผู้แทนการค้าไทยเดินทางออกไปโรดโชว์ยังประเทศต่างๆ ที่เป็นเป้าหมาย เพื่อฟื้นฟูความเชื่อมั่นด้านการค้า การลงทุนและการท่องเที่ยว โดยมีแผนที่จะเดินทางไปจีน ญี่ปุ่น สหรัฐฯ ยุโรป และตะวันออกกลาง
พร้อมกันนี้ ได้มอบหมายให้ทูตพาณิชย์ของไทยที่ประจำอยู่ในประเทศต่างๆ ไปสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้นำเข้าและคู่ค้าอย่างต่อเนื่องว่าไทยยังคงรักษามาตรฐานและความสามารถในการผลิตสินค้าคุณภาพสูงและส่งมอบสินค้าได้ตามกำหนดเวลา
ขณะเดียวกัน กรมฯ จะร่วมกับสมาคมต่างๆ และสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ 61 แห่งทั่วโลก เชิญผู้บริหารระดับสูงของบริษัทผู้นำเข้ารายใหญ่จากต่างประเทศจำนวน 100 ราย เดินทางมาเยือนไทย เพื่อเจรจาการค้ากับผู้ผลิต ผู้ส่งออกของไทย เป็นการสร้างความเชื่อมั่นอีกทางหนึ่งด้วย
สำหรับแผนการผลักดันการส่งออกในปี 2555 กรมฯ ได้กำหนดกลยุทธ์ต่างๆ ไว้ถึง 7 กลยุทธ์ ซึ่งได้เริ่มดำเนินการไปแล้ว และจะดำเนินการอย่างเข้มข้นต่อเนื่องตลาดทั้งปี 2555 ดังนี้
1. พัฒนาและส่งเสริมสินค้าและธุรกิจบริการที่มีมูลค่าเพิ่มและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยการพัฒนาผู้ประกอบการให้มีความรู้ด้านการออกแบบเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าแฟชั่น และสินค้าไลฟ์สไตล์ พัฒนาและส่งเสริมการออกแบบและนักออกแบบ ส่งเสริมผู้ได้รางวัลตราสัญลักษณ์ของกรมฯ ได้แก่ รางวัลสินค้าไทยที่มีการออกแบบดี (DEmark)
และรางวัลผู้ส่งออกสินค้าและบริการดีเด่น (PM Export Award) พัฒนาศักยภาพธุรกิจบริการให้สามารถเข้าสู่ตลาดเป้าหมายได้ อาทิ แฟรนไชส์ บริการสุขภาพและความงาม บันเทิง บริการซอฟแวร์และคอนเท้นท์ไทย บริการก่อสร้าง บริการการศึกษา เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีแผน การส่งเสริมร้านอาหารไทยในต่างประเทศ โดยการมอบเครื่องหมาย Thai Select
2. พัฒนาช่องทางการตลาดใหม่ๆ ตลอดจนสร้างเครือข่ายพันธมิตรกับประเทศคู่ค้า ได้แก่ ส่งเสริมการใช้ประโยชน์จาก FTAs โดยให้ความสำคัญกับตลาดอาเซียน ตลาดจีนและตลาดอินเดีย สร้างและพัฒนาเครือข่ายพันธมิตรในภาครัฐและภาคเอกชนของประเทศคู่ค้าสำคัญทั้งระดับสถาบันและผู้ประกอบการ ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไปทำธุรกิจในต่างประเทศ เพื่อขยายฐานการค้า การแสวงหาวัตถุดิบ การเปิดโรงงาน การหาตัวแทนขายในตลาดที่มีศักยภาพ เช่น อาเซียน จีน และอินเดีย
3. พัฒนาผู้ประกอบการไทยสู่เวทีการค้าระหว่างประเทศ โดยให้ความสำคัญกับ SMEs และ OTOP ได้แก่ การคัดเลือก SMEs เพื่อให้ได้ผู้ประกอบการที่มีศักยภาพและมีการช่วยเหลือจริงจัง โดยทำแผนเป็นรายๆ ไป จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการ SMEs รายใหม่ให้สามารถดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศได้ เช่น โครงการสร้าง SMEs สู่สากล โครงการขยายช่องทางตลาดส่งออกให้กับผู้ประกอบการ SMEs รายใหม่ (SMEs Road Show) พัฒนาผู้ประกอบการ OTOP โดยจัดฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการส่งออกการตลาด ด้านพัฒนาผลิตภัณฑ์ รวมถึงการสร้างความสัมพันธ์พันธมิตร พัฒนาเครือข่ายทางการค้า การลงทุน ตลอดจนการให้คำปรึกษาแก่ผู้ประกอบการ เช่น โครงการสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการ SMEs (Smart SMEs Club) โครงการจัดหน่วยเคลื่อนที่ให้คำปรึกษาธุรกิจส่งออกและการค้าระหว่างประเทศ SMEs Support Solution Center
4. ส่งเสริมการลดต้นทุนและการสร้างเครือข่ายโลจิสติกส์ทางการค้า โดยเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ และพัฒนาทักษะการบริหารจัดการโลจิสติกส์เพื่อลดต้นทุนทางการค้าอย่างเป็นระบบให้แก่ผู้ประกอบการส่งออกและผู้ประกอบการโลจิสติกส์ (Logistics Service Provider) สร้างเครือข่ายธุรกิจโลจิสติกส์ในต่างประเทศ ตลอดจน ศึกษาความเชื่อมโยงการขนส่งสินค้า และจัดทำเส้นทางขนส่งสินค้า โดยการจัดคณะผู้แทนการค้าระดับสูงทั้งภาครัฐและเอกชน เดินทางเยือนประเทศเพื่อนบ้านเพื่อสร้างความสัมพันธ์และขยายเครือข่ายโลจิสติสก์ (B2B matching LSP) ส่งเสริมและประชาสัมพันธ์การใช้ศูนย์บริการส่งออกแบบเบ็ดเสร็จ หรือ One-Stop Export Service Center (OSEC)
5. รักษาตลาดหลักขยายตลาดใหม่และส่งเสริมการใช้ประโยชน์จาก FTAs และAEC โดยการจัดงานแสดงสินค้าในประเทศ การเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ กว่า 100 งาน ส่งเสริมการขายร่วมกับห้างสรรพสินค้าในต่างประเทศ จัดคณะผู้แทนการค้า (Incoming/Outgoing Mission) ไปเจรจาการค้ากับผู้นำเข้าในต่างประเทศและนำผู้นำเข้าจากต่างประเทศมาพบผู้ผลิต ผู้ส่งออกไทย การจัดงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ (Thailand Trade Show/Exhibition)
6. ประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างภาพลักษณ์ของประเทศไทยในฐานะประเทศผู้ผลิตสินค้าคุณภาพสูง โดยประชาสัมพันธ์กิจกรรมกรมฯ ทั้งในประเทศและต่างประเทศผ่านสื่อต่างๆ ตลอดจนการเชิญสื่อมวลชนทั้งในประเทศและต่างประเทศมาทำข่าวศักยภาพสินค้าและบริการไทยในงานแสดงสินค้า และนำไปเผยแพร่ในสื่อต่างๆ ต่อไป
7. พัฒนาบุคลากรและระบบข้อมูลการค้าอย่างต่อเนื่อง โดยพัฒนาบุคลากรและระบบการบริหารจัดการองค์กรให้ทันสมัย คล่องตัว และมีประสิทธิภาพ พร้อมรับความเปลี่ยนแปลงตามสภาวะเศรษฐกิจและการค้าของโลก พัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่ออำนวยความสะดวกและให้บริการแก่บุคลากรภายในหน่วยงานและผู้ประกอบการส่งออกของไทย ตลอดจนผู้ซื้อ ผู้นำเข้าจากต่างประเทศ ส่งเสริมและพัฒนาช่องทางการตลาดในระบบเศรษฐกิจยุคใหม่ เช่น www.thaitrade.com ที่ตั้งเป้าหมายให้เป็น B2B E-Marketplace