ดีล “เสริมสุข” อาจยังวุ่นวายต่อ วงในระบุ “เอสเอสเนชั่นแนลโลจิสติกส์” อาจไม่ยื่นราคาเสนอซื้อขายหุ้นในวันที่ 9ก.ย.นี้ แต่จะรอฝั่งเป๊ปซี่เสนอราคามา หากได้สูงก็พร้อมขาย หากให้ต่ำก็จะเป็นฝ่ายขอซื้อทั้งหมด เพื่อเดินแผนโลจิสติกส์ต่อ โดยอาจมีค่ายเครื่องดื่มอื่นหนุน แม้อาจเกิดข้อพิพาทในเงื่อนไขที่เป๊ปซี่ใส่มาเพิ่มเติม ว่าหากใครผิดสัญญาจะโดนอีกฝ่ายหักคอซื้อในราคา 42 บาทต่อหุ้น
ความชัดเจนการเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัท เสริมสุข จำกัด (มหาชน) (SSC) มีทีท่าจะไม่จบลงง่ายๆ แม้ล่าสุด การประชุมผู้ถือหุ้นเมื่อวันที่ 25 สิงหาคมที่ผ่านมา จะมีมติอนุมัติรองรับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้ถือหุ้นใหญ่ก็ตาม ล่าสุด ASTV ผู้จัดการรายวันได้รับทราบข้อมูลจากแหล่งข่าวรายหนึ่งซึ่งเป็นผู้บริหารในกลุ่ม บริษัท เอสเอสเนชั่นแนลโลจิสติกส์ จำกัด หรือ SSN ว่า ในการสรุปราคาซื้อขายหุ้น SSC วันที่ 9 กันยายนนี้ ฝ่ายของ เอสเอสเนชั่นแนลฯ จะไม่ส่งราคาเสนอซื้อ/ขายหุ้นให้แก่ กลุ่มเป๊ปซี่ โค อิงค์ แต่จะรอให้ทางกลุ่มดังกล่าวเป็นผู้เสนอราคาขายซื้อ/ขายหุ้น SSC เข้ามา
โดยหากราคาเสนอซื้อจากลุ่มเป๊ปซี่ โค อิงค์ เป็นที่พอใจแก่ผู้ถือหุ้นฝ่าย เอสเอสเนชั่นแนลฯ ทางกลุ่มก็พร้อมที่จะขายหุ้นในของบมจ.เสริมสุขที่ถืออยู่ในมือทั้งหมดให้แก่ กลุ่มเป๊ปซี่ โค อิงค์ ทันที และในทางกลับกันหากราคาที่เสนอมาไม่เป็นที่พอใจทางกลุ่มก็จะใช้ราคาดังกล่าว เป็นราคาที่จะเข้าขอซื้อหุ้นบมจ.เสริมสุขทั้งหมดที่ กลุ่มเป๊ปซี่ โค อิงค์ เป็นผู้ถืออยู่
แหล่งข่าว กล่าวว่าที่ผ่านมาคณะกรรมการบริษัทกำลังเดินหน้าธุรกิจด้านโลจิสติกส์ ตามที่ได้เปิดเผยแก่ผู้ถือหุ้นในการประชุมครั้งก่อน แบบค่อยเป็นค่อยไป เนื่องจากมีการเจรจาระหว่างกลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ทั้ง2 รายเกิดขึ้น ทำให้เรื่องดังกล่าวสะดุดเพื่อรอดูความชัดเจนในเรื่องกลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ ซึ่งมีความสำสัญต่อการกำหนดทิศทางดำเนินธุรกิจของบมจ.เสริมสุข
นอกจากนี้ ยังเป็นที่น่าสังเกตุว่า หากวันที่ 9 กันยายน ทุกอย่างจบลงด้วย SSN เป็นผู้ขอซื้อหุ้นเสริมสุขในมือของกลุ่มเป๊ปซี่ โค อิงค์ แล้วสัญญา Exclusive Bottling Appointment (EBA) ที่มีอยู่จะเป็นเช่นไรต่อไปในอนาคต แม้ทั้ง 2 ฝ่ายจะมีการทำข้อตกลงไว้ว่า หากSSN เป็นผู้ซื้อหุ้น ก็จะมีการขยายระยะเวลาการมีผลบังคับของการเลิกสัญญา EBA ระหว่างบมจ.เสริมสุข กับเป๊ปซี่ ออกไปอีก 7 เดือนนับแต่วันที่ 1 เมษายน 2555 แต่หลังจากนั้นไม่มีความชัดเจนจากทั้ง 2 ฝ่ายว่าจะร่วมมือกันดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายเป๊ปซี่ต่อหรือไม่
ขณะเดียวกัน จากข่าวต่างๆที่เกี่ยวกับ บมจ.เสริมสุข ในช่วงที่ผ่าน โดยเฉพาะการให้สัมภาษณ์จากฝ่ายผู้บริหาร SSN เช่น นายศักดิ์ชัย ธนบุญชัย กรรมการบริษัท จะพบว่าทางผู้บริหารยืนยันตนเองว่าเป็นนักลงทุนดังนั้น หากราคาเสนอซื้อหุ้นบมจ.เสริมสุขที่กลุ่มเป๊ปซี่ โคฯ เสนอมาเป็นที่พอใจ โอกาสในการขายหุ้นในมือทั้งหมดเพื่อทำกำไรก็มีความเป็นไปได้สูง
อย่างไรก็ตาม สายสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้บริหาร SSN กับนายเจริญ สิริวัฒนภักดี ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ ผู้ผลิตเบียร์ช้าง ยังเป็นเรื่องที่ถูกพูดถึงและหนีไม่พ้น คราบนอมินีของบริษัทเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ชื่อดังแห่งนี้ จุดนี้หากเป็นจริงก็มีโอกาสที่บมจ.เสริมสุข จะไม่ใส่ใจต่อการผลิตและจำหน่ายเครื่องดื่มเป๊ปซี่ แต่จะเริ่มผลิตเครื่องดื่มประเภทอื่นขึ้นมาจำหน่ายแทน รวมทั้งผลักดันให้ธุรกิจโลจิสติกส์เกิดประสิทธิภาพในการสร้างรายได้และกำไรกลับคืนมาสู่บริษัทให้มากสุด แม้จะมีข้อแย้งจากคนในวงการหลายคนว่า แม้กลุ่มSSN จะคว่ำหวดด้านการลงทุนและกฏหมาย แต่ยังไม่มีประสบการณ์ด้านธุรกิจขนส่ง
อีกทั้ง เรื่องดังกล่าว อาจมีผลให้กลุ่มเป๊ปซี่ โค อิงค์ อาจต้องหาพันธมิตรรายใหม่ หรือลงทุนจัดตั้งบริษัทผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องดื่มเป๊ปซี่ และเครื่องดื่มในเครือใหม่ทั้งหมด โดยในระยะเวลาดังกล่าว อาจเป็นปัญหาหรือจุดเสียเปรียบที่ทำให้เครื่องดื่มคู่แข่งขันอย่าง โค๊ก มีโอกาสสร้างผลกำไร หรือเพิ่มยอดขายของตนเองมากขึ้น หากกลุ่มเป๊ปซี่ โค อิงค์ เกิดสะดุดเพราะต้องลงทุนเองหรือร่วมทุนกับพันธมิตรใหม่ ก่อตั้งโรงงานผลิตและจำหน่ายเครื่องดื่มใหม่ ซึ่งจำเป็นต้องใช้ระยะเวลาในการก่อสร้าง ลงทุนเดินเครื่องผลิต รวมถึงการจัดสร้างช่องทางขนส่งและจัดจำหน่ายขึ้นใหม่
สำหรับขั้นตอนต่อไปของดีลดังกล่าว ระหว่างผู้ถือหุ้นใหญ่ทั้งสองกลุ่มคือ จะมีการสรุปราคาการซื้อขายหุ้นเสริมสุข ในวันที่ 9 กันยายนที่จะถึงนี้ จากนั้นจะประชุมคณะกรรมการบริษัทในวันที่ 14 กันยายน เพื่อตั้งที่ปรึกษาการเงินอิสระใหม่ พร้อมทั้งสรุปคณะกรรมการใหม่ ในวันที่ 15 กันยายน จึงจะสรุปเรื่องการตั้งโต๊ะรับซื้อหุ้น (เทนเดอร์ ออฟเฟอร์) โดยเงื่อนไขระยะเวลาที่จำกัด คาดว่าฝ่ายที่จะได้เป็นผู้ซื้อหุ้น SSC จะเป็ฯผู้กำหนด และในช่วงเวลานี้ทุกฝ่ายเชื่อกันว่าน่าจะเป็นบริษัทเป๊ปซี่ - โคล่า ไทย เทรดดิ้ง จำกัด มากกว่าSSN
ส่วนราคาที่มีการเสนอขาย เป็นที่เชื่อกันว่าคงไม่ต่ำกว่า 42 บาทต่อหุ้นอย่างแน่นอน
ตัวแทนจากซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) ที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ แสดงความเห็นว่า การที่ได้ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นเป๊ปซี่ หรือSSN จะทำให้เกิดความชัดเจนในการดำเนินงาน และแผนธุรกิจของเสริมสุขมากขึ้น และจากที่มีการแก้ไขเงื่อนเวลาของการยกเลิกสัญญา ให้ขยายระยะเวลาการมีผลบังคับของการเลิกสัญญา EBA หรือ กำหนดราคาค่าหัวน้ำเชื้อ ลงฉบับวันที่ 1 มกราคม 2544 ที่จะครบกำหนดวันที่ 1 เมษายน 2555 ขยายอีก 7 เดือน ไปเป็นสิ้นสุดในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2555 นั้นจะทำให้เสริมสุข มีเวลาเตรียมตัวและเตรียมแผนงานในการดำเนินธุรกิจใหม่ได้มากขึ้น
แต่ กลุ่มเป๊ปซี่ ต้องทำคำเสนอซื้อจากนักลงทุนทั่วไป ทำให้ต้องรับซื้อหุ้นครั้งนี้รวม 155,438,524 หุ้น (ซื้อจากSSN 86 ล้านหุ้น) คิดเป็นสัดส่วน 58.46% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด ทั้งนี้ คาดการณ์ราคารับซื้อ โดยอิงจากราคาเฉลี่ยย้อนหลัง 90 วัน ก็จะได้ราคารับซื้อที่หุ้นละ 51.15 บาท ซึ่งจะทำให้กลุ่มเป๊ปซี่ ใช้เงินในการซื้อหุ้นครั้งนี้ 7,951 ล้านบาท และทำให้ SSNมีกำไรจากส่วนต่างราคาหุ้นประมาณ 794 ล้านบาท เมื่อเทียบกับราคาหุ้นที่ทางกลุ่มซื้อมาในราคา 42 บาท/หุ้น
ขณะเดียวกัน หาก SSN เป็นฝ่ายรับซื้อหุ้น จะต้องรับซื้อทั้งหมด 179,168,277 หุ้น คิดเป็น 67.38% (ซื้อจากเป๊ปซี่ 67 ล้านหุ้น) หากอิงจากราคาเฉลี่ยย้อนหลัง 90 วัน ราคารับซื้อจะอยู่ที่ 51.15 บาทต่อหุ้น จะต้องใช้เงินกว่า 9 พันล้านบาท ซึ่งเป็นไปได้ยากมาก
อย่างไรก็ตาม ด้วยความต้องการที่ครอบครอง บมจ.เสริมสุขให้ได้ของ กลุ่มเป๊ปซี่ การเดินเกมยื่นหมูยื่นแมวครั้งนี้ ใช่ว่าจะไม่มีการเตรียมการรองรับไว้แต่เนิ่น ก่อนหน้าการประชุมผู้ถือหุ้นเกิดขึ้น กลุ่มเป๊ปซี่ ได้แจ้งข้อมูลสำคัญเพิ่มเติมให้แก่บมจ.รับทราบ ถึงเงื่อนไขการเสนอราคา และข้อตกลงต่างๆหากดีลเกิดขึ้นจริง หรือหากดีลนั้นไม่ประสบความสำเร็จ โดยพยายามยื่นเงื่อนไขที่ฝ่ายตนเองได้ประโยชน์สูงสุดจากดีลในครั้งนี้
คาดว่า อาจจะมาจากบทเรียนสำคัญในครั้งการทำเทนเดอร์ออฟเฟอร์ครั้งก่อน ซึ่งเสนอราคาซื้อขายหุ้นแก่ผู้ถือหุ้นใหญ่ บมจ.เสริมสุขชุดเก่า หรือกลุ่มบูลสุข น้อยกว่าความจริง และน้อยกว่าราคาที่ปรึกษาทางการเงินอิสรนะประเมินไว้ จนในที่สุดจึงโดนฝ่าย SSN เข้ามาซื้อหุ้นแทนในราคาที่สูงกว่า และนำมาซึ่งปัญหาข้อขัดแย้ง ข้อพิพาทต่างๆที่เกิดขึ้น
โดยข้อสำคัญ ประการหนึ่งในเงื่อนไขที่เพิ่มคือ เงื่อนไขเพิ่มเติมข้อที่ 2) ชี้แจงเพิ่มเติมในส่วนของราคาซื้อขายหุ้น กลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าจะเป็นราคาซื้อขายหุ้นที่กำหนด แต่ในกรณีที่มีการกระทำผิดสัญญาจะซื้อจะขายหุ้นบางประการตามที่กำหนดในสัญญา คู่สัญญาฝ่ายที่มิได้เป็นฝ่ายกระทำผิดสัญญามีสิทธิเสนอซื้อหุ้นจากคู่สัญญาฝ่ายที่เป็นฝ่ายกระทำผิดสัญญาได้ในราคา 42 บาทต่อหุ้นหมายถึง กรณีที่ PepsiCo Group ไม่แจ้งราคาซื้อขายต่อหุ้นไปยัง SSN ภายหลังเงื่อนไขบังคับก่อนสำหรับการเสนอราคาสำเร็จลง SSN มีสิทธิที่จะซื้อหุ้นหรือจัดให้ผู้ลงทุนรายอื่นซื้อหุ้นที่ Pepsi Co Group ถืออยู่ทั้งหมด ในราคา 42 บาท รวมทั้งในกรณีที่ SSN ไม่แจ้งไปยัง PepsiCo Group ว่าจะซื้อหรือขายหุ้นในราคาซื้อขายต่อหุ้น ด้าน PepsiCo ก็มีสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่ SSN ถืออยู่ทั้งหมดในราคา 42 บาท เช่นกัน ซึ่งเร่องดังกล่าวหากSSN ทำตามที่ระบุไว้ข้างต้นคือไม่ส่งราคา น่าจะกลายเป็นข้อพิพาท ข้อถกเถียงเกิดขึ้นอีก
สำหรับในมุมมองของนักลงทุนนั้น แหล่งข่าวโบรกเกอร์รายหนึ่ง ให้ความเห็นที่น่าสนใจว่า ดีลดังกล่าวสร้างความกังวลให้แก่ผู้ที่ถือหุ้น SSC ในเรื่องทิศทางการดำเนินธุรกิจในอนาคตของบริษัท รวมถึงความกังวลต่อราคาหุ้นที่มีความผันผวนต่อเนื่องตามข่าวที่ทยอยปรากฏออกมา และหากบทสรุปจบลงที่ กลุ่ม เป๊ปซี่ โค เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของSSC โอกาสในการออกจากตลาดหุ้นก็มีความเป็นไปได้ นอกจากนี้สิ่งที่น่ากังวลยิ่งกว่าคือ สัญญาระยะยาวที่ทางกลุ่มเป๊ปซี่ ต้องการให้SSCยอมรับ ซึ่งมีระยะเวลายาวนานถึง 12 ปี จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้กำไรสุทธิของบริษัทไม่บาลานซ์กับรายได้จำนวนมหาศาล เพราะธุรกิจไม่สามารถเพิ่มไลน์สร้างรายได้เพิ่มจากช่องทางอื่นได้ อีกทั้งค่าสัมปทานหรือน้ำหัวเชื้อที่อยู่ในระดับสูงจะยังเป็นต้นทุนค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ และรายได้-กำไรจากการดำเนินธุรกิจส่วนมากต้องถูกโอนไปให้ผู้ถือหุ้นใหญ่ในต่างประเทศ
ความชัดเจนการเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัท เสริมสุข จำกัด (มหาชน) (SSC) มีทีท่าจะไม่จบลงง่ายๆ แม้ล่าสุด การประชุมผู้ถือหุ้นเมื่อวันที่ 25 สิงหาคมที่ผ่านมา จะมีมติอนุมัติรองรับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้ถือหุ้นใหญ่ก็ตาม ล่าสุด ASTV ผู้จัดการรายวันได้รับทราบข้อมูลจากแหล่งข่าวรายหนึ่งซึ่งเป็นผู้บริหารในกลุ่ม บริษัท เอสเอสเนชั่นแนลโลจิสติกส์ จำกัด หรือ SSN ว่า ในการสรุปราคาซื้อขายหุ้น SSC วันที่ 9 กันยายนนี้ ฝ่ายของ เอสเอสเนชั่นแนลฯ จะไม่ส่งราคาเสนอซื้อ/ขายหุ้นให้แก่ กลุ่มเป๊ปซี่ โค อิงค์ แต่จะรอให้ทางกลุ่มดังกล่าวเป็นผู้เสนอราคาขายซื้อ/ขายหุ้น SSC เข้ามา
โดยหากราคาเสนอซื้อจากลุ่มเป๊ปซี่ โค อิงค์ เป็นที่พอใจแก่ผู้ถือหุ้นฝ่าย เอสเอสเนชั่นแนลฯ ทางกลุ่มก็พร้อมที่จะขายหุ้นในของบมจ.เสริมสุขที่ถืออยู่ในมือทั้งหมดให้แก่ กลุ่มเป๊ปซี่ โค อิงค์ ทันที และในทางกลับกันหากราคาที่เสนอมาไม่เป็นที่พอใจทางกลุ่มก็จะใช้ราคาดังกล่าว เป็นราคาที่จะเข้าขอซื้อหุ้นบมจ.เสริมสุขทั้งหมดที่ กลุ่มเป๊ปซี่ โค อิงค์ เป็นผู้ถืออยู่
แหล่งข่าว กล่าวว่าที่ผ่านมาคณะกรรมการบริษัทกำลังเดินหน้าธุรกิจด้านโลจิสติกส์ ตามที่ได้เปิดเผยแก่ผู้ถือหุ้นในการประชุมครั้งก่อน แบบค่อยเป็นค่อยไป เนื่องจากมีการเจรจาระหว่างกลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ทั้ง2 รายเกิดขึ้น ทำให้เรื่องดังกล่าวสะดุดเพื่อรอดูความชัดเจนในเรื่องกลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ ซึ่งมีความสำสัญต่อการกำหนดทิศทางดำเนินธุรกิจของบมจ.เสริมสุข
นอกจากนี้ ยังเป็นที่น่าสังเกตุว่า หากวันที่ 9 กันยายน ทุกอย่างจบลงด้วย SSN เป็นผู้ขอซื้อหุ้นเสริมสุขในมือของกลุ่มเป๊ปซี่ โค อิงค์ แล้วสัญญา Exclusive Bottling Appointment (EBA) ที่มีอยู่จะเป็นเช่นไรต่อไปในอนาคต แม้ทั้ง 2 ฝ่ายจะมีการทำข้อตกลงไว้ว่า หากSSN เป็นผู้ซื้อหุ้น ก็จะมีการขยายระยะเวลาการมีผลบังคับของการเลิกสัญญา EBA ระหว่างบมจ.เสริมสุข กับเป๊ปซี่ ออกไปอีก 7 เดือนนับแต่วันที่ 1 เมษายน 2555 แต่หลังจากนั้นไม่มีความชัดเจนจากทั้ง 2 ฝ่ายว่าจะร่วมมือกันดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายเป๊ปซี่ต่อหรือไม่
ขณะเดียวกัน จากข่าวต่างๆที่เกี่ยวกับ บมจ.เสริมสุข ในช่วงที่ผ่าน โดยเฉพาะการให้สัมภาษณ์จากฝ่ายผู้บริหาร SSN เช่น นายศักดิ์ชัย ธนบุญชัย กรรมการบริษัท จะพบว่าทางผู้บริหารยืนยันตนเองว่าเป็นนักลงทุนดังนั้น หากราคาเสนอซื้อหุ้นบมจ.เสริมสุขที่กลุ่มเป๊ปซี่ โคฯ เสนอมาเป็นที่พอใจ โอกาสในการขายหุ้นในมือทั้งหมดเพื่อทำกำไรก็มีความเป็นไปได้สูง
อย่างไรก็ตาม สายสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้บริหาร SSN กับนายเจริญ สิริวัฒนภักดี ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ ผู้ผลิตเบียร์ช้าง ยังเป็นเรื่องที่ถูกพูดถึงและหนีไม่พ้น คราบนอมินีของบริษัทเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ชื่อดังแห่งนี้ จุดนี้หากเป็นจริงก็มีโอกาสที่บมจ.เสริมสุข จะไม่ใส่ใจต่อการผลิตและจำหน่ายเครื่องดื่มเป๊ปซี่ แต่จะเริ่มผลิตเครื่องดื่มประเภทอื่นขึ้นมาจำหน่ายแทน รวมทั้งผลักดันให้ธุรกิจโลจิสติกส์เกิดประสิทธิภาพในการสร้างรายได้และกำไรกลับคืนมาสู่บริษัทให้มากสุด แม้จะมีข้อแย้งจากคนในวงการหลายคนว่า แม้กลุ่มSSN จะคว่ำหวดด้านการลงทุนและกฏหมาย แต่ยังไม่มีประสบการณ์ด้านธุรกิจขนส่ง
อีกทั้ง เรื่องดังกล่าว อาจมีผลให้กลุ่มเป๊ปซี่ โค อิงค์ อาจต้องหาพันธมิตรรายใหม่ หรือลงทุนจัดตั้งบริษัทผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องดื่มเป๊ปซี่ และเครื่องดื่มในเครือใหม่ทั้งหมด โดยในระยะเวลาดังกล่าว อาจเป็นปัญหาหรือจุดเสียเปรียบที่ทำให้เครื่องดื่มคู่แข่งขันอย่าง โค๊ก มีโอกาสสร้างผลกำไร หรือเพิ่มยอดขายของตนเองมากขึ้น หากกลุ่มเป๊ปซี่ โค อิงค์ เกิดสะดุดเพราะต้องลงทุนเองหรือร่วมทุนกับพันธมิตรใหม่ ก่อตั้งโรงงานผลิตและจำหน่ายเครื่องดื่มใหม่ ซึ่งจำเป็นต้องใช้ระยะเวลาในการก่อสร้าง ลงทุนเดินเครื่องผลิต รวมถึงการจัดสร้างช่องทางขนส่งและจัดจำหน่ายขึ้นใหม่
สำหรับขั้นตอนต่อไปของดีลดังกล่าว ระหว่างผู้ถือหุ้นใหญ่ทั้งสองกลุ่มคือ จะมีการสรุปราคาการซื้อขายหุ้นเสริมสุข ในวันที่ 9 กันยายนที่จะถึงนี้ จากนั้นจะประชุมคณะกรรมการบริษัทในวันที่ 14 กันยายน เพื่อตั้งที่ปรึกษาการเงินอิสระใหม่ พร้อมทั้งสรุปคณะกรรมการใหม่ ในวันที่ 15 กันยายน จึงจะสรุปเรื่องการตั้งโต๊ะรับซื้อหุ้น (เทนเดอร์ ออฟเฟอร์) โดยเงื่อนไขระยะเวลาที่จำกัด คาดว่าฝ่ายที่จะได้เป็นผู้ซื้อหุ้น SSC จะเป็ฯผู้กำหนด และในช่วงเวลานี้ทุกฝ่ายเชื่อกันว่าน่าจะเป็นบริษัทเป๊ปซี่ - โคล่า ไทย เทรดดิ้ง จำกัด มากกว่าSSN
ส่วนราคาที่มีการเสนอขาย เป็นที่เชื่อกันว่าคงไม่ต่ำกว่า 42 บาทต่อหุ้นอย่างแน่นอน
ตัวแทนจากซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) ที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ แสดงความเห็นว่า การที่ได้ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นเป๊ปซี่ หรือSSN จะทำให้เกิดความชัดเจนในการดำเนินงาน และแผนธุรกิจของเสริมสุขมากขึ้น และจากที่มีการแก้ไขเงื่อนเวลาของการยกเลิกสัญญา ให้ขยายระยะเวลาการมีผลบังคับของการเลิกสัญญา EBA หรือ กำหนดราคาค่าหัวน้ำเชื้อ ลงฉบับวันที่ 1 มกราคม 2544 ที่จะครบกำหนดวันที่ 1 เมษายน 2555 ขยายอีก 7 เดือน ไปเป็นสิ้นสุดในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2555 นั้นจะทำให้เสริมสุข มีเวลาเตรียมตัวและเตรียมแผนงานในการดำเนินธุรกิจใหม่ได้มากขึ้น
แต่ กลุ่มเป๊ปซี่ ต้องทำคำเสนอซื้อจากนักลงทุนทั่วไป ทำให้ต้องรับซื้อหุ้นครั้งนี้รวม 155,438,524 หุ้น (ซื้อจากSSN 86 ล้านหุ้น) คิดเป็นสัดส่วน 58.46% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด ทั้งนี้ คาดการณ์ราคารับซื้อ โดยอิงจากราคาเฉลี่ยย้อนหลัง 90 วัน ก็จะได้ราคารับซื้อที่หุ้นละ 51.15 บาท ซึ่งจะทำให้กลุ่มเป๊ปซี่ ใช้เงินในการซื้อหุ้นครั้งนี้ 7,951 ล้านบาท และทำให้ SSNมีกำไรจากส่วนต่างราคาหุ้นประมาณ 794 ล้านบาท เมื่อเทียบกับราคาหุ้นที่ทางกลุ่มซื้อมาในราคา 42 บาท/หุ้น
ขณะเดียวกัน หาก SSN เป็นฝ่ายรับซื้อหุ้น จะต้องรับซื้อทั้งหมด 179,168,277 หุ้น คิดเป็น 67.38% (ซื้อจากเป๊ปซี่ 67 ล้านหุ้น) หากอิงจากราคาเฉลี่ยย้อนหลัง 90 วัน ราคารับซื้อจะอยู่ที่ 51.15 บาทต่อหุ้น จะต้องใช้เงินกว่า 9 พันล้านบาท ซึ่งเป็นไปได้ยากมาก
อย่างไรก็ตาม ด้วยความต้องการที่ครอบครอง บมจ.เสริมสุขให้ได้ของ กลุ่มเป๊ปซี่ การเดินเกมยื่นหมูยื่นแมวครั้งนี้ ใช่ว่าจะไม่มีการเตรียมการรองรับไว้แต่เนิ่น ก่อนหน้าการประชุมผู้ถือหุ้นเกิดขึ้น กลุ่มเป๊ปซี่ ได้แจ้งข้อมูลสำคัญเพิ่มเติมให้แก่บมจ.รับทราบ ถึงเงื่อนไขการเสนอราคา และข้อตกลงต่างๆหากดีลเกิดขึ้นจริง หรือหากดีลนั้นไม่ประสบความสำเร็จ โดยพยายามยื่นเงื่อนไขที่ฝ่ายตนเองได้ประโยชน์สูงสุดจากดีลในครั้งนี้
คาดว่า อาจจะมาจากบทเรียนสำคัญในครั้งการทำเทนเดอร์ออฟเฟอร์ครั้งก่อน ซึ่งเสนอราคาซื้อขายหุ้นแก่ผู้ถือหุ้นใหญ่ บมจ.เสริมสุขชุดเก่า หรือกลุ่มบูลสุข น้อยกว่าความจริง และน้อยกว่าราคาที่ปรึกษาทางการเงินอิสรนะประเมินไว้ จนในที่สุดจึงโดนฝ่าย SSN เข้ามาซื้อหุ้นแทนในราคาที่สูงกว่า และนำมาซึ่งปัญหาข้อขัดแย้ง ข้อพิพาทต่างๆที่เกิดขึ้น
โดยข้อสำคัญ ประการหนึ่งในเงื่อนไขที่เพิ่มคือ เงื่อนไขเพิ่มเติมข้อที่ 2) ชี้แจงเพิ่มเติมในส่วนของราคาซื้อขายหุ้น กลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าจะเป็นราคาซื้อขายหุ้นที่กำหนด แต่ในกรณีที่มีการกระทำผิดสัญญาจะซื้อจะขายหุ้นบางประการตามที่กำหนดในสัญญา คู่สัญญาฝ่ายที่มิได้เป็นฝ่ายกระทำผิดสัญญามีสิทธิเสนอซื้อหุ้นจากคู่สัญญาฝ่ายที่เป็นฝ่ายกระทำผิดสัญญาได้ในราคา 42 บาทต่อหุ้นหมายถึง กรณีที่ PepsiCo Group ไม่แจ้งราคาซื้อขายต่อหุ้นไปยัง SSN ภายหลังเงื่อนไขบังคับก่อนสำหรับการเสนอราคาสำเร็จลง SSN มีสิทธิที่จะซื้อหุ้นหรือจัดให้ผู้ลงทุนรายอื่นซื้อหุ้นที่ Pepsi Co Group ถืออยู่ทั้งหมด ในราคา 42 บาท รวมทั้งในกรณีที่ SSN ไม่แจ้งไปยัง PepsiCo Group ว่าจะซื้อหรือขายหุ้นในราคาซื้อขายต่อหุ้น ด้าน PepsiCo ก็มีสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่ SSN ถืออยู่ทั้งหมดในราคา 42 บาท เช่นกัน ซึ่งเร่องดังกล่าวหากSSN ทำตามที่ระบุไว้ข้างต้นคือไม่ส่งราคา น่าจะกลายเป็นข้อพิพาท ข้อถกเถียงเกิดขึ้นอีก
สำหรับในมุมมองของนักลงทุนนั้น แหล่งข่าวโบรกเกอร์รายหนึ่ง ให้ความเห็นที่น่าสนใจว่า ดีลดังกล่าวสร้างความกังวลให้แก่ผู้ที่ถือหุ้น SSC ในเรื่องทิศทางการดำเนินธุรกิจในอนาคตของบริษัท รวมถึงความกังวลต่อราคาหุ้นที่มีความผันผวนต่อเนื่องตามข่าวที่ทยอยปรากฏออกมา และหากบทสรุปจบลงที่ กลุ่ม เป๊ปซี่ โค เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของSSC โอกาสในการออกจากตลาดหุ้นก็มีความเป็นไปได้ นอกจากนี้สิ่งที่น่ากังวลยิ่งกว่าคือ สัญญาระยะยาวที่ทางกลุ่มเป๊ปซี่ ต้องการให้SSCยอมรับ ซึ่งมีระยะเวลายาวนานถึง 12 ปี จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้กำไรสุทธิของบริษัทไม่บาลานซ์กับรายได้จำนวนมหาศาล เพราะธุรกิจไม่สามารถเพิ่มไลน์สร้างรายได้เพิ่มจากช่องทางอื่นได้ อีกทั้งค่าสัมปทานหรือน้ำหัวเชื้อที่อยู่ในระดับสูงจะยังเป็นต้นทุนค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ และรายได้-กำไรจากการดำเนินธุรกิจส่วนมากต้องถูกโอนไปให้ผู้ถือหุ้นใหญ่ในต่างประเทศ