xs
xsm
sm
md
lg

ผู้จัดการสุดสัปดาห์

x

แบรนด์เนมของ “ยิ่งลักษณ์”

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


สมการการเมือง
โดยพาณิชย์ ภูมิพระราม

ASTVผู้จัดการสุดสัปดาห์-ชื่อของคน ถือเป็นสิ่งบ่งบอกตัวตน

 แต่สิ่งที่สำคัญกว่าชื่อก็คือ Brand name ของคนคนนั้น

ดังนั้นชื่อเสียง และภาพลักษณ์จึงกลายเป็น “ความต้องการให้ได้รับการยกย่อง” ซึ่งจัดเป็นความต้องการขั้นสูงสุดตามทฤษฎีของมาสโลว์ ในแง่ทางการตลาด Brand จัดเป็น “สินทรัพย์”ที่มีค่ามากที่สุดของบริษัทต่างๆ ของเว็บไซด์ยังมีค่ามากมายมหาศาล
        

เมื่อเร็วๆ นี้ นิตยสารสำหรับแวดวงชื่อโดเมน (Domain Name) “ดีเอ็น เจอร์นัล” เปิดเผยผลสำรวจราคา ซื้อขายชื่อโดเมนที่แพงที่สุดประจำปี พบว่า โดเมนที่แพงที่สุดในโลกคือ Social.com มีราคา ล้านดอลลาร์สหร้ฐ
       

อันดับ 2 ได้แก่ DomainName.com ราคา 1 ล้านดอลลาร์สำหรัฐ  อันดับ 3 คือ Aktien.de ราคา 725,000 ดอลลาร์สำหรัฐ อันดับ 4 ได้แก่ ครองตำแหน่งร่วมกัน ราคา 700,000 ดอลลาร์สำหรัฐ อันดับ5 ได้แก่ Answer.com ราคา 550,000 ดอลลาร์สำหรัฐ อันดับ 6 คือ 11.com ราคา 525,000 ดอลลาร์สำหรัฐ 

ดังนั้น Brand จึงเป็นสิ่งสำคัญมากในแง่การตลาด

ทางการเมือง ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของสัญลักษณ์ ชื่อ สโลแกน เครื่องหมาย หรืออื่นๆที่บ่งบอกความการรับรู้ ความรู้สึกของลูกค้า หรือผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง

ผลการสำรวจความนิยม และการตั้งฉายารัฐบาลยิ่งลักษณ์ บ่งบอกถึงความตกต่ำทางการเมืองของพรรคเพื่อไทยในระดับหนึ่ง

โอกาสแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่พรรคเพื่อไทยจะครองใจคนทั่วทั้งประเทศ

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนต่อการทำงานของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ในรอบ 4 เดือน จากการสุ่มกระจายไปทุกจังหวัดทั่วประเทศรวมทั้งสิ้น 4,238 คน ระหว่างวันที่ 10-24 ธันวาคม 2554 ปรากฎว่า  เผยผลงาน 4 เดือนรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ความซื่อสัตย์มารั้งท้าย ได้ 5.87 คะแนน ผลงานรายกระทรวง ปรากฎว่า กระทรวงไอซีทีรั้งท้ายสุดของตารางด้วยคะแนน 5.84 คะแนน ประชาชนในภาคใต้ให้คะแนนต่ำสุด 5.44 คะแนน

แม้กระทั่งการ “ฉายา” ของผู้สื่อข่าวในภาคสนาม

สะท้อน “สวยแต่รูป” ของยิ่งลักษณ์ได้ชัดเจนมากขึ้น

ทั้งนี้ผู้สื่อข่าวประจำทำเนียบรัฐบาล ตั้งฉายารัฐบาลและรัฐมนตรีประจำปี 2554 ซึ่งถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติสืบเนื่องกันมา เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของสื่อมวลชนต่อการทำงานของรัฐบาลจากประสบการณ์การทำงานที่ปรากฏต่อสื่อสาธารณะ 

ทักษิณส่วนหน้า คือฉายาของรัฐบาล เนื่องจากการบริหารงานของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่ไม่สามารถสลัดภาพว่ามีพี่ชายอย่าง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี อยู่เบื้องหลังได้ จนรัฐบาลชุดนี้เปรียบเสมือนศูนย์บัญชาการส่วนหน้าของตัว พ.ต.ท.ทักษิณ 
     

ฉายาที่เจ็บแสบมากที่สุดคือ ฉายานายกรัฐมนตรี คือ นายกฯนกแก้ว โดยแม้ น.ส.ยิ่งลักษณ์จะเป็นผู้หญิงที่มีความสวย บุคลิกดี มีความโดดเด่น คล้ายกับนกแก้วที่มีสีสันสวยงาม แต่กลายเป็นนกแก้วที่ต้องติดอยู่ในกรงทอง ไม่สามารถบินไปไหนมาไหนได้ด้วยตัวเอง ต้องมีพี่เลี้ยงคอยประกบดูแลอย่างใกล้ชิด บทบาทที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์แสดงออกต่อสาธารณชน จึงเป็นเพียงนกแก้วที่พูดตามบทเท่านั้น

อันที่จริงนักข่าวน่าจะตัดคำว่า “นกขุนทอง” เข้าไปด้วย เพราะคำพูดคำให้สัมภาษณ์ของยิ่งลักษณ์มาจากสคริปท์ของทีมงานเขียนให้เท่านั้น เหมือนนกขุนทองที่จะต้องขูดลิ้นให้พูดได้ และพูดตามที่สอนไว้เท่านั้น

ไม่ได้มาจากสมองตัวเอง

ทักซิโดโชว์ห่วย" เป็นของ “ยงยุทธ วิชัยดิษฐ” รองนายกฯ และ รมว.มหาดไทย เพราะเป็นผู้ที่แต่งกายและมีบุคลิกดี คล้ายผู้ชายใส่ "ทักซิโด” เมื่อถึงเวลาแสดงผลงานกลับสอบตก "โชว์ห่วย”

"กุมารทองคะนองศึก" ตกเป็นของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกฯ เพราะทำงานตามคำสั่งและทำเพื่อประโยชน์ของผู้เลี้ยงเท่านั้น อีกทั้ง ร.ต.อ.เฉลิมยังมีความซุกซน ชอบเข้าไปเกี่ยวข้องกับหลายเรื่องที่ไม่ใช่งานในความรับผิดชอบของตัวเอง หวังเพียงสร้างประเด็นข่าว และยังมีความคึกคะนองพร้อมที่จะประกาศศึกกับใครก็ได้ จนบางครั้งกลายเป็นการชักศึกเข้าบ้าน

อันที่จริงน่าจะให้ฉายา “ผีเป่าสำนวน” มากกว่า เพราะเฉลิมมีหน้าที่เปลี่ยนสีแปลงทิศทางสำนวนคดีสำคัญในหลายๆคดี จน “จำเลย” ในคดีกลายเป็นคนไม่มีตัวตนในสังคมไทย

"อินทรีหลงป่า" เป็นของพล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รมว.ยุติธรรม ซึ่งเคยถูกขนานนามว่าเป็น "อินทรีอีสาน” แต่เมื่อเข้ามาเป็นรัฐมนตรีกลับได้รับงานที่ผิดฝาผิดตัว คืองานแก้ปัญหาน้ำท่วม ซึ่งได้แก้ปัญหาแบบหลงทิศหลงทาง ส่งผลให้ปัญหาน้ำท่วมลุกลาม ประชาชนหลายพื้นที่เกิดความขัดแย้งกัน

"ปึ้งเป้าเป๊ะ" เป็นฉายาของนายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รมว.การต่างประเทศ ที่สร้างผลงานเพื่อพ.ต.ท.ทักษิณเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นการขอวีซ่าเดินทางเข้าประเทศญี่ปุ่นให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ และอาศัยจังหวะชุลมุนช่วงน้ำท่วมออกหนังสือเดินทางให้กับอดีตนายกฯ หรือแม้แต่การแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการในกระทรวง

วาทะแห่งปีคือ "น้ำตาที่ไหลไม่ได้มาจากความอ่อนแอ ใครไม่โดนไม่รู้ มันเป็นอารมณ์ร่วม” ของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ แต่ไม่มีใครขยายความต่อว่า วาทะดังกล่าวนี้เป็น “น้ำตาที่ไหลมาจากความพ่ายแพ้ที่แก้ปัญหาไม่ได้ จนถูกด่า ถูกตราหน้าไปทั่วประเทศ มากกว่าความเห็นอกเห็นใจผู้ด้อยโอกาสกว่า”

ที่สำคัญยังกลัวหลุดจากตำแหน่ง

อย่างไรก็ตาม การตั้งฉายา เสมือนหนึ่งเป็นการตีตราให้ Branding แก่รัฐบาลของผู้สื่อข่าวประจำทำเนียบ นับได้ว่า เป็นการให้ความหมายที่แหลมคมมากกว่านักข่าวประจำรัฐสภา

ทำให้นักข่าวประจำต้องขีดเส้นหมายเหตุการตั้งฉายาไว้ว่า

“ขอยืนยันว่าการตั้งฉายาดังกล่าวได้ใช้เหตุผล ความบริสุทธิ์ใจ ปราศจากการแทรกแซงจากทุกฝ่าย และซึ่งการพิจารณาทั้งหมดได้รับความเห็นชอบจากเสียงส่วนใหญ่ของสื่อมวลชนประจำรัฐสภา”
        

        ด้วยเหตุผลว่า อาจจะมีคนสงสัยได้ว่า การตั้งฉายาครั้งนี้อาจจะถูกเคลื่อบแคลงสงสัยได้ว่า ถูกชี้นำจากนักการในสังกัดพรรคการเมืองบางแห่ง ??           
             
   โดยผลการพิจารณาฉายาโดยสรุปของนักข่าวประจำรัฐสภา ได้แก่
       

1.เหตุการณ์แห่งปี : องค์ประชุมรัฐสภาล่มวันแถลงนโยบายของรัฐบาล
2.วาทะแห่งปี : “คำวินิจฉัยประธาน ถือเป็นที่สิ้นสุดจะผิดหรือถูกเป็นอีกเรื่องหนึ่ง” โดยมาจากคำพูดของนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา
3.ฉายาสภาผู้แทนราษฎร: กระดองปูแดง
4.ฉายาวุฒิสภา : สังคโลก
5.ฉายาประธานสภาผู้แทนราษฎร (สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์) : ค้อนปลอม ตราดูไบ
6.ฉายาประธานวุฒิสภา (พล.อ.ธีรเดช มีเพียร) : นายพลถนัดชิ่ง
7.ดาวเด่น: รังสิมา รอดรัศมี สส.สมุทรสงคราม พรรคประชาธิปัตย์
8.ดาวดับ: ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และสส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย
9.คู่กัดแห่งปี: อรรถพร พลบุตร vs จตุพร พรหมพันธุ์ 
10.คนดีศรีสภา: งดการเสนอชื่อบุคคล
11.ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร (อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) : หล่อดีเลย์

แต่เมื่อเปรียบเทียบกับการตั้งฉายาของสมาคมรัฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรฯ แล้ว ยังถือได้น่าจะตรง “เนื้อหาสาระทางการเมือง” มากกว่า 

                สมาคมรัฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ตั้งฉายารัฐบาลว่า  “ปูอบวุ้นเส้น”  

                รัฐสภา ได้ฉายา “สภาจิ้งหรีด”   พรรคเพื่อไทย ได้ฉายา “นักประดาน้ำ”  พรรคประชาธิปัตย์ ได้ฉายา “หล่อรอเสียบ”  พรรคภูมิใจไทย ได้ฉายา “ห้อยตกบัลลังก์”  สถาบันตุลาการ ได้รับฉายา “ท่อน้ำทิ้ง”  องค์กรอิสระต่าง ๆ ได้ฉายา “มือปราบผี”  กองทัพ ได้ฉายา “อัศวินม้าหงอย”  สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้รับฉายา “พระเอกตอนจบ”  กทม. ได้รับฉายา “หม้อไฟต้มยำ”  และ ศปภ. ได้ฉายา “ศูนย์ปิดบังภัยพิบัติ”

                และวาทะแห่งปีคือ “เอาอยู่”

แตกต่างกันลิบลับกับการตั้งฉายาของสื่อมวลชนประจำสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งค่อนไปทาง “เอาใจนาย” มากกว่าสะท้อนข้อเท็จจริงของคดี เช่น 1.สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้ฉายา "หน่วยงานเวนคืน" 2.ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ฉายา "สารวัตรนักใบ้คำ" 3.พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ผบ.ตร. ฉายา "รถด่วนขบวนสุดท้าย" 4.พล.ต.ท.วินัย ทองสอง ผบช.น. ฉายา " มือปราบผีพนัน" 5.พล.ต.ท.ภาณุ เกิดลาภผล ผบช.ภ.3 ฉายา "กูรูจราจร" 6.พล.ต.ต.วิชัย สังข์ประไพ ผบก.น.1 ฉายา "ดีไซน์เนอร์ ตร." เป็นต้น

   แต่การตั้งฉายาที่เจ็บแสบมากที่สุด คือ การตั้งฉายาของนักข่าวประจำกระทรวงวัฒนธรรม
   

“สุกุมล คุณปลื้ม” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ได้รับฉายา เซเล็บวัดไชยฯ 
   

นายวุฒิกร อินทรภูวศักดิ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำวธ. ฉายา “ผู้ช่วยล่องหน” นายสุระ เตชะทัต ที่ปรึกษารมว.วัฒนธรรม ฉายา “เงาะอำพราง”  นายสมชาย เสียงหลาย ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ฉายา “คุณ(ไม่)ปลื้มกระทรวงผัวเมีย” หมายถึง นางสุกุมล เป็น รมต. แต่ปรึกษานายสนธยา คุณปลื้ม (สามี) ทุกเรื่อง
    

ทั้งหมดนี้ บ่งบอก แบรนด์เนมของรัฐบาลยิ่งได้ในระดับหนึ่ง
           

โดยเฉพาะยิ่งลักษณ์ เป็นทั้ง ดาวดับ และนายกฯนกแก้ว(นกขุนทอง)....ฮา
กำลังโหลดความคิดเห็น