นายสมชัย จึงประเสริฐ กกต.ด้านกิจการสืบสวนสอบสวน กล่าวว่า รัฐธรรมนูญเป็นเรื่องที่บังคับใช้กับประชาชนทุกคน ตนเห็นว่าควรที่จะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เนื่องจากมีหลายสิ่งหลายอย่างที่ดูแล้วอัปลักษณ์ ฉะนั้น เมื่อมีความอัปลักษณ์อยู่ในรัฐธรรมนูญก็จำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุง โดยที่ไม่จำเป็นต้องทำประชามติ หรือมาซักถามใดๆ ทั้งสิ้น
** ม.237 มีไว้ก็ไร้ประโยชน์
ทั้งนี้ ในส่วนของ มาตรา 237 ควรที่จะได้รับการปรับปรุงแก้ไขอย่างยิ่ง เนื่องจากเงื่อนไขในแง่ที่ว่า หากหัวหน้าพรรคการเมือง หรือกรรมการบริหารพรรค ทำผิดกฏหมายการเลือกตั้ง และให้มีผลพวงถึงการยุบพรรคไปด้วยนั้น มองว่าไม่ควรนำพรรคการเมืองมาเกี่ยวข้อง หรือไม่ควรถูกยุบพรรคนั่นเอง แต่ควรเป็นเรื่องเฉพาะบุคคล เมื่อหัวหน้าพรรคหรือกรรมการบริหารพรรคกระทำผิด ก็ควร ถูกดำเนินคดีไปตามกฎหมาย ถูกเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้ง ไม่ใช่แค่ 5 ปี ควรมากกว่า 5 ปีไปเลย หรือตลอดไป เพราะเมื่อทำผิดกฏหมาย ก็ไม่ควรเปิดโอกาสเข้ามาสู่วงการการเมือง หรือไม่ควรกลับมารับผิดชอบงานที่ทำเพื่อประเทศชาติอีก
"ไม่อยากเห็นพรรคการเมืองที่จัดตั้งขึ้นแล้วก็ถูกยุบ พอถูกยุบก็ตั้งพรรคใหม่ ภายใต้ชื่อใหม่ จะวนเวียนอยู่อย่างนี้ ฉะนั้นเมื่อถูกยุบพรรคแล้ว ต้องยุบไปเลย" กกต.ด้านสืบสวนสอบสวน กล่าว
นายสมชัย ยังกล่าวอีกว่า มาตรา 237 ท้ายที่สุดไม่มีประโยชน์อะไรเลย เพราะบุคคลที่จะมาเป็นนายกรัฐมนตรี ก็ไม่ได้เป็นหัวหน้าพรรค หรือกรรมการบริหารพรรค ซึ่งตามข้อเท็จจริงบุคคลที่จะมาเป็นนายกรัฐมนตรี ควรเป็นหัวหน้าพรรค เพราะจะได้รู้หลักในการบริหาร ปกครองงานภายในพรรค แต่เพราะความคิด และความกลัวเรื่อง มาตรา 237 ที่อาจทำให้ยุบพรรค หรือเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้ง จึงทำให้เกิดหลักคิดที่ไม่ถูกต้องไม่เป็นธรรมเกิดขึ้นมา เกิดการหลีกเลี่ยงจุดตรงนี้ ด้วยการนำบุคคลอื่นมาเป็นกรรมการบริหารพรรคแทน เพื่อที่จะไม่ได้มาโดนมาตรา 237 ทำให้หลักการปกครองประชาธิปไตยการขึ้นสู่ตำแหน่งนี้โดยพรรคการเมืองเสียไป เท่ากับไม่มีประโยชน์เลย ฉะนั้นต้องแก้ไขต้องปรับปรุงเสีย
** ไม่ต้องมี ส.ส.ร.ให้เปลืองงบฯ
นายสมชัย กล่าวอีกว่า กระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ก็ควรดำเนินการไปตามตามรัฐธรรมนูญที่เขียนวิธีแก้ไขไว้แล้ว โดยแก้ไขไปตามวิถีทางหลักประชาธิปไตย ตามรัฐธรรมนูญที่เขียนไว้ ไม่ต้องตั้ง ส.ส.ร. เพราะสิ้นเปลืองงบประมาณโดยไม่จำเป็น และไม่มีส.ส.ร. สภาก็สามารถตั้งกรรมการขึ้นมายกร่างได้ แต่ที่หลายฝ่ายอยากให้มีการตั้ง ส.ส.ร.ขึ้นมานั้น ก็หวังไว้เพื่อลดแรงเสียดทานความขัดแย้ง และการถูกโจมตีจากฝ่ายต่างๆเท่านั้น
"ในรัฐธรรมนูญ ก็ไม่ควรเขียนอะไรให้มากมาย ถ้านับทุกมาตราแล้ว ก็ไม่รู้ว่าจะมีรัฐธรรมนูญของกี่ประเทศ ที่รวมอยู่ในรัฐธรรมนูญไทย ไม่ว่าเราจะมีรัฐธรรมนูญมากมายแค่ไหนนั้นไม่สำคัญ แต่มันอยู่ที่คน เพราะกฎหมายยิ่งเขียนมาก ยิ่งจะจำกัด และก็ยิ่งแย่ ประเทศไทยหลายปีที่ผ่านมา หย่อนยานในเรื่องระเบียบวินัย เห็นได้ชัดเจนว่าคนไทยไม่ค่อยมีระเบียบวินัย ขาดจริยธรรม แม้แต่คนที่พูดให้ปฏิบัติตามจริยธรรมยังไม่ยอมปฏิบัติ แล้วใครจะมาปฏิบัติตาม สรุปแล้วจริยธรรมก็ไม่ดี เพราะไม่มีใครปฏิบัตินั่นเอง" กกต.สืบสวนสอบสวน กล่าว
** จี้รัฐบาลแสดงจุดยืน 5 ข้อ
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ในฐานะประธานวิปพรรคร่วมฝ่ายค้าน กล่าวภายหลังการประชุมวิปฝ่ายค้าน ถึงกรณีที่รัฐบาลเตรียมเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า ขอเรียกร้องให้รัฐบาลได้แสดงจุดยืนที่ชัดเจนในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 5 ประเด็น คือ
1. รัฐบาลต้องกล้าที่จะประกาศตัวเป็นเจ้าภาพ หากประสงค์ที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญจริง ไม่ใช่โยนให้เป็นหน้าที่ของสภาฯ ตามที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ หากเป็นเช่นนั้น จะสะท้อนให้เห็นถึงการตั้งใจแสดงบทบาทการแก้ไขรัฐธรรมนูญแบบลอยตัว
2. การแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้นจะต้องผ่านกระบวนการประชามติ เนื่องจากรัฐธรรมนูญปี 2550 ก่อนประกาศบังคับใช้ ได้ผ่านกระบวนการประชามติมาแล้ว หากจะมีการยกเลิก ต้องผ่านกระบวนการประชามติด้วยเช่นกัน
3. รัฐบาลต้องกล้าแถลงให้ชัดเจนว่า รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ทำให้ประเทศและส่วนรวมมีปัญหาอย่างไร เพื่อให้ประชาชนได้วินิจฉัยได้ว่า มีเหตุผลเพียงพอหรือไม่ที่จะนำไปสู่การล้มล้าง หรือแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ
4. รัฐบาลต้องแสดงจุดยืนที่ชัดเจน ในประเด็นสำคัญ ว่ามีความเห็นต่อประเด็นนั้นในทางใด อาทิ มาตรา 237 เนื่องจากมาตรานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ปัญหาการซื้อเสียง ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่นำไปสู่การถอนทุน และทุจริต คอร์รัปชัน และ มาตรา 309 ที่มีข้อครหาอยู่ว่า มีเป้าหมายที่จะยกเลิก หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพื่อประโยชน์ส่วนตัว หรือเพื่อคนๆเดียว 5.หากรัฐบาลบริสุทธิ์ใจอย่างที่นายกรัฐมนตรีให้สัมภาษณ์ว่า การแก้จะแก้เพื่อส่วนรวม และจะไม่ทำเพื่อประโยชน์ส่วนตัว ถ้าหากว่ารัฐบาลมีจุดยืนเช่นนั้น ต้องกล้าที่ประกาศว่า หากมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่นำไปสู่การเอื้อประโยชน์ส่วนตัว รัฐบาลในฐานะผู้คุมเสียงข้างมากในสภา จะลงมติไม่รับรัฐธรรมนูญที่แก้ไข เพื่อประโยชน์ส่วนตัวดังกล่าว เพื่อคลายความกังวลใจของประชาชน
**อัด"นิติราษฎร์"หยุดดันแก้ม.112
นายอรรถพร พลบุตร ส.ส.เพชรบุรี รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าว ถึงการเคลื่อนไหวของกลุ่มกลุ่มนิติราษฎร์ ให้แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฏหมายอาญา มาตรา112 ในวันที่ 15 ม.ค.นี้ว่า กรณีนี้จะสร้างความขัดแย้งในบ้านเมืองให้มากยิ่งขึ้นเพราะ เป็นประเด็นละเอียดอ่อน และจะนำไปสู่ชนวนความขัดแย้งจนบ้านเมืองลุกเป็นไฟ แม้แต่พรรคเพื่อไทยยังเลี่ยงที่จะแตะต้องมาตราดังกล่าว แต่กลุ่มนิติราษฎร์ยังไม่ยอมหยุด จึงขอให้กลุ่มนิติราษฎร์โอนสัญชาติไปเคลื่อนไหวในประเทศที่ให้เสรีภาพในการวิพากษ์วิจารณ์พระมหากษัตริย์ ไม่ควรถือสัญชาติไทย ซึ่งถือว่าสถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นแกนหลักของบ้านเมืองที่ผู้ใดจะล่วงละเมิดมิได้
ส่วนที่นายปิยบุตร แสงกนกกุล แกนนำกลุ่มนิติราษฏร์ กล่าวว่า สถานการณ์การใช้มาตรา 112 ไม่ได้ลดความผิดปกติลง และยังคงมีเหยื่อของมาตรานี้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องนั้น นายอรรถพร กล่าวว่า บุคคลที่ตกเป็นผู้ต้องหา หรือจำเลยในคดีนี้ทุกคนล้วนแต่มีพฤติการณ์ที่เข้าข่ายความผิด มีพยานหลักฐานชัดเจน ซึ่งมีสิทธิที่ต่อสู้เพื่อพิสูจน์ความถูกผิดของตนเอง ไม่เคยปรากฏว่า คนบริสุทธิ์ก็ถูกยัดเยียดความผิด หรือตกเป็นเหยื่อของมาตรา 112 คำพูดดังกล่าวจึงการบิดเบือน เพื่อตอบสนองเป้าหมายที่ก้าวไปไกลกว่าการแก้ไข มาตรา 112 จึงขอให้กลุ่มนิติราษฎร์ หยุดการเคลื่อนไหวโดยเด็ดขาด และอย่าทำตัวเป็นนักวิชาการรับจ๊อบเลียนแบบรัฐมนตรีบางคน และถ้ายังเคลื่อนไหวในประเด็นนี้ต่อไป ก็จะเผชิญหน้ากับพลังของความจงรักภักดีที่กำลังหมดความอดทนต่อการกระทำของคนกลุ่มนี้
** ม.237 มีไว้ก็ไร้ประโยชน์
ทั้งนี้ ในส่วนของ มาตรา 237 ควรที่จะได้รับการปรับปรุงแก้ไขอย่างยิ่ง เนื่องจากเงื่อนไขในแง่ที่ว่า หากหัวหน้าพรรคการเมือง หรือกรรมการบริหารพรรค ทำผิดกฏหมายการเลือกตั้ง และให้มีผลพวงถึงการยุบพรรคไปด้วยนั้น มองว่าไม่ควรนำพรรคการเมืองมาเกี่ยวข้อง หรือไม่ควรถูกยุบพรรคนั่นเอง แต่ควรเป็นเรื่องเฉพาะบุคคล เมื่อหัวหน้าพรรคหรือกรรมการบริหารพรรคกระทำผิด ก็ควร ถูกดำเนินคดีไปตามกฎหมาย ถูกเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้ง ไม่ใช่แค่ 5 ปี ควรมากกว่า 5 ปีไปเลย หรือตลอดไป เพราะเมื่อทำผิดกฏหมาย ก็ไม่ควรเปิดโอกาสเข้ามาสู่วงการการเมือง หรือไม่ควรกลับมารับผิดชอบงานที่ทำเพื่อประเทศชาติอีก
"ไม่อยากเห็นพรรคการเมืองที่จัดตั้งขึ้นแล้วก็ถูกยุบ พอถูกยุบก็ตั้งพรรคใหม่ ภายใต้ชื่อใหม่ จะวนเวียนอยู่อย่างนี้ ฉะนั้นเมื่อถูกยุบพรรคแล้ว ต้องยุบไปเลย" กกต.ด้านสืบสวนสอบสวน กล่าว
นายสมชัย ยังกล่าวอีกว่า มาตรา 237 ท้ายที่สุดไม่มีประโยชน์อะไรเลย เพราะบุคคลที่จะมาเป็นนายกรัฐมนตรี ก็ไม่ได้เป็นหัวหน้าพรรค หรือกรรมการบริหารพรรค ซึ่งตามข้อเท็จจริงบุคคลที่จะมาเป็นนายกรัฐมนตรี ควรเป็นหัวหน้าพรรค เพราะจะได้รู้หลักในการบริหาร ปกครองงานภายในพรรค แต่เพราะความคิด และความกลัวเรื่อง มาตรา 237 ที่อาจทำให้ยุบพรรค หรือเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้ง จึงทำให้เกิดหลักคิดที่ไม่ถูกต้องไม่เป็นธรรมเกิดขึ้นมา เกิดการหลีกเลี่ยงจุดตรงนี้ ด้วยการนำบุคคลอื่นมาเป็นกรรมการบริหารพรรคแทน เพื่อที่จะไม่ได้มาโดนมาตรา 237 ทำให้หลักการปกครองประชาธิปไตยการขึ้นสู่ตำแหน่งนี้โดยพรรคการเมืองเสียไป เท่ากับไม่มีประโยชน์เลย ฉะนั้นต้องแก้ไขต้องปรับปรุงเสีย
** ไม่ต้องมี ส.ส.ร.ให้เปลืองงบฯ
นายสมชัย กล่าวอีกว่า กระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ก็ควรดำเนินการไปตามตามรัฐธรรมนูญที่เขียนวิธีแก้ไขไว้แล้ว โดยแก้ไขไปตามวิถีทางหลักประชาธิปไตย ตามรัฐธรรมนูญที่เขียนไว้ ไม่ต้องตั้ง ส.ส.ร. เพราะสิ้นเปลืองงบประมาณโดยไม่จำเป็น และไม่มีส.ส.ร. สภาก็สามารถตั้งกรรมการขึ้นมายกร่างได้ แต่ที่หลายฝ่ายอยากให้มีการตั้ง ส.ส.ร.ขึ้นมานั้น ก็หวังไว้เพื่อลดแรงเสียดทานความขัดแย้ง และการถูกโจมตีจากฝ่ายต่างๆเท่านั้น
"ในรัฐธรรมนูญ ก็ไม่ควรเขียนอะไรให้มากมาย ถ้านับทุกมาตราแล้ว ก็ไม่รู้ว่าจะมีรัฐธรรมนูญของกี่ประเทศ ที่รวมอยู่ในรัฐธรรมนูญไทย ไม่ว่าเราจะมีรัฐธรรมนูญมากมายแค่ไหนนั้นไม่สำคัญ แต่มันอยู่ที่คน เพราะกฎหมายยิ่งเขียนมาก ยิ่งจะจำกัด และก็ยิ่งแย่ ประเทศไทยหลายปีที่ผ่านมา หย่อนยานในเรื่องระเบียบวินัย เห็นได้ชัดเจนว่าคนไทยไม่ค่อยมีระเบียบวินัย ขาดจริยธรรม แม้แต่คนที่พูดให้ปฏิบัติตามจริยธรรมยังไม่ยอมปฏิบัติ แล้วใครจะมาปฏิบัติตาม สรุปแล้วจริยธรรมก็ไม่ดี เพราะไม่มีใครปฏิบัตินั่นเอง" กกต.สืบสวนสอบสวน กล่าว
** จี้รัฐบาลแสดงจุดยืน 5 ข้อ
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ในฐานะประธานวิปพรรคร่วมฝ่ายค้าน กล่าวภายหลังการประชุมวิปฝ่ายค้าน ถึงกรณีที่รัฐบาลเตรียมเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า ขอเรียกร้องให้รัฐบาลได้แสดงจุดยืนที่ชัดเจนในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 5 ประเด็น คือ
1. รัฐบาลต้องกล้าที่จะประกาศตัวเป็นเจ้าภาพ หากประสงค์ที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญจริง ไม่ใช่โยนให้เป็นหน้าที่ของสภาฯ ตามที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ หากเป็นเช่นนั้น จะสะท้อนให้เห็นถึงการตั้งใจแสดงบทบาทการแก้ไขรัฐธรรมนูญแบบลอยตัว
2. การแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้นจะต้องผ่านกระบวนการประชามติ เนื่องจากรัฐธรรมนูญปี 2550 ก่อนประกาศบังคับใช้ ได้ผ่านกระบวนการประชามติมาแล้ว หากจะมีการยกเลิก ต้องผ่านกระบวนการประชามติด้วยเช่นกัน
3. รัฐบาลต้องกล้าแถลงให้ชัดเจนว่า รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ทำให้ประเทศและส่วนรวมมีปัญหาอย่างไร เพื่อให้ประชาชนได้วินิจฉัยได้ว่า มีเหตุผลเพียงพอหรือไม่ที่จะนำไปสู่การล้มล้าง หรือแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ
4. รัฐบาลต้องแสดงจุดยืนที่ชัดเจน ในประเด็นสำคัญ ว่ามีความเห็นต่อประเด็นนั้นในทางใด อาทิ มาตรา 237 เนื่องจากมาตรานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ปัญหาการซื้อเสียง ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่นำไปสู่การถอนทุน และทุจริต คอร์รัปชัน และ มาตรา 309 ที่มีข้อครหาอยู่ว่า มีเป้าหมายที่จะยกเลิก หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพื่อประโยชน์ส่วนตัว หรือเพื่อคนๆเดียว 5.หากรัฐบาลบริสุทธิ์ใจอย่างที่นายกรัฐมนตรีให้สัมภาษณ์ว่า การแก้จะแก้เพื่อส่วนรวม และจะไม่ทำเพื่อประโยชน์ส่วนตัว ถ้าหากว่ารัฐบาลมีจุดยืนเช่นนั้น ต้องกล้าที่ประกาศว่า หากมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่นำไปสู่การเอื้อประโยชน์ส่วนตัว รัฐบาลในฐานะผู้คุมเสียงข้างมากในสภา จะลงมติไม่รับรัฐธรรมนูญที่แก้ไข เพื่อประโยชน์ส่วนตัวดังกล่าว เพื่อคลายความกังวลใจของประชาชน
**อัด"นิติราษฎร์"หยุดดันแก้ม.112
นายอรรถพร พลบุตร ส.ส.เพชรบุรี รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าว ถึงการเคลื่อนไหวของกลุ่มกลุ่มนิติราษฎร์ ให้แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฏหมายอาญา มาตรา112 ในวันที่ 15 ม.ค.นี้ว่า กรณีนี้จะสร้างความขัดแย้งในบ้านเมืองให้มากยิ่งขึ้นเพราะ เป็นประเด็นละเอียดอ่อน และจะนำไปสู่ชนวนความขัดแย้งจนบ้านเมืองลุกเป็นไฟ แม้แต่พรรคเพื่อไทยยังเลี่ยงที่จะแตะต้องมาตราดังกล่าว แต่กลุ่มนิติราษฎร์ยังไม่ยอมหยุด จึงขอให้กลุ่มนิติราษฎร์โอนสัญชาติไปเคลื่อนไหวในประเทศที่ให้เสรีภาพในการวิพากษ์วิจารณ์พระมหากษัตริย์ ไม่ควรถือสัญชาติไทย ซึ่งถือว่าสถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นแกนหลักของบ้านเมืองที่ผู้ใดจะล่วงละเมิดมิได้
ส่วนที่นายปิยบุตร แสงกนกกุล แกนนำกลุ่มนิติราษฏร์ กล่าวว่า สถานการณ์การใช้มาตรา 112 ไม่ได้ลดความผิดปกติลง และยังคงมีเหยื่อของมาตรานี้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องนั้น นายอรรถพร กล่าวว่า บุคคลที่ตกเป็นผู้ต้องหา หรือจำเลยในคดีนี้ทุกคนล้วนแต่มีพฤติการณ์ที่เข้าข่ายความผิด มีพยานหลักฐานชัดเจน ซึ่งมีสิทธิที่ต่อสู้เพื่อพิสูจน์ความถูกผิดของตนเอง ไม่เคยปรากฏว่า คนบริสุทธิ์ก็ถูกยัดเยียดความผิด หรือตกเป็นเหยื่อของมาตรา 112 คำพูดดังกล่าวจึงการบิดเบือน เพื่อตอบสนองเป้าหมายที่ก้าวไปไกลกว่าการแก้ไข มาตรา 112 จึงขอให้กลุ่มนิติราษฎร์ หยุดการเคลื่อนไหวโดยเด็ดขาด และอย่าทำตัวเป็นนักวิชาการรับจ๊อบเลียนแบบรัฐมนตรีบางคน และถ้ายังเคลื่อนไหวในประเด็นนี้ต่อไป ก็จะเผชิญหน้ากับพลังของความจงรักภักดีที่กำลังหมดความอดทนต่อการกระทำของคนกลุ่มนี้