เป็นที่ประจักษ์ว่ากลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยนั้นได้ชุมนุมตลอดช่วงเวลา 193 วันในปี 2551 นั้นเพื่อคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งในเวลานั้นรัฐบาลมีแนวโน้มที่จะใช้อำนาจของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเสียงข้างมากแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อทำให้รัฐบาลตัวเองนั้นพ้นจากบทลงโทษยุบพรรคและเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรคในกรณีที่มีกรรมการบริหารพรรคได้ทุจริตเลือกตั้ง และพยายามแก้ไขฟอกความผิดให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร โดยสรุปว่าในเวลานั้นพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้แสดงออกและคัดค้านในการแก้ไขรัฐธรรมนูญใน 3 ประเด็นคือ
1. คัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่กระทบต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ทั้งในรูปของโครงสร้างหรือพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์
2. คัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อฟอกความผิดให้กับนักการเมือง และ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และพวกพ้อง
3. คัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ อันเป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ ซึ่งกระทำโดยนักการเมือง และเพื่อประโยชน์ของนักการเมืองด้วยกันเอง
การคัดค้านใน 3 ประการข้างต้นนั้นถูกบันทึกเอาไว้อย่างชัดเจนในแถลงการณ์พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยฉบับที่ 29/2551 ลงวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2551 โดยในเวลานั้นได้เรียกร้องต่อรัฐบาลชุดใหม่หลังมีการยุบพรรคพลังประชาชนไปแล้วกรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญถึง 2 ข้อสำคัญดังนี้
“ข้อ 2 ขอให้แสดงจุดยืน ที่จะไม่แก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 หรือกฎหมายอื่นใด ที่จะฟอกความผิดให้กับนักการเมือง ไม่แก้ไขกฎหมายเพื่อการกระทำที่ขัดกันแห่งผลประโยชน์ของนักการเมือง และไม่แก้ไขกฎหมายเพื่อลดพระราชอำนาจหรือโครงสร้างของสถาบันพระมหากษัตริย์ ในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข”
นั่นคือประเด็นที่ไม่ควรแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่พันธมิตรฯ กลับเห็นว่าประเทศนี้จำเป็นต้องมีการปฏิรูปครั้งใหญ่ในโครงสร้างการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมรอบด้าน (ซึ่งอาจจำเป็นต้องมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ) ดังปรากฏในแถลงการณ์ฉบับเดียวกัน ในข้อ 13 ว่า:
“ข้อ 13 ขอให้แสดงจุดยืนที่จะส่งเสริม สนับสนุน ประชาชน ในการสร้างการเมืองใหม่ ที่ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมือง เพื่อให้เป็นประชาธิปไตยทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมอย่างแท้จริง ตามแนวทางของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เพื่อป้องกันมิให้เกิดวิกฤตทางการเมืองในอนาคตอีกต่อไป”
จนคนอาจลืมไปแล้วว่าพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยมีแนวทางในการปฏิรูปของตัวเองที่อาจถึงขั้นรื้อโครงสร้างการได้มาของนักการเมือง ซึ่งที่ผ่านมานักการเมืองเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นปัญหาของแผ่นดิน ดังตัวอย่างที่เป็นรูปธรรม เช่น การได้มาซึ่ง ส.ส.ที่มาจากสาขาอาชีพ กลุ่มสังคม แทนที่จะมาจากนักการเมืองในระบบเขตเลือกตั้งและระบบบัญชีรายชื่อสังกัดพรรคการเมืองแต่เพียงอย่างเดียว ตลอดจนไม่จำเป็นต้องให้การลงสมัคร ส.ส.ต้องสังกัดพรรคการเมือง และให้บทลงโทษการทุจริตให้เพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งตลอดชีวิต และให้คดีทุจริตคอร์รัปชันไม่มีอายุความ และการทุจริตมีบทลงโทษสูงสุดคือประหารชีวิต ฯลฯ
แสดงให้เห็นว่าความคิดในการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายของ “นักการเมืองในระบบปัจจุบัน” และ “พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย” ต่างกันอย่างสิ้นเชิง
“นักการเมือง” คิดจะแก้ไขเปลี่ยนแปลงแต่จะให้ตัวเองและพวกพ้องไม่ต้องถูกตรวจสอบได้ง่าย หากถูกลงโทษก็ต้องมีอภิสิทธิ์ได้พ้นผิดเหนือประชาชนทั่วไป มีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาด และจำกัดวงอำนาจเอาไว้ในกลุ่มวิชาชีพและพวกพ้องเดียวกัน ไม่เกิดประโยชน์ใดๆ กับประชาชน
“พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย” คิดจะแก้ไขเปลี่ยนแปลงเหมือนกัน แต่ตรงกันข้าม เพราะต้องการให้การตรวจสอบนักการเมืองเข้มข้น ภาคประชาชนเข้าถึงกระบวนการตรวจสอบได้ง่ายและรวดเร็ว กระจายวงอำนาจทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมให้มีความหลากหลายเพื่อให้เกิดกระบวนการถ่วงดุลอำนาจและรักษาผลประโยชน์ของประชาชนกลุ่มต่างๆ ในระบบทางการเมืองได้ในหลากหลายมิติมากกว่า “นักเลือกตั้งระบบเขต” และ “ผู้ทรงอิทธิพลในพรรคในระบบบัญชีรายชื่อ” ซึ่งเต็มไปด้วยการทุจริตคอร์รัปชันอย่างหนักในทุกยุคทุกสมัย
น่าเสียดายอย่างมากที่รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ได้ตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาแนวทางการปฏิรูปประเทศไทยนั้น กลับกลายเป็นการบ้านที่ส่งกระดาษให้รัฐบาลโดยที่ไม่มีการสานต่อใดๆ เพราะขาดความจริงใจในการปฏิรูปประเทศ
ในทางตรงกันข้ามนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในเวลาที่เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ลั่นวาจาในการแก้ไขรัฐธรรมนูญแม้ในเรื่องระบบเขตเลือกตั้งแบบเขตเดียวคนเดียวว่า จะต้องมีการทำประชามติ สุดท้ายกลับโกหกและตระบัดสัตย์ต่อประชาชนโดยการยกมือในสภาเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญในเขตเลือกตั้งและจำนวน ส.ส.ในระบบบัญชีรายชื่อเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับพรรคร่วมรัฐบาลอย่างน่าละอายยิ่ง
จึงต้องตั้งคำถามว่า รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้ทำการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยไม่ปฏิรูปประเทศ สนใจแต่ประเด็นที่จะเป็นประโยชน์กับนักการเมืองในพรรคพวกตัวเองด้วยมือในสภาผู้แทนราษฎรและตระบัดสัตย์ในการทำประชามติในสมัยตัวเอง มาวันนี้กลับมาเรียกร้องไม่ให้รัฐบาลพรรคเพื่อไทยแก้ไขรัฐธรรมนูญและเรียกร้องให้มีการทำประชามติอีก มันน่าละอายต่อประชาชนบ้างหรือไม่?
นอกจากแถลงการณ์พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ฉบับที่ 29/2551 วันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2551 แล้วพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยยังได้ออกแถลงการณ์การคัดค้านและการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อีก 4 ฉบับ คือ
แถลงการณ์ฉบับที่ 2/2553 เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2553 เรื่องคำเตือนก่อนแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งเราได้ประณามและประกาศคัดค้านความพยายามของนักการเมืองที่จะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อประโยชน์ของตัวเอง เพราะประเทศชาติยังคงเต็มไปด้วยปัญหาการทุจริตเลือกตั้ง ปัญหาวิกฤตการทุจริตคอร์รัปชัน ฯลฯ แต่นักการเมืองในฝ่ายรัฐบาลกลับไม่มีความสนใจ สนใจที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อผลประโยชน์ของพรรคพวกตัวเอง และไม่เคยคิดที่จะปฏิรูปการเมืองหรือแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนเป็นที่ตั้ง และไม่เคยให้ประชาชนมีส่วนร่วมหรือขอความเห็นชอบจากประชาชน เราจึงได้ประณามการกระทำดังกล่าว และขอประกาศยืนยันที่จะคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญในครั้งนี้อย่างถึงที่สุด
แถลงการณ์ฉบับที่ 6/2553 ลงวันที่ 29 มีนาคม 2553 ขอให้รัฐบาลชุดปัจจุบันหยุดแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อประโยชน์ของนักการเมืองและให้ดำเนินการปฏิรูปการเมืองเพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติประชาชน
แถลงการณ์ฉบับที่ 12/2553 เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ว่าขอให้มีการดำเนินการทำประชามติก่อนที่จะมีการแก้ไข เพราะรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมาจากการลงประชามติ ด้วยคะแนนเสียงส่วนใหญ่ของประชาชนทั้งประเทศมากกว่า 14 ล้าน 7 แสนคน
แถลงการณ์ฉบับที่ 13/2553 เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้คัดค้านและประณามความพยายามการแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ที่ตระบัดสัตย์คำมั่นสัญญาว่าจะให้มีการทำประชามติ และจะแก้ไขรัฐธรรมนูญในระบบเขตเลือกตั้งโดยใช้การยกมือในสภาแทน และเรียกร้องให้จัดการลงประชามติเพื่อขอความเห็นชอบจากประชาชนในการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อยุติความขัดแย้งทั้งปวง
ดังนั้น จึงย้ำจุดยืนว่าพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญในสถานการณ์ปัจจุบันคือ
1. ไม่เห็นด้วยกับ “ประเด็น” ในเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะฟอกความผิดให้กับ
นักการเมือง ไม่แก้ไขกฎหมายเพื่อการกระทำที่ขัดกันแห่งผลประโยชน์ของนักการเมือง และไม่แก้ไขกฎหมายเพื่อลดพระราชอำนาจหรือโครงสร้างของสถาบันพระมหากษัตริย์ ในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
โดยในเงื่อนไขนี้ ตรงกับเงื่อนไขที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้ประกาศว่าจะเป็นเงื่อนไขในการชุมนุม คือ 1. หากมีการนิรโทษกรรมให้กับทักษิณและพวก และ 2. มีการจาบจ้วงหรือทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์ ดังนั้นหากมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญใน 2 ประเด็นนี้ก็ต้องมีการชุมนุมเคลื่อนไหวอย่างแน่นอน
2. เห็นด้วยให้มีการทำประชามติจากประชาชนให้ชัดเสียก่อนในเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
3. หากมีการจัดตั้ง ส.ส.ร.ก็ไม่ควรมีที่มาจากระบบการเลือกตั้งในระบบเขตเลือกตั้งและนักวิชาการและผู้ทรงคุณวุฒิที่ฝ่ายรัฐบาลเลือกขึ้นมาเอง เพราะทำให้เกิดนิติกรรมอำพรางเพื่อให้ได้มาซึ่งนักเลือกตั้งของแต่ละจังหวัดซึ่งมีสายสัมพันธ์และโครงข่ายของนักการเมืองในระบบรัฐสภา ซึ่งจะทำให้การออกกฎหมายเอื้อประโยชน์ให้กับคนกลุ่มเดียวกันในท้ายที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลาที่พรรคเพื่อไทยมีเสียงส่วนใหญ่ในระบบเลือกตั้งแบบเขต ย่อมเท่ากับเป็นการล็อกสเปกผู้ออกแบบการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้ออกแบบความต้องการเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับพรรคเพื่อไทยเท่านั้น ซึ่งรังแต่จะสร้างความแตกแยก ขัดแย้ง และร้าวฉานในหมู่ประชาชนนอกสภาอย่างไม่รู้จบสิ้น
4. แม้หากมี ส.ส.ร. เกิดขึ้นแล้ว เมื่อมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญออกมาเป็นอย่างไร ก็ต้องดำเนินการถามประชาชนโดยการทำประชามติอีกครั้ง
ความจริงแล้วจะว่ารัฐธรรมนูญเป็นปัญหาก็ไม่ถูกนัก เพราะปัญหาการโกงบ้านกินเมือง ฉ้อราษฎร์บังหลวง การลุแก่อำนาจ แทรกแซงองค์กรอิสระ ทำลายหลักนิติรัฐนั้นเกิดมาจากนักการเมืองทั้งสิ้น
ปัญหาว่ารูปแบบการแก้ไขรัฐธรรมนูญแบบไหน และทำขั้นตอนอย่างไร ยังไม่สำคัญเท่ากับว่า รูปแบบและขั้นตอนเหล่านั้นจะนำไปสู่การทำให้นักการเมืองเลวๆ มีอำนาจพอใจกับรัฐธรรมนูญที่เอื้อประโยชน์กับนักการเมืองเพื่อไปโกงเลือกตั้ง และคอร์รัปชันได้มากขึ้น หรือรอดพ้นจากการกระทำผิดกฎหมายได้มากขึ้น หรือไม่?
ถ้าใช่ ประเทศชาติก็คงจะไม่มีวันสงบสุข และจะมีความวุ่นวายไปทั่วทุกหย่อมหญ้า
ในอีกด้านหนึ่ง ไม่ว่าด้วยรูปแบบใด ในการแก้หรือเปลี่ยนรัฐธรรมนูญแล้วนำไปสู่การทำให้นักการเมืองที่โกงบ้านกินเมืองถูกกำจัดให้เร็วที่สุดและกำจัดให้มากที่สุด และอย่าให้กลับมามีอำนาจอีก และทำให้เกิดความเป็นธรรมกระจายอำนาจและความเป็นธรรมในระบบการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ควบคู่ไปกับระบบตรวจสอบที่เข้มแข็ง
ถ้าทำได้อย่างนั้นประชาชนก็คงจะแซ่ซ้องสรรเสริญ อยู่ได้อย่างร่มเย็นเป็นสุขเป็นแน่
1. คัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่กระทบต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ทั้งในรูปของโครงสร้างหรือพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์
2. คัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อฟอกความผิดให้กับนักการเมือง และ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และพวกพ้อง
3. คัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ อันเป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ ซึ่งกระทำโดยนักการเมือง และเพื่อประโยชน์ของนักการเมืองด้วยกันเอง
การคัดค้านใน 3 ประการข้างต้นนั้นถูกบันทึกเอาไว้อย่างชัดเจนในแถลงการณ์พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยฉบับที่ 29/2551 ลงวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2551 โดยในเวลานั้นได้เรียกร้องต่อรัฐบาลชุดใหม่หลังมีการยุบพรรคพลังประชาชนไปแล้วกรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญถึง 2 ข้อสำคัญดังนี้
“ข้อ 2 ขอให้แสดงจุดยืน ที่จะไม่แก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 หรือกฎหมายอื่นใด ที่จะฟอกความผิดให้กับนักการเมือง ไม่แก้ไขกฎหมายเพื่อการกระทำที่ขัดกันแห่งผลประโยชน์ของนักการเมือง และไม่แก้ไขกฎหมายเพื่อลดพระราชอำนาจหรือโครงสร้างของสถาบันพระมหากษัตริย์ ในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข”
นั่นคือประเด็นที่ไม่ควรแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่พันธมิตรฯ กลับเห็นว่าประเทศนี้จำเป็นต้องมีการปฏิรูปครั้งใหญ่ในโครงสร้างการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมรอบด้าน (ซึ่งอาจจำเป็นต้องมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ) ดังปรากฏในแถลงการณ์ฉบับเดียวกัน ในข้อ 13 ว่า:
“ข้อ 13 ขอให้แสดงจุดยืนที่จะส่งเสริม สนับสนุน ประชาชน ในการสร้างการเมืองใหม่ ที่ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมือง เพื่อให้เป็นประชาธิปไตยทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมอย่างแท้จริง ตามแนวทางของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เพื่อป้องกันมิให้เกิดวิกฤตทางการเมืองในอนาคตอีกต่อไป”
จนคนอาจลืมไปแล้วว่าพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยมีแนวทางในการปฏิรูปของตัวเองที่อาจถึงขั้นรื้อโครงสร้างการได้มาของนักการเมือง ซึ่งที่ผ่านมานักการเมืองเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นปัญหาของแผ่นดิน ดังตัวอย่างที่เป็นรูปธรรม เช่น การได้มาซึ่ง ส.ส.ที่มาจากสาขาอาชีพ กลุ่มสังคม แทนที่จะมาจากนักการเมืองในระบบเขตเลือกตั้งและระบบบัญชีรายชื่อสังกัดพรรคการเมืองแต่เพียงอย่างเดียว ตลอดจนไม่จำเป็นต้องให้การลงสมัคร ส.ส.ต้องสังกัดพรรคการเมือง และให้บทลงโทษการทุจริตให้เพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งตลอดชีวิต และให้คดีทุจริตคอร์รัปชันไม่มีอายุความ และการทุจริตมีบทลงโทษสูงสุดคือประหารชีวิต ฯลฯ
แสดงให้เห็นว่าความคิดในการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายของ “นักการเมืองในระบบปัจจุบัน” และ “พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย” ต่างกันอย่างสิ้นเชิง
“นักการเมือง” คิดจะแก้ไขเปลี่ยนแปลงแต่จะให้ตัวเองและพวกพ้องไม่ต้องถูกตรวจสอบได้ง่าย หากถูกลงโทษก็ต้องมีอภิสิทธิ์ได้พ้นผิดเหนือประชาชนทั่วไป มีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาด และจำกัดวงอำนาจเอาไว้ในกลุ่มวิชาชีพและพวกพ้องเดียวกัน ไม่เกิดประโยชน์ใดๆ กับประชาชน
“พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย” คิดจะแก้ไขเปลี่ยนแปลงเหมือนกัน แต่ตรงกันข้าม เพราะต้องการให้การตรวจสอบนักการเมืองเข้มข้น ภาคประชาชนเข้าถึงกระบวนการตรวจสอบได้ง่ายและรวดเร็ว กระจายวงอำนาจทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมให้มีความหลากหลายเพื่อให้เกิดกระบวนการถ่วงดุลอำนาจและรักษาผลประโยชน์ของประชาชนกลุ่มต่างๆ ในระบบทางการเมืองได้ในหลากหลายมิติมากกว่า “นักเลือกตั้งระบบเขต” และ “ผู้ทรงอิทธิพลในพรรคในระบบบัญชีรายชื่อ” ซึ่งเต็มไปด้วยการทุจริตคอร์รัปชันอย่างหนักในทุกยุคทุกสมัย
น่าเสียดายอย่างมากที่รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ได้ตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาแนวทางการปฏิรูปประเทศไทยนั้น กลับกลายเป็นการบ้านที่ส่งกระดาษให้รัฐบาลโดยที่ไม่มีการสานต่อใดๆ เพราะขาดความจริงใจในการปฏิรูปประเทศ
ในทางตรงกันข้ามนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในเวลาที่เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ลั่นวาจาในการแก้ไขรัฐธรรมนูญแม้ในเรื่องระบบเขตเลือกตั้งแบบเขตเดียวคนเดียวว่า จะต้องมีการทำประชามติ สุดท้ายกลับโกหกและตระบัดสัตย์ต่อประชาชนโดยการยกมือในสภาเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญในเขตเลือกตั้งและจำนวน ส.ส.ในระบบบัญชีรายชื่อเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับพรรคร่วมรัฐบาลอย่างน่าละอายยิ่ง
จึงต้องตั้งคำถามว่า รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้ทำการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยไม่ปฏิรูปประเทศ สนใจแต่ประเด็นที่จะเป็นประโยชน์กับนักการเมืองในพรรคพวกตัวเองด้วยมือในสภาผู้แทนราษฎรและตระบัดสัตย์ในการทำประชามติในสมัยตัวเอง มาวันนี้กลับมาเรียกร้องไม่ให้รัฐบาลพรรคเพื่อไทยแก้ไขรัฐธรรมนูญและเรียกร้องให้มีการทำประชามติอีก มันน่าละอายต่อประชาชนบ้างหรือไม่?
นอกจากแถลงการณ์พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ฉบับที่ 29/2551 วันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2551 แล้วพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยยังได้ออกแถลงการณ์การคัดค้านและการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อีก 4 ฉบับ คือ
แถลงการณ์ฉบับที่ 2/2553 เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2553 เรื่องคำเตือนก่อนแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งเราได้ประณามและประกาศคัดค้านความพยายามของนักการเมืองที่จะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อประโยชน์ของตัวเอง เพราะประเทศชาติยังคงเต็มไปด้วยปัญหาการทุจริตเลือกตั้ง ปัญหาวิกฤตการทุจริตคอร์รัปชัน ฯลฯ แต่นักการเมืองในฝ่ายรัฐบาลกลับไม่มีความสนใจ สนใจที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อผลประโยชน์ของพรรคพวกตัวเอง และไม่เคยคิดที่จะปฏิรูปการเมืองหรือแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนเป็นที่ตั้ง และไม่เคยให้ประชาชนมีส่วนร่วมหรือขอความเห็นชอบจากประชาชน เราจึงได้ประณามการกระทำดังกล่าว และขอประกาศยืนยันที่จะคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญในครั้งนี้อย่างถึงที่สุด
แถลงการณ์ฉบับที่ 6/2553 ลงวันที่ 29 มีนาคม 2553 ขอให้รัฐบาลชุดปัจจุบันหยุดแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อประโยชน์ของนักการเมืองและให้ดำเนินการปฏิรูปการเมืองเพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติประชาชน
แถลงการณ์ฉบับที่ 12/2553 เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ว่าขอให้มีการดำเนินการทำประชามติก่อนที่จะมีการแก้ไข เพราะรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมาจากการลงประชามติ ด้วยคะแนนเสียงส่วนใหญ่ของประชาชนทั้งประเทศมากกว่า 14 ล้าน 7 แสนคน
แถลงการณ์ฉบับที่ 13/2553 เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้คัดค้านและประณามความพยายามการแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ที่ตระบัดสัตย์คำมั่นสัญญาว่าจะให้มีการทำประชามติ และจะแก้ไขรัฐธรรมนูญในระบบเขตเลือกตั้งโดยใช้การยกมือในสภาแทน และเรียกร้องให้จัดการลงประชามติเพื่อขอความเห็นชอบจากประชาชนในการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อยุติความขัดแย้งทั้งปวง
ดังนั้น จึงย้ำจุดยืนว่าพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญในสถานการณ์ปัจจุบันคือ
1. ไม่เห็นด้วยกับ “ประเด็น” ในเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะฟอกความผิดให้กับ
นักการเมือง ไม่แก้ไขกฎหมายเพื่อการกระทำที่ขัดกันแห่งผลประโยชน์ของนักการเมือง และไม่แก้ไขกฎหมายเพื่อลดพระราชอำนาจหรือโครงสร้างของสถาบันพระมหากษัตริย์ ในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
โดยในเงื่อนไขนี้ ตรงกับเงื่อนไขที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้ประกาศว่าจะเป็นเงื่อนไขในการชุมนุม คือ 1. หากมีการนิรโทษกรรมให้กับทักษิณและพวก และ 2. มีการจาบจ้วงหรือทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์ ดังนั้นหากมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญใน 2 ประเด็นนี้ก็ต้องมีการชุมนุมเคลื่อนไหวอย่างแน่นอน
2. เห็นด้วยให้มีการทำประชามติจากประชาชนให้ชัดเสียก่อนในเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
3. หากมีการจัดตั้ง ส.ส.ร.ก็ไม่ควรมีที่มาจากระบบการเลือกตั้งในระบบเขตเลือกตั้งและนักวิชาการและผู้ทรงคุณวุฒิที่ฝ่ายรัฐบาลเลือกขึ้นมาเอง เพราะทำให้เกิดนิติกรรมอำพรางเพื่อให้ได้มาซึ่งนักเลือกตั้งของแต่ละจังหวัดซึ่งมีสายสัมพันธ์และโครงข่ายของนักการเมืองในระบบรัฐสภา ซึ่งจะทำให้การออกกฎหมายเอื้อประโยชน์ให้กับคนกลุ่มเดียวกันในท้ายที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลาที่พรรคเพื่อไทยมีเสียงส่วนใหญ่ในระบบเลือกตั้งแบบเขต ย่อมเท่ากับเป็นการล็อกสเปกผู้ออกแบบการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้ออกแบบความต้องการเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับพรรคเพื่อไทยเท่านั้น ซึ่งรังแต่จะสร้างความแตกแยก ขัดแย้ง และร้าวฉานในหมู่ประชาชนนอกสภาอย่างไม่รู้จบสิ้น
4. แม้หากมี ส.ส.ร. เกิดขึ้นแล้ว เมื่อมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญออกมาเป็นอย่างไร ก็ต้องดำเนินการถามประชาชนโดยการทำประชามติอีกครั้ง
ความจริงแล้วจะว่ารัฐธรรมนูญเป็นปัญหาก็ไม่ถูกนัก เพราะปัญหาการโกงบ้านกินเมือง ฉ้อราษฎร์บังหลวง การลุแก่อำนาจ แทรกแซงองค์กรอิสระ ทำลายหลักนิติรัฐนั้นเกิดมาจากนักการเมืองทั้งสิ้น
ปัญหาว่ารูปแบบการแก้ไขรัฐธรรมนูญแบบไหน และทำขั้นตอนอย่างไร ยังไม่สำคัญเท่ากับว่า รูปแบบและขั้นตอนเหล่านั้นจะนำไปสู่การทำให้นักการเมืองเลวๆ มีอำนาจพอใจกับรัฐธรรมนูญที่เอื้อประโยชน์กับนักการเมืองเพื่อไปโกงเลือกตั้ง และคอร์รัปชันได้มากขึ้น หรือรอดพ้นจากการกระทำผิดกฎหมายได้มากขึ้น หรือไม่?
ถ้าใช่ ประเทศชาติก็คงจะไม่มีวันสงบสุข และจะมีความวุ่นวายไปทั่วทุกหย่อมหญ้า
ในอีกด้านหนึ่ง ไม่ว่าด้วยรูปแบบใด ในการแก้หรือเปลี่ยนรัฐธรรมนูญแล้วนำไปสู่การทำให้นักการเมืองที่โกงบ้านกินเมืองถูกกำจัดให้เร็วที่สุดและกำจัดให้มากที่สุด และอย่าให้กลับมามีอำนาจอีก และทำให้เกิดความเป็นธรรมกระจายอำนาจและความเป็นธรรมในระบบการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ควบคู่ไปกับระบบตรวจสอบที่เข้มแข็ง
ถ้าทำได้อย่างนั้นประชาชนก็คงจะแซ่ซ้องสรรเสริญ อยู่ได้อย่างร่มเย็นเป็นสุขเป็นแน่