ASTVผู้จัดการรายวัน-ยึดรูปแบบประชานิยม “ร.ฟ.ท.” ตะล่อมกระแสต้านยึดตลาดนัดจตุจักรด้วยการเปิดฟรีค่าแผง 2 เดือน “ชัจจ์” เตรียมรายงาน ครม. “ยุทธนา” เผยสัปดาห์น้าเรียกผู้ค้า 27 โครงการหารือค่าเช่า มั่นใจคุยจบใน2 เดือน พร้อมตั้ง บ.ลูก ปีแรกตั้งเป้ารายได้ 100 ล้านบาท เย้ยแม้สูญ 2 เดือนแรก แต่ยังมากกว่าที่ได้จาก กทม. ขณะที่ “สุขุมพันธุ์” เตรียมเชิญรถไฟไปดูการบริหารจัดการตลาด ชี้แม้หมดสัญญาก็ยังไม่สามารถเข้ามาบริหารงานตลาดได้ทันที
พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก รมช.คมนาคม เปิดเผยภายหลังประชุมร่วมกับคณะกรรมการ (บอร์ด) และผู้บริหาร การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เพื่อรับฟังแนวทางการบริหารตลาดนัดจตุจักร วานนี้ (23 ธ.ค.) ว่า ได้ให้นโยบายในการบริหารตลาดนัดจตุจักร ว่าจะต้องเกิดความเรียบร้อยและร่วมมือกับผู้ค้าในการพัฒนาปรับปรุงตลาด โดยไม่ทำให้ผู้ค้าเดือดร้อน ซึ่งปีนี้กระทรวงคมนาคมครบรอบ 100 ปี และประชาชนผู้ค้าได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมที่ผ่านมาแล้ว ส่วนค่าเช่านั้นให้ร.ฟ.ท.หารือกับผู้ค้าเพื่อหาราคาที่เหมาะสมเป็นธรรมและร.ฟ.ท.ได้ประโยชน์มากกว่าเดิมที่เคยได้รับจากกรุงเทพมหานคร(กทม.) โดยร.ฟ.ท.จะตั้งคณะทำงาน 8 ฝ่ายขึ้นมาบริหารจัดการในเรื่องต่างๆ
นายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าการฯร.ฟ.ท.กล่าวว่า รมช.คมนาคมเห็นชอบแนวทางการบริหารตลาด โดยวันที่ 2 มกราคม 2555 จะมีพิธีเปิดตลาด การรับโอนเปลี่ยนถ่ายการบริหารซึ่งจะเชิญ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯกทม. และผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมงานด้วย และเพื่อให้ของขวัญกับผู้ค้าร.ฟ.ท.จะยกเว้นเก็บค่าเช่าแผงค้า เป็นเวลา 2 เดือน โดยจะทำหนังสือแจ้งผู้ค้าให้ทราบพร้อมกับเชิญผู้ค้าทั้ง 27 โครงการ มาร่วมหารือถึงอัตราค่าเช่าที่เหมาะสมร่วมกันซึ่งคาดว่าจะได้ข้อสรุปภายใน 2 เดือนนี้ ซึ่งจะรายงานความคืบหน้าการบริหารตลาดนัดจตุจักรต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อรับทราบในสัปดาห์หน้า
“นโยบายรมช.คมนาคมนั้นไม่ให้ผู้ค้าเดือดร้อน และให้ผู้ค้าทั้ง 27 โครงการ ในพื้นที่ 4 โซนมีส่วนร่วมในการบริหารตลาด โดยมีเป้าหมายทำให้ตลาดมีความทันสมัย สะอาด ปลอดภัย ซึ่งการยกเว้นค่าเช่าช่วง 2 เดือนแรกทุกฝ่ายเห็นว่าเหมาะสมเพราะส่วนหนึ่งจะช่วยลดกระแสต่อต้านต่างๆ ไม่ชนกับใคร และมีเวลาที่จะทำความเข้าใจกับผู้ค้าอีกระยะหนึ่ง
โดยภายในสัปดาห์หน้าจะเริ่มเชิญผู้ค้ามาหารือเพื่อคุยเรื่องอัตราค่าเช่าได้ รวมถึงรับฟังความคิดเห็นต่างๆ เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วม” นายยุทธนากล่าวและยืนยันว่า การยกเว้นค่าเช่า 2 เดือนไม่กระทบต่อรายได้ของ ร.ฟ.ท.เมื่อเทียบกับค่าเช่าที่ กทม.จ่ายให้ร.ฟ.ท.ประมาณ 2 ล้านบาทต่อเดือน เพราะในอนาคต หากมีการจัดระบบเรียบร้อย ร.ฟ.ท.จะมีรายได้ 100-200 บาทต่อเดือน โดยในปีแรกตั้งเป้าหากมีรายได้ถึง 100 ล้านบาท ก็ถือว่าดีกว่าให้ กทม.บริหารมากแล้ว
ขณะที่บริษัทที่ปรึกษาประเมินรายได้การบริหารพื้นที่ตลาดนัดจตุจักรทั้ง 68 ไร่เศษ ไว้ที่ 1,600 ล้านบาทต่อปี หักค่าใช้จ่ายประมาณ 35% เหลือ 1,100 ล้านบาท
ส่วนที่มีการระบุว่า ร.ฟ.ท.จะบริหารตลาดไม่ได้นั้น นายยุทธนายืนยันว่า แนวทางการบริหารและพัฒนาที่ให้ผู้ค้ามีส่วนร่วม เพราะตลาดอยู่ได้เพราะผู้ค้า ซึ่งร.ฟ.ท.ยืนยันมาตลอดว่าผู้ค้าจะไม่เดือดร้อนพัฒนาตลาดเพื่อผู้ค้า นโยบายรมช.คมนาคมให้บริการอย่างมือสะอาดแน่วแน่ ค่าเช่าเป็นธรรมและสร้างประโยชน์ให้ร.ฟ.ท.อย่างเป็นรูปธรรมมากที่สุด
จึงเชื่อว่าจะไม่เกิดข้อขัดแย้ง โดยขณะนี้มีผู้ค้าที่มีบัญชีรายชื่อมาลงทะเบียนกับร.ฟ.ท.แล้ว กว่า 7,000 แผงจากทั้งหมด 8,805 แผง นอกจากนี้ยังมีผู้ค้าที่ไม่มีบัญชีรายอีกประมาณ 4,000แผง
นายยุทธนากล่าวว่า ทางตำรวจรถไฟและตำรวจนครบาลได้เข้าร่วมประชุมด้วย เพื่อเตรียมพร้อมโดยในวันที่ 2 มกราคม 2555 จะตั้งตู้ยามชั่วคราว 2 จุด มีตำรวจสายสืบ สายตรวจและส่วนรับแจ้งความเข้าไปเพื่อดูแลตั้งแต่เวลา 08.30 น.-17.00น.ด้วย ดังนั้นถ้าเกิดม๊อบขึ้นมาก็ต้องดูก่อนว่าม๊อบอะไร เพราะที่เป็นของร.ฟ.ท.การบริหารทำเพื่อผู้ค้าก็มั่นใจว่าจะทำความเข้าใจกับผู้ค้าได้ ซึ่งช่วงที่ กทม.ยังไม่ส่งคืนพื้นที่ เพราะสัญญายังไม่ครบกำหนดนั้น ทำให้ร.ฟ.ท.เข้าหาผู้ค้าได้ไม่ทั่วถึง
“ยืนยันว่าร.ฟ.ท.พร้อมที่จะบริหารเอง ซึ่งจะเจรจากับกทม.ว่าจะดำเนินจัดเก็บขยะให้หรือไม่ถ้าไม่ได้ก็ต้องหาเอกชนมาดำเนินการส่วนการที่กทม.อ้างมีสิทธิ์บริหารอยู่นั้น ผู้บริหารต้องมีอำนาจตามสัญญา เมื่อครบกำหนดแล้วจึงไม่ทราบว่ากทม.จะใช้อำนาจอะไรไปต่อสัญญากับผู้ค้า” ผู้ว่าฯร.ฟ.ท.กล่าว
ขณะนี้ได้ยื่นจดชื่อบริษัท ตลาดนัดจตุจักร ร.ฟ.ท.จำกัด เป็นบริษัทลูก ร.ฟ.ท.ถือหุ้น 100% เพื่อเป็นผู้บริหารตลาด ทุนจดทะเบียน 50 ล้านบาทสำหรับใช้เป็นเงินหมุนเวียน จัดซื้อจัดจ้างและค่าใช้จ่ายด้านบริหารจัดการ เช่น ขยะ รักษาความปลอดภัย เป็นต้น ซึ่งคาดว่าจะจัดตั้งได้เรียบร้อยภายใน 2 เดือน ซึ่งอยู่ระหว่างเตรียมเสนอที่ประชุมบอร์ดเห็นชอบและเสนอครม.พิจารณาได้ โดยช่วงดำเนินการจัดตั้งบริษัทลูก ร.ฟ.ท.ได้ตั้งคณะทำงาน 8 ชุดเพื่อดูแลในเรื่อง การทำสัญญา, การบริหารสัญญา, การเก็บเงินค่าเช่า, การประชาสัมพันธ์, ระบบไฟฟ้า ประปา เป็นต้น
***“คุณชาย” ดิ้น! เชิญ ร.ฟ.ท.ดูงาน กทม.
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวถึงกรณีที่ทางกระทรวงคมนาคมเตรียมจะเข้าพื้นที่บริหารจัดการตลาดนัดจตุจักรในวันที่ 2 ม.ค.นี้ และจะมีการเชิญผู้ว่าฯกทม.ไปร่วมพิธีเปิดด้วยนั้นว่า ตนเองก็จะเรียก รฟท.มาดูการบริหารจัดการตลาดนัดจตุจักรเช่นกัน โดยนัดมานั่งดื่มน้ำชากาแฟ พูดคุย
ผู้สื่อข่าวถามว่าจะทำอย่างไรหากรฟท.เข้ามาตลาดนัดจตุจักรจริง ม.ร.ว.สขุมพันธุ์ กล่าวว่า แม้ว่าจะหมดสัญญา รฟทม.ก็ยังไม่สามารถเข้ามาบริหารตลาดได้ในทันที
รายงานข่าวจากกทม.แจ้งว่า การประชุมบอร์ดของ รฟท. เมื่อวันที่ 20 ก.ย. 2554 มีการระบุค่าเช่าที่ของผู้ค้าที่เป็นแผงค้ากึ่งถาวร ที่มีอยู่ 8,875 แผง ของตลาดนัดจตุจักร ถึงเดือนละ 12,500 บาท/แผง สำหรับค่าเช่าในปีแรก และจะปรับเพิ่มขึ้น 15% ทุก 5 ปี ซึ่งเป็นค่าเช่าที่รฟท.ยังไม่มีการแจ้งกับผู้ค้า เพราะจากการส่งใบปลิวการแจ้งค่าเช่านั้นอยู่ที่ประมาณ 3,500 บาท/เดือนเท่านั้น และกำหนดการที่กระทรวงคมนาคมนำเรื่องยื่นเข้าที่ประชุมครม. ในวันที่ 27 ธ.ค. 54 เพื่อปรับเปลี่ยนมติครม. และหลังจากนั้นจะแจ้งค่าเช่าแผงให้กับผู้ค้ารับทราบ เชื่อว่าผู้ค้าคงรับในอัตราค่าเช่านี้ไม่ได้ และคงมีกรฟ้องร้องกันต่อไป ขณะที่ทางกทม.จะมีมาตรการตอบโต้หากมีมติครม.ให้รฟท.เข้าบริหารจัดการพื้นที่ตลาดนัดจตุจักรได้.
พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก รมช.คมนาคม เปิดเผยภายหลังประชุมร่วมกับคณะกรรมการ (บอร์ด) และผู้บริหาร การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เพื่อรับฟังแนวทางการบริหารตลาดนัดจตุจักร วานนี้ (23 ธ.ค.) ว่า ได้ให้นโยบายในการบริหารตลาดนัดจตุจักร ว่าจะต้องเกิดความเรียบร้อยและร่วมมือกับผู้ค้าในการพัฒนาปรับปรุงตลาด โดยไม่ทำให้ผู้ค้าเดือดร้อน ซึ่งปีนี้กระทรวงคมนาคมครบรอบ 100 ปี และประชาชนผู้ค้าได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมที่ผ่านมาแล้ว ส่วนค่าเช่านั้นให้ร.ฟ.ท.หารือกับผู้ค้าเพื่อหาราคาที่เหมาะสมเป็นธรรมและร.ฟ.ท.ได้ประโยชน์มากกว่าเดิมที่เคยได้รับจากกรุงเทพมหานคร(กทม.) โดยร.ฟ.ท.จะตั้งคณะทำงาน 8 ฝ่ายขึ้นมาบริหารจัดการในเรื่องต่างๆ
นายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าการฯร.ฟ.ท.กล่าวว่า รมช.คมนาคมเห็นชอบแนวทางการบริหารตลาด โดยวันที่ 2 มกราคม 2555 จะมีพิธีเปิดตลาด การรับโอนเปลี่ยนถ่ายการบริหารซึ่งจะเชิญ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯกทม. และผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมงานด้วย และเพื่อให้ของขวัญกับผู้ค้าร.ฟ.ท.จะยกเว้นเก็บค่าเช่าแผงค้า เป็นเวลา 2 เดือน โดยจะทำหนังสือแจ้งผู้ค้าให้ทราบพร้อมกับเชิญผู้ค้าทั้ง 27 โครงการ มาร่วมหารือถึงอัตราค่าเช่าที่เหมาะสมร่วมกันซึ่งคาดว่าจะได้ข้อสรุปภายใน 2 เดือนนี้ ซึ่งจะรายงานความคืบหน้าการบริหารตลาดนัดจตุจักรต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อรับทราบในสัปดาห์หน้า
“นโยบายรมช.คมนาคมนั้นไม่ให้ผู้ค้าเดือดร้อน และให้ผู้ค้าทั้ง 27 โครงการ ในพื้นที่ 4 โซนมีส่วนร่วมในการบริหารตลาด โดยมีเป้าหมายทำให้ตลาดมีความทันสมัย สะอาด ปลอดภัย ซึ่งการยกเว้นค่าเช่าช่วง 2 เดือนแรกทุกฝ่ายเห็นว่าเหมาะสมเพราะส่วนหนึ่งจะช่วยลดกระแสต่อต้านต่างๆ ไม่ชนกับใคร และมีเวลาที่จะทำความเข้าใจกับผู้ค้าอีกระยะหนึ่ง
โดยภายในสัปดาห์หน้าจะเริ่มเชิญผู้ค้ามาหารือเพื่อคุยเรื่องอัตราค่าเช่าได้ รวมถึงรับฟังความคิดเห็นต่างๆ เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วม” นายยุทธนากล่าวและยืนยันว่า การยกเว้นค่าเช่า 2 เดือนไม่กระทบต่อรายได้ของ ร.ฟ.ท.เมื่อเทียบกับค่าเช่าที่ กทม.จ่ายให้ร.ฟ.ท.ประมาณ 2 ล้านบาทต่อเดือน เพราะในอนาคต หากมีการจัดระบบเรียบร้อย ร.ฟ.ท.จะมีรายได้ 100-200 บาทต่อเดือน โดยในปีแรกตั้งเป้าหากมีรายได้ถึง 100 ล้านบาท ก็ถือว่าดีกว่าให้ กทม.บริหารมากแล้ว
ขณะที่บริษัทที่ปรึกษาประเมินรายได้การบริหารพื้นที่ตลาดนัดจตุจักรทั้ง 68 ไร่เศษ ไว้ที่ 1,600 ล้านบาทต่อปี หักค่าใช้จ่ายประมาณ 35% เหลือ 1,100 ล้านบาท
ส่วนที่มีการระบุว่า ร.ฟ.ท.จะบริหารตลาดไม่ได้นั้น นายยุทธนายืนยันว่า แนวทางการบริหารและพัฒนาที่ให้ผู้ค้ามีส่วนร่วม เพราะตลาดอยู่ได้เพราะผู้ค้า ซึ่งร.ฟ.ท.ยืนยันมาตลอดว่าผู้ค้าจะไม่เดือดร้อนพัฒนาตลาดเพื่อผู้ค้า นโยบายรมช.คมนาคมให้บริการอย่างมือสะอาดแน่วแน่ ค่าเช่าเป็นธรรมและสร้างประโยชน์ให้ร.ฟ.ท.อย่างเป็นรูปธรรมมากที่สุด
จึงเชื่อว่าจะไม่เกิดข้อขัดแย้ง โดยขณะนี้มีผู้ค้าที่มีบัญชีรายชื่อมาลงทะเบียนกับร.ฟ.ท.แล้ว กว่า 7,000 แผงจากทั้งหมด 8,805 แผง นอกจากนี้ยังมีผู้ค้าที่ไม่มีบัญชีรายอีกประมาณ 4,000แผง
นายยุทธนากล่าวว่า ทางตำรวจรถไฟและตำรวจนครบาลได้เข้าร่วมประชุมด้วย เพื่อเตรียมพร้อมโดยในวันที่ 2 มกราคม 2555 จะตั้งตู้ยามชั่วคราว 2 จุด มีตำรวจสายสืบ สายตรวจและส่วนรับแจ้งความเข้าไปเพื่อดูแลตั้งแต่เวลา 08.30 น.-17.00น.ด้วย ดังนั้นถ้าเกิดม๊อบขึ้นมาก็ต้องดูก่อนว่าม๊อบอะไร เพราะที่เป็นของร.ฟ.ท.การบริหารทำเพื่อผู้ค้าก็มั่นใจว่าจะทำความเข้าใจกับผู้ค้าได้ ซึ่งช่วงที่ กทม.ยังไม่ส่งคืนพื้นที่ เพราะสัญญายังไม่ครบกำหนดนั้น ทำให้ร.ฟ.ท.เข้าหาผู้ค้าได้ไม่ทั่วถึง
“ยืนยันว่าร.ฟ.ท.พร้อมที่จะบริหารเอง ซึ่งจะเจรจากับกทม.ว่าจะดำเนินจัดเก็บขยะให้หรือไม่ถ้าไม่ได้ก็ต้องหาเอกชนมาดำเนินการส่วนการที่กทม.อ้างมีสิทธิ์บริหารอยู่นั้น ผู้บริหารต้องมีอำนาจตามสัญญา เมื่อครบกำหนดแล้วจึงไม่ทราบว่ากทม.จะใช้อำนาจอะไรไปต่อสัญญากับผู้ค้า” ผู้ว่าฯร.ฟ.ท.กล่าว
ขณะนี้ได้ยื่นจดชื่อบริษัท ตลาดนัดจตุจักร ร.ฟ.ท.จำกัด เป็นบริษัทลูก ร.ฟ.ท.ถือหุ้น 100% เพื่อเป็นผู้บริหารตลาด ทุนจดทะเบียน 50 ล้านบาทสำหรับใช้เป็นเงินหมุนเวียน จัดซื้อจัดจ้างและค่าใช้จ่ายด้านบริหารจัดการ เช่น ขยะ รักษาความปลอดภัย เป็นต้น ซึ่งคาดว่าจะจัดตั้งได้เรียบร้อยภายใน 2 เดือน ซึ่งอยู่ระหว่างเตรียมเสนอที่ประชุมบอร์ดเห็นชอบและเสนอครม.พิจารณาได้ โดยช่วงดำเนินการจัดตั้งบริษัทลูก ร.ฟ.ท.ได้ตั้งคณะทำงาน 8 ชุดเพื่อดูแลในเรื่อง การทำสัญญา, การบริหารสัญญา, การเก็บเงินค่าเช่า, การประชาสัมพันธ์, ระบบไฟฟ้า ประปา เป็นต้น
***“คุณชาย” ดิ้น! เชิญ ร.ฟ.ท.ดูงาน กทม.
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวถึงกรณีที่ทางกระทรวงคมนาคมเตรียมจะเข้าพื้นที่บริหารจัดการตลาดนัดจตุจักรในวันที่ 2 ม.ค.นี้ และจะมีการเชิญผู้ว่าฯกทม.ไปร่วมพิธีเปิดด้วยนั้นว่า ตนเองก็จะเรียก รฟท.มาดูการบริหารจัดการตลาดนัดจตุจักรเช่นกัน โดยนัดมานั่งดื่มน้ำชากาแฟ พูดคุย
ผู้สื่อข่าวถามว่าจะทำอย่างไรหากรฟท.เข้ามาตลาดนัดจตุจักรจริง ม.ร.ว.สขุมพันธุ์ กล่าวว่า แม้ว่าจะหมดสัญญา รฟทม.ก็ยังไม่สามารถเข้ามาบริหารตลาดได้ในทันที
รายงานข่าวจากกทม.แจ้งว่า การประชุมบอร์ดของ รฟท. เมื่อวันที่ 20 ก.ย. 2554 มีการระบุค่าเช่าที่ของผู้ค้าที่เป็นแผงค้ากึ่งถาวร ที่มีอยู่ 8,875 แผง ของตลาดนัดจตุจักร ถึงเดือนละ 12,500 บาท/แผง สำหรับค่าเช่าในปีแรก และจะปรับเพิ่มขึ้น 15% ทุก 5 ปี ซึ่งเป็นค่าเช่าที่รฟท.ยังไม่มีการแจ้งกับผู้ค้า เพราะจากการส่งใบปลิวการแจ้งค่าเช่านั้นอยู่ที่ประมาณ 3,500 บาท/เดือนเท่านั้น และกำหนดการที่กระทรวงคมนาคมนำเรื่องยื่นเข้าที่ประชุมครม. ในวันที่ 27 ธ.ค. 54 เพื่อปรับเปลี่ยนมติครม. และหลังจากนั้นจะแจ้งค่าเช่าแผงให้กับผู้ค้ารับทราบ เชื่อว่าผู้ค้าคงรับในอัตราค่าเช่านี้ไม่ได้ และคงมีกรฟ้องร้องกันต่อไป ขณะที่ทางกทม.จะมีมาตรการตอบโต้หากมีมติครม.ให้รฟท.เข้าบริหารจัดการพื้นที่ตลาดนัดจตุจักรได้.