ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่สนับสนุนสหประชาชาติอย่างจริงใจ โดยเฉพาะกรณีสงครามล้างเผ่าพันธุ์ในเขมร เมื่อเขมรแดงดำเนินสงครามทุ่งสังหาร ฆ่าคนชาติเดียวกันไปกว่า 5 ล้านคน เกิดค่ายอพยพตลอดแนวชายแดนไทย-เขมร
การแสดงความเห็นของชาติสมาชิกสภาสิทธิมนุษยชนเช่นนั้น เป็นเพราะไม่ได้ศึกษาว่าการแทรกแซงหรือเสนอแนะให้ยกเลิกมาตรา 112 นั้น จะมีผลเป็นอย่างไรต่อสังคมไทย หรือประเทศเหล่านี้ต้องการให้เป็นอย่างนั้น เช่น ให้เกิดสงครามกลางเมือง หรือเกิดความอ่อนแอของชาติ หรือต่างชาติสามารถแทรกแซงกิจการทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของไทยผ่านนักการเมืองที่ขายตัวให้ต่างชาติได้ง่ายขึ้นอันเป็นประโยชน์ของประเทศมหาอำนาจอยู่แล้ว
สมาชิกชาติต่างๆ ในสภาสิทธิมนุษยชาติได้ศึกษาอะไรบ้างเกี่ยวกับประโยควลีภาษาไทยที่ใช้ในการหมิ่นล่วงละเมิดสถาบันพระมหากษัตริย์ ภาษาไทยต่างกับภาษาอื่นอย่างแน่นอน ไม่มีความเป็นสากลต่างกับภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษาสากล ทำให้การใช้ภาษาอังกฤษวิจารณ์ราชวงศ์ใดราชวงศ์หนึ่งในอังกฤษและยุโรป จะไม่มีคำหยาบคาย เพราะคำหยาบคายจะไม่ได้รับการยอมรับ หรือไม่มีคนอ่าน หรือคนเขียนกลายเป็นคนถ่อยชั่วร้ายในมุมมองของสังคมตะวันตก แต่ตรงข้ามกับสังคมไทยที่ยิ่งหยาบคายคนชอบอ่านและยิ่งอยากฟัง
ไม่แน่ใจว่าผู้แทนอังกฤษเป็นผู้อภิปรายหลักในประเด็นนี้หรือเปล่า หรือเพียงแต่ให้ข้อคิดเห็น ซึ่งยังคงความเป็นกลางไว้บ้าง
ปัจจุบันอังกฤษมีลัทธิสาธารณรัฐนิยมอย่างเปิดเผย โดยเฉพาะชาวเวลส์ และชาวสกอต โดยเฉพาะชาวเวลส์มีพรรคการเมืองที่ต้องการเป็นอิสรภาพ ไม่อยู่ในอาณัติอังกฤษ คือ พรรคเพลด คิมริว (Plaid Cymru) ในภาษาเวลส์ และมีผู้แทนราษฎรในสภาอังกฤษประมาณ 2-3 คน
ลัทธิสาธารณรัฐนิยมเกิดขึ้นตั้งแต่ยุคครอมเวลส์ ช่วง ค.ศ. 1653 เกิดสงครามกลางเมืองในอังกฤษ 2 ครั้ง ในปี ค.ศ. 1657 ครอมเวลล์เคยถูกเสนอให้รับตำแหน่งกษัตริย์แต่ปฏิเสธกลับสถาปนาเป็นผู้พิทักษ์สูงสุดอันเป็นกำเนิดเผด็จการทรราชสามัญชนเพราะไม่มีหลักธรรมะยึดเหนี่ยว และพบว่าทั้งครอมเวลส์และนายพลแฟร์แฟซเป็นทรราช ได้อำนาจมาด้วยการข่มขู่และบังคับ ปกครองแบบไร้เหตุผล และมีพฤติกรรมชั่วร้ายประชาชนชาวอังกฤษเดือดร้อนอย่างมหาศาล ซึ่งในที่สุดกองทัพราชภักดีทนไม่ได้ภายใต้การนำของนายพลจอร์ มองค์ ก็ปราบกองทัพสภาผู้แทนราษฎรของครอมเวลส์สำเร็จ สถาปนาระบอบกษัตริย์ขึ้นมาใหม่ในปี ค.ศ. 1688
ลัทธิสาธารณรัฐนิยมเป็นพฤติกรรมและความคิดผิดกฎหมายในปี ค.ศ. 1848 ในยุคของพระนางเจ้าวิคตอเรีย ในช่วงที่เจ้าอัลเบิร์ตสิ้นพระชนม์แล้วพระองค์ทรงเสียพระทัยอย่างมากจนทรงงดเว้นงานสังคมทำให้พวกต่อต้านราชินีเหิมเกริมต่างออกมาวิพากษ์วิจารณ์พระองค์อย่างรุนแรง และผู้ต้องโทษข้อหานี้จะถูกเนรเทศไปออสเตรเลียหรือจำคุกตลอดชีวิต
ความคิดในการล้มล้างระบอบกษัตริย์ของอังกฤษ เริ่มขึ้นตั้งแต่ครั้งครอมเวลส์ในปี ค.ศ. 1653 จนปัจจุบันก็ยังมีขบวนการนี้อยู่ และในปี ค.ศ. 2003 มีกฎหมายให้อำนาจในการรับฎีกาตามบริบทกฎหมายสภาขุนนาง เรียกว่า เดอะ ลอร์ ลอร์ด ค.ศ.2003 ให้สิทธิสามัญชนสามารถวิจารณ์และการแสดงออกในการต่อต้านระบอบกษัตริย์อังกฤษได้ด้วยความสุภาพ และมีเหตุผลหากไม่เป็นเช่นนั้นผิดกฎหมาย การแสดงออกตามสิทธิของสามัญชนที่ไฮ ปาร์ค คอนเนอร์นั้นเป็นธรรมเนียมที่ตำรวจจะจัดการกับการพูดหยายคายหรือการแสดงกิริยาถ่อยทันที
อังกฤษเป็นต้นตำรับการเมืองประชาธิปไตยระบอบรัฐสภา ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรกับสภาขุนนางซึ่งเป็นสภาที่ทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันระบอบกษัตริย์อีกนัยหนึ่งตามนิติประเพณีปฏิบัติจนเป็นรัฐธรรมนูญ
ปัจจุบันจากการวิจัยของ Ipsos MORI ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดของอังกฤษ รับจ้างวิจัยความคิดเห็นของสาธารณชนทั่วโลกในทุกเรื่อง ได้ทำการวิจัยคนอังกฤษว่ายังต้องการระบอบอังกฤษหรือไม่ ผลการวิจัยออกมาว่าคนอังกฤษร้อยละ 80 ยังต้องการสถาบันพระมหากษัตริย์อยู่ ถึงแม้ว่าจะมีความหลากหลายในการวิจารณ์พฤติกรรมของราชวงศ์ก็ตาม แต่ความจงรักภักดีของคนอังกฤษยังคงมีอยู่
ส่วนสหรัฐฯ นั้นเป็นประเทศที่หนีระบอบกษัตริย์ออกมาจากยุโรป แต่เคยมีตำนานว่าหลังจากชนะอังกฤษในสงครามปลดปล่อย ค.ศ. 1776 แล้ว มีนักการเมืองบางคนจะเอาใจ จอร์จ วอชิงตัน โดยให้รัฐสภาสถาปนานายพลจอร์จ วอชิงตัน ให้เป็นพระมหากษัตริย์ แต่ท่านปฏิเสธว่า เรารบชนะเพื่อประชาชน มิใช่เพื่อตัวเอง
ผมอยากให้ประชาชนชาติสมาชิกรัฐสภาสิทธิมนุษยชนสหประชาชาติ ลองพิจารณาอย่างถ่องแท้ด้วยปัญญา ไม่ใช่ด้วยกระแสความคิดของคนบางคนที่เป็นลูกครึ่งไทย-อังกฤษหรือชาวต่างชาติที่ไม่มีความผูกพันกับขนบธรรมเนียมประเพณีไทยแต่กลับมาหมิ่นเหยียดหยามสถาบันหรือคนที่รับจ้างมาดูหมิ่นสถาบันอันเป็นที่สักการะ เพราะหากคนไม่วิจารณ์ราชวงศ์ด้วยความหยาบคายก้าวร้าวและไร้เหตุผลแล้ว ทุกอย่างก็สงบสันติแต่มาตรการอะไรที่จะปรามคนถ่อยที่เหยียบย่ำหัวใจคนไทยและก่อให้เกิดความแตกแยกอย่างรุนแรง คนไทยยังไม่มีประวัติศาสตร์สงครามกลางเมืองเต็มรูปแบบที่เกิดจากเรื่องนี้หากสัมผัสแล้วจะรู้ว่ามันขมขื่นแค่ไหน อังกฤษมีประสบการณ์นี้มาเมื่อ 400 ปีที่แล้วพวกเขาเข้าใจดี จึงมีกลไกป้องกันเชิงพฤติกรรมอยู่แล้วความหยาบช้าสามานย์จึงไม่เกิด
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงได้รับรางวัล United Nation Development Live Time Achievement หรือรางวัลการพัฒนามนุษย์ชั่วกาลนานของสหประชาชาติ ถวายโดยนายโคฟี อันนัน ในปี พ.ศ. 2549 ก่อนที่ทักษิณจะถูกโค่นอำนาจ
รางวัลนี้เป็นเครื่องพิสูจน์ว่าพระองค์มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาชีวิตคนไทยซึ่งเป็นสมาชิกของโลกใบนี้ ให้มีความสุขอย่างยั่งยืนสถาพร และอยู่ในหลักธรรมของมนุษยชาติ คือ ไม่โลภ อันหมายถึงเศรษฐกิจพอเพียง และความโลภเป็นกฎต้องห้ามสากลอยู่แล้ว
ข้อพิสูจน์นี้น่าจะเป็นที่ประจักษ์ของสมาชิกสหประชาชาติอยู่แล้ว แต่การที่ชาติสมาชิกสิทธิมนุษยชน 20 กว่าชาติออกความเห็นให้ประเทศไทยแตกแยกกัน เพราะเขาไม่ได้อ่านหรือได้ฟังคำถ่อยที่นายใจ อึ๊งภากรณ์ นางดา ตอร์ปิโด นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข นายชูพงษ์ ถี่ถ้วน นายจักรภพ เพ็ญแข และนายสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ใช้ปลุกระดม ใส่ความด้วยความเท็จ บิดเบือนความจริง ใช้วาจาหยาบคาย ใช้สำนวนเปรียบเทียบหยาบคายและต่ำช้า สร้างกระแสให้เกิดความเกลียดชังอย่างไร้เหตุผลและความจริง
ทำไมสมาชิกสภาสิทธิมนุษยชนสหประชาชาติ ไม่ลองวิเคราะห์วิจารณ์การปกครองของประเทศซาอุดีอาระเบียดูบ้างละครับ สุภาพสตรีก็ทำงานไม่ได้ สถานีวิทยุบีบีซีเคยเสนอข่าวเกี่ยวกับคดีหนึ่งในซาอุดีอาระเบียในปี ค.ศ. 1981 ที่เกี่ยวกับราชวงศ์ซาอุดีอาระเบียทางโทรทัศน์ วันรุ่งขึ้นรัฐบาลแห่งพระมหากษัตริย์ซาอุดีอาระเบีย ตัดสัมพันธ์ทางการทูตทันที
ชาติสมาชิกสิทธิมนุษยชนสหประชาชาติอย่าแทรกแซงความเป็นไทยเลย ให้มองดูว่าพฤติกรรมคนไทยทั้งชาตินั้น มีความจงรักภักดีมากแค่ไหนและเฝ้ามองขบวนการแก้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 อย่างจริงจัง และผลออกมารุนแรงแค่ไหน หากบรรดานักการเมืองในอาณัติทักษิณดื้อดึงแก้กฎหมายนี้ สหประชาชาติจะรับผิดชอบอนาคตชาติไทยได้หรือไม่ หรือเพียงแต่ว่าได้สำแดงปัญญาตะวันตกอีกรูปแบบหนึ่ง
การแสดงความเห็นของชาติสมาชิกสภาสิทธิมนุษยชนเช่นนั้น เป็นเพราะไม่ได้ศึกษาว่าการแทรกแซงหรือเสนอแนะให้ยกเลิกมาตรา 112 นั้น จะมีผลเป็นอย่างไรต่อสังคมไทย หรือประเทศเหล่านี้ต้องการให้เป็นอย่างนั้น เช่น ให้เกิดสงครามกลางเมือง หรือเกิดความอ่อนแอของชาติ หรือต่างชาติสามารถแทรกแซงกิจการทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของไทยผ่านนักการเมืองที่ขายตัวให้ต่างชาติได้ง่ายขึ้นอันเป็นประโยชน์ของประเทศมหาอำนาจอยู่แล้ว
สมาชิกชาติต่างๆ ในสภาสิทธิมนุษยชาติได้ศึกษาอะไรบ้างเกี่ยวกับประโยควลีภาษาไทยที่ใช้ในการหมิ่นล่วงละเมิดสถาบันพระมหากษัตริย์ ภาษาไทยต่างกับภาษาอื่นอย่างแน่นอน ไม่มีความเป็นสากลต่างกับภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษาสากล ทำให้การใช้ภาษาอังกฤษวิจารณ์ราชวงศ์ใดราชวงศ์หนึ่งในอังกฤษและยุโรป จะไม่มีคำหยาบคาย เพราะคำหยาบคายจะไม่ได้รับการยอมรับ หรือไม่มีคนอ่าน หรือคนเขียนกลายเป็นคนถ่อยชั่วร้ายในมุมมองของสังคมตะวันตก แต่ตรงข้ามกับสังคมไทยที่ยิ่งหยาบคายคนชอบอ่านและยิ่งอยากฟัง
ไม่แน่ใจว่าผู้แทนอังกฤษเป็นผู้อภิปรายหลักในประเด็นนี้หรือเปล่า หรือเพียงแต่ให้ข้อคิดเห็น ซึ่งยังคงความเป็นกลางไว้บ้าง
ปัจจุบันอังกฤษมีลัทธิสาธารณรัฐนิยมอย่างเปิดเผย โดยเฉพาะชาวเวลส์ และชาวสกอต โดยเฉพาะชาวเวลส์มีพรรคการเมืองที่ต้องการเป็นอิสรภาพ ไม่อยู่ในอาณัติอังกฤษ คือ พรรคเพลด คิมริว (Plaid Cymru) ในภาษาเวลส์ และมีผู้แทนราษฎรในสภาอังกฤษประมาณ 2-3 คน
ลัทธิสาธารณรัฐนิยมเกิดขึ้นตั้งแต่ยุคครอมเวลส์ ช่วง ค.ศ. 1653 เกิดสงครามกลางเมืองในอังกฤษ 2 ครั้ง ในปี ค.ศ. 1657 ครอมเวลล์เคยถูกเสนอให้รับตำแหน่งกษัตริย์แต่ปฏิเสธกลับสถาปนาเป็นผู้พิทักษ์สูงสุดอันเป็นกำเนิดเผด็จการทรราชสามัญชนเพราะไม่มีหลักธรรมะยึดเหนี่ยว และพบว่าทั้งครอมเวลส์และนายพลแฟร์แฟซเป็นทรราช ได้อำนาจมาด้วยการข่มขู่และบังคับ ปกครองแบบไร้เหตุผล และมีพฤติกรรมชั่วร้ายประชาชนชาวอังกฤษเดือดร้อนอย่างมหาศาล ซึ่งในที่สุดกองทัพราชภักดีทนไม่ได้ภายใต้การนำของนายพลจอร์ มองค์ ก็ปราบกองทัพสภาผู้แทนราษฎรของครอมเวลส์สำเร็จ สถาปนาระบอบกษัตริย์ขึ้นมาใหม่ในปี ค.ศ. 1688
ลัทธิสาธารณรัฐนิยมเป็นพฤติกรรมและความคิดผิดกฎหมายในปี ค.ศ. 1848 ในยุคของพระนางเจ้าวิคตอเรีย ในช่วงที่เจ้าอัลเบิร์ตสิ้นพระชนม์แล้วพระองค์ทรงเสียพระทัยอย่างมากจนทรงงดเว้นงานสังคมทำให้พวกต่อต้านราชินีเหิมเกริมต่างออกมาวิพากษ์วิจารณ์พระองค์อย่างรุนแรง และผู้ต้องโทษข้อหานี้จะถูกเนรเทศไปออสเตรเลียหรือจำคุกตลอดชีวิต
ความคิดในการล้มล้างระบอบกษัตริย์ของอังกฤษ เริ่มขึ้นตั้งแต่ครั้งครอมเวลส์ในปี ค.ศ. 1653 จนปัจจุบันก็ยังมีขบวนการนี้อยู่ และในปี ค.ศ. 2003 มีกฎหมายให้อำนาจในการรับฎีกาตามบริบทกฎหมายสภาขุนนาง เรียกว่า เดอะ ลอร์ ลอร์ด ค.ศ.2003 ให้สิทธิสามัญชนสามารถวิจารณ์และการแสดงออกในการต่อต้านระบอบกษัตริย์อังกฤษได้ด้วยความสุภาพ และมีเหตุผลหากไม่เป็นเช่นนั้นผิดกฎหมาย การแสดงออกตามสิทธิของสามัญชนที่ไฮ ปาร์ค คอนเนอร์นั้นเป็นธรรมเนียมที่ตำรวจจะจัดการกับการพูดหยายคายหรือการแสดงกิริยาถ่อยทันที
อังกฤษเป็นต้นตำรับการเมืองประชาธิปไตยระบอบรัฐสภา ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรกับสภาขุนนางซึ่งเป็นสภาที่ทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันระบอบกษัตริย์อีกนัยหนึ่งตามนิติประเพณีปฏิบัติจนเป็นรัฐธรรมนูญ
ปัจจุบันจากการวิจัยของ Ipsos MORI ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดของอังกฤษ รับจ้างวิจัยความคิดเห็นของสาธารณชนทั่วโลกในทุกเรื่อง ได้ทำการวิจัยคนอังกฤษว่ายังต้องการระบอบอังกฤษหรือไม่ ผลการวิจัยออกมาว่าคนอังกฤษร้อยละ 80 ยังต้องการสถาบันพระมหากษัตริย์อยู่ ถึงแม้ว่าจะมีความหลากหลายในการวิจารณ์พฤติกรรมของราชวงศ์ก็ตาม แต่ความจงรักภักดีของคนอังกฤษยังคงมีอยู่
ส่วนสหรัฐฯ นั้นเป็นประเทศที่หนีระบอบกษัตริย์ออกมาจากยุโรป แต่เคยมีตำนานว่าหลังจากชนะอังกฤษในสงครามปลดปล่อย ค.ศ. 1776 แล้ว มีนักการเมืองบางคนจะเอาใจ จอร์จ วอชิงตัน โดยให้รัฐสภาสถาปนานายพลจอร์จ วอชิงตัน ให้เป็นพระมหากษัตริย์ แต่ท่านปฏิเสธว่า เรารบชนะเพื่อประชาชน มิใช่เพื่อตัวเอง
ผมอยากให้ประชาชนชาติสมาชิกรัฐสภาสิทธิมนุษยชนสหประชาชาติ ลองพิจารณาอย่างถ่องแท้ด้วยปัญญา ไม่ใช่ด้วยกระแสความคิดของคนบางคนที่เป็นลูกครึ่งไทย-อังกฤษหรือชาวต่างชาติที่ไม่มีความผูกพันกับขนบธรรมเนียมประเพณีไทยแต่กลับมาหมิ่นเหยียดหยามสถาบันหรือคนที่รับจ้างมาดูหมิ่นสถาบันอันเป็นที่สักการะ เพราะหากคนไม่วิจารณ์ราชวงศ์ด้วยความหยาบคายก้าวร้าวและไร้เหตุผลแล้ว ทุกอย่างก็สงบสันติแต่มาตรการอะไรที่จะปรามคนถ่อยที่เหยียบย่ำหัวใจคนไทยและก่อให้เกิดความแตกแยกอย่างรุนแรง คนไทยยังไม่มีประวัติศาสตร์สงครามกลางเมืองเต็มรูปแบบที่เกิดจากเรื่องนี้หากสัมผัสแล้วจะรู้ว่ามันขมขื่นแค่ไหน อังกฤษมีประสบการณ์นี้มาเมื่อ 400 ปีที่แล้วพวกเขาเข้าใจดี จึงมีกลไกป้องกันเชิงพฤติกรรมอยู่แล้วความหยาบช้าสามานย์จึงไม่เกิด
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงได้รับรางวัล United Nation Development Live Time Achievement หรือรางวัลการพัฒนามนุษย์ชั่วกาลนานของสหประชาชาติ ถวายโดยนายโคฟี อันนัน ในปี พ.ศ. 2549 ก่อนที่ทักษิณจะถูกโค่นอำนาจ
รางวัลนี้เป็นเครื่องพิสูจน์ว่าพระองค์มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาชีวิตคนไทยซึ่งเป็นสมาชิกของโลกใบนี้ ให้มีความสุขอย่างยั่งยืนสถาพร และอยู่ในหลักธรรมของมนุษยชาติ คือ ไม่โลภ อันหมายถึงเศรษฐกิจพอเพียง และความโลภเป็นกฎต้องห้ามสากลอยู่แล้ว
ข้อพิสูจน์นี้น่าจะเป็นที่ประจักษ์ของสมาชิกสหประชาชาติอยู่แล้ว แต่การที่ชาติสมาชิกสิทธิมนุษยชน 20 กว่าชาติออกความเห็นให้ประเทศไทยแตกแยกกัน เพราะเขาไม่ได้อ่านหรือได้ฟังคำถ่อยที่นายใจ อึ๊งภากรณ์ นางดา ตอร์ปิโด นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข นายชูพงษ์ ถี่ถ้วน นายจักรภพ เพ็ญแข และนายสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ใช้ปลุกระดม ใส่ความด้วยความเท็จ บิดเบือนความจริง ใช้วาจาหยาบคาย ใช้สำนวนเปรียบเทียบหยาบคายและต่ำช้า สร้างกระแสให้เกิดความเกลียดชังอย่างไร้เหตุผลและความจริง
ทำไมสมาชิกสภาสิทธิมนุษยชนสหประชาชาติ ไม่ลองวิเคราะห์วิจารณ์การปกครองของประเทศซาอุดีอาระเบียดูบ้างละครับ สุภาพสตรีก็ทำงานไม่ได้ สถานีวิทยุบีบีซีเคยเสนอข่าวเกี่ยวกับคดีหนึ่งในซาอุดีอาระเบียในปี ค.ศ. 1981 ที่เกี่ยวกับราชวงศ์ซาอุดีอาระเบียทางโทรทัศน์ วันรุ่งขึ้นรัฐบาลแห่งพระมหากษัตริย์ซาอุดีอาระเบีย ตัดสัมพันธ์ทางการทูตทันที
ชาติสมาชิกสิทธิมนุษยชนสหประชาชาติอย่าแทรกแซงความเป็นไทยเลย ให้มองดูว่าพฤติกรรมคนไทยทั้งชาตินั้น มีความจงรักภักดีมากแค่ไหนและเฝ้ามองขบวนการแก้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 อย่างจริงจัง และผลออกมารุนแรงแค่ไหน หากบรรดานักการเมืองในอาณัติทักษิณดื้อดึงแก้กฎหมายนี้ สหประชาชาติจะรับผิดชอบอนาคตชาติไทยได้หรือไม่ หรือเพียงแต่ว่าได้สำแดงปัญญาตะวันตกอีกรูปแบบหนึ่ง