xs
xsm
sm
md
lg

กมธ.วุฒิจี้รัฐแก้"วังน้ำเขียว" ซัดจนท.-ผู้นำท้องถิ่นมีเอี่ยว

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ส.ว.สรรหา ในฐานประธานคณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา แถลงว่า จากการศึกษากรณีบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาภูหลวง พื้นที่อทุยานแห่งชาติทับาน และพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติโซนเศรษฐกิจ ที่กรมป่าไม้มอบให้สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม (สปก.) อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา คณะกรรมาธิการฯ พบว่า พื้นที่ตั้งดังกล่าวแบ่งออกได้ 3 กลุ่มคือ 1. เขตป่าสงวนภูหลวง ตั้งแต่ปี 2516 2. เขตอุทยานแห่งชาติทับลาน ตั้งแต่ปี 2524 และ 3. พื้นที่ปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร สปก. ตั้งแต่ปี 2536
โดยปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ อ.วังน้ำเขียว ส่วนใหญ่เกิดจากการเปลี่ยนมือในการครอบครองที่ดินโดยมือเปล่าไม่มีเอกสารสิทธิ์ มีเพียงใบเสียภาษีบำรุงท้องที่ (บ.ภ.ท.5 ) ซึ่งไม่ใช่กรรมสิทธิ์ที่จะซื้อขายกันได้
นอกจากนี้การซื้อขายมีการทำสัญญาต่อหน้าผู้นำท้องถิ่น ทั้ง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เจ้าหน้าที่ อบต. รวมทั้งเมื่อนำที่ดินดังกล่าวไปเสียภาษี หน่วยงานราชการก็รับชำระภาษี จึงทำให้ผู้ครอบครองคิดว่าเป็นการครอบครองที่ดินถูกต้องตามกฎหมาย
ดังนั้น หน่วยงานของรัฐจะต้องปรับปรุงการทำงาน โดยจะต้องระมัดระวังว่า การรับชำระภาษีบำรุงท้องที่ การออกใบอนุญาตก่อสร้าง การออกเลขที่บ้าน และทะเบียนบ้าน จะต้องไม่ทำให้แก่ที่ดินที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์
นายสุรชัย กล่าวว่า กรรมาธิการเห็นว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สำนักงานปฏิรูปที่ดิน และจังหวัดนครราชสีมา จะต้องร่วมมือในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นใน อ.วังน้ำเขียว อย่างบูรณาการ โดยต้องจัดระเบียบการใช้ประโยชน์ในที่ดินใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงกับสภาพสังคม การเรียกคืนผืนป่าที่ถูกบุกรุก การจัดสรรที่ดินให้กับราษฎร ที่ไม่มีที่ทำกินเป็นของตัวเองอย่างถูกต้องทั่วถึง และเป็นธรรม หากรัฐใช้มาตรการทางกฎหมายบังคับ และนำกำลังเข้าไปรื้อถอน จะถูกต่อต้านจากราษฎร เนื่องจากบางส่วนยังมีข้อโต้แย้งเรื่องสิทธิทำกินในที่ดินดังกล่าว เพราะบางรายได้ครอบครองที่ดินก่อนที่จะประกาศเป็นเขตอุทยานแห่งชาติ และเขตป่าสงวน หากพิสูจน์ได้ว่าอยู่ก่อน ก็ควรจะคืนสิทธิ์และให้ความเป็นธรรมกับประชาชน
แต่ถ้ามีการบุกรุกจริง ไม่สามารถพิสูจน์สิทธิ์ได้ ก็ใช้มาตรการทางกฎหมายเข้าไปจัดการ
" หากพื้นที่ประกาศเป็นเขตสปก. ถ้าหากมีการทำรีสอร์ต แล้วหากเป็นประชาชนมือแรกที่ได้รับสิทธิ ถือว่ามีความผิดในการใช้ที่ดินผิดประเภท แต่ไม่ถือเป็นผู้บุรุก แต่ถ้าเปลี่ยนมือ ถือว่าผิดกฎหมาย เนื่องจากมีการซื้อขายที่ดินดังกล่าว อย่างไรก็ตาม กรรมาธิการจะนำผลการศึกษาดังกล่าวเสนอต่อนายกฯ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รมว.เกษตรและสหกรณ์ รมว.มหาดไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาต่อไป" นายสุรชัย กล่าว
เมื่อถามว่ามองอย่างไรที่เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติได้เข้าไปรื้อถอนรีสอร์ต ในอ.วังน้ำเขียว และปิดถนน นายสุรชัย กล่าวว่า การรื้อถอนที่เกิดขึ้นเป็นไปตามที่ศาลได้มีคำสั่ง ซึ่ง ส.ว.ก็คงจะไม่เข้าไปก้าวก่ายในเรื่องดังกล่าว
กำลังโหลดความคิดเห็น