วานนี้ ( 13ก.ย.) นายศรีราชา เจริญพานิช ผู้ตรวจการแผ่นดิน เปิดเผยภายหลังประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาทิกรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธ์พืช สปก และจังหวัดนครราชสีมา กรณีการบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนและกรมอุทยานในอ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา ว่าขณะนี้พบว่ายังมีความไม่ชัดเจนของแผนที่ระหว่างกรมอุทยานฯและกรมป่าไม้ที่มีการใช้พิกัดที่ต่างกัน จึงได้ขอให้ทั้ง 2 หน่วยงานนำเสนอข้อมูลที่มีความชัดเจนมาอีกครั้งหนึ่ง รวมทั้งจำนวนของผู้ที่ทั้ง 2 หน่วยงานอ้างว่ามีการบุกรุกพื้นที่ว่ามีจำนวนเท่าใด เพื่อที่จะได้มีการนำมาประชุมหารือถึงแนวทางการแก้ไขอีกครั้งในการประชุมวันที่ 11 ตุลาคมนี้
อย่างไรก็ตามจากที่ได้พูดคุยกับผู้ที่เกี่ยวข้องรวมทั้งจากการลงพื้นที่วังน้ำเขียวในช่วงที่ผ่านมาต่างเห็นด้วยกับข้อเสนอของตนที่เห็นว่าจะแก้ปัญหาดังกล่าวได้ต้องใช้แนวทางการผ่อนปรนโดยให้คนสามารถอยู่กับป่าได้ โดยเฉพาะกับคนที่เข้าไปครอบครองพื้นที่โดยสุจริต ซึ่งหากในการประชุมครั้งหน้ามีความชัดเจนของข้อมูลก็จะนำไปสู่การเสนอรูปแบบการแก้ไขปัญหาด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์ให้กับผู้ที่เข้าไปครองครอง เช่น 1. บอกให้ชัดว่าสามารถใช้ประโยชน์ในพื้นที่นั้นต่อไปได้แต่จะไม่มีสิทธิใด ๆ ในพื้นที่ 2 ห้ามมีการบุกรุกเพิ่ม และ 3 จะโอนขายไมได้ โดยการใช้ประโยชน์ในพื้นที่นั้นให้มีกำหนดระยะเวลา 10-15 ปี และระหว่างนั้นก็ให้ดำเนินการปลูกป่าตามคำสั่งของกรมป่าไม้ เพื่อที่เมื่อพ้นระยะเวลาที่กำหนดก็จะทำให้พื้นที่ดังกล่าวมีสภาพเป็นป่าไม้ที่สมบูรณ์ ส่วนผู้ที่เข้าไปครอบครองพื้นที่ของสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม(สปก.) โดยไม่ชอบนั้น หากมีการจัดสร้างเป็นรีสอร์ท หรือโฮมสเตย์ ซึ่งก็จะผิดกฎหมายสปก.นั้นก็มีข้อเสนอให้แปลงสภาพเป็นลักษณะของสวนเกษตรที่ก็สามารถเปิดรับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ได้เช่นกันและไม่ผิดต่อสปก.
“หากการประชุมครั้งหน้าได้ข้อสรุปที่ชัดเจนก็จะนำไปสู่การเสนอแนวทางการแก้ไขดังกล่าวที่คิดว่าเป็นทางออกที่ดีที่สุด เพราะถ้าไปบอกว่าบุกรุกป่าผิดแล้วต้องออกมันก็ไม่มีประโยชน์อะไร ซี่งก็จะมีการเสนอไปยังรัฐบาลให้มีมติครม. ออกมารองรับ และทำให้เป็นวังน้ำเขียวโมเดล สามารถนำไปใช้เป็นต้นแบบในการแก้ไขปัญหาการบุกรุกป่าในขณะนี้ที่ไม่ว่าจะเป็นเขาค้อ หรือน้ำหนาวต่อไป”
อย่างไรก็ตามจากที่ได้พูดคุยกับผู้ที่เกี่ยวข้องรวมทั้งจากการลงพื้นที่วังน้ำเขียวในช่วงที่ผ่านมาต่างเห็นด้วยกับข้อเสนอของตนที่เห็นว่าจะแก้ปัญหาดังกล่าวได้ต้องใช้แนวทางการผ่อนปรนโดยให้คนสามารถอยู่กับป่าได้ โดยเฉพาะกับคนที่เข้าไปครอบครองพื้นที่โดยสุจริต ซึ่งหากในการประชุมครั้งหน้ามีความชัดเจนของข้อมูลก็จะนำไปสู่การเสนอรูปแบบการแก้ไขปัญหาด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์ให้กับผู้ที่เข้าไปครองครอง เช่น 1. บอกให้ชัดว่าสามารถใช้ประโยชน์ในพื้นที่นั้นต่อไปได้แต่จะไม่มีสิทธิใด ๆ ในพื้นที่ 2 ห้ามมีการบุกรุกเพิ่ม และ 3 จะโอนขายไมได้ โดยการใช้ประโยชน์ในพื้นที่นั้นให้มีกำหนดระยะเวลา 10-15 ปี และระหว่างนั้นก็ให้ดำเนินการปลูกป่าตามคำสั่งของกรมป่าไม้ เพื่อที่เมื่อพ้นระยะเวลาที่กำหนดก็จะทำให้พื้นที่ดังกล่าวมีสภาพเป็นป่าไม้ที่สมบูรณ์ ส่วนผู้ที่เข้าไปครอบครองพื้นที่ของสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม(สปก.) โดยไม่ชอบนั้น หากมีการจัดสร้างเป็นรีสอร์ท หรือโฮมสเตย์ ซึ่งก็จะผิดกฎหมายสปก.นั้นก็มีข้อเสนอให้แปลงสภาพเป็นลักษณะของสวนเกษตรที่ก็สามารถเปิดรับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ได้เช่นกันและไม่ผิดต่อสปก.
“หากการประชุมครั้งหน้าได้ข้อสรุปที่ชัดเจนก็จะนำไปสู่การเสนอแนวทางการแก้ไขดังกล่าวที่คิดว่าเป็นทางออกที่ดีที่สุด เพราะถ้าไปบอกว่าบุกรุกป่าผิดแล้วต้องออกมันก็ไม่มีประโยชน์อะไร ซี่งก็จะมีการเสนอไปยังรัฐบาลให้มีมติครม. ออกมารองรับ และทำให้เป็นวังน้ำเขียวโมเดล สามารถนำไปใช้เป็นต้นแบบในการแก้ไขปัญหาการบุกรุกป่าในขณะนี้ที่ไม่ว่าจะเป็นเขาค้อ หรือน้ำหนาวต่อไป”