ASTVผู้จัดการรายวัน-"ยุทธศักดิ์" นำทีม ผบ.เหล่าทัพ ถก 17 หัวข้อจีบีซี ที่กัมพูชาวันนี้ "ประยุทธ์"ลั่นเล่นบทเข้มแข็ง หากอ่อนแอ หวั่นเจรจาเหลว ปชป.อัด "ปึ้ง"ทำผิดซ้ำซาก แถมปล่อยเขมรควงยูเนสโกขึ้นเขาพระวิหารตามลำพัง ไร้เงาฝ่ายไทย ผิดมติครม.สมัย "ชายจืด" เล็งหาช่องเล่นงานอีกกระทง เขมรตั้งแท่นบีบไทยถอนทหาร ปัดตั้งใจสอยเฮลิคอปเตอร์ไทย ทั้งๆ ที่รัวเป็นตับ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (21 ธ.ค.) พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม จะนำคณะกรรมการชายแดนทั่วไป (จีบีซี) ฝ่ายไทย ประกอบด้วย พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร ผู้บัญชาการทหารสูงสุด พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก พล.ร.อ.สุรศักดิ์ หรุ่นเริงรมย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ พล.อ.อ.อิทธพร ศุภวงศ์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ พล.อ.เสถียร เพิ่มทองอินทร์ ปลัดกระทรวงกลาโหม และปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนกระทรวงกลาโหม เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เป็นต้น เดินทางไปประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไปไทย-กัมพูชา ซึ่งจัดขึ้น ณ โรงแรมอินเตอร์คอนติเนลตัน พนมเปญ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา โดยมี พล.อ.เตีย บันห์ รมว.กลาโหมกัมพูชา เป็นประธานจีบีซี ฝ่ายกัมพูชา
สำหรับประเด็นและวัตถุประสงค์ในการหารือ เพื่อรายงานการพัฒนาความคืบหน้าความร่วมมือระหว่างกองทัพกัมพูชากับกองทัพไทย รวมทั้งเพื่อพิจารณาข้อตกลง 2 ด้าน คลอบคลุม 17 ประเด็นสำคัญ ซึ่งได้ผ่านการหารือในที่ประชุมรัฐสภาแล้ว
โดยในด้านความมั่นคง และรักษาความสงบเรียบร้อยตามแนวชายแดน ประกอบด้วย 1.ความร่วมมือด้านแรงงาน 2.การป้องกันและปราบปรามยาเสพติด 3.การป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมอื่นๆ ในพื้นที่ชายแดน 4.ความร่วมมือด้านการต่อต้านการก่อการร้าย 5.ความร่วมมือในการเก็บกู้ กวาดล้างทุ่นระเบิด 6.ส่งเสริมความมั่นคงทางทะเล 7.ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างทหารและตำรวจของกัมพูชากับหน่วยงานความมั่นคงตามแนวชายแดน 8.ประเด็นอื่นๆ
ส่วนด้านความร่วมมือด้านอื่นๆ ประกอบด้วย 1.ด้านการค้าบริเวณชายแดน 2.ด้านเกษตร 3.การสาธารณสุข 4.ท่องเที่ยว 5.รักษาสิ่งแวดล้อม 6.พัฒนาคุณภาพชีวิต การศึกษา และศาสนา 7.บรรเทาภัยพิบัติ 8.ข้อมูลข่าวสารสาธารณะ 9.เรื่องอื่นๆ
ทั้งนี้ ประเด็นสำคัญที่ต้องหารือในที่ประชุม คือ การดำเนินการเพื่อปฏิบัติการตามคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ICJ) หรือศาลโลก 5 ข้อ คือ 1.การปรับกำลังทหารของทั้งสองฝ่ายที่ประจำการในพื้นที่เขตปลอดทหาร 17.3 ตร.กม. ในขณะที่กัมพูชา มีกำลังทหารประมาณ 1,000 นาย 2.รายละเอียดในการเข้าปฏิบัติงานของผู้สังเกตการณ์ จากประเทศอินโดนีเซีย-ไทย-กัมพูชา 3.จุดตรวจร่วม 3 จุด 4.การจัดระเบียบวัดแก้วศิขาคีรีสวาระ ตลาด และชุมชนโดยรอบปราสาทพระวิหาร และ 5.การออกหลักเกณฑ์ในการเข้าออกพื้นที่ปราสาทพระวิหาร ของเจ้าหน้าที่องค์การยูเนสโก
**ย้ำกองทัพต้องเข้มแข็งหวั่นเจรจาเหลว
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. กล่าวถึงกรณีที่ประชาชนในพื้นที่ จ.ศรีสะเกษ ไม่อยากให้มีการปรับกำลังทหารออกไปว่า ก็คงไม่มีใครอยากออก หรืออยากเข้า เราก็อยู่ของเรา แต่เป็นเรื่องของพันธะสัญญาที่ต้องพูดคุยกัน เราไปตัดสินใจอะไรไม่ได้อยู่แล้ว ประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านตลอดแนว มีพันธะสัญญาต่อกัน ต้องมาดูว่า จะทำอย่างไร หากมีพันธะกรณีกับต่างชาติเช่นนี้ ทางที่ดีเราต้องเข้มแข็ง เพราะจะทำให้การพูดจาต่อรองง่ายขึ้น ถ้าอ่อนแอ การเจรจาต่อรองจะไม่ได้ผล เป็นธรรมดาโลกในปัจจุบันต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของชาติเป็นหลัก ดังนั้น ประเทศชาติต้องแข็งแรง ถ้าไม่แข็งแรง พูดอะไรไปก็ไม่มีใครฟัง
**ปชป.อัด"อ้ายปึ้ง" ทำผิดซ้ำซาก
นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการทำงานของนายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล ในฐานะ รมว.ต่างประเทศ ว่า มีการกระทำความผิดซ้ำซาก เพราะขาดความเอาใจใส่ในการบริหารราชการแผ่นดิน และการรักษาผลประโยชน์ของชาติ มุ่งแต่ดูแลแก้ปัญหาให้พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งทีมกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์ เตรียมข้อมูลใกล้เสร็จเรียบร้อย เพื่อดำเนินการกับนายสุรพงษ์ตามกฎหมาย
นอกจากนี้ ยังพบว่านายสุรพงษ์ ได้กระทำการฝ่าฝืนมติ ครม. วันที่ 2 ธ.ค.2551 ที่ออกในสมัยรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ โดยปล่อยให้ผู้แทนยูเนสโกเดินทางไปตรวจตัวปราสาทพระวิหาร โดยไม่ขออนุญาตจากฝ่ายไทย และไม่มีเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยร่วมคณะในการตรวจสอบดังกล่าว อีกทั้งยังไม่มีการประท้วงกรณีที่ตัวแทนยูเนสโกกล่าวหาทหารไทยว่าสร้างความเสียหายให้กับตัวปราสาท ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยเสียท่าทีในการเจรจาเพื่อรักษาสิทธิอธิปไตยของชาติในการต่อสู้คดีที่ศาลโลก และในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก
***ไม่คิดสอยฮ.ไทยทั้งๆ ยิงรัวไม่ยั้ง
พล.ท.ชุม โสชิต โฆษกกระทรวงกลาโหมกัมพูชา กล่าวว่า ทางการกัมพูชาเตรียมหยิบยกประเด็นเรื่องการถอนทหารของไทยออกจากพื้นที่โดยรอบปราสาทพระวิหาร ตามคำวินิจฉัยของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หลังยังไม่มีท่าทีที่ชัดเจนของฝ่ายไทยในเรื่องดังกล่าว ส่วนกรณีที่ทหารกัมพูชายิงเฮลิคอปเตอร์ของไทย ยืนยันว่า ไม่มีเจตนาทำลายเฮลิคอปเตอร์ แต่เป็นการยิงเตือนเท่านั้น เนื่องจากอากาศยานลำดังกล่าวของฝ่ายไทยพยายามลงจอดในเขตหวงห้ามของจังหวัดเกาะกง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (21 ธ.ค.) พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม จะนำคณะกรรมการชายแดนทั่วไป (จีบีซี) ฝ่ายไทย ประกอบด้วย พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร ผู้บัญชาการทหารสูงสุด พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก พล.ร.อ.สุรศักดิ์ หรุ่นเริงรมย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ พล.อ.อ.อิทธพร ศุภวงศ์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ พล.อ.เสถียร เพิ่มทองอินทร์ ปลัดกระทรวงกลาโหม และปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนกระทรวงกลาโหม เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เป็นต้น เดินทางไปประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไปไทย-กัมพูชา ซึ่งจัดขึ้น ณ โรงแรมอินเตอร์คอนติเนลตัน พนมเปญ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา โดยมี พล.อ.เตีย บันห์ รมว.กลาโหมกัมพูชา เป็นประธานจีบีซี ฝ่ายกัมพูชา
สำหรับประเด็นและวัตถุประสงค์ในการหารือ เพื่อรายงานการพัฒนาความคืบหน้าความร่วมมือระหว่างกองทัพกัมพูชากับกองทัพไทย รวมทั้งเพื่อพิจารณาข้อตกลง 2 ด้าน คลอบคลุม 17 ประเด็นสำคัญ ซึ่งได้ผ่านการหารือในที่ประชุมรัฐสภาแล้ว
โดยในด้านความมั่นคง และรักษาความสงบเรียบร้อยตามแนวชายแดน ประกอบด้วย 1.ความร่วมมือด้านแรงงาน 2.การป้องกันและปราบปรามยาเสพติด 3.การป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมอื่นๆ ในพื้นที่ชายแดน 4.ความร่วมมือด้านการต่อต้านการก่อการร้าย 5.ความร่วมมือในการเก็บกู้ กวาดล้างทุ่นระเบิด 6.ส่งเสริมความมั่นคงทางทะเล 7.ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างทหารและตำรวจของกัมพูชากับหน่วยงานความมั่นคงตามแนวชายแดน 8.ประเด็นอื่นๆ
ส่วนด้านความร่วมมือด้านอื่นๆ ประกอบด้วย 1.ด้านการค้าบริเวณชายแดน 2.ด้านเกษตร 3.การสาธารณสุข 4.ท่องเที่ยว 5.รักษาสิ่งแวดล้อม 6.พัฒนาคุณภาพชีวิต การศึกษา และศาสนา 7.บรรเทาภัยพิบัติ 8.ข้อมูลข่าวสารสาธารณะ 9.เรื่องอื่นๆ
ทั้งนี้ ประเด็นสำคัญที่ต้องหารือในที่ประชุม คือ การดำเนินการเพื่อปฏิบัติการตามคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ICJ) หรือศาลโลก 5 ข้อ คือ 1.การปรับกำลังทหารของทั้งสองฝ่ายที่ประจำการในพื้นที่เขตปลอดทหาร 17.3 ตร.กม. ในขณะที่กัมพูชา มีกำลังทหารประมาณ 1,000 นาย 2.รายละเอียดในการเข้าปฏิบัติงานของผู้สังเกตการณ์ จากประเทศอินโดนีเซีย-ไทย-กัมพูชา 3.จุดตรวจร่วม 3 จุด 4.การจัดระเบียบวัดแก้วศิขาคีรีสวาระ ตลาด และชุมชนโดยรอบปราสาทพระวิหาร และ 5.การออกหลักเกณฑ์ในการเข้าออกพื้นที่ปราสาทพระวิหาร ของเจ้าหน้าที่องค์การยูเนสโก
**ย้ำกองทัพต้องเข้มแข็งหวั่นเจรจาเหลว
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. กล่าวถึงกรณีที่ประชาชนในพื้นที่ จ.ศรีสะเกษ ไม่อยากให้มีการปรับกำลังทหารออกไปว่า ก็คงไม่มีใครอยากออก หรืออยากเข้า เราก็อยู่ของเรา แต่เป็นเรื่องของพันธะสัญญาที่ต้องพูดคุยกัน เราไปตัดสินใจอะไรไม่ได้อยู่แล้ว ประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านตลอดแนว มีพันธะสัญญาต่อกัน ต้องมาดูว่า จะทำอย่างไร หากมีพันธะกรณีกับต่างชาติเช่นนี้ ทางที่ดีเราต้องเข้มแข็ง เพราะจะทำให้การพูดจาต่อรองง่ายขึ้น ถ้าอ่อนแอ การเจรจาต่อรองจะไม่ได้ผล เป็นธรรมดาโลกในปัจจุบันต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของชาติเป็นหลัก ดังนั้น ประเทศชาติต้องแข็งแรง ถ้าไม่แข็งแรง พูดอะไรไปก็ไม่มีใครฟัง
**ปชป.อัด"อ้ายปึ้ง" ทำผิดซ้ำซาก
นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการทำงานของนายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล ในฐานะ รมว.ต่างประเทศ ว่า มีการกระทำความผิดซ้ำซาก เพราะขาดความเอาใจใส่ในการบริหารราชการแผ่นดิน และการรักษาผลประโยชน์ของชาติ มุ่งแต่ดูแลแก้ปัญหาให้พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งทีมกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์ เตรียมข้อมูลใกล้เสร็จเรียบร้อย เพื่อดำเนินการกับนายสุรพงษ์ตามกฎหมาย
นอกจากนี้ ยังพบว่านายสุรพงษ์ ได้กระทำการฝ่าฝืนมติ ครม. วันที่ 2 ธ.ค.2551 ที่ออกในสมัยรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ โดยปล่อยให้ผู้แทนยูเนสโกเดินทางไปตรวจตัวปราสาทพระวิหาร โดยไม่ขออนุญาตจากฝ่ายไทย และไม่มีเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยร่วมคณะในการตรวจสอบดังกล่าว อีกทั้งยังไม่มีการประท้วงกรณีที่ตัวแทนยูเนสโกกล่าวหาทหารไทยว่าสร้างความเสียหายให้กับตัวปราสาท ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยเสียท่าทีในการเจรจาเพื่อรักษาสิทธิอธิปไตยของชาติในการต่อสู้คดีที่ศาลโลก และในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก
***ไม่คิดสอยฮ.ไทยทั้งๆ ยิงรัวไม่ยั้ง
พล.ท.ชุม โสชิต โฆษกกระทรวงกลาโหมกัมพูชา กล่าวว่า ทางการกัมพูชาเตรียมหยิบยกประเด็นเรื่องการถอนทหารของไทยออกจากพื้นที่โดยรอบปราสาทพระวิหาร ตามคำวินิจฉัยของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หลังยังไม่มีท่าทีที่ชัดเจนของฝ่ายไทยในเรื่องดังกล่าว ส่วนกรณีที่ทหารกัมพูชายิงเฮลิคอปเตอร์ของไทย ยืนยันว่า ไม่มีเจตนาทำลายเฮลิคอปเตอร์ แต่เป็นการยิงเตือนเท่านั้น เนื่องจากอากาศยานลำดังกล่าวของฝ่ายไทยพยายามลงจอดในเขตหวงห้ามของจังหวัดเกาะกง