ASTVผู้จัดการรายวัน-ครม.อุบเงียบอนุมัติหลักการเพิ่มค่ารักษาพยาบาล ส.ส.-ส.ว. เบิกได้ครั้งละ 1แสน ผ่าตัด 1.2แสน จากเดิมใช้ประกันสุขภาพกลุ่มหัวละ2หมื่น
รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล แจ้งว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 13ธ.ค. ได้อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกา (พรฎ.) เงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นของประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานและรองประธานวุฒิสภา ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา และกรรมาธิการ พ.ศ.... และ ร่างระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินเกี่ยวกับการประกันสุขภาพ (การรักษาพยาบาล) ของสมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.... ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
ทั้งนี้ ทีมโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ไม่ได้มีการแถลงเรื่องดังกล่าวต่อสื่อมวลชนแต่อย่างใด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ร่างระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินเกี่ยวกับการประกันสุขภาพ (การรักษาพยาบาล) ของสมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ... ที่ครม.อนุมัตินั้น ได้เพิ่มสิทธิในการรักษาพยาบาลให้กับสมาชิกวุฒิสภา(ส.ว.) และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) มากขึ้น จากเดิมที่ได้รับการประกันสุขภาพเป็นรายปี โดยมีการเบิกจ่ายเงินงบในลักษณะการประกันสุขภาพกลุ่มในอัตราไม่เกิน 20,000 บาทต่อคนต่อปี ซึ่งมีค่าใช้จ่ายประมาณปีละ 12.6 ล้านบาท
ขณะที่ร่างที่แก้ไขฉบับนี้ ได้ปรับให้เป็นส.ว.และส.ส.ได้รับสิทธิประโยชน์สวัสดิการรักษาพยาบาล โดยสามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลทั่วไปต่อครั้งได้ 100,000 บาท ค่าผ่าตัดต่อครั้งได้ 120,000 บาท และค่าตรวจสุขภาพประจำปีได้ 7,000 บาท โดยจะมีผลบังคับใช้ในปีงบประมาณ 2556 เพราะปี 2555 ยังอยู่ในสัญญาประกันสุขภาพกลุ่ม ซึ่งต้องรอให้สิ้นสุดสัญญาก่อน เพื่อไม่ให้มีการจ่ายเงินงบประมาณซ้ำซ้อนกัน
อย่างไรก็ตาม เรื่องเดิมที่ทางสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ส่งร่างระเบียบการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้ครม. พิจารณานั้น จะมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ปีละ 124.63 ล้านบาท ซึ่งได้กำหนดค่ารักษาพยาบาลทั่วไปอยู่ที่ครั้งละ 120,000 บาท ก่อนที่จะปรับลงมาเหลือ 100,000 บาท, ค่าแพทย์ผ่าตัดครั้งละ 200,000 บาท ก่อนที่จะถูกปรับลงเหลือ 120,000 บาท และค่าตรวจสุขภาพประกันปี 10,000 บาท ก่อนที่จะปรับลงมาเหลือ 7,000 บาท
นอกจากนี้ ตามร่างกฤษฎีกาเงินประจำตำแหน่งและผลประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นฯ ที่ครม.อนุมัติ กำหนดให้ ประธานสภาผู้แทนราษฎร (ประธานรัฐสภา) จะได้รับเงินประจำตำแหน่งและเงินเพิ่มเท่ากับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ส่วนกรรมาธิการสภาผู้แทนราษฎร กรรมาธิการวุฒิสภา กรรมาธิการรัฐสภาและกรรมาธิการร่วมกันของทั้ง 2 สภา ได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายครั้งเฉพาะครั้งที่มาประชุมในอัตราครั้งละ 1,500 บาท และกำหนดให้อนุกรรมาธิการสภาผู้แทนราษฎร อนุกรรมาธิการวุฒิสภา อนุกรรมาธิการรัฐสภาและอนุกรรมาธิการร่วมกันของทั้ง 2 สภา ได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายครั้งครั้งละ 800 บาท
สำหรับข้อเสนอที่จะให้ผู้ช่วยเลขานุการในคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และรัฐสภา ซึ่งแต่งตั้งจากข้าราชการรัฐสภาสามัญได้รับเบี้ยประชุมครั้งละ 1,000 บาทนั้น ไม่ได้รับการอนุมัติ เนื่องจากเห็นว่าไม่สมควรจะกำหนดให้ได้รับเบี้ยประชุมอีก เนื่องจากเป็นการปฏิบัติงานตามหน้าที่ปกติของเจ้าหน้าที่ซึ่งได้รับเงินเดือนเป็นประจำอยู่แล้ว ส่วนค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ให้ได้รับสิทธิเบิกค่าเดินทางในอัตราเดียวกับหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง สำหรับส.ส.และส.ว.ที่เดินทางโดยพาหนะส่วนตัวมีสิทธิได้รับเงินชดเชยเป็นค่าพาหนะในการเดินทางมาประชุม
รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล แจ้งว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 13ธ.ค. ได้อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกา (พรฎ.) เงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นของประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานและรองประธานวุฒิสภา ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา และกรรมาธิการ พ.ศ.... และ ร่างระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินเกี่ยวกับการประกันสุขภาพ (การรักษาพยาบาล) ของสมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.... ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
ทั้งนี้ ทีมโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ไม่ได้มีการแถลงเรื่องดังกล่าวต่อสื่อมวลชนแต่อย่างใด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ร่างระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินเกี่ยวกับการประกันสุขภาพ (การรักษาพยาบาล) ของสมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ... ที่ครม.อนุมัตินั้น ได้เพิ่มสิทธิในการรักษาพยาบาลให้กับสมาชิกวุฒิสภา(ส.ว.) และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) มากขึ้น จากเดิมที่ได้รับการประกันสุขภาพเป็นรายปี โดยมีการเบิกจ่ายเงินงบในลักษณะการประกันสุขภาพกลุ่มในอัตราไม่เกิน 20,000 บาทต่อคนต่อปี ซึ่งมีค่าใช้จ่ายประมาณปีละ 12.6 ล้านบาท
ขณะที่ร่างที่แก้ไขฉบับนี้ ได้ปรับให้เป็นส.ว.และส.ส.ได้รับสิทธิประโยชน์สวัสดิการรักษาพยาบาล โดยสามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลทั่วไปต่อครั้งได้ 100,000 บาท ค่าผ่าตัดต่อครั้งได้ 120,000 บาท และค่าตรวจสุขภาพประจำปีได้ 7,000 บาท โดยจะมีผลบังคับใช้ในปีงบประมาณ 2556 เพราะปี 2555 ยังอยู่ในสัญญาประกันสุขภาพกลุ่ม ซึ่งต้องรอให้สิ้นสุดสัญญาก่อน เพื่อไม่ให้มีการจ่ายเงินงบประมาณซ้ำซ้อนกัน
อย่างไรก็ตาม เรื่องเดิมที่ทางสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ส่งร่างระเบียบการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้ครม. พิจารณานั้น จะมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ปีละ 124.63 ล้านบาท ซึ่งได้กำหนดค่ารักษาพยาบาลทั่วไปอยู่ที่ครั้งละ 120,000 บาท ก่อนที่จะปรับลงมาเหลือ 100,000 บาท, ค่าแพทย์ผ่าตัดครั้งละ 200,000 บาท ก่อนที่จะถูกปรับลงเหลือ 120,000 บาท และค่าตรวจสุขภาพประกันปี 10,000 บาท ก่อนที่จะปรับลงมาเหลือ 7,000 บาท
นอกจากนี้ ตามร่างกฤษฎีกาเงินประจำตำแหน่งและผลประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นฯ ที่ครม.อนุมัติ กำหนดให้ ประธานสภาผู้แทนราษฎร (ประธานรัฐสภา) จะได้รับเงินประจำตำแหน่งและเงินเพิ่มเท่ากับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ส่วนกรรมาธิการสภาผู้แทนราษฎร กรรมาธิการวุฒิสภา กรรมาธิการรัฐสภาและกรรมาธิการร่วมกันของทั้ง 2 สภา ได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายครั้งเฉพาะครั้งที่มาประชุมในอัตราครั้งละ 1,500 บาท และกำหนดให้อนุกรรมาธิการสภาผู้แทนราษฎร อนุกรรมาธิการวุฒิสภา อนุกรรมาธิการรัฐสภาและอนุกรรมาธิการร่วมกันของทั้ง 2 สภา ได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายครั้งครั้งละ 800 บาท
สำหรับข้อเสนอที่จะให้ผู้ช่วยเลขานุการในคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และรัฐสภา ซึ่งแต่งตั้งจากข้าราชการรัฐสภาสามัญได้รับเบี้ยประชุมครั้งละ 1,000 บาทนั้น ไม่ได้รับการอนุมัติ เนื่องจากเห็นว่าไม่สมควรจะกำหนดให้ได้รับเบี้ยประชุมอีก เนื่องจากเป็นการปฏิบัติงานตามหน้าที่ปกติของเจ้าหน้าที่ซึ่งได้รับเงินเดือนเป็นประจำอยู่แล้ว ส่วนค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ให้ได้รับสิทธิเบิกค่าเดินทางในอัตราเดียวกับหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง สำหรับส.ส.และส.ว.ที่เดินทางโดยพาหนะส่วนตัวมีสิทธิได้รับเงินชดเชยเป็นค่าพาหนะในการเดินทางมาประชุม