ASTVผู้จัดการรายวัน – “ธีระชัย” เผยผลประชุม Anti Corruption นัดแรกถกภาคเอกชนวางกรอบการทำงานและหามาตรการควบคุมกันเอง ขณะที่หน่วยงานภาครัฐจะต้องดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างอย่างโปร่งใส เผยแพร่ข้อมูลขึ้นเวบไซต์ทุกรายการ
นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รมว.คลัง เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการเพื่อกำหนดมาตรการทางธุรกิจสำหรับป้องกันการทุจริตคอรัปชั่น(Anti Corruption) ที่ประชุมได้มอบหมายให้ภาคเอกชนไปรวบรวมแนวคิดและวิธีการของข้อตกลงธรรมาภิบาลที่ลงนามร่วมกันในกลุ่มบริษัทสีขาวว่าจะมีวิธีการกำกับดูและลงโทษในกลุ่มอย่างไร ในกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงร่วมกัน เพื่อให้การกำกับตัวเองทำได้จริงจังมากขึ้น และเสนอมายังคณะกรรมการในครั้งต่อไป ขณะเดียวกันในส่วนของหน่วยงานภาครัฐก็จะเพิ่มความโปร่งในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง ด้วยการขึ้นรายการทั้งหมดในเว็บไซต์ของหน่วยงานถึงตารางเวลาและรายละเอียดโครงการต่างๆ ที่จะมีการจัดซื้อจัดจ้าง เพื่อให้เกิดความโปร่งใส
การประชุมนัดแรกจึงยังไม่ได้กำหนดรายละเอียดที่ชัดเจนว่าจะต้องดำเนินการอะไรบ้าง เพียงแต่เป็นการวางกรอบกว้างๆ เท่านั้น เพื่อดูว่า แต่ละหน่วยงานที่เป็นกรรมการในคณะกรรมการชัดนี้จะมีกระบวนการที่จะสร้างความโปร่งใสได้อย่างไร เช่นกรณีบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ก็จะให้มีการประกาศจุดยืนว่าแต่ละบริษัทจะต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่น หรือรายงานของผู้สอบบัญชีที่มีรายการตั้งข้อสังเกตความผิดปกติบางรายการ ก็จะมาดูว่า จะสามารถส่งต่อไปยังหน่วยงานใดๆได้บ้าง เพื่อให้มีผลปฏิบัติทางกฎหมาย
“คณะกรรมการชุดดังกล่าวไม่มีอำนาจทางกฎหมายที่จะเรียกสอบหรือเรียกหน่วยงานไหนชี้แจง เหมือนกรณีของสหรัฐอมริกา ที่สามาระเรียกสอบเอกชนถามว่า จ่ายเงินให้ใคร คณะกรรมการดังกล่าวจึงเป็นเพียงการวางแนวทางป้องกันและติดตามเพื่อไม่ให้เกิดการทุจริตคอรัปชั่นเท่านั้น ซึ่งเรามองว่าเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อให้เกิดความโปร่งใส” นายธีระชัยกล่าว
ส่วนข้อกังวลการรั่วไหลของการใช้เงินงบประมาณกลางจำนวนมากในการฟื้นฟูประเทศหลังน้ำลด น่าจะเป็นอำนาจของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ที่จะเข้าไปตรวจสอบหากมีการร้องเรียนเข้ามา ดังนั้นเรื่องนี้ภาคเอกชนน่าจะเป็นตัวจักรสำคัญที่จะรู้และร้องเรียนเข้ามาว่า มีกรณีใดบ้างที่ส่อถึงการทุจริต
สำหรับคณะกรรมการเพื่อกำหนดมาตรการทางธุรกิจสำหรับป้องกันการทุจริตคอรัปชั่น ประกอบด้วย รมว.คลังเป็นประธาน รองปลัดกระทรวงการคลังเป็นรองประธาน และกรรมการประกอบด้วย เลขาธิการ ป.ป.ช. อธิบดีกรมบัญชีกลาง อธิบดีกรมสรรพากร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย (ตลท.) ประธานสภาหอการค้าไทย ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย นายกสมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย นายกสภาวิชาชีพ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ผู้อำนวยการสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย
นายทศพร ศรีสมพันธ์ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ นายเกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ นางสาวพะนอศรีถาวรเศรษฐ์ รองผู้อำนวยการ สศค.เป็นกรรมการและเลขานุการผู้ช่วยเลขาธิการ ก.ล.ต.เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ และนายพงษ์เทพ ถิฐาพันธ์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านกิจการพิเศษระบบการเงินการคลัง กระทรวงการคลังเป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ.
นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รมว.คลัง เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการเพื่อกำหนดมาตรการทางธุรกิจสำหรับป้องกันการทุจริตคอรัปชั่น(Anti Corruption) ที่ประชุมได้มอบหมายให้ภาคเอกชนไปรวบรวมแนวคิดและวิธีการของข้อตกลงธรรมาภิบาลที่ลงนามร่วมกันในกลุ่มบริษัทสีขาวว่าจะมีวิธีการกำกับดูและลงโทษในกลุ่มอย่างไร ในกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงร่วมกัน เพื่อให้การกำกับตัวเองทำได้จริงจังมากขึ้น และเสนอมายังคณะกรรมการในครั้งต่อไป ขณะเดียวกันในส่วนของหน่วยงานภาครัฐก็จะเพิ่มความโปร่งในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง ด้วยการขึ้นรายการทั้งหมดในเว็บไซต์ของหน่วยงานถึงตารางเวลาและรายละเอียดโครงการต่างๆ ที่จะมีการจัดซื้อจัดจ้าง เพื่อให้เกิดความโปร่งใส
การประชุมนัดแรกจึงยังไม่ได้กำหนดรายละเอียดที่ชัดเจนว่าจะต้องดำเนินการอะไรบ้าง เพียงแต่เป็นการวางกรอบกว้างๆ เท่านั้น เพื่อดูว่า แต่ละหน่วยงานที่เป็นกรรมการในคณะกรรมการชัดนี้จะมีกระบวนการที่จะสร้างความโปร่งใสได้อย่างไร เช่นกรณีบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ก็จะให้มีการประกาศจุดยืนว่าแต่ละบริษัทจะต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่น หรือรายงานของผู้สอบบัญชีที่มีรายการตั้งข้อสังเกตความผิดปกติบางรายการ ก็จะมาดูว่า จะสามารถส่งต่อไปยังหน่วยงานใดๆได้บ้าง เพื่อให้มีผลปฏิบัติทางกฎหมาย
“คณะกรรมการชุดดังกล่าวไม่มีอำนาจทางกฎหมายที่จะเรียกสอบหรือเรียกหน่วยงานไหนชี้แจง เหมือนกรณีของสหรัฐอมริกา ที่สามาระเรียกสอบเอกชนถามว่า จ่ายเงินให้ใคร คณะกรรมการดังกล่าวจึงเป็นเพียงการวางแนวทางป้องกันและติดตามเพื่อไม่ให้เกิดการทุจริตคอรัปชั่นเท่านั้น ซึ่งเรามองว่าเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อให้เกิดความโปร่งใส” นายธีระชัยกล่าว
ส่วนข้อกังวลการรั่วไหลของการใช้เงินงบประมาณกลางจำนวนมากในการฟื้นฟูประเทศหลังน้ำลด น่าจะเป็นอำนาจของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ที่จะเข้าไปตรวจสอบหากมีการร้องเรียนเข้ามา ดังนั้นเรื่องนี้ภาคเอกชนน่าจะเป็นตัวจักรสำคัญที่จะรู้และร้องเรียนเข้ามาว่า มีกรณีใดบ้างที่ส่อถึงการทุจริต
สำหรับคณะกรรมการเพื่อกำหนดมาตรการทางธุรกิจสำหรับป้องกันการทุจริตคอรัปชั่น ประกอบด้วย รมว.คลังเป็นประธาน รองปลัดกระทรวงการคลังเป็นรองประธาน และกรรมการประกอบด้วย เลขาธิการ ป.ป.ช. อธิบดีกรมบัญชีกลาง อธิบดีกรมสรรพากร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย (ตลท.) ประธานสภาหอการค้าไทย ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย นายกสมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย นายกสภาวิชาชีพ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ผู้อำนวยการสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย
นายทศพร ศรีสมพันธ์ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ นายเกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ นางสาวพะนอศรีถาวรเศรษฐ์ รองผู้อำนวยการ สศค.เป็นกรรมการและเลขานุการผู้ช่วยเลขาธิการ ก.ล.ต.เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ และนายพงษ์เทพ ถิฐาพันธ์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านกิจการพิเศษระบบการเงินการคลัง กระทรวงการคลังเป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ.