ASTVผู้จัดการรายวัน - ตั้งแล้วคณะกรรมการกำหนดมาตรการทางธุรกิจป้องกันการโกงระหว่างรัฐกับเอกชน ประชุมนัดแรก 8 ธันวาคมนี้ “ธีระชัย” ยอมรับต้องแก้กฎหมาย เพิ่มอำนาจ ก.ล.ต.ให้สามารถเรียกเอกชนมาชี้แจงประเด็นจ่ายเงินให้ภาครัฐ พร้อมใช้กฎหมายตรวจสอบคอรัปชั่นของอังกฤษและสอบงบบริษัทจดทะเบียน
นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รมว.คลัง เปิดเผยความคืบหน้าการแต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดมาตรการทางธุรกิจสำหรับป้องกันการทุจริตคอร์รัปชัน (Anti Corruption) ว่า ได้ลงนามไปแล้ว รมว.คลัง เป็นประธาน รองปลัดกระทรวงการคลัง เป็นรองประธาน และกรรมการประกอบด้วย เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) อธิบดีกรมบัญชีกลาง อธิบดีกรมสรรพากร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ประธานสภาหอการค้าไทย ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย นายกสมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย นายกสภาวิชาชีพ ในพระบรมราชีนูปถัมภ์ ผู้อำนวยการสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย
นายทศพร ศรีสมพันธ์ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ นายเกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ นางสาวพะนอศรี ถาวรเศรษฐ์ รองผู้อำนวยการ สศค.เป็นกรรมการและเลขานุการ ผู้ช่วยเลขาธิการ ก.ล.ต.เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ และ นายพงษ์เทพ ถิฐาพันธ์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านกิจการพิเศษระบบการเงินการคลัง กระทรวงการคลัง เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ หน้าที่ของคณะกรรมการดังกล่าวจะต้องกำหนดมาตรการทางธุรกิจสำหรับป้องกันการทุจริตคอร์รัปชันระหว่างภาครัฐและเอกชน โดยเน้นกำกับดูแลบริษัทเอกชนด้วยมาตรฐานตลาดทุน การเปิดเผยข้อมูลบัญชี มาตรการจูงใจและมาตรการลงโทษอื่นๆ รวมถึงดำเนินการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปรับปรุงแก้ไขกฎหมายหรือระเบียบใดๆ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรการที่กำหนดและเรียกให้หน่วยงานภาครัฐ หรือเจ้าหน้าที่รัฐ หรือขอความร่วมมือกับเอกชน ชี้แจงข้อเท็จจริง เพื่อให้ความเห็นด้วยวาจา หรือหนังสือที่เป็นประโยชน์ในการกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันและแก้ไขการทุจริตระหว่างภาครัฐและเอกชน โดยจะมีการประชุมคณะกรรมการนัดแรกในวันที่ 8 ธันวาคมนี้
นายธีระชัย กล่าวว่า คณะกรรมการต้องมีการหารือร่วมกันก่อนว่า จะกำหนดมาตรการอย่างไรบ้าง อย่างกรณีของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)ของสหรัฐอเมริกาเอง จะมีอำนาจในการเรียกให้เอกชนรายงานด้วยว่า มีการจ่ายเงินให้กับหน่วยงานภาครัฐใดหรือจ่ายให้กับใคร ซึ่งก็ต้องมาดูว่า ในอำนาจหน้าที่ของ ก.ล.ต.ไทยจะทำได้หรือไม่ ซึ่งก็ต้องมีการแก้ไขกฎหมายต่อไป โดยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐถือเป็น 1 ในนโยบายเร่งด่วนที่รัฐบาลจะดำเนินการในปีแรกอย่างจริงจัง ตามนโยบายที่ได้แถลงต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม
“คณะกรรมการดังกล่าวจะตรวจสอบการเบิกจ่ายเงินงบประมาณภาพใหญ่ รวมถึงการเบิกจ่ายงบที่เตรียมสำหรับการใช้ในการฟื้นฟูเศรษฐกิจที่คาดว่าจะมีจำนวนมาก และยังมีแนวคิดในการการดึงกฎหมายเรื่องการตรวจสอบคอร์รัปชันของอังกฤษมาใช้ รวมถึงการตรวจสอบงบการเงินของบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ด้วย แต่ต้องคำนึงด้วยว่าการให้อำนาจ ก.ล.ต.เพิ่ม จะต้องไม่เป็นอุปสรรคต่อการทำธุรกิจ” นายธีระชัย กล่าว
นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รมว.คลัง เปิดเผยความคืบหน้าการแต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดมาตรการทางธุรกิจสำหรับป้องกันการทุจริตคอร์รัปชัน (Anti Corruption) ว่า ได้ลงนามไปแล้ว รมว.คลัง เป็นประธาน รองปลัดกระทรวงการคลัง เป็นรองประธาน และกรรมการประกอบด้วย เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) อธิบดีกรมบัญชีกลาง อธิบดีกรมสรรพากร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ประธานสภาหอการค้าไทย ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย นายกสมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย นายกสภาวิชาชีพ ในพระบรมราชีนูปถัมภ์ ผู้อำนวยการสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย
นายทศพร ศรีสมพันธ์ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ นายเกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ นางสาวพะนอศรี ถาวรเศรษฐ์ รองผู้อำนวยการ สศค.เป็นกรรมการและเลขานุการ ผู้ช่วยเลขาธิการ ก.ล.ต.เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ และ นายพงษ์เทพ ถิฐาพันธ์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านกิจการพิเศษระบบการเงินการคลัง กระทรวงการคลัง เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ หน้าที่ของคณะกรรมการดังกล่าวจะต้องกำหนดมาตรการทางธุรกิจสำหรับป้องกันการทุจริตคอร์รัปชันระหว่างภาครัฐและเอกชน โดยเน้นกำกับดูแลบริษัทเอกชนด้วยมาตรฐานตลาดทุน การเปิดเผยข้อมูลบัญชี มาตรการจูงใจและมาตรการลงโทษอื่นๆ รวมถึงดำเนินการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปรับปรุงแก้ไขกฎหมายหรือระเบียบใดๆ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรการที่กำหนดและเรียกให้หน่วยงานภาครัฐ หรือเจ้าหน้าที่รัฐ หรือขอความร่วมมือกับเอกชน ชี้แจงข้อเท็จจริง เพื่อให้ความเห็นด้วยวาจา หรือหนังสือที่เป็นประโยชน์ในการกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันและแก้ไขการทุจริตระหว่างภาครัฐและเอกชน โดยจะมีการประชุมคณะกรรมการนัดแรกในวันที่ 8 ธันวาคมนี้
นายธีระชัย กล่าวว่า คณะกรรมการต้องมีการหารือร่วมกันก่อนว่า จะกำหนดมาตรการอย่างไรบ้าง อย่างกรณีของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)ของสหรัฐอเมริกาเอง จะมีอำนาจในการเรียกให้เอกชนรายงานด้วยว่า มีการจ่ายเงินให้กับหน่วยงานภาครัฐใดหรือจ่ายให้กับใคร ซึ่งก็ต้องมาดูว่า ในอำนาจหน้าที่ของ ก.ล.ต.ไทยจะทำได้หรือไม่ ซึ่งก็ต้องมีการแก้ไขกฎหมายต่อไป โดยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐถือเป็น 1 ในนโยบายเร่งด่วนที่รัฐบาลจะดำเนินการในปีแรกอย่างจริงจัง ตามนโยบายที่ได้แถลงต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม
“คณะกรรมการดังกล่าวจะตรวจสอบการเบิกจ่ายเงินงบประมาณภาพใหญ่ รวมถึงการเบิกจ่ายงบที่เตรียมสำหรับการใช้ในการฟื้นฟูเศรษฐกิจที่คาดว่าจะมีจำนวนมาก และยังมีแนวคิดในการการดึงกฎหมายเรื่องการตรวจสอบคอร์รัปชันของอังกฤษมาใช้ รวมถึงการตรวจสอบงบการเงินของบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ด้วย แต่ต้องคำนึงด้วยว่าการให้อำนาจ ก.ล.ต.เพิ่ม จะต้องไม่เป็นอุปสรรคต่อการทำธุรกิจ” นายธีระชัย กล่าว