ASTVผู้จัดการรายวัน - กรมบัญชีกลางเผยตัวเลขเบิกจ่ายช่วยเหลือน้ำท่วม 62 จังหวัดครัวเรือนละ 5 พันบาท ครม.อนุมัติไปแล้ว 1.45 หมื่นล้านบาท เบิกจ่ายผ่านธนาคารออมสินแล้วกว่า 2 พันล้านบาท ส่วนเกณฑ์จ่ายช่วยเหลือครอบครัวละ 3 หมื่นบาทให้ยึดตามคำสั่งกระทรวงการคลังปี 2551 ป้องกันประชาชนสับสน
นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า กรมบัญชีกลางได้ดำเนินการจ่ายเงินช่วยเหลือครัวเรือนที่ประสบอุทุกภัยทั่วประเทศจำนวน 62 จังหวัดและกรุงเทพมหานคร โดยยึดกรอบตามมติคณะรัฐมนตรี(ครม.) ที่อนุมัติทั้งสิ้น 1.45 หมื่นล้านบาท โดย ณ วันที่ 2 ธันวาคมที่ผ่านมาได้ดำเนินการตรวจสอบและโอนเงินช่วยเหลือนี้ผ่านธนาคารออมสินไปแล้วทั้งสิ้น 2 พันล้านบาท
“กรอบการจ่ายเงินช่วยเหลือดังกล่าวนี้กรมบัญชีกลางได้ดำเนินการตามที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.) แจ้งรายละเอียดความเสียหายและจำนวนครัวเรือนที่ได้รับความช่วยเหลือตามเกณฑ์ที่กำหนดมาให้ และกรมบัญชีกลางก็ได้ทยอยโอนเงินช่วยเหลือครอบครัวละ 5 พันบาทนี้ผ่านทางธนาคารออมสิน ซึ่งมีระบบสั่งจ่ายที่โปร่งใสถึงมือผู้ประสบภัยทุกครัวเรือน” นายรังสรรค์กล่าว
สำหรับเกณฑ์และวิธีในการดำเนินการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยกรณีฉุกเฉินให้ยึดตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลัง ที่ กค 0406.3/ ว.130 ลงวันที่ 28 พ.ย.2551 ถึงอธิบดีปภ. มีสาระสำคัญว่า กระทรวงการคลังยกเลิก หลักเกณฑ์และวิธีให้ความช่วยเหลือ ผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ.2546 ที่ประกาศใช้เมื่อวันที่ 25 พ.ย. 2546 แต่ให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีให้ความช่วยเหลือฯ พ.ศ. 2551 ที่แก้ไขเพิ่มเติมแทน ซึ่งระบุการจ่ายเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขและอัตราการช่วยเหลือต่างๆ ตามสิทธิของผู้ประสบภัย
เอกสารระบุถึงสิทธิและการให้ความช่วยเหลือไว้ เช่น ข้อ 5.1.1 ค่าอาหารจัดเลี้ยงผู้ประสบภัยมื้อละไม่เกิน 30 บาท/วัน/คน และช่วยเหลือถุงยังชีพไม่เกินชุดละ 500 บาท/ครอบครัว 5.1.2 ค่าเครื่องครัวและอุปกรณ์ประกอบอาหาร เท่าที่จ่ายจริงครอบครัวละไม่เกิน 3,500 บาท ข้อ 5.1.4 ระบุค่าวัสดุซ่อมแซมที่อยู่อาศัยประจำ ที่ได้รับความเสียหายบางส่วนเท่าที่จ่ายจริงหลังละไม่เกิน 20,000 บาท ข้อ 5.1.5 เป็นค่าชดเชยให้บ้านที่เสียหายทั้งหลังแต่ไม่เกิน 30,000 บาท ข้อ 5.1.6 ระบุให้ชดเชยค่าวัสดุซ่อมแซมยุ้งข้าว โรงเรือนเก็บพืชผล และคอกสัตว์เท่าที่จ่ายจริงครอบครัวละไม่เกิน 3,000 บาท ข้อ 5.1.6 ค่าวัสดุยุ้งข้าวคอกสัตว์ที่เสียหายทั้งหลังจ่ายไม่เกิน 8,000 บาท
ข้อ 5.1.10 กรณีผู้ประสบภัยพิบัติเช่าบ้านให้ช่วยเหลือเป็นค่าเช่าเท่าที่จ่ายจริงครอบครัวละไม่เกินเดือนละ 1,500 บาท ไม่เกิน 2 เดือน หรือข้อ 5.1.11 ค่าดัดแปลงสถานที่สำหรับเป็นที่พักชั่วคราว เท่าที่จ่ายจริงครอบครัวละไม่เกิน 2,000 บาท หรือค่าสร้างที่พักชั่วคราวเท่าที่จ่ายจริงครอบครัวละไม่เกิน 4,000 บาท หรือค่าผ้าใบผ้าพลาสติกใช้กันแดดฝนเท่าที่จ่ายจริงครอบครัวละไม่เกิน 800 บาท ข้อ 5.1.13 ให้สิทธิผู้ประสบภัยพิบัติได้รับค่าเครื่องนุ่งห่มคนละ 2 ชุด เท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 1,000 บาท กรณีเป็นนักเรียนหรือนักศึกษาให้จ่ายค่าเครื่องแบบนักเรียนหรือนักศึกษาอีกคนละ 2 ชุด เท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 1,000 บาท เป็นต้น.
นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า กรมบัญชีกลางได้ดำเนินการจ่ายเงินช่วยเหลือครัวเรือนที่ประสบอุทุกภัยทั่วประเทศจำนวน 62 จังหวัดและกรุงเทพมหานคร โดยยึดกรอบตามมติคณะรัฐมนตรี(ครม.) ที่อนุมัติทั้งสิ้น 1.45 หมื่นล้านบาท โดย ณ วันที่ 2 ธันวาคมที่ผ่านมาได้ดำเนินการตรวจสอบและโอนเงินช่วยเหลือนี้ผ่านธนาคารออมสินไปแล้วทั้งสิ้น 2 พันล้านบาท
“กรอบการจ่ายเงินช่วยเหลือดังกล่าวนี้กรมบัญชีกลางได้ดำเนินการตามที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.) แจ้งรายละเอียดความเสียหายและจำนวนครัวเรือนที่ได้รับความช่วยเหลือตามเกณฑ์ที่กำหนดมาให้ และกรมบัญชีกลางก็ได้ทยอยโอนเงินช่วยเหลือครอบครัวละ 5 พันบาทนี้ผ่านทางธนาคารออมสิน ซึ่งมีระบบสั่งจ่ายที่โปร่งใสถึงมือผู้ประสบภัยทุกครัวเรือน” นายรังสรรค์กล่าว
สำหรับเกณฑ์และวิธีในการดำเนินการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยกรณีฉุกเฉินให้ยึดตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลัง ที่ กค 0406.3/ ว.130 ลงวันที่ 28 พ.ย.2551 ถึงอธิบดีปภ. มีสาระสำคัญว่า กระทรวงการคลังยกเลิก หลักเกณฑ์และวิธีให้ความช่วยเหลือ ผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ.2546 ที่ประกาศใช้เมื่อวันที่ 25 พ.ย. 2546 แต่ให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีให้ความช่วยเหลือฯ พ.ศ. 2551 ที่แก้ไขเพิ่มเติมแทน ซึ่งระบุการจ่ายเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขและอัตราการช่วยเหลือต่างๆ ตามสิทธิของผู้ประสบภัย
เอกสารระบุถึงสิทธิและการให้ความช่วยเหลือไว้ เช่น ข้อ 5.1.1 ค่าอาหารจัดเลี้ยงผู้ประสบภัยมื้อละไม่เกิน 30 บาท/วัน/คน และช่วยเหลือถุงยังชีพไม่เกินชุดละ 500 บาท/ครอบครัว 5.1.2 ค่าเครื่องครัวและอุปกรณ์ประกอบอาหาร เท่าที่จ่ายจริงครอบครัวละไม่เกิน 3,500 บาท ข้อ 5.1.4 ระบุค่าวัสดุซ่อมแซมที่อยู่อาศัยประจำ ที่ได้รับความเสียหายบางส่วนเท่าที่จ่ายจริงหลังละไม่เกิน 20,000 บาท ข้อ 5.1.5 เป็นค่าชดเชยให้บ้านที่เสียหายทั้งหลังแต่ไม่เกิน 30,000 บาท ข้อ 5.1.6 ระบุให้ชดเชยค่าวัสดุซ่อมแซมยุ้งข้าว โรงเรือนเก็บพืชผล และคอกสัตว์เท่าที่จ่ายจริงครอบครัวละไม่เกิน 3,000 บาท ข้อ 5.1.6 ค่าวัสดุยุ้งข้าวคอกสัตว์ที่เสียหายทั้งหลังจ่ายไม่เกิน 8,000 บาท
ข้อ 5.1.10 กรณีผู้ประสบภัยพิบัติเช่าบ้านให้ช่วยเหลือเป็นค่าเช่าเท่าที่จ่ายจริงครอบครัวละไม่เกินเดือนละ 1,500 บาท ไม่เกิน 2 เดือน หรือข้อ 5.1.11 ค่าดัดแปลงสถานที่สำหรับเป็นที่พักชั่วคราว เท่าที่จ่ายจริงครอบครัวละไม่เกิน 2,000 บาท หรือค่าสร้างที่พักชั่วคราวเท่าที่จ่ายจริงครอบครัวละไม่เกิน 4,000 บาท หรือค่าผ้าใบผ้าพลาสติกใช้กันแดดฝนเท่าที่จ่ายจริงครอบครัวละไม่เกิน 800 บาท ข้อ 5.1.13 ให้สิทธิผู้ประสบภัยพิบัติได้รับค่าเครื่องนุ่งห่มคนละ 2 ชุด เท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 1,000 บาท กรณีเป็นนักเรียนหรือนักศึกษาให้จ่ายค่าเครื่องแบบนักเรียนหรือนักศึกษาอีกคนละ 2 ชุด เท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 1,000 บาท เป็นต้น.