ASTVผู้จัดการรายวัน – คลังสนองนโยบายเร่งด่วน ชงสูตรปรับเพิ่มรายได้ข้าราชการปริญญาตรีเดือนละ 1.5 หมื่นบาท ได้ข้อสรุปรัฐบาลยอมรับแนวทางกรมบัญชีกลางเพิ่มค่าครองชีพแทน คาดใช้เงิน 2.2 หมื่นล้าน มีข้าราชการลูกจ้างเข้าข่าย 5 แสนคน คาดมีผลเดือน ม.ค.55 ส่วนปรับเงินเดือนรอปีงบถัดไป
นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า รัฐบาลเห็นด้วยกับแนวทางของกรมบัญชีกลางในการปรับเพิ่มค่าครองชีพให้ข้าราชการระดับปริญญาตรีที่ยังมีรายได้ไม่ถึงเดือนละ 1.5 หมื่นบาทโดยจะเป็นการปรับเพิ่มค่าครองชีพไม่ใช่การปรับฐานเงินเดือนข้าราชการ ซึ่งหลังจากรัฐบาลแถลงนโยบายแล้วคาดว่าในเร็วนี้น่าจะนำเข้าสู่ที่ประชุมของคณะรัฐมนตรี(ครม.)ได้ เพราะถือเป็นหนึ่งในมาตรการเร่งด่วนที่รัฐบาลหาเสียงไว้ก่อนหน้านี้จึงน่าจะทำได้เร็วและสอดรับกับการปรับเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300 บาทของภาคเอกชนด้วย
ทั้งนี้ จากการตรวจสอบจำนวนข้าราชการ พนักงานของรัฐทั้งลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราวที่จบปริญญาตรีที่เข้าข่ายได้รับเงินเพิ่มค่าครองชีพเพื่อให้มีรายได้รวมถึง 1.5 หมื่นบาทต่อเดือนประจำปีงบประมาณ 2555 น่าจะมีประมาณ 5 แสนคน ซึ่งรวมถึงข้าราชการรับเข้ามาใหม่ที่ทดแทนข้าราชการที่เกษียณอายุในปีนี้ด้วย โดยเบื้องต้นคาดว่าจะใช้เงินประมาณ 2.2 หมื่นล้านบาท ซึ่งต่ำกว่าตัวเลขที่นายกรณ์ จาติกวณิช อดีต รมว.คลังได้วิเคราะห์ข้อมูลก่อนหน้านี้ว่าจะใช้งบในการปรับเพิ่มเงินเดือนค่าคราองชีพข้าราชการถึง 4.5 หมื่นล้านบาท จำนวนข้าราชการประมาณ 8 แสนกว่าคน
"คาดว่าการปรับเพิ่มค่าครองชีพข้าราชการและลูกจ้างตามนโยบายรัฐบาลในครั้งนี้น่าจะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนมกราคม 2555 ซึ่งน่าจะสอดคล้องกับการปรับเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำของภาคเอกชน ซึ่งสอดคล้องกับการจัดงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2555 ที่น่าจะล่าช้าไปประมาณ 2-3 เดือนหรือมีผลบังคับในเดือนมกราคม 2555 เช่นเดียวกัน เนื่องจากรัฐบาลต้องมาพิจารณากรอบวงเงินและรายละเอียดใหม่ก่อนจะนำเข้าครม.และสภาต่อไป" นายรังสรรค์ กล่าวและว่า ส่วนของการปรับเพิ่มเงินเดือนข้าราชการทั้งระบบนั้นเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาและเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการพิจารณาเงินเดือนแห่งชาติ ซึ่งน่าจะดำเนินการได้ในปีงบประมาณหน้า หรือเดือนตุลาคม 2555 ซึ่งส่วนนี้ถือเป็นการปรับเพิ่มทั้งระบบน่าจะใช้เงินงบประมาณอีกจำนวนมาก
อย่างไรก็ตาม ในระหว่างที่งบประมาณปี 2555 ยังไม่มีผลบังคับใช้ ซึ่งล่าช้ากว่าปกติที่งบปี 2555 ต้องเริ่มใช้ในเดือนตุลาคมปีนี้นั้น ในส่วนของการเบิกจ่ายงบประมานได้กำชับเจ้าหน้าที่ไปแล้วให้เบิกจ่ายจากเงินงบประมาณปี 2554 ใช้แทนไปก่อน ซึ่งเป็นไปตามระเบียบการเบิกจ่ายที่กำหนดไว้ในพ.ร.บ.อยู่แล้ว โดยเฉพาะส่วนของงบประจำที่เกี่ยวกับเงินเดือนและบำเหน็จบำนาญของข้าราชการนั้นยืนยันว่าจะจ่ายได้ตรงตามกำหนดอย่างแน่นอน นอกจากนั้นกรมบัญชีกลางในฐานะผู้ดูแลเงินคงคลังซึ่งปัจจุบันมีถึง 3 แสนกว่าล้านบาทแม้ว่าเงินส่วนหนึ่งจะเป็นเงินที่หน่วยงานต่างๆหรือกองทุนต่างๆ ฝากไว้แต่หากจำเป็นก็สามารถดึงออกมาใช้ก่อนได้ หากมีรายได้จากภาษีนำส่งเข้ามาก็สามารถนำกลับไปชดใช้คืนได้ถือเป็นการบริหารเงินสดหมุนเวียนได้ตามที่กฎหมายเปิดช่องไว้
ส่วนของการเบิกจ่ายค่าเงินค่าเบี้ยยังชีพคนชราและเบี้ยอสม.นั้นในช่วง 3 เดือนของปีนี้หรือเป็นงบที่ตั้งในปี 2555 อาจจะล่าช้าหรือตกเบิกไปบ้างขึ้นอยู่กับหน่วยงานที่กำกับดูแลจะเร่งอนุมัติไปยังท้องถิ่นหรือไม่ ซึ่งอยู่นอกเหนืออำนาจของกรมบัญชีกลาง ส่วนของการปรับเพิ่มเบี้ยยังชีพตามนโยบายรัฐบาลก็น่าจะเริ่มได้เดือนมกราคม 2555 เช่นเดียวกัน.
นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า รัฐบาลเห็นด้วยกับแนวทางของกรมบัญชีกลางในการปรับเพิ่มค่าครองชีพให้ข้าราชการระดับปริญญาตรีที่ยังมีรายได้ไม่ถึงเดือนละ 1.5 หมื่นบาทโดยจะเป็นการปรับเพิ่มค่าครองชีพไม่ใช่การปรับฐานเงินเดือนข้าราชการ ซึ่งหลังจากรัฐบาลแถลงนโยบายแล้วคาดว่าในเร็วนี้น่าจะนำเข้าสู่ที่ประชุมของคณะรัฐมนตรี(ครม.)ได้ เพราะถือเป็นหนึ่งในมาตรการเร่งด่วนที่รัฐบาลหาเสียงไว้ก่อนหน้านี้จึงน่าจะทำได้เร็วและสอดรับกับการปรับเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300 บาทของภาคเอกชนด้วย
ทั้งนี้ จากการตรวจสอบจำนวนข้าราชการ พนักงานของรัฐทั้งลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราวที่จบปริญญาตรีที่เข้าข่ายได้รับเงินเพิ่มค่าครองชีพเพื่อให้มีรายได้รวมถึง 1.5 หมื่นบาทต่อเดือนประจำปีงบประมาณ 2555 น่าจะมีประมาณ 5 แสนคน ซึ่งรวมถึงข้าราชการรับเข้ามาใหม่ที่ทดแทนข้าราชการที่เกษียณอายุในปีนี้ด้วย โดยเบื้องต้นคาดว่าจะใช้เงินประมาณ 2.2 หมื่นล้านบาท ซึ่งต่ำกว่าตัวเลขที่นายกรณ์ จาติกวณิช อดีต รมว.คลังได้วิเคราะห์ข้อมูลก่อนหน้านี้ว่าจะใช้งบในการปรับเพิ่มเงินเดือนค่าคราองชีพข้าราชการถึง 4.5 หมื่นล้านบาท จำนวนข้าราชการประมาณ 8 แสนกว่าคน
"คาดว่าการปรับเพิ่มค่าครองชีพข้าราชการและลูกจ้างตามนโยบายรัฐบาลในครั้งนี้น่าจะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนมกราคม 2555 ซึ่งน่าจะสอดคล้องกับการปรับเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำของภาคเอกชน ซึ่งสอดคล้องกับการจัดงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2555 ที่น่าจะล่าช้าไปประมาณ 2-3 เดือนหรือมีผลบังคับในเดือนมกราคม 2555 เช่นเดียวกัน เนื่องจากรัฐบาลต้องมาพิจารณากรอบวงเงินและรายละเอียดใหม่ก่อนจะนำเข้าครม.และสภาต่อไป" นายรังสรรค์ กล่าวและว่า ส่วนของการปรับเพิ่มเงินเดือนข้าราชการทั้งระบบนั้นเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาและเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการพิจารณาเงินเดือนแห่งชาติ ซึ่งน่าจะดำเนินการได้ในปีงบประมาณหน้า หรือเดือนตุลาคม 2555 ซึ่งส่วนนี้ถือเป็นการปรับเพิ่มทั้งระบบน่าจะใช้เงินงบประมาณอีกจำนวนมาก
อย่างไรก็ตาม ในระหว่างที่งบประมาณปี 2555 ยังไม่มีผลบังคับใช้ ซึ่งล่าช้ากว่าปกติที่งบปี 2555 ต้องเริ่มใช้ในเดือนตุลาคมปีนี้นั้น ในส่วนของการเบิกจ่ายงบประมานได้กำชับเจ้าหน้าที่ไปแล้วให้เบิกจ่ายจากเงินงบประมาณปี 2554 ใช้แทนไปก่อน ซึ่งเป็นไปตามระเบียบการเบิกจ่ายที่กำหนดไว้ในพ.ร.บ.อยู่แล้ว โดยเฉพาะส่วนของงบประจำที่เกี่ยวกับเงินเดือนและบำเหน็จบำนาญของข้าราชการนั้นยืนยันว่าจะจ่ายได้ตรงตามกำหนดอย่างแน่นอน นอกจากนั้นกรมบัญชีกลางในฐานะผู้ดูแลเงินคงคลังซึ่งปัจจุบันมีถึง 3 แสนกว่าล้านบาทแม้ว่าเงินส่วนหนึ่งจะเป็นเงินที่หน่วยงานต่างๆหรือกองทุนต่างๆ ฝากไว้แต่หากจำเป็นก็สามารถดึงออกมาใช้ก่อนได้ หากมีรายได้จากภาษีนำส่งเข้ามาก็สามารถนำกลับไปชดใช้คืนได้ถือเป็นการบริหารเงินสดหมุนเวียนได้ตามที่กฎหมายเปิดช่องไว้
ส่วนของการเบิกจ่ายค่าเงินค่าเบี้ยยังชีพคนชราและเบี้ยอสม.นั้นในช่วง 3 เดือนของปีนี้หรือเป็นงบที่ตั้งในปี 2555 อาจจะล่าช้าหรือตกเบิกไปบ้างขึ้นอยู่กับหน่วยงานที่กำกับดูแลจะเร่งอนุมัติไปยังท้องถิ่นหรือไม่ ซึ่งอยู่นอกเหนืออำนาจของกรมบัญชีกลาง ส่วนของการปรับเพิ่มเบี้ยยังชีพตามนโยบายรัฐบาลก็น่าจะเริ่มได้เดือนมกราคม 2555 เช่นเดียวกัน.