วานนี้ ( 7 ธ.ค.) นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ แถลงอย่างเป็นทางการ หลังรับตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญ ยืนยันจะเร่งวินิจฉัยคดีค้างเก่าตั้งแต่ปี 2552 ให้แล้วเสร็จภายในปีนี้ และจะเร่งคดีค้างในปี 2553 และ2554 ให้หมดในปีหน้า รวมทั้งจะมีการยกร่างระเบียบว่าด้วยการบริหารจัดการทางคดี เพื่อลำดับความสำคัญของคดีที่เข้ามา และจะเร่งสร้างความสามัคคีปรองดองภายในองค์กร การให้ความรู้กับประชาชนให้รู้จักศาลรัฐธรรมนูญยิ่งขึ้น พร้อมกับเปิดตัวทีมงานโฆษกใหม่ ที่จะให้รายละเอียดคำวินิจฉัยคดี และชี้แจงข้อเท็จจริงกรณีศาลถูกตอบโต้ ซึ่งประกอบไปด้วย นายพิมล ธรรมพิทักษ์พงษ์ นายกมล โสตถิโภคา และนายสมฤทธิ์ ไชยวงศ์
นายวสันต์ ยังระบุว่าไม่อยากให้นำการทำงานของตนเองไปเปรียบเทียบกับของประธานคนก่อน เพราะถือว่าเป็นคนละคนกัน และต่างความคิดกัน ทั้งนี้การเป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้มีอิทธิพลใดๆ และอย่าคิดว่าเป็นประธานแล้วยิ่งใหญ่ เพราะตุลาการทุกคนถือว่ามี 1 เสียงเท่ากัน มีอิสระในการวินิจฉัยเท่ากัน โดยประธานฯไม่ถือเป็นผู้บังคับบัญชาของตุลาการ เพราะคณะตุลาการฯ ทำงานในลักษณะบอร์ด แต่ยืนยันได้ว่า การรับหน้าที่ประธานฯ ในความรู้สึกของตน เป็นการเพิ่มภาระและหน้าที่ แต่ก็ขอขอบคุณ คณะตุลาการที่ให้ความไว้วางใจ ซึ่งจะทำหน้าที่ให้ดีที่สุด ส่วนจะอยู่ในตำแหน่งประธานฯ จนครบวาระหรือไม่ ยังตอบไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องที่ได้มีการตกลงกันภายในคณะตุลาการ
ด้านนายพิมล ธรรมพิทักษ์พงษ์ หัวหน้าคณะโฆษกศาลรัฐธรรมนูญ แถลงว่าที่ประชุมคณะตุลาการฯ ได้มีการวินิจฉัยคดีสำคัญประกอบด้วย สั่งจำหน่ายคำร้องกรณีมีการร้องว่า พ.ร.บ.รักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร มาตรา 23 และ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน มาตรา 16 ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 6 และ 223 เนื่องจากก่อนหน้านี้ศาลรัฐธรรมนูญได้เคยมีคำวินิจฉัยไปแล้วว่า มาตรา 16 ของ พ.ร.ก .การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่บัญญัติว่า ข้อกำหนด ประกาศ คำสั่ง หรือการกระทำตามพ.ร.ก.นี้ ไม่อยู่ในบังคับของกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง และกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง ไม่ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 223 และเนื้อหาของพ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร มาตรา 23 มีลักษณะคล้ายกันจึงไม่เป็นสาระอันควรวินิจฉัย
นอกจากนี้ ยังวินิจฉัยกรณีที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ขอให้วินิจฉัยว่า พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ มาตรา 6 ที่ระบุว่า เมื่อรัฐบาลเห็นสมควรกำหนดบริเวณที่ดินแห่งใดที่มีสภาพธรรมชาติ เป็นที่น่าสนใจ ให้คงอยู่ในสภาพธรรมชาติเดิมเพื่อสงวนไว้ให้เป็นประโยชน์แก่การศึกษาและ รื่นรมย์ของประชาชน ก็ให้มีอำนาจกระทำได้ โดยประกาศพระราชกฤษฎีกา และให้มีแผนที่แสดงแนวเขตแห่งบริเวณที่กำหนดนั้นแนบท้ายพระราชกฤษฎีกาด้วย บริเวณที่กำหนดนี้เรียกว่า "อุทยานแห่งชาติ" กระทบต่อสิทธิมนุษยชน และมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 66 และ67 หรือไม่
ที่ประชุมคณะตุลาการฯเห็นว่า ไม่กระทบต่อสิทธิมนุษยชนและไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ เนื่องจากการประกาศเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติ แม้จะกระทบต่อสิทธิของบุคคล ชุมชน อยู่บ้าง แต่ก็มีความจำเป็นที่รัฐจะต้องอุนรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อให้ประโยชน์ตามความเหมาะสม ประกอบกับบทบัญญัตินี้มิได้ห้ามให้นำกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนมาใช้
ส่วนความเดือดร้อนหรือผลกระทบที่ชุมชนได้รับอันเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐ เป็นเรื่องที่ต้องไปดำเนินการฟ้องคดีต่อศาลที่มีอำนาจตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้ที่ประชุมคณะตุลาการ ยังมีมติเพื่อเป็นหลักปฏิบัติในกรณีที่ประธานศาลรัฐธรรมนูญไม่อาจนัดประชุมคณะตุลาการเพื่อพิจารณา พิพากษาอรรถคดีได้ แต่เมื่อตุลาการไม่น้อยกว่า 5 คนมีหนังสือถึงประธานฯ ประธานศาลรัฐธรรมนูญจะต้องมีหนังสือเรียกประชุม เพราะเป็นการใช้อำนาจในการบริหารจัดการเชิงคดีตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 197 216 และข้อกำหนดศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการพิจารณาและการทำคำวินิจฉัย พ.ศ. 2550 ข้อ 14 ประกอบข้อ 4 และข้อ 25 แต่ทั้งนี้การเรียกประชุมในลักษณะนี้ต้องเป็นกรณีที่จำเป็นเท่านั้น
นายวสันต์ ยังระบุว่าไม่อยากให้นำการทำงานของตนเองไปเปรียบเทียบกับของประธานคนก่อน เพราะถือว่าเป็นคนละคนกัน และต่างความคิดกัน ทั้งนี้การเป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้มีอิทธิพลใดๆ และอย่าคิดว่าเป็นประธานแล้วยิ่งใหญ่ เพราะตุลาการทุกคนถือว่ามี 1 เสียงเท่ากัน มีอิสระในการวินิจฉัยเท่ากัน โดยประธานฯไม่ถือเป็นผู้บังคับบัญชาของตุลาการ เพราะคณะตุลาการฯ ทำงานในลักษณะบอร์ด แต่ยืนยันได้ว่า การรับหน้าที่ประธานฯ ในความรู้สึกของตน เป็นการเพิ่มภาระและหน้าที่ แต่ก็ขอขอบคุณ คณะตุลาการที่ให้ความไว้วางใจ ซึ่งจะทำหน้าที่ให้ดีที่สุด ส่วนจะอยู่ในตำแหน่งประธานฯ จนครบวาระหรือไม่ ยังตอบไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องที่ได้มีการตกลงกันภายในคณะตุลาการ
ด้านนายพิมล ธรรมพิทักษ์พงษ์ หัวหน้าคณะโฆษกศาลรัฐธรรมนูญ แถลงว่าที่ประชุมคณะตุลาการฯ ได้มีการวินิจฉัยคดีสำคัญประกอบด้วย สั่งจำหน่ายคำร้องกรณีมีการร้องว่า พ.ร.บ.รักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร มาตรา 23 และ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน มาตรา 16 ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 6 และ 223 เนื่องจากก่อนหน้านี้ศาลรัฐธรรมนูญได้เคยมีคำวินิจฉัยไปแล้วว่า มาตรา 16 ของ พ.ร.ก .การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่บัญญัติว่า ข้อกำหนด ประกาศ คำสั่ง หรือการกระทำตามพ.ร.ก.นี้ ไม่อยู่ในบังคับของกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง และกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง ไม่ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 223 และเนื้อหาของพ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร มาตรา 23 มีลักษณะคล้ายกันจึงไม่เป็นสาระอันควรวินิจฉัย
นอกจากนี้ ยังวินิจฉัยกรณีที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ขอให้วินิจฉัยว่า พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ มาตรา 6 ที่ระบุว่า เมื่อรัฐบาลเห็นสมควรกำหนดบริเวณที่ดินแห่งใดที่มีสภาพธรรมชาติ เป็นที่น่าสนใจ ให้คงอยู่ในสภาพธรรมชาติเดิมเพื่อสงวนไว้ให้เป็นประโยชน์แก่การศึกษาและ รื่นรมย์ของประชาชน ก็ให้มีอำนาจกระทำได้ โดยประกาศพระราชกฤษฎีกา และให้มีแผนที่แสดงแนวเขตแห่งบริเวณที่กำหนดนั้นแนบท้ายพระราชกฤษฎีกาด้วย บริเวณที่กำหนดนี้เรียกว่า "อุทยานแห่งชาติ" กระทบต่อสิทธิมนุษยชน และมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 66 และ67 หรือไม่
ที่ประชุมคณะตุลาการฯเห็นว่า ไม่กระทบต่อสิทธิมนุษยชนและไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ เนื่องจากการประกาศเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติ แม้จะกระทบต่อสิทธิของบุคคล ชุมชน อยู่บ้าง แต่ก็มีความจำเป็นที่รัฐจะต้องอุนรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อให้ประโยชน์ตามความเหมาะสม ประกอบกับบทบัญญัตินี้มิได้ห้ามให้นำกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนมาใช้
ส่วนความเดือดร้อนหรือผลกระทบที่ชุมชนได้รับอันเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐ เป็นเรื่องที่ต้องไปดำเนินการฟ้องคดีต่อศาลที่มีอำนาจตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้ที่ประชุมคณะตุลาการ ยังมีมติเพื่อเป็นหลักปฏิบัติในกรณีที่ประธานศาลรัฐธรรมนูญไม่อาจนัดประชุมคณะตุลาการเพื่อพิจารณา พิพากษาอรรถคดีได้ แต่เมื่อตุลาการไม่น้อยกว่า 5 คนมีหนังสือถึงประธานฯ ประธานศาลรัฐธรรมนูญจะต้องมีหนังสือเรียกประชุม เพราะเป็นการใช้อำนาจในการบริหารจัดการเชิงคดีตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 197 216 และข้อกำหนดศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการพิจารณาและการทำคำวินิจฉัย พ.ศ. 2550 ข้อ 14 ประกอบข้อ 4 และข้อ 25 แต่ทั้งนี้การเรียกประชุมในลักษณะนี้ต้องเป็นกรณีที่จำเป็นเท่านั้น