ASTV ผู้จัดการรายวัน - โบรกฯคาดหุ้นไทยสัปดาห์นี้อาจยังแกว่งขึ้นต่อ จากการเก็งกำไรในผลการประชุมสุดยอดผู้นำสหภาพยุโรป และผลการประชุมธนาคารกลางยุโรป ที่มีผลต่อการแก้ปัญหาหนีในหลายประเทศ หลังส่งท้ายสัปดาห์ก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้น 10 จุด จากแรงซื้อในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี และเม็ดเงินจากกองทุนLTF/RMF
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันศุกร์ที่3ธ.ค.ที่ผ่านมา ปิดที่ระดับ 1,029.37 จุด เพิ่มขึ้น 10.22 จุด หรือ1.00% มูลค่าการซื้อขาย 24,347.88 ล้านบาท ระหว่างวันปรับตัวสูงสุด1,030.03 ล้าน้านบาท และต่ำสุด 1,016.54 ล้านบาท โดยมีแรงซื้อขายในหุ้นกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมีนำตลาดฯ รวมถึงแรงซื้อจากกองทุนในประเทศโดยเฉพาะ LTM/RMF ส่วนหลักทรัพย์เปลี่ยนแปลงวันนี้ เพิ่มขึ้น 280 หลักทรัพย์ ลดลง 170 หลักทรัพย์ และไม่เปลี่ยนแปลง 149 หลักทรัพย์
ภาพรวมนักลงทุนต่างชาติ ซื้อสุทธิ 1,991.25 ล้านบาท สถาบันขายสุทธิ 940.86 ล้านบาท บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ซื้อสุทธิ 1,185.13 ล้านบาท นักลงทุนทั่วไปขายสุทธิ 2,235.52 ล้านบาท
หลักทรัพย์ที่มีมูลค่าการซื้อขายสูงสุด 5 หลักทรัพย์ ได้แก่ PTT มูลค่าการซื้อขาย 1,812.41 ล้านบาท ปิดที่ 320.00 บาท เพิ่มขึ้น 4.00 บาท IVL มูลค่าการซื้อขาย 1,448.97 ล้านบาท ปิดที่ 32.75 บาท เพิ่มขึ้น 1.75 บาท PTTGC มูลค่าการซื้อขาย 1,210.79 ล้านบาท ปิดที่ 66.25 บาท เพิ่มขึ้น 0.75 บาท IRPC มูลค่าการซื้อขาย 1,174.40 ล้านบาท ปิดที่ 4.24 บาท เพิ่มขึ้น 0.24 บาท และBANPU มูลค่าการซื้อขาย 1,161.61 ล้านบาท ปิดที่ 578.00 บาท เพิ่มขึ้น 14.00 บาท
ขณะที่ตลาดหุ้นภูมิภาคในวันเดียวกัน ส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยดัชนีสเตรทไทม์ ตลาดหุ้นสิงคโปร์ ปิดตลาดที่ระดับ 2,773.36 จุด เพิ่มขึ้น 11.48 จุด ดัชนีฮั่งเส็ง ตลาดหุ้นฮ่องกง ปิดตลาดที่ระดับ 19,040.39 จุด เพิ่มขึ้น 38.13 จุด ดัชนีนิกเกอิ ตลาดหุ้นญี่ปุ่น ปิดตลาดที่ระดับ 8,643.75 จุด เพิ่มขึ้น 46.37 จุด และดัชนีเวทเต็ด ตลาดหุ้นไต้หวัน ปิดตลาดที่ระดับ 7,140.68 จุด ลดลง 38.01 จุด.
นางสาวจิตรา อมรธรรม ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ฟินันเซีย ไซรัส กล่าวว่า ดัชนีเมื่อวันศุกร์ แกว่งตัวในกรอบแคบ เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับตลาดหุ้นเอเชียที่แกว่งตัว เช่นกันหลังจากตลาดรับข่าวบวก หลังภาคธนาคารชั้นนำออกมาประกาศร่วมมือแก้ไขวิกฤติหนี้ยุโรป แต่ในช่วงท้ายตลาดมีแรงซื้อจากสถาบันในประเทศและนักลงทุนรายย่อยเข้ามาในหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ พลังงาน และปิโตรเคมี ประกอบกับมีแรงซื้อจากกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) และกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ส่งผลให้ดัชนีฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่า 10 จุด
นายชัย จิรเสวีนุประพันธ์ ผู้จัดการฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บล.โนมูระ พัฒนสิน กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยเมื่อวันศุกร์ปรับตัวขึ้นต่อ รับแรงซื้อหุ้นกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมีนำตลาดฯ นอกจากนี้ยังมีเม็ดเงินที่เข้ามาเล่นเก็งกำไรส่วนต่างจากหุ้นขนาดกลางและขนาดเล็ก อย่างเช่นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ที่วันนี้ต่างปรับตัวขึ้นเป็นส่วนใหญ่ ประกอบกับ กองทุนในประเทศยังคงเข้าซื้อสุทธิอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะ LTF และ RMF
สำหรับแนวโน้มการลงทุนในสัปดาห์นี้ ดัชนีน่าจะเคลื่อนไหวในกรอบแนวรับ 1,015-1,010 จุด แนวต้าน 1,040-1,045 จุด โดยจะต้องติดตามผลการประชุมสุดยอดผู้นำยุโรปช่วงปลายสัปดาห์หน้า คาดว่าน่าจะมีรายละเอียดการแก้ปัญหาหนี้ยุโรปออกมาเพิ่มเติม
ด้านศูนย์วิจัยกสิกรไทยรายงานว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทย(SET) ปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง หลังนักลงทุนคลายความกังวลบางส่วนต่อหนี้ยุโรป รวมถึงจากแรงซื้อ LTF และ RMF โดยดัชนีปิดที่ระดับ 1,029.37 จุด เพิ่มขึ้น 6.43% จากสัปดาห์ก่อน ด้านมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันเพิ่มขึ้น 41.09% จากสัปดาห์ก่อน มาอยู่ที่ 24,948.42 ล้านบาท
ทั้งนี้ ดัชนีหุ้นไทยปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับตลาดหุ้นภูมิภาค โดยแม้ว่าจะมีแรงขายทำกำไรบ้าง แต่ดัชนีได้รับแรงหนุนจากความคาดหวังต่อการแก้ปัญหาหนี้ยุโรป การปล่อยสภาพคล่องดอลลาร์ฯ ด้วยต้นทุนที่ต่ำลงของธนาคารกลางสำคัญ 6 แห่ง การปรับลดสัดส่วนการกันสำรองธนาคารพาณิชย์ของธนาคารกลางจีน ตลอดจนแรงซื้อสะสมของนักลงทุนสถาบันภายใต้เม็ดเงินจากกองทุน LTF และ RMF
สำหรับแนวโน้มสัปดาห์ระหว่างวันที่ 6-9 ธ.ค. 2554 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ดัชนีอาจยังแกว่งขึ้นต่อ จากการเก็งกำไรในผลการประชุมสุดยอดผู้นำสหภาพยุโรปในวันที่ 9 ธ.ค.นี้ นอกจากนี้ คงจะต้องติดตามพัฒนาการการแก้วิกฤตหนี้ยุโรป รวมถึงผลการประชุมธนาคารกลางยุโรป (8 ธ.ค.) สำหรับรายงานตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ดัชนี ISM ภาคการบริการ และยอดสั่งซื้อสินค้าโรงงาน ทั้งนี้ บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด คาดว่า ดัชนีจะมีแนวรับที่ 1,010 และ 980-978 จุด ขณะที่แนวต้านคาดว่าจะอยู่ที่ 1,036 และ 1,050 จุด ตามลำดับ
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันศุกร์ที่3ธ.ค.ที่ผ่านมา ปิดที่ระดับ 1,029.37 จุด เพิ่มขึ้น 10.22 จุด หรือ1.00% มูลค่าการซื้อขาย 24,347.88 ล้านบาท ระหว่างวันปรับตัวสูงสุด1,030.03 ล้าน้านบาท และต่ำสุด 1,016.54 ล้านบาท โดยมีแรงซื้อขายในหุ้นกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมีนำตลาดฯ รวมถึงแรงซื้อจากกองทุนในประเทศโดยเฉพาะ LTM/RMF ส่วนหลักทรัพย์เปลี่ยนแปลงวันนี้ เพิ่มขึ้น 280 หลักทรัพย์ ลดลง 170 หลักทรัพย์ และไม่เปลี่ยนแปลง 149 หลักทรัพย์
ภาพรวมนักลงทุนต่างชาติ ซื้อสุทธิ 1,991.25 ล้านบาท สถาบันขายสุทธิ 940.86 ล้านบาท บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ซื้อสุทธิ 1,185.13 ล้านบาท นักลงทุนทั่วไปขายสุทธิ 2,235.52 ล้านบาท
หลักทรัพย์ที่มีมูลค่าการซื้อขายสูงสุด 5 หลักทรัพย์ ได้แก่ PTT มูลค่าการซื้อขาย 1,812.41 ล้านบาท ปิดที่ 320.00 บาท เพิ่มขึ้น 4.00 บาท IVL มูลค่าการซื้อขาย 1,448.97 ล้านบาท ปิดที่ 32.75 บาท เพิ่มขึ้น 1.75 บาท PTTGC มูลค่าการซื้อขาย 1,210.79 ล้านบาท ปิดที่ 66.25 บาท เพิ่มขึ้น 0.75 บาท IRPC มูลค่าการซื้อขาย 1,174.40 ล้านบาท ปิดที่ 4.24 บาท เพิ่มขึ้น 0.24 บาท และBANPU มูลค่าการซื้อขาย 1,161.61 ล้านบาท ปิดที่ 578.00 บาท เพิ่มขึ้น 14.00 บาท
ขณะที่ตลาดหุ้นภูมิภาคในวันเดียวกัน ส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยดัชนีสเตรทไทม์ ตลาดหุ้นสิงคโปร์ ปิดตลาดที่ระดับ 2,773.36 จุด เพิ่มขึ้น 11.48 จุด ดัชนีฮั่งเส็ง ตลาดหุ้นฮ่องกง ปิดตลาดที่ระดับ 19,040.39 จุด เพิ่มขึ้น 38.13 จุด ดัชนีนิกเกอิ ตลาดหุ้นญี่ปุ่น ปิดตลาดที่ระดับ 8,643.75 จุด เพิ่มขึ้น 46.37 จุด และดัชนีเวทเต็ด ตลาดหุ้นไต้หวัน ปิดตลาดที่ระดับ 7,140.68 จุด ลดลง 38.01 จุด.
นางสาวจิตรา อมรธรรม ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ฟินันเซีย ไซรัส กล่าวว่า ดัชนีเมื่อวันศุกร์ แกว่งตัวในกรอบแคบ เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับตลาดหุ้นเอเชียที่แกว่งตัว เช่นกันหลังจากตลาดรับข่าวบวก หลังภาคธนาคารชั้นนำออกมาประกาศร่วมมือแก้ไขวิกฤติหนี้ยุโรป แต่ในช่วงท้ายตลาดมีแรงซื้อจากสถาบันในประเทศและนักลงทุนรายย่อยเข้ามาในหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ พลังงาน และปิโตรเคมี ประกอบกับมีแรงซื้อจากกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) และกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ส่งผลให้ดัชนีฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่า 10 จุด
นายชัย จิรเสวีนุประพันธ์ ผู้จัดการฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บล.โนมูระ พัฒนสิน กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยเมื่อวันศุกร์ปรับตัวขึ้นต่อ รับแรงซื้อหุ้นกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมีนำตลาดฯ นอกจากนี้ยังมีเม็ดเงินที่เข้ามาเล่นเก็งกำไรส่วนต่างจากหุ้นขนาดกลางและขนาดเล็ก อย่างเช่นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ที่วันนี้ต่างปรับตัวขึ้นเป็นส่วนใหญ่ ประกอบกับ กองทุนในประเทศยังคงเข้าซื้อสุทธิอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะ LTF และ RMF
สำหรับแนวโน้มการลงทุนในสัปดาห์นี้ ดัชนีน่าจะเคลื่อนไหวในกรอบแนวรับ 1,015-1,010 จุด แนวต้าน 1,040-1,045 จุด โดยจะต้องติดตามผลการประชุมสุดยอดผู้นำยุโรปช่วงปลายสัปดาห์หน้า คาดว่าน่าจะมีรายละเอียดการแก้ปัญหาหนี้ยุโรปออกมาเพิ่มเติม
ด้านศูนย์วิจัยกสิกรไทยรายงานว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทย(SET) ปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง หลังนักลงทุนคลายความกังวลบางส่วนต่อหนี้ยุโรป รวมถึงจากแรงซื้อ LTF และ RMF โดยดัชนีปิดที่ระดับ 1,029.37 จุด เพิ่มขึ้น 6.43% จากสัปดาห์ก่อน ด้านมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันเพิ่มขึ้น 41.09% จากสัปดาห์ก่อน มาอยู่ที่ 24,948.42 ล้านบาท
ทั้งนี้ ดัชนีหุ้นไทยปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับตลาดหุ้นภูมิภาค โดยแม้ว่าจะมีแรงขายทำกำไรบ้าง แต่ดัชนีได้รับแรงหนุนจากความคาดหวังต่อการแก้ปัญหาหนี้ยุโรป การปล่อยสภาพคล่องดอลลาร์ฯ ด้วยต้นทุนที่ต่ำลงของธนาคารกลางสำคัญ 6 แห่ง การปรับลดสัดส่วนการกันสำรองธนาคารพาณิชย์ของธนาคารกลางจีน ตลอดจนแรงซื้อสะสมของนักลงทุนสถาบันภายใต้เม็ดเงินจากกองทุน LTF และ RMF
สำหรับแนวโน้มสัปดาห์ระหว่างวันที่ 6-9 ธ.ค. 2554 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ดัชนีอาจยังแกว่งขึ้นต่อ จากการเก็งกำไรในผลการประชุมสุดยอดผู้นำสหภาพยุโรปในวันที่ 9 ธ.ค.นี้ นอกจากนี้ คงจะต้องติดตามพัฒนาการการแก้วิกฤตหนี้ยุโรป รวมถึงผลการประชุมธนาคารกลางยุโรป (8 ธ.ค.) สำหรับรายงานตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ดัชนี ISM ภาคการบริการ และยอดสั่งซื้อสินค้าโรงงาน ทั้งนี้ บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด คาดว่า ดัชนีจะมีแนวรับที่ 1,010 และ 980-978 จุด ขณะที่แนวต้านคาดว่าจะอยู่ที่ 1,036 และ 1,050 จุด ตามลำดับ