เชียงราย - ตำรวจยื่นคดี 9 ทหารไทย คดียิงเรือสัญชาติจีนกลางน้ำโขง ที่มีคนตายรวม 13 ศพต่อ อสส.แล้ว ล่าสุดอัยการฯสั่งอัยการภาค 5-อธิบดีกองการ ตปท.-อธิบดี สนง.สตช.ดูแลใกล้ชิด ด้านเลขา สมช.เรียกประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เตรียมตั้ง ศปปข.ที่เชียงแสน ร่วมพม่า ลาว จีน รปภ.เรือกลางแม่น้ำโขง เผย สป.จีน นัดปล่อยเรือวิ่งรอบใหม่กลางเดือนนี้
พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ได้เดินทางไปร่วมประชุมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดูแลความมั่นคงชายแดนไทย-พม่า และไทย-สปป.ลาว ด้าน จ.เชียงราย และพะเยา ที่ห้องประชุมโรงแรมริมกกรีสอร์ท อ.เมือง จ.เชียงราย สุดสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยมีการหารือเรื่องการจัดตั้งศูนย์ปฎิบัติการป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดในแม่น้ำโขง (ศปปข.) ตามข้อตกลงของคณะกรรมการร่วม 4 ฝ่าย คือไทย จีน สปป.ลาว และพม่า ที่ประชุมร่วมกันเมื่อวันที่ 30 ต.ค.-1 พ.ย.54 ที่ผ่านมา ณ กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน เพื่อป้องกันและแก้ไข
ปัญหาความรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้นต่อการเดินเรือในแม่น้ำโขงตั้งแต่เขตปกครองตนเองสิบสองปันนา มณฑลหยุนหนัน จีนตอนใต้ ผ่านชายแดนพม่า-สปป.ลาว เรื่อยลงมาจนถึงท่าเรือ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ระยะทางประมาณ 264 กิโลเมตร
โดยในครั้งนี้มีผู้บริหารหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการทำงานภายใน ศปปข.เข้าร่วม เช่น พล.ต.ท.สุเทพ เดชรักษา ผบช.ตร.ภาค 5 ,นายพินิจ หาญพาณิชย์ รองผู้ว่าราชการ จ.เชียงราย ,พล.ต.ต.ทรงธรรม อัลภาชน์ ผบก.ภ.จว.เชียงราย ,พล.ต.ต.จรินทร์ อินทร์สุวรรณโน ผบก.ภว.พะเยา ,พล.ต.ต.ดร ปิ่นเฉลียว ผบก.ตชด.ภาค 3 ,พ.อ.ถนัดพล โกศัยเสวี ผบ.ฉก.ม. 3 กองกำลังผาเมือง ,กรมเจ้าท่า ,หน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำแม่น้ำโขง (นรข.) เขตเชียงราย, ตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.)
พล.ต.อ.วิเชียร ได้แจ้งถึงรายละเอียดและความจำเป็นในการจัดตั้ง ศปปข.ให้แต่ละหน่วยงานได้รับทราบ ทั้งเรื่องการร่วมกันลาดตระเวน การบังคับใช้กฎหมายทั้งภายในประเทศ และข้อตกลงความร่วมมือระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับแม่น้ำโขง
พล.ต.อ.วิเชียร กล่าวว่า จะมีการจัดตั้งหน่วยงานปฏิบัติงานของ ศปปข.ขึ้นที่ อ.เชียงแสน มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำงาน เช่น กรมเจ้าท่า นรข.เขตเชียงราย ตชด.ตำรวจภูธร และทหารผาเมือง โดยจะใช้พื้นที่อำเภอเชียงแสนเป็นศูนย์และมีศูนย์ปฎิบัติการส่วนหน้าทำหน้าที่ติดต่อประสานงานเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน โดยแต่ละหน่วยงานของศูนย์จะให้ความร่วมมือ รวมทั้งจะมีการลาดตระเวนทั้งทางบกและทางน้ำ เพื่อเฝ้าระวังเหตุด้วย
เลขา สมช.ระบุอีกว่า ระหว่างวันที่ 10-15 ธ.ค.54 นี้ ทางการจีนจะปล่อยเรือสินค้าจากท่าเรือกวนเหล่ย ซึ่งเป็นเมืองท่าหน้าด่านของจีนตอนใต้ลงมายังท่าเรือ อ.เชียงแสน เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่สั่งหยุดเดินเรือหลังเหตุการณ์วันที่ 5 ต.ค.54 เป็นต้นมา ซึ่งทางการไทยจะมีเจ้าหน้าที่ระดับสูงในรัฐบาล และ สมช.ไปร่วมพิธีปล่อยการเดินเรือด้วย โดยในคาราวานเรือจะมีการส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจน้ำเข้าร่วมประสานงานและสังเกตุการณ์ตลอดเส้นทาง
“คาดหวังว่าหากความร่วมมือนี้ประสบความสำเร็จ ก็จะขยายผลไปยังการแก้ไขปัญหายาเสพติด อาชญากรรมข้ามชาติและการหลบหนีเข้าเมืองต่อไปด้วย" พล.ต.อ.วิเชียร กล่าว
ด้าน พล.ต.ท.สุเทพ กล่าวว่า สำหรับความคืบหน้าในการดำเนินคดียิงลูกเรือจีน 2 ลำ ต่อทหารไทยรวม 9 นายนั้น ขณะนี้ทางตำรวจได้สรุปสำนวนส่งอัยการสูงสุดแล้ว โดยแนวทางสอบสวนพบว่า คดีบางส่วนเกิดขึ้นนอกเขตราชอาณาจักรไทยถึง 25 กิโลเมตร ลึกเข้าไประหว่างชายแดน สปป.ลาว และพม่า ซึ่งทางอัยการสูงสุดก็มีคำสั่งให้อธิบดีอัยการภาค 5 -อธิบดีกองการต่างประเทศ และอธิบดีสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ลงมาดูคดีอย่างใกล้ชิดแล้ว
ในด้านยาเสพติดของกลางที่พบในคดีเป็นจำนวนมากนั้น ทางตำรวจอยู่ระหว่างเร่งสืบสวนสอบสวนเพื่อขยายผลว่าเป็นของขบวนการค้ายาเสพติดกลุ่มใด โดยได้ร่วมกับสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) เพื่อตรวจสอบรูปแบบของยาเสพติดและอื่นๆ อย่างละเอียดต่อไป
สำหรับเหตุการณ์ยิงเรือจีนดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อเช้าวันที่ 5 ต.ค.เมื่อได้มีเรือบรรทุกน้ำมันเชื้อเพลิง Hua Ping และเรือขนกระเทียมและแอปเปิล Yu Xing 8 ของจีนเดินทางมาถึงบริเวณสามเหลี่ยมทองคำชายแดน สปป.ลาว-พม่า และถูกปล้นและฆ่ากัปตันและลูกเรือรวม 13 ศพ ก่อนที่เรือจะเข้าเทียบฝั่งไทยที่ริมฝั่งเขตหมู่บ้านสบรวก ม.1 ต.เวียง อ.เชียงแสน และเจ้าหน้าที่ไทยเข้าตรวจค้นบนเรือพบยาบ้าซุกซ่อนอยู่ 920,000 เม็ด และผู้เสียชีวิต 1 ศพ ปืนอาก้า 1 กระบอก ต่อมาค่อยๆ ทยอยพบศพผู้เสียชีวิตลอยมาติดริมฝั่ง ทำให้ทางรัฐบาลได้เร่งรัดให้ทางการไทยได้เร่งคลี่คลายในคดี กระทั่งต่อมาได้มีทหารจากกองกำลังผาเมืองทั้งระดับสัญญาบัตรระดับ พ.ต.และชั้นประทวนรวม 9 นาย ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ชายแดนบริเวณดังกล่าวทยอยเข้ามอบตัวต่อคณะกรรมการสอบสวนซึ่งทางกองบัญชาการตำรวจ (ตร.) ตั้งขึ้นโดยตรงและถูกดำเนินคดีฆ่าลูกเรือจีนดังกล่าว
พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ได้เดินทางไปร่วมประชุมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดูแลความมั่นคงชายแดนไทย-พม่า และไทย-สปป.ลาว ด้าน จ.เชียงราย และพะเยา ที่ห้องประชุมโรงแรมริมกกรีสอร์ท อ.เมือง จ.เชียงราย สุดสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยมีการหารือเรื่องการจัดตั้งศูนย์ปฎิบัติการป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดในแม่น้ำโขง (ศปปข.) ตามข้อตกลงของคณะกรรมการร่วม 4 ฝ่าย คือไทย จีน สปป.ลาว และพม่า ที่ประชุมร่วมกันเมื่อวันที่ 30 ต.ค.-1 พ.ย.54 ที่ผ่านมา ณ กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน เพื่อป้องกันและแก้ไข
ปัญหาความรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้นต่อการเดินเรือในแม่น้ำโขงตั้งแต่เขตปกครองตนเองสิบสองปันนา มณฑลหยุนหนัน จีนตอนใต้ ผ่านชายแดนพม่า-สปป.ลาว เรื่อยลงมาจนถึงท่าเรือ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ระยะทางประมาณ 264 กิโลเมตร
โดยในครั้งนี้มีผู้บริหารหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการทำงานภายใน ศปปข.เข้าร่วม เช่น พล.ต.ท.สุเทพ เดชรักษา ผบช.ตร.ภาค 5 ,นายพินิจ หาญพาณิชย์ รองผู้ว่าราชการ จ.เชียงราย ,พล.ต.ต.ทรงธรรม อัลภาชน์ ผบก.ภ.จว.เชียงราย ,พล.ต.ต.จรินทร์ อินทร์สุวรรณโน ผบก.ภว.พะเยา ,พล.ต.ต.ดร ปิ่นเฉลียว ผบก.ตชด.ภาค 3 ,พ.อ.ถนัดพล โกศัยเสวี ผบ.ฉก.ม. 3 กองกำลังผาเมือง ,กรมเจ้าท่า ,หน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำแม่น้ำโขง (นรข.) เขตเชียงราย, ตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.)
พล.ต.อ.วิเชียร ได้แจ้งถึงรายละเอียดและความจำเป็นในการจัดตั้ง ศปปข.ให้แต่ละหน่วยงานได้รับทราบ ทั้งเรื่องการร่วมกันลาดตระเวน การบังคับใช้กฎหมายทั้งภายในประเทศ และข้อตกลงความร่วมมือระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับแม่น้ำโขง
พล.ต.อ.วิเชียร กล่าวว่า จะมีการจัดตั้งหน่วยงานปฏิบัติงานของ ศปปข.ขึ้นที่ อ.เชียงแสน มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำงาน เช่น กรมเจ้าท่า นรข.เขตเชียงราย ตชด.ตำรวจภูธร และทหารผาเมือง โดยจะใช้พื้นที่อำเภอเชียงแสนเป็นศูนย์และมีศูนย์ปฎิบัติการส่วนหน้าทำหน้าที่ติดต่อประสานงานเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน โดยแต่ละหน่วยงานของศูนย์จะให้ความร่วมมือ รวมทั้งจะมีการลาดตระเวนทั้งทางบกและทางน้ำ เพื่อเฝ้าระวังเหตุด้วย
เลขา สมช.ระบุอีกว่า ระหว่างวันที่ 10-15 ธ.ค.54 นี้ ทางการจีนจะปล่อยเรือสินค้าจากท่าเรือกวนเหล่ย ซึ่งเป็นเมืองท่าหน้าด่านของจีนตอนใต้ลงมายังท่าเรือ อ.เชียงแสน เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่สั่งหยุดเดินเรือหลังเหตุการณ์วันที่ 5 ต.ค.54 เป็นต้นมา ซึ่งทางการไทยจะมีเจ้าหน้าที่ระดับสูงในรัฐบาล และ สมช.ไปร่วมพิธีปล่อยการเดินเรือด้วย โดยในคาราวานเรือจะมีการส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจน้ำเข้าร่วมประสานงานและสังเกตุการณ์ตลอดเส้นทาง
“คาดหวังว่าหากความร่วมมือนี้ประสบความสำเร็จ ก็จะขยายผลไปยังการแก้ไขปัญหายาเสพติด อาชญากรรมข้ามชาติและการหลบหนีเข้าเมืองต่อไปด้วย" พล.ต.อ.วิเชียร กล่าว
ด้าน พล.ต.ท.สุเทพ กล่าวว่า สำหรับความคืบหน้าในการดำเนินคดียิงลูกเรือจีน 2 ลำ ต่อทหารไทยรวม 9 นายนั้น ขณะนี้ทางตำรวจได้สรุปสำนวนส่งอัยการสูงสุดแล้ว โดยแนวทางสอบสวนพบว่า คดีบางส่วนเกิดขึ้นนอกเขตราชอาณาจักรไทยถึง 25 กิโลเมตร ลึกเข้าไประหว่างชายแดน สปป.ลาว และพม่า ซึ่งทางอัยการสูงสุดก็มีคำสั่งให้อธิบดีอัยการภาค 5 -อธิบดีกองการต่างประเทศ และอธิบดีสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ลงมาดูคดีอย่างใกล้ชิดแล้ว
ในด้านยาเสพติดของกลางที่พบในคดีเป็นจำนวนมากนั้น ทางตำรวจอยู่ระหว่างเร่งสืบสวนสอบสวนเพื่อขยายผลว่าเป็นของขบวนการค้ายาเสพติดกลุ่มใด โดยได้ร่วมกับสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) เพื่อตรวจสอบรูปแบบของยาเสพติดและอื่นๆ อย่างละเอียดต่อไป
สำหรับเหตุการณ์ยิงเรือจีนดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อเช้าวันที่ 5 ต.ค.เมื่อได้มีเรือบรรทุกน้ำมันเชื้อเพลิง Hua Ping และเรือขนกระเทียมและแอปเปิล Yu Xing 8 ของจีนเดินทางมาถึงบริเวณสามเหลี่ยมทองคำชายแดน สปป.ลาว-พม่า และถูกปล้นและฆ่ากัปตันและลูกเรือรวม 13 ศพ ก่อนที่เรือจะเข้าเทียบฝั่งไทยที่ริมฝั่งเขตหมู่บ้านสบรวก ม.1 ต.เวียง อ.เชียงแสน และเจ้าหน้าที่ไทยเข้าตรวจค้นบนเรือพบยาบ้าซุกซ่อนอยู่ 920,000 เม็ด และผู้เสียชีวิต 1 ศพ ปืนอาก้า 1 กระบอก ต่อมาค่อยๆ ทยอยพบศพผู้เสียชีวิตลอยมาติดริมฝั่ง ทำให้ทางรัฐบาลได้เร่งรัดให้ทางการไทยได้เร่งคลี่คลายในคดี กระทั่งต่อมาได้มีทหารจากกองกำลังผาเมืองทั้งระดับสัญญาบัตรระดับ พ.ต.และชั้นประทวนรวม 9 นาย ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ชายแดนบริเวณดังกล่าวทยอยเข้ามอบตัวต่อคณะกรรมการสอบสวนซึ่งทางกองบัญชาการตำรวจ (ตร.) ตั้งขึ้นโดยตรงและถูกดำเนินคดีฆ่าลูกเรือจีนดังกล่าว