"สุขุมพันธุ์" ลั่นไม่สนคนอยากถอดถอน แค่พวกว่างงาน บอกไม่ถือสา “เสงี่ยม” แต่แจ้งความดำเนินคดีแล้ว ขณะเดียวกันกทม.ติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำ 2 เครื่องที่คลองทวีวัฒนา เร่งระบายน้ำฝั่งตะวันตก หากได้ผลดี เตรียมเปิดประตูคลองทวีฯ เพิ่ม ส่วนด้านฝั่งตะวันออกเร่งระบายน้ำจากปทุมธานีเปิด 3 ประตูระบายน้ำเพิ่มสูงขึ้น พร้อมทำหนังสือถึง ศปภ.ขอร่วมมือเปิด-ปิดปตร.แนวคลองมหาสวัสดิ์ ดีเดย์ชวนจิตอาสาทำความสะอาด 9 เขตน้ำท่วม วันนี้
เมื่อเวลา 11.15 น.วานนี้ (2 ธ.ค.) ที่ห้องเจ้าพระยา ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม.แถลงภายหลังการประชุมติดตามสถานการณ์น้ำในพื้นที่ กทม.ว่า สถานการณ์น้ำในภาพรวมของ กทม.ดีขึ้นตามลำดับโดยระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาหนุนสูงสุดเวลา 12.55 น. สูงประมาณ 1.96 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง (ม.รทก.) และในช่วงบ่ายที่จะมีน้ำหนุนสูงสุด แต่จะลดลงอีกเหลือเพียง 1.93 ม.รทก.ส่วนคูคลองสายหลักต่างๆ ระดับน้ำลดลงต่อเนื่อง เช่น คลองหกวาสายล่าง ลดลง 6 ซม.คลองเปรมประชากร 8 ซม.คลองมหาสวัสดิ์ 4 ซม.ซึ่งแสดงให้เห็นว่า สถานการณ์ด้านเหนือและตะวันออกดีขึ้นชัดเจน ดังนั้น กทม.จะเปิดประตูระบายน้ำให้กว้างขึ้น 3 แห่ง ได้แก่ ประตูระบายน้ำ (ปตร.) คลองพระยาสุเรนทร์จะเปิดเพิ่มอีก 10 ซม.จากเดิม 1.40 เมตร เป็น 1.50 เมตร ปตร.คลองแสนแสบ-มีนบุรี เพิ่มอีก 20 ซม.จากเดิม 1.30 เมตร เป็น 1.50 เมตร ปตร.ลำบึงขวาง เพิ่มอีก 10 ซม.จากเดิม 1.20 เมตร เป็น 1.30 เมตร เพื่อระบายน้ำ จ.ปทุมธานี และคลองหกวาสายล่าง เข้าสู่ระบบการระบายน้ำของพื้นที่ชั้นในลงสู่อุโมงค์ยักษ์ที่สถานีสูบน้ำพระโขนง และออกแม่น้ำเจ้าพระยาต่อไป ขณะที่ด้านกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันตกยังติดตามต่อเนื่อง โดยยังคงระดับบาน ปตร.คลองทวีวัฒนา ไว้ที่ระดับ 50 ซม.เนื่องจากพื้นที่ด้านตะวันตกน้ำยังสูง โดยคลองทวีวัฒนาระดับน้ำลดลงเล็กน้อย
**ชวนจิตอาสาทำความสะอาด 9 เขตน้ำท่วม **
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวต่อว่า ส่วนการจัดเก็บขยะ สามารถจัดเก็บได้ 12,000 ตันต่อวัน จากปริมาณขยะในภาวะปกติ 8,500-8,700 ตันต่อวัน แม้จะเก็บได้มากในพื้นที่ที่มีขยะเป็นจำนวนมากมากแต่ยังมีขยะตกค้างอยู่ ดังนั้น ก่อนวันที่ 5 ธ.ค.นี้ กทม.จะระดมคณะผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ กทม.และจังหวัดต่างๆ ที่สนับสนุน กทม.อีกทั้ง นายพระนาย สุวรรณรัฐ ปลัดกระทรวงมหาดไทย(มท.) ได้รับเรื่องการจัดเก็บขยะในพื้นที่ กทม.เป็นนโยบายที่ ก.มหาดไทย จะช่วยในการดำเนินการซึ่งได้สนับสนุนงบประมาณในการจัดเก็บขยะ รวมถึงการจัดหาอุปกรณ์เครื่องมือมาช่วยในการจัดเก็บขยะอีกด้วย พร้อมกันนี้ ตนเองขอเชิญอาสาสมัครและผู้มีจิตอาสาที่อยากช่วย กทม.อยากทำให้ กทม.สะอาดก็ขอเชิญเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดเก็บขยะในพื้นที่กรุงเทพฯ ครั้งใหญ่ ใน 9 เขตน้ำท่วม โดยจะเริ่มปฏิบัติงานตั้งแต่วันที่ 3 ธ.ค. เป็นต้นไป โดย กทม.จะแจ้งสถานที่ดำเนินการให้ทราบอีกครั้งซึ่งหวังว่าวันที่ 5 ธ.ค.จะเป็นวันที่ กทม.ปลอดขยะมากที่สุด
**หารือ ศปภ.ขอร่วมมือเปิด-ปิดปตร.
ส่วนกรณีศาลปกครองมีคำสั่งให้ กทม.พิจารณาร่วมกับ ศปภ.ในการเปิดประตูระบายน้ำแนวคลองมหาสวัสดิ์นั้น ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวว่า กทม.จะทำหนังสือถึง ศปภ.เพื่อหารือร่วมกันในการปรับเพิ่ม-ลดประตูระบายน้ำของ กทม. ได้แก่ ประตูระบายน้ำคลองทวีวัฒนา ซึ่งปัจจุบันเปิดอยู่ที่ระดับ 50 ซม. ปตร.คลองซอย 1 เมตร ปตร.ขุนศรีบุรีรักษ์ 1 เมตร ปตร.คลองควาย 1 เมตร และในส่วนของกรมชลประทาน ได้แก่ ปตร.ฉิมพลี และ ปตร.นครชัยศรี เพื่อบริหารจัดการน้ำคลองมหาสวัสดิ์ให้ดียิ่งขึ้นซึ่งทุกวันนี้เราก็ทำกันอยู่แล้ว แต่จากนี้เราจะทำอย่างเคร่งครัดและเร่งรัดตามคำสั่งของศาลปกครอง
**ตั้งเครื่องผลักดันน้ำ เร่งระบายฝั่งตต.
ต่อมาเมื่อเวลา 14.30 น. ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯกทม. เดินทางมายังคลองทวีวัฒนาจุดตัดถนนเพชรเกษม เพื่อติดตามการติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำขนาด 24 นิ้ว ภายหลังจากวานนี้เจ้าหน้าที่จากสำนักการระบายน้ำ (สนน.) ได้มาดำเนินการติดตั้งแล้ว 1 เครื่อง และในวันนี้เจ้าหน้าที่ได้มาติดตั้งเพิ่มอีก 1 เครื่อง ซึ่งแต่ละเครื่องสามารถผลักดันน้ำได้ 1 ลูกบากศ์เมตรต่อวินาที อย่างไรก็ตามพื้นที่เขตทวีวัฒนาระบายน้ำได้ช้ากว่าพื้นที่อื่นๆ เนื่องจากคลองทวีวัฒนาที่เชื่อมต่อกับคลองภาษีเจริญนั้น มีคลองต่างๆ ตัดขวาง ทำให้น้ำไหลได้ช้า การติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำจึงเป็นการช่วยเร่งการระบายน้ำให้เร็วขึ้นกว่าเดิม
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวว่า คลองทวีวัฒนาเป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการระบายน้ำฝั่งตะวันตก ซึ่งสามารถระบายได้ 3 ทาง ได้แก่ คลองบางกอกใหญ่ระบายลงแม่น้ำเจ้าพระยา คลองภาษีเจริญระบายออกกระทุ่มแบน และคลองราชมนตรีที่จะระบายออกไปยังสถานีสูบน้ำ ซึ่งวานนี้กทม.ได้ติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำที่คลองทวีวัฒนาไปแล้ว 1 เครื่อง พบว่าระดับน้ำในคลองทวีฒนาลดลงไป 5 ซม.ภายใน 1 วัน จึงคาดว่าเมื่อติดตั้งทั้ง 2 เครื่องแล้วระดับน้ำจะลดลงกว่าเดิมและหมู่บ้านต่างๆ โดยเฉพาะหมู่บ้านเศรษฐกิจก็จะสามารถเร่งระบายน้ำได้ ทั้งนี้ กทม.จะติดตามสถานการณ์ใน24 ชั่วโมง หากระดับน้ำลดลงกทม.จะพิจารณาเปิดประตูระบายน้ำคลองทวีวัฒนาเพิ่ม อย่างไรก็ตามที่กทม.เพิ่งตัดสินใจติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำในตอนนี้ เนื่องจากก่อนหน้านี้ปลายน้ำยังมีระดับสูงอยู่ หากเร่งผลักน้ำไปปลายน้ำก็จะท่วม จึงต้องให้ระดับน้ำที่ปลายน้ำลดลงก่อน
**ผู้ว่าฯกทม.ไม่ถือสา “พ.ต.ต.เสงี่ยม”**
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวต่อว่า ภายใน 15 วันนับจากนี้ คาดว่าระดับน้ำในกรุงเทพฯทางด้านเหนือและตะวันออก จะลดลงอย่ารวดเร็ว แต่ฝั่งตะวันตกอาจจะช้ากว่าเพราะคลองที่ระบายน้ำมีขนาดเล็ก ตนยังมั่นใจว่ากทม. จะแห้งทั้งเมืองภายในวันที่ 31 ธ.ค. ส่วนกรณีที่มีกลุ่มคนจะถอดถอนผู้ว่าฯกทม.ออกจากตำแหน่งนั้น ตนไม่อยากเอาเรื่องนี้มาใส่ใจ อยากทำงานดูแลทุกข์สุขประชาชนชาวกรุงเทพฯ ที่เลือกตนมา จะมาถอดถอนอะไรตอนนี้ ตนไม่สนใจ เป็นเรื่องของคนที่ไม่มีงานทำที่จะมาทำเรื่องแบบนี้ใครมาทำหน้าที่แทนตนก็ต้องทำอย่างตนเหมือนกัน และตนไม่ถือสา พ.ต.ต.เสงี่ยม สำราญรัตน์ ข้าราชการการเมืองประจำสำนักเลขาธิการ สำนักนายกรัฐมนตรี เพราะถือว่าเป็นประชาชนคนหนึ่งที่เดือดร้อนเหมือนกัน
**กทม.ดำเนินคดีเอาผิด “พ.ต.ต.เสงี่ยม”
นายวสันต์ มีวงษ์ โฆษก กทม. เปิดเผยถึงความคืบหน้ากรณีแจ้งความดำเนินคดีกับ พ.ต.ต.เสงี่ยม สำราญรัตน์ ข้าราชการการเมืองประจำสำนักเลขาธิการ สำนักนายกรัฐมนตรี แกนนำกลุ่มผู้ชุมนุมที่เดินทางมาชุมนุมกด ดันเจ้าหน้าที่รวมทั้งบุกเปิดประตูระบายน้ำของกทม.ว่า กทม.ได้มอบหมายผู้แทนเข้าพบพนักงานสอบสวน สน.คันนายาว เพื่อแจ้งความดำเนินคดีแล้ว ในข้อหาบุกรุกอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่น และ ฝ่าฝืนคำสั่งของผู้อำนวยการกรุงเทพมหานคร (ผู้ว่าฯกทม.) หลังจากเมื่อวันที่ 27 พ.ย. เวลาประมาณ 20.00 น. วันที่ 28 พ.ย. เวลา 18.00 น. โดยในวันที่ 30 พ.ย. 54 เวลา 02.00 น. แกนนำผู้ชุมนุมได้กระทำการฝ่าฝืนคำสั่งของ ผู้ว่าฯกทม. เข้าไปในพื้นที่ประตูระบายน้ำพระยาสุเรนทร์ ซึ่งเป็นบริเวณห้ามเข้าตามคำสั่งดังกล่าว ถือว่า การเข้าไปในพื้นที่ดังกล่าวเป็นการเข้าไปกระทำการใดๆ อันเป็นการรบกวนการครอบครองประตูระบายน้ำพระยาสุเรนทร์ของ กทม. เป็นเหตุให้ กทม.ได้รับความเสียหาย ซึ่งพนักงานสอบสวนได้รับคำร้องเป็นคดีอาญาที่ 2110/54 และอยู่ระหว่างดำเนินคดีตามขั้นตอนต่อไป
**ยันไม่ได้อยากรังแกชาวบ้านที่มาชุมนุม**
“ ขอยืนยันว่ากทม.ไม่ได้ขัดคำสั่งนายกฯ ตามที่ พ.ต.ต.เสงี่ยมกล่าวหา ใช้เป็นข้ออ้างในการนำม็อบบุกเปิดประตูระบายน้ำ และกทม.จำเป็นต้องแจ้งความดำเนินคดีกับ พ.ต.ต.เสงี่ยม เนื่องจาก กทม.เป็นหน่วยงานรัฐที่รับผิดชอบดูแลทรัพย์สินของราชการ หากไม่ฟ้องอาจเข้าข่ายความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ฐานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบได้ ซึ่งการเปิด-ปิดประตูระบายน้ำก็ถือเป็นอำนาจหน้าที่ของกทม.ตามกฎหมาย ผู้ใดที่ไม่เกี่ยวข้องจะละเมิดมิได้ จึงอยากให้ประชาชนชาวบ้านเข้าใจด้วยว่า การฟ้องของ กทม. ในครั้งนี้มีเหตุผล ไม่ใช่การคุกคามหรืออยากรังแกชาวบ้านที่มาชุมนุมแต่อย่างใด” นายวสันต์ กล่าว
**ศปภ.ล้มเหลวปล่อยการเมืองแทรก**
นายวสันต์ กล่าวอีกว่า ความล้มเหลวของศปภ.ในวันนี้คือการเมืองแทรกแซงการบริหารจัดการ และแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ซึ่งการที่มีคนให้ข้อมูลที่ผิดพลาดทำให้นายกรัฐมนตรีตัดสินใจผิดพลาดเช่นกัน นอกจากนี้แล้วยังมีการกล่าวหาหน่วยงานรัฐแบบผิดๆ ซึ่งภายหลังความจริงปรากฏ กลับไม่มีผู้ใดออกมาแสดงตัวขอโทษกับเหตุดังกล่าว ถือเป็นการนำการเมืองมาบ่อนทำลายบรรยากาศความปรองดองในชาติอย่างร้ายแรง ทำให้หน่วยงานรวมทั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่ปฏิบัติหน้าที่ตามกรอบอำนาจในกฎหมายได้รับความเสียหายอย่างมาก
** 39โรงงานเลิกกิจการ 10,957 คนตกงาน
นายเผดิมชัย สะสะทรัพย์ รมว.แรงงาน กล่าวว่า ขณะนี้มีผู้ประบกอบการ 39 แห่ง ซึ่ง เป็นโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ และเป็นโรงงานเกี่ยวกับชิ้นส่วนประกอบรถยนต์ ที่ประกาศเลิกกิจการ หลังจากเกิดเหตุอุทกภัย และมีคนงาน 10,957 คน ที่จะต้องว่างงาน แต่ไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง เพราะคนเหล่านี้ได้รับการคุ้มครองจากการเลิกจ้าง มีการชดเชย และสิทธิประโยชน์อื่นๆ
ทั้งนี้ กระทรวงแรงงาน ก็มีอัตรางานรองรับอยู่แล้วกว่าแสนอัตรา และทางกระทรวง ได้มีการทำข้อตกลงกับผู้ประกอบการแล้ว ในการขอรับการช่วยเหลือจากรัฐบาลจะต้องไม่มีการเลิกจ้างพนักงาน ซึ่งผู้ประกอบการก็ยินดีที่จะเปิดประกอบกิจการเช่นเดิม และจ้างแรงงานต่อ
**"มาร์ค" นำทีมฟื้นฟูสุโขทัย **
วันเดียวกัน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ พร้อมคณะ ลงพื้นที่ อ.เมืองฯ จ.สุโขทัย เพื่อร่วมกิจกรรมทาสี และพบปะประชาชน พร้อมมอบถุงยังชีพจากโครงการอาสาคนไทยช่วยน้ำท่วม เพื่อบรรเทาทุกข์ให้กับประชาชน
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า สิ่งที่มีการเรียกร้องมาก คือ ประชาชนที่ประสบอุทกภัยต้องการให้รัฐบาลเร่งรัด จ่ายเงินชดเชยเยียวยา ซึ่งขณะนี้ส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับ โดยเฉพาะความเสียหายภาคการเกษตร ที่รัฐบาลจะจ่ายให้ไร่ละ 2 พันบาท และเงินส่วนต่างเพิ่มเติมอีกกว่า 1,400 บาท ทั้งนี้ ทางพรรคจะได้ติดตามทวงถามเพื่อให้รัฐบาลเร่งดำเนินการโดยเร็วที่สุด
"ผมได้รับจดหมายจากประชาชนที่นี่ ร้องเรียนว่า บ้านน้ำท่วม แต่ไม่ได้เงินชดเชย ส่วนคนที่บ้านน้ำไม่ท่วม กลับได้เงินชดเชย ซึ่งสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ ถือเป็นการเลือกปฏิบัติ และพรรคประชาธิปัตย์ จะเดินหน้าตรวจสอบเรื่องนี้เพื่อให้ประชาชนได้รับความเป็นธรรมตามสิทธิ์ ของตัวเอง " นายอภิสิทธิ์ กล่าว
** นักธุรกิจสุโขทัยครวญศก.ฟุบหนัก
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ช่วงเที่ยง นายอภิสิทธิ์ และคณะได้ร่วมรับประทานอาหารกลางวัน กับนักธุรกิจจ.สุโขทัย โดยมีการแลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับสภาพเศรษฐกิจ และปัญหาของบ้านเมืองในหลากหลายมิติ ซึ่งนักธุรกิจสะท้อนตรงกันว่า เศรษฐกิจในปัจจุบันซบเซาอย่างมาก เป็นผลจาก 2 ปัจจัยคือ ภาคการเกษตร เพราะพืชผลเสียหาย และการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติครั้งนี้ด้วย โดยธุรกิจโรงแรมบางแห่งเสียหายเดือนละหนึ่งล้านบาท ส่วนการเกษตรก็มีปัญหาความไม่ชัดเจนเรื่องโครงการจำนำข้าว
ส่วนเรื่องของท่องเที่ยว นักธุรกิจสุโขทัย อยากเห็นการลงทุนที่จะช่วยยกระดับเศรษฐกิจของจังหวัดให้คนมาเที่ยวสุโขทัยมากกว่า 1 ครั้ง จึงเสนอว่าควรเชื่อมโยงสุโขทัย กับแหล่งท่องเที่ยวอื่น เป็นแพคเกจ เที่ยววันเดียว 3 ประเทศ เช่น ลาว พม่า ผ่าน จ.สุโขทัย ด้วยการสร้างเส้นทางสุโขทัย อุตรดิตถ์ไปประเทศลาว และจากสุโขทัย ไปตากเชื่อมไปพม่า แต่เรื่องนี้ยังต้องพิจารณาเพราะ พม่าอยู่ในระหว่างการเปลี่ยนแปลง
**กมธ.เชิญ “ประชา”แจงการบริหารศปภ.
คณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญศึกษาปัญหาการปฏิรูประบบงานความมั่นคงของรัฐ โดยมี พล.อ.อ.วีรวิท คงศักดิ์ ส.ว.สรรหา ในฐานะประธาน กมธ. เป็นประธานการประชุม ได้เชิญ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รมว.ยุติธรรม ในฐานะผอ.ศปภ. เข้าชี้แจงถึงเรื่องการบริหารจัดการในศปภ.
ทั้งนี้ ส.ว.ส่วนใหญ่ได้มีการตั้งคำถามกับ พล.ต.อ.ประชาว่า เหตุใดจึงไม่นำกฎหมายที่อยู่มีในการจัดการกับปัญหาน้ำท่วม ซึ่งถือว่าเป็นสถานการณ์ฉุกเฉิน มากกว่าการประกาศใช้พ.ร.บ. ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย นอกจากนี้ หน้าที่ความรับผิดชอบควรจะเป็นของ นายกรัฐมนตรี แต่กลับแต่งตั้งให้ พล.ต.อ.ประชา มาทำหน้าที่แทน และการทำงานใน ศปภ.มีการแบ่งขั้นตอนกันอย่างไรบ้าง
**"ประชา"หลุด"ปู"ไม่นั่งผอ.ศปภ.เพราะนั่งนานไม่ได้ **
ด้านพล.ต.อ.ประชา ชี้แจงว่า การตั้ง ศปภ. ถือว่าเป็นปัญหาใหญ่ เนื่องจากต้องเผชิญกับวิกฤต แต่นายกฯ ก็จำเป็นต้องตั้ง ศปภ.ขึ้น ส่วนการทำงานใน ศปภ. ก็ได้มีการแบ่งหน้าที่กันอย่างเป็นระบบ โดยในแต่ละวันจะมีการประชุมถึง 2 ครั้ง เพื่อรับมือกับปัญหาน้ำท่วม
ส่วนกรณีที่นายกฯไม่ได้มาทำหน้าที่ด้วยตัวเอง เนื่องจากกายภาพและสรีระ เพราะการทำหน้าที่ดังกล่าว ต้องนั่งประชุมเป็นเวลานาน ขนาดตนบางวันต้องประชุมเวลาถึง 01.00-02.00 น. ซึ่งอาจจะไม่สะดวกนัก แต่นายกฯรับรู้ความเคลื่อนไหวตลอดเวลา
**อาชีวะ บริการซ่อมรถยนต์จมน้ำเริ่ม3 ธ.ค.
นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า ตนได้รับมอบหมายจาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) โดยสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เข้ามาช่วยดูแลในเรื่องการซ่อมแซมรถยนต์ที่ถูกน้ำท่วม ดังนั้น ตนจึงได้มอบให้เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (เลขาธิการ กอศ.) ไปประสานในเรื่องการขอใช้พื้นที่บริเวณสนามบินดอนเมืองเพื่อตั้งเป็นศูนย์ซ่อมรถยนต์ที่ถูกน้ำท่วมให้กับประชาชน ทางอาชีวศึกษาจะร่วมมือกับตัวแทนบริษัทโตโยต้า ฮอนด้า และบริษัทต่าง ๆมาร่วมให้บริการซ่อมแซมรถยนต์ให้กับประชาชน
“ศูนย์ดังกล่าวนี้จะเปิดให้บริการในวันที่ 3 ธ.ค.นี้เป็นวันแรก ที่ดอนเมือง โดยกระทรวงศึกษาฯจะช่วยเหลือในเรื่องค่าแรงในการซ่อมแซมรถให้ แต่ในส่วนของอะไหล่และอุปกรณ์ต่าง ๆ จะพยายามจัดหาให้ได้ราคาที่ต่ำที่สุด คาดว่าภายหลังจากนี้ไปอีก 1 สัปดาห์ศูนย์ดังกล่าวจะสามารถเปิดรับซ่อมแซมรถได้ ดังนั้น ผู้ที่รถถูกน้ำท่วมได้รับความเสียหายและไม่มีประกัน ต้องการให้ศธ.ซ่อมแซมรถให้ก็เตรียมไปติดต่อหรือนำรถไปที่ศูนย์ฯได้”
**รับนร.อาชีวะทำงานค่าแรง300บาท/วัน**
รมว.ศธ. กล่าวต่อว่า จะเปิดรับนักเรียนอาชีวะฯที่จบสายช่างยนต์ไปแล้ว แต่ยังไม่มีงานทำ และมีภาระที่จะต้องส่งเงินกู้คืนให้กับทางกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา(กยศ.) ได้เข้ามาทำงานในส่วนนี้ โดยจะได้รับค่าแรง วันละ 300 บาท โดยในส่วนนี้ทางรัฐบาลจะเป็นผู้สนับสนุนงบให้ เพื่อให้นักเรียนอาชีวะฯนำเงินไปใช้หนี้กยศ.ได้ นอกจากนี้ จะให้โอกาสนักเรียนอาชีวะที่กำลังศึกษาอยู่สามารถไปช่วยซ่อมรถให้ประชาชน แล้วนำไปเป็นชั่วโมงเรียนได้ด้วย
ด้านนายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการ กอศ. กล่าวว่า ขณะนี้ สอศ.ได้ส่งอาจารย์ นักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาลงไปเคลียร์สถานที่ที่ดอนเมืองเพื่อเตรียมความพร้อมในการให้บริการซ่อมรถยนต์แก่ประชาชน ซึ่งจะมีนักศึกษาจากวิทยาลัยอาชีวศึกษาทั่วประเทศประมาณ 2,000 คนหมุนเวียนมาให้บริการทั้งการทำสีรถ ซ่อมเครื่องยนต์ ซึ่งเป็นโอกาสดีที่นักศึกษาจะได้นำความรู้ที่เรียนมาสู่การปฏิบัติจริง
เมื่อเวลา 11.15 น.วานนี้ (2 ธ.ค.) ที่ห้องเจ้าพระยา ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม.แถลงภายหลังการประชุมติดตามสถานการณ์น้ำในพื้นที่ กทม.ว่า สถานการณ์น้ำในภาพรวมของ กทม.ดีขึ้นตามลำดับโดยระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาหนุนสูงสุดเวลา 12.55 น. สูงประมาณ 1.96 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง (ม.รทก.) และในช่วงบ่ายที่จะมีน้ำหนุนสูงสุด แต่จะลดลงอีกเหลือเพียง 1.93 ม.รทก.ส่วนคูคลองสายหลักต่างๆ ระดับน้ำลดลงต่อเนื่อง เช่น คลองหกวาสายล่าง ลดลง 6 ซม.คลองเปรมประชากร 8 ซม.คลองมหาสวัสดิ์ 4 ซม.ซึ่งแสดงให้เห็นว่า สถานการณ์ด้านเหนือและตะวันออกดีขึ้นชัดเจน ดังนั้น กทม.จะเปิดประตูระบายน้ำให้กว้างขึ้น 3 แห่ง ได้แก่ ประตูระบายน้ำ (ปตร.) คลองพระยาสุเรนทร์จะเปิดเพิ่มอีก 10 ซม.จากเดิม 1.40 เมตร เป็น 1.50 เมตร ปตร.คลองแสนแสบ-มีนบุรี เพิ่มอีก 20 ซม.จากเดิม 1.30 เมตร เป็น 1.50 เมตร ปตร.ลำบึงขวาง เพิ่มอีก 10 ซม.จากเดิม 1.20 เมตร เป็น 1.30 เมตร เพื่อระบายน้ำ จ.ปทุมธานี และคลองหกวาสายล่าง เข้าสู่ระบบการระบายน้ำของพื้นที่ชั้นในลงสู่อุโมงค์ยักษ์ที่สถานีสูบน้ำพระโขนง และออกแม่น้ำเจ้าพระยาต่อไป ขณะที่ด้านกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันตกยังติดตามต่อเนื่อง โดยยังคงระดับบาน ปตร.คลองทวีวัฒนา ไว้ที่ระดับ 50 ซม.เนื่องจากพื้นที่ด้านตะวันตกน้ำยังสูง โดยคลองทวีวัฒนาระดับน้ำลดลงเล็กน้อย
**ชวนจิตอาสาทำความสะอาด 9 เขตน้ำท่วม **
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวต่อว่า ส่วนการจัดเก็บขยะ สามารถจัดเก็บได้ 12,000 ตันต่อวัน จากปริมาณขยะในภาวะปกติ 8,500-8,700 ตันต่อวัน แม้จะเก็บได้มากในพื้นที่ที่มีขยะเป็นจำนวนมากมากแต่ยังมีขยะตกค้างอยู่ ดังนั้น ก่อนวันที่ 5 ธ.ค.นี้ กทม.จะระดมคณะผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ กทม.และจังหวัดต่างๆ ที่สนับสนุน กทม.อีกทั้ง นายพระนาย สุวรรณรัฐ ปลัดกระทรวงมหาดไทย(มท.) ได้รับเรื่องการจัดเก็บขยะในพื้นที่ กทม.เป็นนโยบายที่ ก.มหาดไทย จะช่วยในการดำเนินการซึ่งได้สนับสนุนงบประมาณในการจัดเก็บขยะ รวมถึงการจัดหาอุปกรณ์เครื่องมือมาช่วยในการจัดเก็บขยะอีกด้วย พร้อมกันนี้ ตนเองขอเชิญอาสาสมัครและผู้มีจิตอาสาที่อยากช่วย กทม.อยากทำให้ กทม.สะอาดก็ขอเชิญเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดเก็บขยะในพื้นที่กรุงเทพฯ ครั้งใหญ่ ใน 9 เขตน้ำท่วม โดยจะเริ่มปฏิบัติงานตั้งแต่วันที่ 3 ธ.ค. เป็นต้นไป โดย กทม.จะแจ้งสถานที่ดำเนินการให้ทราบอีกครั้งซึ่งหวังว่าวันที่ 5 ธ.ค.จะเป็นวันที่ กทม.ปลอดขยะมากที่สุด
**หารือ ศปภ.ขอร่วมมือเปิด-ปิดปตร.
ส่วนกรณีศาลปกครองมีคำสั่งให้ กทม.พิจารณาร่วมกับ ศปภ.ในการเปิดประตูระบายน้ำแนวคลองมหาสวัสดิ์นั้น ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวว่า กทม.จะทำหนังสือถึง ศปภ.เพื่อหารือร่วมกันในการปรับเพิ่ม-ลดประตูระบายน้ำของ กทม. ได้แก่ ประตูระบายน้ำคลองทวีวัฒนา ซึ่งปัจจุบันเปิดอยู่ที่ระดับ 50 ซม. ปตร.คลองซอย 1 เมตร ปตร.ขุนศรีบุรีรักษ์ 1 เมตร ปตร.คลองควาย 1 เมตร และในส่วนของกรมชลประทาน ได้แก่ ปตร.ฉิมพลี และ ปตร.นครชัยศรี เพื่อบริหารจัดการน้ำคลองมหาสวัสดิ์ให้ดียิ่งขึ้นซึ่งทุกวันนี้เราก็ทำกันอยู่แล้ว แต่จากนี้เราจะทำอย่างเคร่งครัดและเร่งรัดตามคำสั่งของศาลปกครอง
**ตั้งเครื่องผลักดันน้ำ เร่งระบายฝั่งตต.
ต่อมาเมื่อเวลา 14.30 น. ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯกทม. เดินทางมายังคลองทวีวัฒนาจุดตัดถนนเพชรเกษม เพื่อติดตามการติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำขนาด 24 นิ้ว ภายหลังจากวานนี้เจ้าหน้าที่จากสำนักการระบายน้ำ (สนน.) ได้มาดำเนินการติดตั้งแล้ว 1 เครื่อง และในวันนี้เจ้าหน้าที่ได้มาติดตั้งเพิ่มอีก 1 เครื่อง ซึ่งแต่ละเครื่องสามารถผลักดันน้ำได้ 1 ลูกบากศ์เมตรต่อวินาที อย่างไรก็ตามพื้นที่เขตทวีวัฒนาระบายน้ำได้ช้ากว่าพื้นที่อื่นๆ เนื่องจากคลองทวีวัฒนาที่เชื่อมต่อกับคลองภาษีเจริญนั้น มีคลองต่างๆ ตัดขวาง ทำให้น้ำไหลได้ช้า การติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำจึงเป็นการช่วยเร่งการระบายน้ำให้เร็วขึ้นกว่าเดิม
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวว่า คลองทวีวัฒนาเป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการระบายน้ำฝั่งตะวันตก ซึ่งสามารถระบายได้ 3 ทาง ได้แก่ คลองบางกอกใหญ่ระบายลงแม่น้ำเจ้าพระยา คลองภาษีเจริญระบายออกกระทุ่มแบน และคลองราชมนตรีที่จะระบายออกไปยังสถานีสูบน้ำ ซึ่งวานนี้กทม.ได้ติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำที่คลองทวีวัฒนาไปแล้ว 1 เครื่อง พบว่าระดับน้ำในคลองทวีฒนาลดลงไป 5 ซม.ภายใน 1 วัน จึงคาดว่าเมื่อติดตั้งทั้ง 2 เครื่องแล้วระดับน้ำจะลดลงกว่าเดิมและหมู่บ้านต่างๆ โดยเฉพาะหมู่บ้านเศรษฐกิจก็จะสามารถเร่งระบายน้ำได้ ทั้งนี้ กทม.จะติดตามสถานการณ์ใน24 ชั่วโมง หากระดับน้ำลดลงกทม.จะพิจารณาเปิดประตูระบายน้ำคลองทวีวัฒนาเพิ่ม อย่างไรก็ตามที่กทม.เพิ่งตัดสินใจติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำในตอนนี้ เนื่องจากก่อนหน้านี้ปลายน้ำยังมีระดับสูงอยู่ หากเร่งผลักน้ำไปปลายน้ำก็จะท่วม จึงต้องให้ระดับน้ำที่ปลายน้ำลดลงก่อน
**ผู้ว่าฯกทม.ไม่ถือสา “พ.ต.ต.เสงี่ยม”**
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวต่อว่า ภายใน 15 วันนับจากนี้ คาดว่าระดับน้ำในกรุงเทพฯทางด้านเหนือและตะวันออก จะลดลงอย่ารวดเร็ว แต่ฝั่งตะวันตกอาจจะช้ากว่าเพราะคลองที่ระบายน้ำมีขนาดเล็ก ตนยังมั่นใจว่ากทม. จะแห้งทั้งเมืองภายในวันที่ 31 ธ.ค. ส่วนกรณีที่มีกลุ่มคนจะถอดถอนผู้ว่าฯกทม.ออกจากตำแหน่งนั้น ตนไม่อยากเอาเรื่องนี้มาใส่ใจ อยากทำงานดูแลทุกข์สุขประชาชนชาวกรุงเทพฯ ที่เลือกตนมา จะมาถอดถอนอะไรตอนนี้ ตนไม่สนใจ เป็นเรื่องของคนที่ไม่มีงานทำที่จะมาทำเรื่องแบบนี้ใครมาทำหน้าที่แทนตนก็ต้องทำอย่างตนเหมือนกัน และตนไม่ถือสา พ.ต.ต.เสงี่ยม สำราญรัตน์ ข้าราชการการเมืองประจำสำนักเลขาธิการ สำนักนายกรัฐมนตรี เพราะถือว่าเป็นประชาชนคนหนึ่งที่เดือดร้อนเหมือนกัน
**กทม.ดำเนินคดีเอาผิด “พ.ต.ต.เสงี่ยม”
นายวสันต์ มีวงษ์ โฆษก กทม. เปิดเผยถึงความคืบหน้ากรณีแจ้งความดำเนินคดีกับ พ.ต.ต.เสงี่ยม สำราญรัตน์ ข้าราชการการเมืองประจำสำนักเลขาธิการ สำนักนายกรัฐมนตรี แกนนำกลุ่มผู้ชุมนุมที่เดินทางมาชุมนุมกด ดันเจ้าหน้าที่รวมทั้งบุกเปิดประตูระบายน้ำของกทม.ว่า กทม.ได้มอบหมายผู้แทนเข้าพบพนักงานสอบสวน สน.คันนายาว เพื่อแจ้งความดำเนินคดีแล้ว ในข้อหาบุกรุกอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่น และ ฝ่าฝืนคำสั่งของผู้อำนวยการกรุงเทพมหานคร (ผู้ว่าฯกทม.) หลังจากเมื่อวันที่ 27 พ.ย. เวลาประมาณ 20.00 น. วันที่ 28 พ.ย. เวลา 18.00 น. โดยในวันที่ 30 พ.ย. 54 เวลา 02.00 น. แกนนำผู้ชุมนุมได้กระทำการฝ่าฝืนคำสั่งของ ผู้ว่าฯกทม. เข้าไปในพื้นที่ประตูระบายน้ำพระยาสุเรนทร์ ซึ่งเป็นบริเวณห้ามเข้าตามคำสั่งดังกล่าว ถือว่า การเข้าไปในพื้นที่ดังกล่าวเป็นการเข้าไปกระทำการใดๆ อันเป็นการรบกวนการครอบครองประตูระบายน้ำพระยาสุเรนทร์ของ กทม. เป็นเหตุให้ กทม.ได้รับความเสียหาย ซึ่งพนักงานสอบสวนได้รับคำร้องเป็นคดีอาญาที่ 2110/54 และอยู่ระหว่างดำเนินคดีตามขั้นตอนต่อไป
**ยันไม่ได้อยากรังแกชาวบ้านที่มาชุมนุม**
“ ขอยืนยันว่ากทม.ไม่ได้ขัดคำสั่งนายกฯ ตามที่ พ.ต.ต.เสงี่ยมกล่าวหา ใช้เป็นข้ออ้างในการนำม็อบบุกเปิดประตูระบายน้ำ และกทม.จำเป็นต้องแจ้งความดำเนินคดีกับ พ.ต.ต.เสงี่ยม เนื่องจาก กทม.เป็นหน่วยงานรัฐที่รับผิดชอบดูแลทรัพย์สินของราชการ หากไม่ฟ้องอาจเข้าข่ายความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ฐานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบได้ ซึ่งการเปิด-ปิดประตูระบายน้ำก็ถือเป็นอำนาจหน้าที่ของกทม.ตามกฎหมาย ผู้ใดที่ไม่เกี่ยวข้องจะละเมิดมิได้ จึงอยากให้ประชาชนชาวบ้านเข้าใจด้วยว่า การฟ้องของ กทม. ในครั้งนี้มีเหตุผล ไม่ใช่การคุกคามหรืออยากรังแกชาวบ้านที่มาชุมนุมแต่อย่างใด” นายวสันต์ กล่าว
**ศปภ.ล้มเหลวปล่อยการเมืองแทรก**
นายวสันต์ กล่าวอีกว่า ความล้มเหลวของศปภ.ในวันนี้คือการเมืองแทรกแซงการบริหารจัดการ และแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ซึ่งการที่มีคนให้ข้อมูลที่ผิดพลาดทำให้นายกรัฐมนตรีตัดสินใจผิดพลาดเช่นกัน นอกจากนี้แล้วยังมีการกล่าวหาหน่วยงานรัฐแบบผิดๆ ซึ่งภายหลังความจริงปรากฏ กลับไม่มีผู้ใดออกมาแสดงตัวขอโทษกับเหตุดังกล่าว ถือเป็นการนำการเมืองมาบ่อนทำลายบรรยากาศความปรองดองในชาติอย่างร้ายแรง ทำให้หน่วยงานรวมทั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่ปฏิบัติหน้าที่ตามกรอบอำนาจในกฎหมายได้รับความเสียหายอย่างมาก
** 39โรงงานเลิกกิจการ 10,957 คนตกงาน
นายเผดิมชัย สะสะทรัพย์ รมว.แรงงาน กล่าวว่า ขณะนี้มีผู้ประบกอบการ 39 แห่ง ซึ่ง เป็นโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ และเป็นโรงงานเกี่ยวกับชิ้นส่วนประกอบรถยนต์ ที่ประกาศเลิกกิจการ หลังจากเกิดเหตุอุทกภัย และมีคนงาน 10,957 คน ที่จะต้องว่างงาน แต่ไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง เพราะคนเหล่านี้ได้รับการคุ้มครองจากการเลิกจ้าง มีการชดเชย และสิทธิประโยชน์อื่นๆ
ทั้งนี้ กระทรวงแรงงาน ก็มีอัตรางานรองรับอยู่แล้วกว่าแสนอัตรา และทางกระทรวง ได้มีการทำข้อตกลงกับผู้ประกอบการแล้ว ในการขอรับการช่วยเหลือจากรัฐบาลจะต้องไม่มีการเลิกจ้างพนักงาน ซึ่งผู้ประกอบการก็ยินดีที่จะเปิดประกอบกิจการเช่นเดิม และจ้างแรงงานต่อ
**"มาร์ค" นำทีมฟื้นฟูสุโขทัย **
วันเดียวกัน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ พร้อมคณะ ลงพื้นที่ อ.เมืองฯ จ.สุโขทัย เพื่อร่วมกิจกรรมทาสี และพบปะประชาชน พร้อมมอบถุงยังชีพจากโครงการอาสาคนไทยช่วยน้ำท่วม เพื่อบรรเทาทุกข์ให้กับประชาชน
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า สิ่งที่มีการเรียกร้องมาก คือ ประชาชนที่ประสบอุทกภัยต้องการให้รัฐบาลเร่งรัด จ่ายเงินชดเชยเยียวยา ซึ่งขณะนี้ส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับ โดยเฉพาะความเสียหายภาคการเกษตร ที่รัฐบาลจะจ่ายให้ไร่ละ 2 พันบาท และเงินส่วนต่างเพิ่มเติมอีกกว่า 1,400 บาท ทั้งนี้ ทางพรรคจะได้ติดตามทวงถามเพื่อให้รัฐบาลเร่งดำเนินการโดยเร็วที่สุด
"ผมได้รับจดหมายจากประชาชนที่นี่ ร้องเรียนว่า บ้านน้ำท่วม แต่ไม่ได้เงินชดเชย ส่วนคนที่บ้านน้ำไม่ท่วม กลับได้เงินชดเชย ซึ่งสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ ถือเป็นการเลือกปฏิบัติ และพรรคประชาธิปัตย์ จะเดินหน้าตรวจสอบเรื่องนี้เพื่อให้ประชาชนได้รับความเป็นธรรมตามสิทธิ์ ของตัวเอง " นายอภิสิทธิ์ กล่าว
** นักธุรกิจสุโขทัยครวญศก.ฟุบหนัก
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ช่วงเที่ยง นายอภิสิทธิ์ และคณะได้ร่วมรับประทานอาหารกลางวัน กับนักธุรกิจจ.สุโขทัย โดยมีการแลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับสภาพเศรษฐกิจ และปัญหาของบ้านเมืองในหลากหลายมิติ ซึ่งนักธุรกิจสะท้อนตรงกันว่า เศรษฐกิจในปัจจุบันซบเซาอย่างมาก เป็นผลจาก 2 ปัจจัยคือ ภาคการเกษตร เพราะพืชผลเสียหาย และการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติครั้งนี้ด้วย โดยธุรกิจโรงแรมบางแห่งเสียหายเดือนละหนึ่งล้านบาท ส่วนการเกษตรก็มีปัญหาความไม่ชัดเจนเรื่องโครงการจำนำข้าว
ส่วนเรื่องของท่องเที่ยว นักธุรกิจสุโขทัย อยากเห็นการลงทุนที่จะช่วยยกระดับเศรษฐกิจของจังหวัดให้คนมาเที่ยวสุโขทัยมากกว่า 1 ครั้ง จึงเสนอว่าควรเชื่อมโยงสุโขทัย กับแหล่งท่องเที่ยวอื่น เป็นแพคเกจ เที่ยววันเดียว 3 ประเทศ เช่น ลาว พม่า ผ่าน จ.สุโขทัย ด้วยการสร้างเส้นทางสุโขทัย อุตรดิตถ์ไปประเทศลาว และจากสุโขทัย ไปตากเชื่อมไปพม่า แต่เรื่องนี้ยังต้องพิจารณาเพราะ พม่าอยู่ในระหว่างการเปลี่ยนแปลง
**กมธ.เชิญ “ประชา”แจงการบริหารศปภ.
คณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญศึกษาปัญหาการปฏิรูประบบงานความมั่นคงของรัฐ โดยมี พล.อ.อ.วีรวิท คงศักดิ์ ส.ว.สรรหา ในฐานะประธาน กมธ. เป็นประธานการประชุม ได้เชิญ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รมว.ยุติธรรม ในฐานะผอ.ศปภ. เข้าชี้แจงถึงเรื่องการบริหารจัดการในศปภ.
ทั้งนี้ ส.ว.ส่วนใหญ่ได้มีการตั้งคำถามกับ พล.ต.อ.ประชาว่า เหตุใดจึงไม่นำกฎหมายที่อยู่มีในการจัดการกับปัญหาน้ำท่วม ซึ่งถือว่าเป็นสถานการณ์ฉุกเฉิน มากกว่าการประกาศใช้พ.ร.บ. ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย นอกจากนี้ หน้าที่ความรับผิดชอบควรจะเป็นของ นายกรัฐมนตรี แต่กลับแต่งตั้งให้ พล.ต.อ.ประชา มาทำหน้าที่แทน และการทำงานใน ศปภ.มีการแบ่งขั้นตอนกันอย่างไรบ้าง
**"ประชา"หลุด"ปู"ไม่นั่งผอ.ศปภ.เพราะนั่งนานไม่ได้ **
ด้านพล.ต.อ.ประชา ชี้แจงว่า การตั้ง ศปภ. ถือว่าเป็นปัญหาใหญ่ เนื่องจากต้องเผชิญกับวิกฤต แต่นายกฯ ก็จำเป็นต้องตั้ง ศปภ.ขึ้น ส่วนการทำงานใน ศปภ. ก็ได้มีการแบ่งหน้าที่กันอย่างเป็นระบบ โดยในแต่ละวันจะมีการประชุมถึง 2 ครั้ง เพื่อรับมือกับปัญหาน้ำท่วม
ส่วนกรณีที่นายกฯไม่ได้มาทำหน้าที่ด้วยตัวเอง เนื่องจากกายภาพและสรีระ เพราะการทำหน้าที่ดังกล่าว ต้องนั่งประชุมเป็นเวลานาน ขนาดตนบางวันต้องประชุมเวลาถึง 01.00-02.00 น. ซึ่งอาจจะไม่สะดวกนัก แต่นายกฯรับรู้ความเคลื่อนไหวตลอดเวลา
**อาชีวะ บริการซ่อมรถยนต์จมน้ำเริ่ม3 ธ.ค.
นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า ตนได้รับมอบหมายจาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) โดยสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เข้ามาช่วยดูแลในเรื่องการซ่อมแซมรถยนต์ที่ถูกน้ำท่วม ดังนั้น ตนจึงได้มอบให้เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (เลขาธิการ กอศ.) ไปประสานในเรื่องการขอใช้พื้นที่บริเวณสนามบินดอนเมืองเพื่อตั้งเป็นศูนย์ซ่อมรถยนต์ที่ถูกน้ำท่วมให้กับประชาชน ทางอาชีวศึกษาจะร่วมมือกับตัวแทนบริษัทโตโยต้า ฮอนด้า และบริษัทต่าง ๆมาร่วมให้บริการซ่อมแซมรถยนต์ให้กับประชาชน
“ศูนย์ดังกล่าวนี้จะเปิดให้บริการในวันที่ 3 ธ.ค.นี้เป็นวันแรก ที่ดอนเมือง โดยกระทรวงศึกษาฯจะช่วยเหลือในเรื่องค่าแรงในการซ่อมแซมรถให้ แต่ในส่วนของอะไหล่และอุปกรณ์ต่าง ๆ จะพยายามจัดหาให้ได้ราคาที่ต่ำที่สุด คาดว่าภายหลังจากนี้ไปอีก 1 สัปดาห์ศูนย์ดังกล่าวจะสามารถเปิดรับซ่อมแซมรถได้ ดังนั้น ผู้ที่รถถูกน้ำท่วมได้รับความเสียหายและไม่มีประกัน ต้องการให้ศธ.ซ่อมแซมรถให้ก็เตรียมไปติดต่อหรือนำรถไปที่ศูนย์ฯได้”
**รับนร.อาชีวะทำงานค่าแรง300บาท/วัน**
รมว.ศธ. กล่าวต่อว่า จะเปิดรับนักเรียนอาชีวะฯที่จบสายช่างยนต์ไปแล้ว แต่ยังไม่มีงานทำ และมีภาระที่จะต้องส่งเงินกู้คืนให้กับทางกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา(กยศ.) ได้เข้ามาทำงานในส่วนนี้ โดยจะได้รับค่าแรง วันละ 300 บาท โดยในส่วนนี้ทางรัฐบาลจะเป็นผู้สนับสนุนงบให้ เพื่อให้นักเรียนอาชีวะฯนำเงินไปใช้หนี้กยศ.ได้ นอกจากนี้ จะให้โอกาสนักเรียนอาชีวะที่กำลังศึกษาอยู่สามารถไปช่วยซ่อมรถให้ประชาชน แล้วนำไปเป็นชั่วโมงเรียนได้ด้วย
ด้านนายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการ กอศ. กล่าวว่า ขณะนี้ สอศ.ได้ส่งอาจารย์ นักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาลงไปเคลียร์สถานที่ที่ดอนเมืองเพื่อเตรียมความพร้อมในการให้บริการซ่อมรถยนต์แก่ประชาชน ซึ่งจะมีนักศึกษาจากวิทยาลัยอาชีวศึกษาทั่วประเทศประมาณ 2,000 คนหมุนเวียนมาให้บริการทั้งการทำสีรถ ซ่อมเครื่องยนต์ ซึ่งเป็นโอกาสดีที่นักศึกษาจะได้นำความรู้ที่เรียนมาสู่การปฏิบัติจริง