เอเอฟพี/รอยเตอร์ - ครูอาจารย์, พยาบาล, เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง, ตลอดจนผู้ทำงานด้านอื่นๆ ในภาครัฐของอังกฤษ จำนวนรวมกันน่าจะสูงถึง 2 ล้านคน พากันผละงานเมื่อวานนี้(30พ.ย.) นับเป็นการสไตรก์ที่มีผู้เข้าร่วมมหาศาลเช่นนี้ครั้งแรกในอังกฤษในรอบระยะเวลากว่า 30 ปีทีเดียว การนัดหยุดงานคราวนี้บังเกิดขึ้นสืบเนื่องจากความไม่พอใจที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายในเรื่องเงินบำนาญของพวกเขา รวมทั้งการที่รัฐบาลนายกรัฐมนตรีเดวิด คาเมรอน ยังคงเดินหน้าใช้วิธีตัดลดงบประมาณรายจ่ายเพิ่มขึ้นอีก ภายหลังที่ตัดลดคาดการณ์อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ
ในการสไตรก์ที่ฝ่ายสหภาพแรงงานประกาศว่าเป็นการผละงานครั้งใหญ่ที่สุดในรอบหลายๆ ทศวรรษเมื่อวานนี้ ปรากฏว่ามีโรงเรียนในเขตอิงแลนด์เพียง 1 ใน 10 ที่สามารถเปิดการเรียนการสอนได้อย่างเต็มที่ ขณะที่โรงพยาบาลแห่งต่างๆ ก็ดำเนินงานโดยที่มีเจ้าหน้าที่แค่เพียงประคับประคองกันไปเท่านั้น ส่วนหน่วยงานภาครัฐระดับท้องถิ่นจำนวนมากอยู่ในอาการอัมพาต
คนงานภาครัฐที่ผละงานซึ่งเป็นยามเฝ้ารักษาสถานที่ ยังได้ไปตั้งแถวคอยป้องกันไม่ให้คนอื่นๆ ที่ไม่ได้ร่วมประท้วงด้วยเข้าไปทำงานแทนที่ ทั้งในบริเวณรัฐสภาและตามอาคารภาครัฐต่างๆ ในย่านใจกลางกรุงลอนดอน ขณะที่ฝ่ายสหภาพแรงงานมีการวางแผนจัดการเดินขบวนสำแดงพลังตามที่ต่างๆ ทั่งทั้งอังกฤษมากกว่า 1,000 จุด ในระหว่างกาสไตรก์เป็นเวลา 24 ชั่วโมงคราวนี้ ทำให้มีบรรยากาศคล้ายๆ กับที่เกิดขึ้นในยุคทศวรรษ 1970
อย่างไรก็ตาม ความหวาดวิตกว่าจะเกิดการล่าช้าในท่าอากาศยานฮีธโรว์ ของกรุงลอนดอน ซึ่งเป็นศูนย์คมนาคมทางอากาศที่มีการสัญจรหนาแน่นที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ปรากฏว่ากลับกลายเป็นความหวั่นไหวเกินเหตุ
ทั้งนี้สายการบินหลายแห่งระบุว่าจะลดจำนวนเที่ยวบินที่ใช้ท่าอากาศยานฮีธโรว์ลง เนื่องจากพวกเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองประกาศเข้าร่วมผละงานด้วย ขณะเดียวกันรัฐบาลอังกฤษยังได้ระดมเอาเจ้าหน้าที่บางส่วนจากสถานทูตในต่างประเทศตลอดจนอาสาสมัครจากหน่วยราชการอื่นๆ เข้ามาเตรียมช่วยปฏิบัติงานแทน
แต่ปรากฏว่าในตอนเช้าวานนี้ ยังคงมีเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองประมาณสองในสามที่เดินทางมาทำงาน
ขณะเดียวกัน บริการรถไฟข้ามช่องแคบอังกฤษ ตลอดจนบริการตามท่าเรือต่างๆ บริเวณช่องแคบ ยังคงสามารถดำเนินไปได้ตามปกติเป็นส่วนใหญ่
การสไตรก์คราวนี้ถือเป็นบททดสอบครั้งใหญ่ที่สุดสำหรับคณะรัฐบาลผสมพรรคคอนเซอร์เวทีฟ-ลิเบอรัลเดโมแครต ของนายกรัฐมนตรีคาเมรอน หลังจากที่รัฐบาลได้จุดชนวนความขุ่นเคืองของบรรดาคนทำงานในภาครัฐ ด้วยการเปลี่ยนแปลงให้พวกเขาต้องชำระเงินสะสมในแต่ละเดือนสูงขึ้น โดยที่จะได้เงินบำนาญในจำนวนที่น้อยลงเมื่อออกจากงานในยามชรา แถมยังยืดเวลาเกษียณอายุให้ยาวนานออกไปเป็น 66 ปี
ความโกรธกริ้วยิ่งเพิ่มสูงขึ้นอีกในวันอังคาร(29พ.ย.) เมื่อรัฐมนตรีคลัง จอร์จ ออสบอร์น แถลงลดตัวเลขคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจอังกฤษลงมาอย่างแรง พร้อมกับเปิดเผยแผนการรับสถานการณ์ที่ประกอบด้วยการตัดลดตำแหน่งงานในภาครัฐลงไปอีก 300,000 ตำแหน่ง ตลอดจนการกำหนดเพดานครั้งใหม่ที่ห้ามขึ้นเงินเดือนเกินปีละ 1% เป็นเวลา 2 ปี ทั้งนี้เป้าหมายใหญ่ที่เขาหวังจะตัดยอดค่าใช้จ่ายด้านเงินเดือนลงมา ได้แก่ ครูอาจารย์, พยาบาล, และทหาร
เมื่อวานนี้ ออสบอร์นออกมากล่าวเตือนว่า การผละงานคราวนี้จะไม่ประสบความสำเร็จอะไร โดยมีแต่จะสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจ พร้อมกับเรียกร้องให้สหภาพแรงงานกลับมาเจรจากับฝ่ายรัฐบาล
แต่ทางด้าน เบรนดอน บาร์เบอร์ เลขาธิการสภาแรงงาน ทียูซี ซึ่งเป็นแกนของการนัดหยุดงานคราวนี้ ได้ออกมาตอบโต้ว่า รัฐบาลเอาแต่โจมตีเล่นงานคนงานภาครัฐ ดังนั้นการสไตรก์เพื่อตอบโต้จึงเป็นสิ่งที่ชอบธรรม
ในการสไตรก์ที่ฝ่ายสหภาพแรงงานประกาศว่าเป็นการผละงานครั้งใหญ่ที่สุดในรอบหลายๆ ทศวรรษเมื่อวานนี้ ปรากฏว่ามีโรงเรียนในเขตอิงแลนด์เพียง 1 ใน 10 ที่สามารถเปิดการเรียนการสอนได้อย่างเต็มที่ ขณะที่โรงพยาบาลแห่งต่างๆ ก็ดำเนินงานโดยที่มีเจ้าหน้าที่แค่เพียงประคับประคองกันไปเท่านั้น ส่วนหน่วยงานภาครัฐระดับท้องถิ่นจำนวนมากอยู่ในอาการอัมพาต
คนงานภาครัฐที่ผละงานซึ่งเป็นยามเฝ้ารักษาสถานที่ ยังได้ไปตั้งแถวคอยป้องกันไม่ให้คนอื่นๆ ที่ไม่ได้ร่วมประท้วงด้วยเข้าไปทำงานแทนที่ ทั้งในบริเวณรัฐสภาและตามอาคารภาครัฐต่างๆ ในย่านใจกลางกรุงลอนดอน ขณะที่ฝ่ายสหภาพแรงงานมีการวางแผนจัดการเดินขบวนสำแดงพลังตามที่ต่างๆ ทั่งทั้งอังกฤษมากกว่า 1,000 จุด ในระหว่างกาสไตรก์เป็นเวลา 24 ชั่วโมงคราวนี้ ทำให้มีบรรยากาศคล้ายๆ กับที่เกิดขึ้นในยุคทศวรรษ 1970
อย่างไรก็ตาม ความหวาดวิตกว่าจะเกิดการล่าช้าในท่าอากาศยานฮีธโรว์ ของกรุงลอนดอน ซึ่งเป็นศูนย์คมนาคมทางอากาศที่มีการสัญจรหนาแน่นที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ปรากฏว่ากลับกลายเป็นความหวั่นไหวเกินเหตุ
ทั้งนี้สายการบินหลายแห่งระบุว่าจะลดจำนวนเที่ยวบินที่ใช้ท่าอากาศยานฮีธโรว์ลง เนื่องจากพวกเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองประกาศเข้าร่วมผละงานด้วย ขณะเดียวกันรัฐบาลอังกฤษยังได้ระดมเอาเจ้าหน้าที่บางส่วนจากสถานทูตในต่างประเทศตลอดจนอาสาสมัครจากหน่วยราชการอื่นๆ เข้ามาเตรียมช่วยปฏิบัติงานแทน
แต่ปรากฏว่าในตอนเช้าวานนี้ ยังคงมีเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองประมาณสองในสามที่เดินทางมาทำงาน
ขณะเดียวกัน บริการรถไฟข้ามช่องแคบอังกฤษ ตลอดจนบริการตามท่าเรือต่างๆ บริเวณช่องแคบ ยังคงสามารถดำเนินไปได้ตามปกติเป็นส่วนใหญ่
การสไตรก์คราวนี้ถือเป็นบททดสอบครั้งใหญ่ที่สุดสำหรับคณะรัฐบาลผสมพรรคคอนเซอร์เวทีฟ-ลิเบอรัลเดโมแครต ของนายกรัฐมนตรีคาเมรอน หลังจากที่รัฐบาลได้จุดชนวนความขุ่นเคืองของบรรดาคนทำงานในภาครัฐ ด้วยการเปลี่ยนแปลงให้พวกเขาต้องชำระเงินสะสมในแต่ละเดือนสูงขึ้น โดยที่จะได้เงินบำนาญในจำนวนที่น้อยลงเมื่อออกจากงานในยามชรา แถมยังยืดเวลาเกษียณอายุให้ยาวนานออกไปเป็น 66 ปี
ความโกรธกริ้วยิ่งเพิ่มสูงขึ้นอีกในวันอังคาร(29พ.ย.) เมื่อรัฐมนตรีคลัง จอร์จ ออสบอร์น แถลงลดตัวเลขคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจอังกฤษลงมาอย่างแรง พร้อมกับเปิดเผยแผนการรับสถานการณ์ที่ประกอบด้วยการตัดลดตำแหน่งงานในภาครัฐลงไปอีก 300,000 ตำแหน่ง ตลอดจนการกำหนดเพดานครั้งใหม่ที่ห้ามขึ้นเงินเดือนเกินปีละ 1% เป็นเวลา 2 ปี ทั้งนี้เป้าหมายใหญ่ที่เขาหวังจะตัดยอดค่าใช้จ่ายด้านเงินเดือนลงมา ได้แก่ ครูอาจารย์, พยาบาล, และทหาร
เมื่อวานนี้ ออสบอร์นออกมากล่าวเตือนว่า การผละงานคราวนี้จะไม่ประสบความสำเร็จอะไร โดยมีแต่จะสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจ พร้อมกับเรียกร้องให้สหภาพแรงงานกลับมาเจรจากับฝ่ายรัฐบาล
แต่ทางด้าน เบรนดอน บาร์เบอร์ เลขาธิการสภาแรงงาน ทียูซี ซึ่งเป็นแกนของการนัดหยุดงานคราวนี้ ได้ออกมาตอบโต้ว่า รัฐบาลเอาแต่โจมตีเล่นงานคนงานภาครัฐ ดังนั้นการสไตรก์เพื่อตอบโต้จึงเป็นสิ่งที่ชอบธรรม