บนเส้นทางลูกหม้อมหาดไทย ที่เริ่มจากปลัดอำเภอท่าชนะปี 2509 โอนข้ามเป็นปลัดเทศบาลเมืองภูเก็ตในปี 2510 ย้อนกลับมาโตในตำแหน่งปลัดจังหวัดสงขลา รองผู้ว่าฯ ผู้ว่าราชการจังหวัด อธิบดีกรมที่ดิน ท้ายสุดขึ้นปลัด มท. เมื่อมีนาคม 2545 และเกษียณอายุในตำแหน่งนี้อีก 6 เดือนต่อมา
บนถนนการเมืองหลังเกษียณ เริ่มจากโชคนำพาให้เป็นผู้ช่วย รมว.สาธารณสุข เมื่อมีนาคม 2546 เป็นที่ปรึกษา มท.1 เมื่อกุมภาพันธ์ 2551 บุญอุ้มสมขึ้นหิ้งเป็นหัวหน้าพรรคเพื่อไทยเมื่อ 7 ธันวาคม 2551 จนถึงปัจจุบัน การเลือกตั้งปี 2554 ได้รับเลือกเป็น ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ วาสนายังพาไปอีกเมื่อ 9 สิงหาคม 2554 ให้ดำรงตำแหน่งถึงรองนายกฯ และ มท.1 ในคราวเดียว
วันนี้ ยงยุทธ วิชัยดิษฐ จึงเป็นนักการเมืองเต็มตัวแบบไม่ธรรมดา น้อยคนที่จะประสบความสำเร็จเฉกเช่นนี้
ดังนั้น เมื่อเกิดอุทกภัยครั้งใหญ่นับแต่ปลายสิงหาคม 2554 จากภาคเหนือ ผ่านภาคกลาง และลงสู่ กทม.รัฐบาลย่อมมั่นใจได้ว่าเมื่อมี มท. 1 ลูกหม้อมหาดไทยอย่างยงยุทธอยู่ ปัญหาอุทกภัย “ เอาอยู่แน่” เพราะ มท.1 คือผู้รักษาการตาม พ.ร.บ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 เป็นทั้งผู้บัญชาการที่มีอำนาจควบคุมและกำกับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยทั่วราชอาณาจักร และมีอำนาจในการสั่งการอาสาสมัครทั่วประเทศ
ความจริงกลับน่าผิดหวังที่ มท.1 ไม่สามารถใช้ 58 มาตราของพ.ร.บ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยฯ เข้าแก้ไขปัญหาอุทกภัยได้อย่างรวดเร็ว อำนาจบัญชาการตามมาตรา 13 ไม่ปรากฏให้เห็น จะด้วยเพราะขาดประสบการณ์จริงๆ พอๆ กับข้าราชการผู้ใหญ่ มท.ที่เป็นของรัฐบาลเก่า เห็นได้ชัดเจนว่าการขาดแผนป้องกันล่วงหน้าในหลายจังหวัด
เพราะคำโบราณพูดกันว่า “สถานการณ์สร้างวีรบุรุษ” นายกฯ ยิ่งลักษณ์ จึงต้องช่วงชิงเพื่อสร้างภาพวีรบุรุษในการกู้ภัยครั้งนี้ โดยเป็นผู้ตั้งคณะกรรมการอำนวยการและบริหารสถานการณ์อุทกภัยวาตภัยและดินโคลนถล่มหรือ ศอส.เข้าทำหน้าที่ ให้ มท.1 เป็นประธานคณะกรรมการฯ แบ่งรัฐมนตรีดูแลพื้นที่ประสบอุทกภัย 21 จังหวัด ฟื้นฟู 24 จังหวัด กับให้อำนาจ มท.1 เปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่รับผิดชอบของรัฐมนตรีได้
ไม่ต่างไปจากรัฐบาลชุดก่อนที่นิยมใช้การตั้งคณะกรรมการฯ ต่างๆ เข้าแก้ปัญหา โดยเพิกเฉยไม่ใช้ตัวกฎหมายที่บัญญัติแนวปฏิบัติไว้แล้วมาเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อน ศอส.ภายใต้การกำกับ มท. 1 จึงไม่มีน้ำยาต้องยุบเลิกไปในที่สุด
เพราะเชื่อมั่นว่าการใช้หลักการบริหารจะแก้ปัญหาอุทกภัยได้ แม้ ศอส.ล้มเหลว รัฐบาลเลือกแนวทางการจัดการใหม่ “บูรณาการ” ด้วยระบบ 2P 2R ตั้งปลัดสำนักนายกฯ รับผิดชอบการป้องกันและแจ้งการเตือนภัย (P1) ตั้งปลัดฯ สาธารณสุข รับผิดชอบเตรียมแก้ปัญหาล่วงหน้า (P2) ตั้งปลัดฯ มท.รับผิดชอบการตอบสนองการแก้ปัญหา (R1) ตั้งปลัดฯ คลังรับผิดชอบการฟื้นฟู (R2) กับให้อำนาจ มท. 1 เป็นผู้สั่งการให้จังหวัดดำเนินการ 2P 2R
ลืมไปว่าหลักป้องกันภัยที่สำคัญยิ่งคือการจัดการกับปัญหาภัยที่เกิดขึ้นให้ยุติโดยเร็วด้วยภาวะผู้นำสั่งการอย่างเด็ดขาดฉับไว แผนบริหารจัดการองค์กร 2P2R ที่นำมาใช้ ย่อมไม่อาจยับยั้งอุทกภัยในเบื้องต้นได้ และไม่ปรากฏผลงาน มท. 1 รับผิดชอบในเรื่องนี้
เมื่ออุทกภัยเริ่มขยายตัวกระจายไปจังหวัดต่างๆ มากขึ้น จนยันมาถึงพื้นที่ กทม.ดูเหมือนว่ารัฐบาลหมดปัญญาต่อการสกัดกั้นอุทกภัยในจังหวัดต่างๆ ปล่อยให้เป็นไปตามสภาพ แต่หันกลับมาให้ความสำคัญในการป้องกันดูแลพื้นที่สำคัญของ กทม.และปริมณฑล โดยออกคำสั่งใหม่อีก ครั้งนี้มอบหมายรัฐมนตรีรับผิดชอบพื้นที่ สถานที่สำคัญใน กทม.และปริมณฑล โดย มท. 1 มท. 2 และมท. 3 ร่วมรับผิดชอบโรงผลิตน้ำประปา และโรงไฟฟ้า
ผลงานในภารกิจดูแลโรงผลิตน้ำประปาและโรงไฟฟ้าของ มท. 1 มากน้อยประการใด ไม่อาจรับรู้ได้ มีแต่ข่าวผู้ประสบภัยต้องเสียชีวิตจากถูกไฟฟ้าช็อตหลายราย การขาดแคลนน้ำดื่มจนมีข่าวว่าจะต้องนำน้ำดื่มเข้ามาจากต่างประเทศ
เพราะความล้มเหลวในการแก้ไขสกัดน้ำที่เอ่อท่วมไม่ประสบผลเท่าที่ควร รัฐบาลเปลี่ยนแนวทางแก้ปัญหาอุทกภัยใหม่ เบนเข็มมุ่งไปเรื่องการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยด้วยวิธีเดิมคือแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาอีกชุด คราวนี้ใช้ชื่อย่อว่า “กฟย.”หรือคณะกรรมการเพื่อให้ความช่วยเหลือ ฟื้นฟูเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย และยังคงเลือกใช้ มท. 1เหมือนเดิม ตั้งให้เป็นประธานคณะกรรมการฯ
การขับเคลื่อน กฟย.ของ มท.1 จะออกหัวหรือก้อยไม่อาจหยั่งรู้ได้ รัฐบาลก็ไม่ได้รอผลงานในเรื่องนี้ กลับเร่งตั้งคณะกรรมการทำยุทธศาสตร์ขึ้นมาใหม่อีก 2 คณะ คณะหนึ่ง คือ คณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ ภายใต้ชื่อย่อว่า “กยอ.” เป็นการวางยุทธศาสตร์ประเทศในระยะยาวมีนายวีรพงษ์ รามางกูร เป็นประธาน และให้ มท. 1 เป็นรองประธาน เหมือนเดิม
ที่สำคัญคือนายกฯ ยิ่งลักษณ์แถลงมาตรการเชิงยุทธศาสตร์ฟื้นฟูประเทศว่าการแก้ปัญหาอุทกภัยระยะสั้นในการฟื้นฟูเยียวยาประชาชนที่น้ำลดแล้วและที่กำลังลด มอบให้ มท. 1 ดูแล โดยเฉพาะเรื่องเงินกู้สิทธิประโยชน์ต่างๆ การซ่อมแซมโครงสร้างพื้นฐานที่เสียหายจากน้ำท่วมมีแผนการทำงาน 1 ปี
ในวันนี้คนไทยเราจึงต้องทำใจต่อแนวทางแก้ปัญหาอุทกภัยของรัฐบาล ที่นับวันทำแต่ตั้งคณะกรรมการกับมอบภารกิจให้ มท. 1 เป็นหลักจะ ศอส. 2P2R. กฟย. กยอ.หรือให้เป็นประธานคณะใด มท. 1 ไม่เคยบ่น ส่วนผลงานไม่ควรถามหา
เพราะวันนี้โชควาสนาเป็นของชายชื่อ “ยงยุทธ วิชัยดิษฐ” แต่ทุกข์เป็นของคนชื่อ “มท. 1”
บนถนนการเมืองหลังเกษียณ เริ่มจากโชคนำพาให้เป็นผู้ช่วย รมว.สาธารณสุข เมื่อมีนาคม 2546 เป็นที่ปรึกษา มท.1 เมื่อกุมภาพันธ์ 2551 บุญอุ้มสมขึ้นหิ้งเป็นหัวหน้าพรรคเพื่อไทยเมื่อ 7 ธันวาคม 2551 จนถึงปัจจุบัน การเลือกตั้งปี 2554 ได้รับเลือกเป็น ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ วาสนายังพาไปอีกเมื่อ 9 สิงหาคม 2554 ให้ดำรงตำแหน่งถึงรองนายกฯ และ มท.1 ในคราวเดียว
วันนี้ ยงยุทธ วิชัยดิษฐ จึงเป็นนักการเมืองเต็มตัวแบบไม่ธรรมดา น้อยคนที่จะประสบความสำเร็จเฉกเช่นนี้
ดังนั้น เมื่อเกิดอุทกภัยครั้งใหญ่นับแต่ปลายสิงหาคม 2554 จากภาคเหนือ ผ่านภาคกลาง และลงสู่ กทม.รัฐบาลย่อมมั่นใจได้ว่าเมื่อมี มท. 1 ลูกหม้อมหาดไทยอย่างยงยุทธอยู่ ปัญหาอุทกภัย “ เอาอยู่แน่” เพราะ มท.1 คือผู้รักษาการตาม พ.ร.บ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 เป็นทั้งผู้บัญชาการที่มีอำนาจควบคุมและกำกับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยทั่วราชอาณาจักร และมีอำนาจในการสั่งการอาสาสมัครทั่วประเทศ
ความจริงกลับน่าผิดหวังที่ มท.1 ไม่สามารถใช้ 58 มาตราของพ.ร.บ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยฯ เข้าแก้ไขปัญหาอุทกภัยได้อย่างรวดเร็ว อำนาจบัญชาการตามมาตรา 13 ไม่ปรากฏให้เห็น จะด้วยเพราะขาดประสบการณ์จริงๆ พอๆ กับข้าราชการผู้ใหญ่ มท.ที่เป็นของรัฐบาลเก่า เห็นได้ชัดเจนว่าการขาดแผนป้องกันล่วงหน้าในหลายจังหวัด
เพราะคำโบราณพูดกันว่า “สถานการณ์สร้างวีรบุรุษ” นายกฯ ยิ่งลักษณ์ จึงต้องช่วงชิงเพื่อสร้างภาพวีรบุรุษในการกู้ภัยครั้งนี้ โดยเป็นผู้ตั้งคณะกรรมการอำนวยการและบริหารสถานการณ์อุทกภัยวาตภัยและดินโคลนถล่มหรือ ศอส.เข้าทำหน้าที่ ให้ มท.1 เป็นประธานคณะกรรมการฯ แบ่งรัฐมนตรีดูแลพื้นที่ประสบอุทกภัย 21 จังหวัด ฟื้นฟู 24 จังหวัด กับให้อำนาจ มท.1 เปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่รับผิดชอบของรัฐมนตรีได้
ไม่ต่างไปจากรัฐบาลชุดก่อนที่นิยมใช้การตั้งคณะกรรมการฯ ต่างๆ เข้าแก้ปัญหา โดยเพิกเฉยไม่ใช้ตัวกฎหมายที่บัญญัติแนวปฏิบัติไว้แล้วมาเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อน ศอส.ภายใต้การกำกับ มท. 1 จึงไม่มีน้ำยาต้องยุบเลิกไปในที่สุด
เพราะเชื่อมั่นว่าการใช้หลักการบริหารจะแก้ปัญหาอุทกภัยได้ แม้ ศอส.ล้มเหลว รัฐบาลเลือกแนวทางการจัดการใหม่ “บูรณาการ” ด้วยระบบ 2P 2R ตั้งปลัดสำนักนายกฯ รับผิดชอบการป้องกันและแจ้งการเตือนภัย (P1) ตั้งปลัดฯ สาธารณสุข รับผิดชอบเตรียมแก้ปัญหาล่วงหน้า (P2) ตั้งปลัดฯ มท.รับผิดชอบการตอบสนองการแก้ปัญหา (R1) ตั้งปลัดฯ คลังรับผิดชอบการฟื้นฟู (R2) กับให้อำนาจ มท. 1 เป็นผู้สั่งการให้จังหวัดดำเนินการ 2P 2R
ลืมไปว่าหลักป้องกันภัยที่สำคัญยิ่งคือการจัดการกับปัญหาภัยที่เกิดขึ้นให้ยุติโดยเร็วด้วยภาวะผู้นำสั่งการอย่างเด็ดขาดฉับไว แผนบริหารจัดการองค์กร 2P2R ที่นำมาใช้ ย่อมไม่อาจยับยั้งอุทกภัยในเบื้องต้นได้ และไม่ปรากฏผลงาน มท. 1 รับผิดชอบในเรื่องนี้
เมื่ออุทกภัยเริ่มขยายตัวกระจายไปจังหวัดต่างๆ มากขึ้น จนยันมาถึงพื้นที่ กทม.ดูเหมือนว่ารัฐบาลหมดปัญญาต่อการสกัดกั้นอุทกภัยในจังหวัดต่างๆ ปล่อยให้เป็นไปตามสภาพ แต่หันกลับมาให้ความสำคัญในการป้องกันดูแลพื้นที่สำคัญของ กทม.และปริมณฑล โดยออกคำสั่งใหม่อีก ครั้งนี้มอบหมายรัฐมนตรีรับผิดชอบพื้นที่ สถานที่สำคัญใน กทม.และปริมณฑล โดย มท. 1 มท. 2 และมท. 3 ร่วมรับผิดชอบโรงผลิตน้ำประปา และโรงไฟฟ้า
ผลงานในภารกิจดูแลโรงผลิตน้ำประปาและโรงไฟฟ้าของ มท. 1 มากน้อยประการใด ไม่อาจรับรู้ได้ มีแต่ข่าวผู้ประสบภัยต้องเสียชีวิตจากถูกไฟฟ้าช็อตหลายราย การขาดแคลนน้ำดื่มจนมีข่าวว่าจะต้องนำน้ำดื่มเข้ามาจากต่างประเทศ
เพราะความล้มเหลวในการแก้ไขสกัดน้ำที่เอ่อท่วมไม่ประสบผลเท่าที่ควร รัฐบาลเปลี่ยนแนวทางแก้ปัญหาอุทกภัยใหม่ เบนเข็มมุ่งไปเรื่องการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยด้วยวิธีเดิมคือแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาอีกชุด คราวนี้ใช้ชื่อย่อว่า “กฟย.”หรือคณะกรรมการเพื่อให้ความช่วยเหลือ ฟื้นฟูเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย และยังคงเลือกใช้ มท. 1เหมือนเดิม ตั้งให้เป็นประธานคณะกรรมการฯ
การขับเคลื่อน กฟย.ของ มท.1 จะออกหัวหรือก้อยไม่อาจหยั่งรู้ได้ รัฐบาลก็ไม่ได้รอผลงานในเรื่องนี้ กลับเร่งตั้งคณะกรรมการทำยุทธศาสตร์ขึ้นมาใหม่อีก 2 คณะ คณะหนึ่ง คือ คณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ ภายใต้ชื่อย่อว่า “กยอ.” เป็นการวางยุทธศาสตร์ประเทศในระยะยาวมีนายวีรพงษ์ รามางกูร เป็นประธาน และให้ มท. 1 เป็นรองประธาน เหมือนเดิม
ที่สำคัญคือนายกฯ ยิ่งลักษณ์แถลงมาตรการเชิงยุทธศาสตร์ฟื้นฟูประเทศว่าการแก้ปัญหาอุทกภัยระยะสั้นในการฟื้นฟูเยียวยาประชาชนที่น้ำลดแล้วและที่กำลังลด มอบให้ มท. 1 ดูแล โดยเฉพาะเรื่องเงินกู้สิทธิประโยชน์ต่างๆ การซ่อมแซมโครงสร้างพื้นฐานที่เสียหายจากน้ำท่วมมีแผนการทำงาน 1 ปี
ในวันนี้คนไทยเราจึงต้องทำใจต่อแนวทางแก้ปัญหาอุทกภัยของรัฐบาล ที่นับวันทำแต่ตั้งคณะกรรมการกับมอบภารกิจให้ มท. 1 เป็นหลักจะ ศอส. 2P2R. กฟย. กยอ.หรือให้เป็นประธานคณะใด มท. 1 ไม่เคยบ่น ส่วนผลงานไม่ควรถามหา
เพราะวันนี้โชควาสนาเป็นของชายชื่อ “ยงยุทธ วิชัยดิษฐ” แต่ทุกข์เป็นของคนชื่อ “มท. 1”