xs
xsm
sm
md
lg

ผู้จัดการสุดสัปดาห์

x

น้ำตาจระเข้กับสำนึก”ยิ่งลักษณ์”

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ASTVผู้จัดการสุดสัปดาห์ -สังคมไทยเห็น “กิตติรัตน์ ณ ระนอง” รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ ร้องไห้หน้าจอทีวีหลังนิคมอุตสาหกรรมโรจนะถูกน้ำท่วม คนเลยนึกว่า จะไม่มีรัฐมนตรีคนไหนร้องไห้หน้าจอทีวีเหมือนละครช่อง 7 ให้เห็นอีก

เพราะพฤติกรรมเช่นนั้น แสดงถึงระดับวุฒิภาวะของการทำงาน

ก็เป็นอย่างที่สังคมคาดหวัง

ไม่มีรัฐมนตรีคนไหนแสดงว่า ตัวเองมีบ่อน้ำตาตื้นปรากฎให้เห็นอีก

แต่กลับมี “นายกรัฐมนตรี” แสดงให้เห็นแทน

คุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เดินทางไปเยี่ยมชมกิจกรรมของจังหวัดนครสวรรรค์ พร้อมกับยงยุทธ วิชัยดิษฐ์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.มหาดไทย ฐิติมา ฉายแสง โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี วิบูลย์ สงวนพงษ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

โดยมีชัยโรจน์ มีแดง ผู้ว่าฯนครสวรรค์ ให้การต้อนรับตามพิธีกรรมระหว่างกล่าวบทเวที ยิ่งลักษณ์ร้องไห้ด้วยสีหน้าแหยเก แล้วบอกให้คนที่ตกทุกข์ได้ยากกว่าคุณยิ่งลักษณ์ “ต้องอดทน”

แต่ไม่ได้บอกว่า อดทนเพื่อให้ยิ่งลักษณ์สุขสบายและมีอำนาจไปเรื่อยๆหรือเปล่า ??
เป็นที่รับรู้กันว่า ยิ่งลักษณ์ใช้ชีวิตห้าดาวมาตลอด กินอาหารมื้อละหมื่น ชุดทำงานรวมแล้วกว่า

แสนบาท แม้กระทั่งบูทใส่กันน้ำยังมีราคาหมื่นกว่าบาท

ใครมาทำให้สะเทือนใจนิดหน่อย ก็วิ่งไปฟ้องพี่ชายแล้ว

ต่างกับจินตนาการสังคมไทยที่คาดหวังว่า “คนที่นายกรัฐมนตรี” ต้องเป็นคนตีนติดดิน มีความเข้มแข็ง เพื่อเป็นที่พึ่งของผู้อื่นได้

แล้วคนไทยจะหวังพึ่ง “ยิ่งลักษณ์” ได้หรือเปล่า และขนาดไหน

นั่นจึงทำให้หลายคนนึกถึง “น้ำตาของจระเข้” ซึ่งในช่วงนี้กำลังชุกชุม

น้ำตาจระเข้ คือ อาการที่เมื่อจระเข้งับเหยื่อ แล้วน้ำตาไหลออกมา ทำให้คนเข้าใจผิดคิดไปว่า จระเข้สงสารเหยื่อที่กำลังถูกตนงับ แต่ตรงกันข้าม จระเข้ต้องกินเพื่อความอยู่รอด

จริงๆแล้วจระเข้ร้องไห้ ไม่ใช่เพราะสงสารเหยื่อ แต่เพราะกระดูกขากรรไกรนั้นไปบีบต่อมน้ำตา

ทำให้น้ำตาไหลออกมาอย่างช่วยไม่ได้

เปรียบเปรยได้กับคนที่เอาเปรียบผู้อื่น แล้วเสแสร้ง ร้องไห้ออกมา เพื่อแสดงให้เห็นว่า สิ่งที่ผู้อื่นกำลังตกระกำลำบากนั้น ตนมีความเสียใจอย่างสุดซึ้ง ซึ่งแท้ที่จริงแล้ว ตนเองกระทำไปเพื่อกลบเกลื่อนการเอาเปรียบดังกล่าว

แล้วยิ่งลักษณ์ร้องไห้ เพราะอะไร??

หลายคนเชื่อว่า ยิ่งลักษณ์ร้องไห้ไม่มีปัญญาแก้ปัญหาน้ำท่วม จนสังคมรุมด่ากันยกใหญ่ จึงมาร้องขอความสงสารจากสังคมรอบข้าง

ไม่ใช่ เพราะสงสารคนนครสวรรค์

หากจะสงสารจริง ควรสงสารตอนลำบากที่สุดในช่วงที่นครสวรรค์จมบาดาล หลายหมดตัว บางคนเสียชีวติ ไม่ใช่มาสงสารตอนช่วงน้ำลดแล้ว

แต่ผู้อาวุโสหลายคน เห็นว่ายิ่งลักษณ์ร้องไห้ เพราะกลัวพ้นจากตำแหน่งไปในฐานะผู้พ่ายแพ้”น้องน้ำ”

ดังนั้น ยิ่งลักษณ์ จึงหวงแหนอำนาจที่มีอยู่มากกว่าความคาดหวังให้ลุกจากเก้าอี้หลายเท่านัก


จึงไม่แปลกที่อาจารย์จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเตรียมยื่นฟ้องรัฐบาลในข้อหา “แก้ปัญหาผิดพลาด”

ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บอกกับนักข่าวว่า ได้รับการชักชวนจากสมาชิกสภาทนายความให้ดำเนินการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากรัฐบาล อันเนื่องมาจากการบริหารจัดการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมผิดพลาด ทำให้ทรัพย์สินของประชาชนได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก

“ผมกำลังชักชวนเพื่อนอีก 4,000-5,000 คน ร่วมลงชื่อฟ้องร้อง” ดร.ณรงค์บอกไว้
คอลัมภ์นี้ขอร่วมลงชื่อฟ้องร้องด้วยหนึ่งคน

“การแก้ปัญหาของรัฐบาลถือว่าผิดพลาดมาก แถมผิดพลาดแล้วไม่ยอมรับ หลายครั้งที่รัฐบาลไม่พูดความจริงกับประชาชน อย่างเช่นวันที่ 31 ต.ค.2554 บอกว่าดูแลได้ แต่ปรากฏว่าวันที่ 1 พ.ย. น้ำก็เข้าท่วมบ้านของผม” ณรงค์ในฐานะผู้อพยพวิจารณ์การทำงานของรัฐบาลได้ตรงใจคนส่วนใหญ่

อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯอธิบายเพิ่มเติมว่า ในต่างประเทศ เพียงแค่คนเดินตกท่อ ก็สามารถฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากรัฐได้แล้ว ดังนั้นการที่รัฐบาลจ่ายค่าเสียหายชดเชยให้ 5,000 บาทต่อครัวเรือน ถือว่าไม่เพียงพอ เนื่องจากความเสียหายต่อหลังอย่างต่ำก็ 4-5 หมื่นบาท ส่วนมูลค่าความเสียหายคงต้องมีการประเมินร่วมกันอีกครั้ง

"ผมไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญเรื่องน้ำเป็นคนต่างจังหวัดก็รู้ว่าเวลาน้ำมามากไหลบ่าข้ามตลิ่งไป กั้นหมดก็ไม่อยู่ ถ้าน้ำมา 3 เมตรก็ควรกั้นแค่ 2 เมตรให้ล้นมา แล้วอีก 1 กิโลเมตรค่อยกั้นอีก 1 เมตร จนกระทั่งหมดเรียกว่าการผ่อนน้ำหากทำอย่างนี้แต่แรก ไม่เกี่ยงกันอยู่ก็จะผ่อนหนักเป็นเบาได้" นายณรงค์อธิบายวิธีผ่องน้ำให้ปัญหาบรรเทาไป

ดังนั้น หากจะฟ้องศาลเพื่อเอาผิดการแก้ปัญหาน้ำท่วมของยิ่งลักษณ์ น่าจะมีลงชื่อนับแสนคน
อย่างน้อยที่สุดญาติผู้เสียชีวิต 500 กว่าศพที่เสียชีวิตจากน้ำท่วม ก็คือกลุ่มคนแรกที่ได้รับความเดือดร้อนมากที่สุด

นักกฎหมายผู้หนึ่งให้ความเห็นว่า แนวทางการฟ้องร้องของประชาชนผู้ได้รับความเสียหาย ก็คือการมอบอำนาจยื่นฟ้อง นายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี กรมชลประทาน และฟ้องเผื่อไปถึง คปภ.(คณะกรรมการบริหารจัดการแก้ปัญหาอุทกภัยนโคลนถล่มและภัยแล้ง), กปภ.ช. (คณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ), กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย, กรมทรัพยากรน้ำ และผู้ว่าราชการจังหวัดที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนเจ้าหน้าที่ของรัฐและหน่วยงานทางปกครองที่เกี่ยวข้องกับการจัดการและบริหารน้ำ ด้วยเหตุว่า “การที่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งหลายได้มีข้อสั่งการ มติ คำสั่ง หรือกระทำทางปกครองอันนำไปสู่หรือมีผลกัก กั้น ปล่อย หรือจัดการน้ำในบางบริเวณจนผู้ฟ้องคดีได้รับความเสียหายอย่างสาหัสเกินกว่าที่ควรเป็นนั้น ถือเป็นการกระทำทางปกครองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย”

นักกฎหมายคนเดียวกันยังอธิบายเพิ่มเติม คำว่า "ไม่ชอบด้วยกฎหมาย” นั้น อาจฟ้องว่าเพราะ "มีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม” ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองฯ และขอให้ศาลสั่งห้ามการกระทำลักษณะดังกล่าว ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งข้อสำคัญคือ มาตรา ๗๒ วรรคหนึ่ง (๑) และวรรคสองแห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองฯ ได้ให้อำนาจศาลสามารถบังคับสั่งห้ามการกระทำไปถึงอนาคตได้ อีกทั้งยังกำหนดเงื่อนไขเพื่อความเป็นธรรมเฉพาะกรณีได้อีกด้วย

นอกจากนี้ สามารถฟ้องเรื่องการ "ละเลยต่อหน้าที่” หรือ "ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร” (เช่น หน้าที่การระบายน้ำเพื่อป้องปัดภัยพิบัติ การให้ข้อมูลหรือสั่งอพยพ การให้ความช่วยเหลือฟื้นฟูเยียวยา ฯลฯ)

หรือ "การกระทำละเมิดหรือรับผิดอย่างอื่น” (เช่น เลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมจนทำให้เกิดความเสียหายในชีวิต ร่างกายและทรัพย์สิน ฯลฯ) ก็อาจฟ้องไปพร้อมกัน

รวมทั้งการฟ้องคดีเกี่ยวกับประโยชน์สาธารณะย่อมไม่ติดข้อจำกัดเรื่องอายุความ ตามมาตรา ๕๒ แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองฯ

เพียงหากน้ำท่วมศาลไปก่อนแล้ว ก็ต้องรอนน้ำลดก่อนเช่นกัน

สำนึกความรับผิดชอบของยิ่งลักษณ์ไม่ได้มีมากขึ้น แม้ว่าสถานการณ์ยังทวีความรุนแรงมากขึ้น แต่ยิ่งลักษณ์กลับไปเตรียมพลาญงบประมาณแผ่นดิน เพื่อเปิดให้หลายคนถอนทุน

แม้กระทั่งคณะกรรมการขึ้นมาทำงานหลังน้ำลด โดยไม่สอดคล้องกับสถานการณ์

คณะกรรมการชุดล่าสุด ก็คือคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (กยอ.) มี วีรพงษ์ รามางกูร เป็นประธานกรรมการ และคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.) มี กิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.พาณิชย์ เป็นประธานกรรมการ

หลังจากก่อนหน้านี้ แต่งตั้งคณะกรรมการไปแล้ว 10 ชุด

นี่จึงเป็นที่มาของ “คนไม่เป็นโล้เป็นพาย” อันใดของยิ่งลักษณ์
ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ
กำลังโหลดความคิดเห็น