เรียนท่านนายกฯ หญิงคนแรกของประเทศไทย ในฐานะที่ผมทำการศึกษาเรื่องปราสาทพระวิหารซึ่งเป็นปัญหาอยู่ในปัจจุบันนี้ ผมอยากให้ท่านนายกฯ หญิงได้โปรดเข้าใจว่า การตัดสินของศาลโลกเมื่อปี 2505 ในคดีปราสาทพระวิหารนั้นรัฐบาลไทยไม่เคยยอมรับคำตัดสิน รัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแห่งราชอาณาจักรไทยได้ตั้งข้อสงวนสิทธิ์ที่จะทวงคืนตัวปราสาทพระวิหารจากประเทศกัมพูชาไว้ตั้งแต่เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) และไม่ยอมรับคำตัดสินของศาลโลกที่ไม่ยุติธรรมกับประเทศไทยในกรณีคดีปราสาทพระวิหารด้วยการใช้กฎหมายปิดปาก โดยหนังสือดังกล่าวทำในนามรัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวลงนามโดย ฯพณฯ พันเอก ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศต่อนายอูถัน รักษาการเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ
สำหรับปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างรัฐภาคีไทยและรัฐภาคีกัมพูชาต่อกรณีการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารก็เพราะว่าแผนบริหารการจัดการของกัมพูชาที่เสนอมานั้นได้ล่วงละเมิดอธิปไตยของรัฐภาคีไทย จนในที่สุดได้มีการลาออกจากการเป็นรัฐภาคีของฝ่ายไทย
ตลอดระยะเวลาของสมัยประชุมครั้งที่ 31 จนถึงสมัยประชุมครั้งที่ 35 นี้ การกระทำของรัฐภาคีประเทศกัมพูชายังดำเนินรุกรานและครอบครองดินแดนประเทศไทยอยู่อย่างต่อเนื่อง คือ ตลอดแนวชายแดน กระทำของรัฐภาคีประเทศกัมพูชาได้ส่งกองกำลังทหารและประชาชนเข้ามาอาศัยในดินแดนของประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง
มติคณะกรรมการมรดกโลกทั้ง 5 ครั้งที่ผ่านมา ได้สร้างความแตกแยกของรัฐภาคีทั้งสองประเทศลุกลามบานปลายไปสู่เวทีนานาชาติ เกิดการแตกแยกในหมู่มิตรประเทศ เกิดการปะทะกันจนมีผู้เสียชีวิต บาดเจ็บและเกิดการอพยพของประชาชนชาวไทยอย่างไม่เคยมีมาก่อน สร้างความเสื่อมเสียทางเสรีภาพในการทำมาหากินและใช้ ชีวิตของประชาชนชาวไทยรอบๆ ดินแดนที่คณะกรรมการมรดกโลกให้เป็นพื้นที่บริหารการจัดการ รวมไปถึงปราสาทพระวิหารกลายเป็นที่สะสมอาวุธยุทโธปกรณ์และกลายเป็นสมรภูมิรบกันอย่างดุเดือดมีการใช้จรวดและกระสุนปืนใหญ่ยิงตอบโต้กัน
ผมจึงขอเรียนให้ท่านนายกฯ หญิงได้ทราบเรื่องนี้เพิ่มเติมอีกครั้ง เพราะอาจไม่เคยรู้เรื่องมาก่อนกล่าวคือ
1. เขตแดนไทย-กัมพูชาได้ปักปันเสร็จสิ้นไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วตามอนุสัญญาปี ค.ศ. 1904 และสนธิสัญญา ค.ศ. 1907 เฉพาะบริเวณปราสาทพระวิหารได้ใช้สันปันน้ำเป็นเส้นเขตแดน และสันปันน้ำนี้ได้ทำให้ปราสาทพระวิหารอยู่ในดินแดนประเทศไทย
2. คณะกรรมการมรดกโลกได้กระทำการฝ่าฝืนอนุสัญญาในหมวดที่ 2 ว่าด้วยการคุ้มครองป้องกันมรดกทางวัฒนธรรมและมรดกโลกทางธรรมชาติในระดับชาติและระดับนานาชาติ มาตรา 4 (มรดกทางวัฒนธรรมต้องอยู่ในดินแดนของตน) มาตรา 5 (มรดกโลกทางวัฒนธรรมอยู่ในเขตอำนาจอธิปไตยแห่งรัฐภาคี) มาตรา 6 (ด้วยความเคารพสูงสุดต่ออำนาจอธิปไตยแห่งรัฐอันเป็นที่ตั้งของมรดกโลกทางวัฒนธรรม) จากทั้ง 3 มาตราที่ยกขึ้นอ้างนี้ คณะกรรมการมรดกโลกและรัฐภาคีกัมพูชา ต่างละเมิดอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติ ด้วยการรุกรานดินแดนรัฐภาคีสมาชิกประเทศไทย ด้วยการออกมติสนับสนุนรัฐภาคีประเทศกัมพูชา ขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร เพราะดินแดนโดยรอบปราสาทพระวิหารยังเป็นดินแดนของประเทศไทยและประเทศไทยได้ใช้อำนาจอธิปไตยอย่างสมบูรณ์มาก่อนด้วยการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหารไว้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2000 โดยที่รัฐภาคีประเทศกัมพูชาไม่เคยโต้แย้งแต่อย่างใด
อนึ่ง ในมติของคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 32 ได้ขึ้นทะเบียนเฉพาะตัวปราสาท หากแต่พื้นที่รอบๆ นั้นก็ยังเป็นของรัฐภาคีประเทศไทยตามที่ศาลปกครองกลางและศาลรัฐธรรมนูญของไทยได้ทำการวินิจฉัยไว้ การกระทำของคณะกรรมการมรดกโลกจึงเป็นการตัดสินภายใต้พื้นฐานการรุกรานรัฐภาคีสมาชิกอย่างเห็นได้ชัด โดยการหยิบยื่นดินแดนของรัฐภาคีประเทศไทยให้กับรัฐภาคีประเทศกัมพูชา นำไปขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารและรวมถึงแผนบริหารจัดการที่เข้าสู่วาระการประชุมครั้งที่ 36 ที่กำลังจะถึงกลางปีหน้านี้ด้วย
3. คำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในคดีปราสาทพระวิหาร ได้ตัดสินเพียงให้อำนาจอธิปไตยเหนือปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชาไม่เคยตัดสินเรื่องดินแดน และศาลไม่ได้ตัดสินแผนที่หรือยอมรับแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 ที่รัฐภาคีประเทศกัมพูชาเคยเสนอไว้และนำมาใช้เป็นหลักฐานในการทำแผนบริหารการจัดการและการขึ้นทะเบียนตัวปราสาท
4. ราชอาณาจักรไทยมีรัฐธรรมนูญการปกครองเป็นของตนเอง มีการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข พระมหากษัตริย์หรือที่ประชาชนชาวไทยส่วนหนึ่งเทิดพระเกียรติพระนามเป็น พระเจ้าแผ่นดิน พระเจ้าแผ่นดินมีความหมายว่า “เจ้าของแผ่นดิน” พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คือพระเจ้าแผ่นดินที่ทรงใช้อำนาจผ่านฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบันทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงคุณอันประเสริฐ ทรงเป็น “มหาราช” มีพระเกียรติยศเลื่องลือในสังคมนานาประเทศ ด้วยทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อพสกนิกรของพระองค์อย่างหาที่เปรียบมิได้ ในปี ค.ศ. 2011 ทรงมีพระชนมายุครบ 84 พรรษา ประเทศไทยแม้เป็นรัฐภาคีสมาชิกที่จะต้องปฏิบัติตามพันธสัญญาที่ให้ไว้ก็ตาม แต่การสูญเสียดินแดนและอธิปไตยของชาติเป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่กว่า ราชอาณาจักรไทยต้องสูญเสียดินแดนในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวซึ่งเป็นเรื่องที่ประชาชนชาวไทยยอมรับไม่ได้
ดังนั้น ผมจึงเรียนข้อมูลเบื้องต้นนี้มาให้ท่านนายกฯ หญิงได้ทราบ โดยหวังว่าจะทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างถ่องแท้ ศึกษาตรวจสอบข้อมูลก่อนการตัดสินใจเข้าไปร่วมเป็นรัฐภาคีอีกครั้งหนึ่ง (ทางที่ดีผมไม่เห็นด้วยเลยที่ประเทศไทยจะกลับเข้าไปเป็นรัฐภาคีอีก) (โปรดติดตามอ่านตอน 2 อาทิตย์หน้า)
สำหรับปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างรัฐภาคีไทยและรัฐภาคีกัมพูชาต่อกรณีการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารก็เพราะว่าแผนบริหารการจัดการของกัมพูชาที่เสนอมานั้นได้ล่วงละเมิดอธิปไตยของรัฐภาคีไทย จนในที่สุดได้มีการลาออกจากการเป็นรัฐภาคีของฝ่ายไทย
ตลอดระยะเวลาของสมัยประชุมครั้งที่ 31 จนถึงสมัยประชุมครั้งที่ 35 นี้ การกระทำของรัฐภาคีประเทศกัมพูชายังดำเนินรุกรานและครอบครองดินแดนประเทศไทยอยู่อย่างต่อเนื่อง คือ ตลอดแนวชายแดน กระทำของรัฐภาคีประเทศกัมพูชาได้ส่งกองกำลังทหารและประชาชนเข้ามาอาศัยในดินแดนของประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง
มติคณะกรรมการมรดกโลกทั้ง 5 ครั้งที่ผ่านมา ได้สร้างความแตกแยกของรัฐภาคีทั้งสองประเทศลุกลามบานปลายไปสู่เวทีนานาชาติ เกิดการแตกแยกในหมู่มิตรประเทศ เกิดการปะทะกันจนมีผู้เสียชีวิต บาดเจ็บและเกิดการอพยพของประชาชนชาวไทยอย่างไม่เคยมีมาก่อน สร้างความเสื่อมเสียทางเสรีภาพในการทำมาหากินและใช้ ชีวิตของประชาชนชาวไทยรอบๆ ดินแดนที่คณะกรรมการมรดกโลกให้เป็นพื้นที่บริหารการจัดการ รวมไปถึงปราสาทพระวิหารกลายเป็นที่สะสมอาวุธยุทโธปกรณ์และกลายเป็นสมรภูมิรบกันอย่างดุเดือดมีการใช้จรวดและกระสุนปืนใหญ่ยิงตอบโต้กัน
ผมจึงขอเรียนให้ท่านนายกฯ หญิงได้ทราบเรื่องนี้เพิ่มเติมอีกครั้ง เพราะอาจไม่เคยรู้เรื่องมาก่อนกล่าวคือ
1. เขตแดนไทย-กัมพูชาได้ปักปันเสร็จสิ้นไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วตามอนุสัญญาปี ค.ศ. 1904 และสนธิสัญญา ค.ศ. 1907 เฉพาะบริเวณปราสาทพระวิหารได้ใช้สันปันน้ำเป็นเส้นเขตแดน และสันปันน้ำนี้ได้ทำให้ปราสาทพระวิหารอยู่ในดินแดนประเทศไทย
2. คณะกรรมการมรดกโลกได้กระทำการฝ่าฝืนอนุสัญญาในหมวดที่ 2 ว่าด้วยการคุ้มครองป้องกันมรดกทางวัฒนธรรมและมรดกโลกทางธรรมชาติในระดับชาติและระดับนานาชาติ มาตรา 4 (มรดกทางวัฒนธรรมต้องอยู่ในดินแดนของตน) มาตรา 5 (มรดกโลกทางวัฒนธรรมอยู่ในเขตอำนาจอธิปไตยแห่งรัฐภาคี) มาตรา 6 (ด้วยความเคารพสูงสุดต่ออำนาจอธิปไตยแห่งรัฐอันเป็นที่ตั้งของมรดกโลกทางวัฒนธรรม) จากทั้ง 3 มาตราที่ยกขึ้นอ้างนี้ คณะกรรมการมรดกโลกและรัฐภาคีกัมพูชา ต่างละเมิดอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติ ด้วยการรุกรานดินแดนรัฐภาคีสมาชิกประเทศไทย ด้วยการออกมติสนับสนุนรัฐภาคีประเทศกัมพูชา ขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร เพราะดินแดนโดยรอบปราสาทพระวิหารยังเป็นดินแดนของประเทศไทยและประเทศไทยได้ใช้อำนาจอธิปไตยอย่างสมบูรณ์มาก่อนด้วยการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหารไว้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2000 โดยที่รัฐภาคีประเทศกัมพูชาไม่เคยโต้แย้งแต่อย่างใด
อนึ่ง ในมติของคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 32 ได้ขึ้นทะเบียนเฉพาะตัวปราสาท หากแต่พื้นที่รอบๆ นั้นก็ยังเป็นของรัฐภาคีประเทศไทยตามที่ศาลปกครองกลางและศาลรัฐธรรมนูญของไทยได้ทำการวินิจฉัยไว้ การกระทำของคณะกรรมการมรดกโลกจึงเป็นการตัดสินภายใต้พื้นฐานการรุกรานรัฐภาคีสมาชิกอย่างเห็นได้ชัด โดยการหยิบยื่นดินแดนของรัฐภาคีประเทศไทยให้กับรัฐภาคีประเทศกัมพูชา นำไปขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารและรวมถึงแผนบริหารจัดการที่เข้าสู่วาระการประชุมครั้งที่ 36 ที่กำลังจะถึงกลางปีหน้านี้ด้วย
3. คำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในคดีปราสาทพระวิหาร ได้ตัดสินเพียงให้อำนาจอธิปไตยเหนือปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชาไม่เคยตัดสินเรื่องดินแดน และศาลไม่ได้ตัดสินแผนที่หรือยอมรับแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 ที่รัฐภาคีประเทศกัมพูชาเคยเสนอไว้และนำมาใช้เป็นหลักฐานในการทำแผนบริหารการจัดการและการขึ้นทะเบียนตัวปราสาท
4. ราชอาณาจักรไทยมีรัฐธรรมนูญการปกครองเป็นของตนเอง มีการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข พระมหากษัตริย์หรือที่ประชาชนชาวไทยส่วนหนึ่งเทิดพระเกียรติพระนามเป็น พระเจ้าแผ่นดิน พระเจ้าแผ่นดินมีความหมายว่า “เจ้าของแผ่นดิน” พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คือพระเจ้าแผ่นดินที่ทรงใช้อำนาจผ่านฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบันทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงคุณอันประเสริฐ ทรงเป็น “มหาราช” มีพระเกียรติยศเลื่องลือในสังคมนานาประเทศ ด้วยทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อพสกนิกรของพระองค์อย่างหาที่เปรียบมิได้ ในปี ค.ศ. 2011 ทรงมีพระชนมายุครบ 84 พรรษา ประเทศไทยแม้เป็นรัฐภาคีสมาชิกที่จะต้องปฏิบัติตามพันธสัญญาที่ให้ไว้ก็ตาม แต่การสูญเสียดินแดนและอธิปไตยของชาติเป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่กว่า ราชอาณาจักรไทยต้องสูญเสียดินแดนในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวซึ่งเป็นเรื่องที่ประชาชนชาวไทยยอมรับไม่ได้
ดังนั้น ผมจึงเรียนข้อมูลเบื้องต้นนี้มาให้ท่านนายกฯ หญิงได้ทราบ โดยหวังว่าจะทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างถ่องแท้ ศึกษาตรวจสอบข้อมูลก่อนการตัดสินใจเข้าไปร่วมเป็นรัฐภาคีอีกครั้งหนึ่ง (ทางที่ดีผมไม่เห็นด้วยเลยที่ประเทศไทยจะกลับเข้าไปเป็นรัฐภาคีอีก) (โปรดติดตามอ่านตอน 2 อาทิตย์หน้า)