ข่าวน้ำท่วมที่ครอบครองหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์ทุกฉบับมากว่า 2 เดือน วันนี้ได้ยกระดับการเสนอข่าวน้ำท่วมที่กำลังเข้าโจมตีกรุงเทพฯ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งการมีบ้านหรืออาศัยกรุงเทพฯ จะโดยเต็มใจ โดยไม่ตั้งใจหรือโดยจำใจก็ตาม วันนี้อยากที่จะปฏิเสธข่าวน้ำท่วมที่วังวนและทำให้จิตตกไปตามๆ กัน
ข่าวน้ำท่วมในวันนี้ยังมีอีกหลายมิติที่ต้องช่วยกันใส่ใจ ด้วยน้ำท่วมที่ครอบคุมพื้นที่ถึง 150 ล้านไร่ คนไทยได้รับการเดือดร้อนกว่า 9 ล้านคน ซึ่งปัญหาความเดือดร้อนต่างมีที่มาจากน้ำท่วมและคนเข้ามาแก้ปัญหาน้ำท่วม ที่มีบทบาทหลักก็ต้องเป็นความรับผิดชอบของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ โดยเฉพาะการบริหารจัดการที่รัฐบาลจะไปโทษน้ำที่มามากกว่าปกติหรืออธิบายว่าใครๆ ก็แก้ไม่ได้เพราะนั่นไม่ใช่ทางแก้ที่ก่อให้เกิดปัญญา ที่สำคัญเราไม่ได้เรียนรู้ที่มาของปัญหา ที่มาของการแก้ไขปัญหา ซึ่งในวิถีพุทธก็มีให้ศึกษาอย่างการนำเรื่องอริยสัจสี่ (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) คือมีความจริงอยู่ 4 ประการได้แก่การมีอยู่ของทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ ความดับทุกข์ และหนทางไปสู่ความดับทุกข์ ซึ่งเมื่อนำมาอธิบายปรากฏการณ์เรื่องน้ำท่วมเราก็จะทำความเข้าใจได้ง่ายขึ้นดังนี้
1. ทุกข์ คือน้ำท่วมที่ยาวนานกำลังเน่าเหม็น และที่สำคัญน้ำได้ทำลายบ้านที่อยู่อาศัย ทรัพย์สินรวมทั้งทำลายเศรษฐกิจพื้นฐาน บางครอบครัวต้องสูญเสียญาติพี่น้องซึ่งมีคนเสียชีวิตจากเหตุการณ์น้ำท่วมไปแล้ว 350 คน
2. สมุทัย คือ ทำไมน้ำถึงท่วม ซึ่งเกิดจากการบริหารจัดการน้ำไม่เป็น ไม่มีประสิทธิภาพ ซึ่งดูได้จากการสัมภาษณ์ของนายกฯ ยิ่งลักษณ์ที่ว่า
“เราดูแลมา 3-4 เดือนแล้ว บางส่วนเข้ามาตั้งแต่เดือนกรกฎาคม และเจอพายุ 4 ลูกติดต่อกัน โดยปกติแล้วเจอพายุลูกหนึ่ง ก็จะถูกระบายผ่านเขื่อน และมีช่วงพักในการระบายน้ำ แต่วันนี้ไม่ใช่ เจอลูกหนึ่งก็เก็บไว้ๆ และเจออีกหลายลูก ก็ยังเก็บต่ออีก จึงกลายเป็นปริมาณน้ำที่สะสมมาถึง 4 ลูก” (ASTVผู้จัดการ 25/10/2554)
จากข้อความข้างต้นสะท้อนว่า การเก็บน้ำในเขื่อนมากเกินไป เก็บไม่ถูกเวลา และระบายแบบไม่มีแผนงานจึงก่อให้เกิดปริมาณน้ำมากกว่าปกติ เมื่อเขื่อนปล่อยน้ำลงมาในขณะที่แม่น้ำในแต่ละพื้นที่มีความสามารถในการรับน้ำที่ไม่เท่ากัน อย่างที่ คุณณรงค์ จิรสรรพคุณากร ผู้อำนวยการกองสารสนเทศระบายน้ำ สำนักระบายน้ำ กทม. อธิบายว่า “แม่น้ำเจ้าพระยาที่จังหวัดชัยนาทสามารถรับน้ำได้ 4,400 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที แต่เมื่อไหลมาถึง อ.บางบาล จ.อยุธยา แม่น้ำเจ้าพระยาช่วงนั้นรับน้ำได้เพียงแค่ 1,300 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เมื่อน้ำมามาก เแต่ความสามารถในแต่ละช่วงรับได้น้อย ไม่ว่าอย่างไรพื้นที่เหล่านั้นก็ต้องท่วม มันก็ต้องล้นออกด้านข้าง ไม่ว่าจะมี กทม. หรือไม่ก็ตาม”
เมื่อไม่เข้าใจการบริหารน้ำในเขื่อน ไม่เข้าใจธรรมชาติของแม่น้ำ น้ำจึงท่วม ประกอบกับไม่มีศูนย์บัญชาการน้ำอย่างมีเอกภาพ การแก้ไขจึงสะเปะสะปะ เมื่อนายกรัฐมนตรีมาแสดงความคิดเห็นต่างๆ จึงเป็นตัวตลกที่ตอบอะไรๆ ผิดพลาดโดยตลอด
3. นิโรธ คือ การแก้ไขน้ำท่วมหรือการทำน้ำท่วมให้หมดไปนี้ คนที่จะเข้าไปจัดการน้ำต้องทำความเข้าใจธรรมชาติของน้ำก่อน ดังคำสอนเป็นพันปีตั้งแต่มีรัฐฉินในจีนที่ว่า
“การสู้กับน้ำ...ต้องเข้าใจธรรมชาติของน้ำ
ธรรมชาติของน้ำ...ย่อมไหลจากที่สูงมาที่ต่ำ
ฉะนั้นต้องปล่อยน้ำให้ไหลลงทะเลให้เร็วที่สุด”
จากบทเรียนของแม่น้ำฮวงโฮหรือแม่น้ำวิปโยคที่มีคนตายนับล้านคน มีมาให้เห็น จีนจึงสรุปเป็นบทเรียนที่ล้ำค่า แม้แต่คำสอนในลัทธิเต๋าที่ว่า “คนที่บริหารจัดการน้ำได้ ย่อมเป็นคนที่สามารถบริหารประเทศไทยได้ และคนที่จะบริหารประเทศได้ก็ควรบริหารจัดการน้ำให้ได้ก่อน”
ในประเทศไทยรัชกาลที่ 5 ได้จ้างวิศวกรชาวเนเธอร์แลนด์มาออกแบบคลองที่เป็นประโยชน์ต่อการชลประทาน และการไหลของน้ำที่สามารถระบายลงทะเลฝั่งตะวันออกและจ้างคนจีนขุดคลองเพื่อให้น้ำลัดไหลลงทะเลฝั่งตะวันตก อีกทั้งกรุงเทพฯ เคยถูกขนานนามว่า “เวนิสตะวันออก” ซึ่งหมายถึงกรุงเทพฯ มีคลองที่รองรับน้ำได้
อย่างมหาศาล แต่วันนี้เมื่อคลองเปลี่ยนเป็นถนน กรรมทั้งมวลจึงมาตกที่คนไทย จึงเป็นเรื่องที่นายกรัฐมนตรีฝึกงานต้องเรียนรู้ให้ได้ว่าการมาเป็นนักการเมืองมาอาสารับใช้ชาตินั้นอย่าทำตัวชั่วช้าสามานย์ อย่างนักการเมืองในอดีตบางพวกที่อ้างการพัฒนามาหากินกับประเทศและเป็นต้นตอของน้ำท่วม อย่างการสร้างสนามบินสุวรรณภูมิในหนองงูเง่าที่เป็นเส้นทางระบายน้ำสู่ทะเลของกรุงเทพฯ และที่สำคัญได้ทำลายคลองสำคัญคือคลองหนองปรือ คลองหนองคา และคลองหนองตะกร้า แม้จะสร้างทางน้ำใหม่ก็ทำให้น้ำระบายในระยะยาวขึ้น เสียเวลาในการผันน้ำมากขึ้น ปัญหาน้ำท่วมขังในชานเมืองด้านตะวันออกจึงมีมากขึ้นตามลำดับ
4. มรรค คือ การปฏิบัติซึ่งทางพระบอกไว้แล้วว่าคิดชอบ ทำชอบ เมื่อรัฐบาลประกาศว่าต้องใช้งบกว่า 9 แสนล้านเยียวยาปัญหาที่ตามมาจากน้ำท่วม ก็ต้องถามก่อนว่าเอาไปทำอะไร วันนี้ภายใต้การแก้ไขปัญหาหรือการอ้างการพัฒนาได้สร้างปัญหาเพิ่มอย่าง การก่อสร้างเส้นทางคมนาคมหลายสายในแนวตะวันออก-ตะวันตกอย่างถนนสุวินทวงศ์ ทางรถไฟสายตะวันออก ทางหลวงกรุงเทพฯ-ชลบุรี (มอเตอร์เวย์) ถนนบางนา-ตราด ถนนเทพารักษ์ ฯลฯ ต่างกีดขวางทางระบายน้ำสู่ทะเล หรือจะมีความคิดที่จะตัดเส้นทางน้ำไหลใหม่อย่างในไต้หวัน ญี่ปุ่นที่มีทางลัดตัดน้ำสู่ทะเล ฯลฯ มรรคนี้เป็นทางที่ช่วยแก้ปัญหาทุกข์ได้ ในขณะเดียวกัน ถ้าผู้บริหารบิดเบี้ยวก็ก่อให้เกิดทุกข์ การหาหนทางแห่งการดับทุกข์จึงไม่เป็นปัญหาสำหรับคนที่มีดวงตาเห็นธรรมและไม่อยากที่จะหาทางออก เพียงแต่อย่าอยู่ในวังวนน้ำเน่าของการฉ้อราษฎร์บังหลวงเท่านั้น
น้ำท่วมกับอริยสัจสี่ข้างต้น ก็พอสะท้อนให้เห็นอะไรบ้าง ส่วนใครหรือผู้บริหารคนไหนมีดวงตาเห็นธรรมหรือไม่ก็เป็นไปตามกรรมที่สร้างกันขึ้นมา แต่ขอฝากให้บรรดาผู้ที่มีอำนาจและยังอยากมีอำนาจว่า
“ประเทศที่เอาปัญญาชนมาขนทราย แล้วเอาควายมาบริหารจัดการนั้น ไม่มีความเจริญฉันใด
ใน ครม.ที่มีวัวร่วมประชุมมากเท่าไร มีความบรรลัย..เอ้ย มีความเป็นไปเร็วฉันนั้น”
ข่าวน้ำท่วมในวันนี้ยังมีอีกหลายมิติที่ต้องช่วยกันใส่ใจ ด้วยน้ำท่วมที่ครอบคุมพื้นที่ถึง 150 ล้านไร่ คนไทยได้รับการเดือดร้อนกว่า 9 ล้านคน ซึ่งปัญหาความเดือดร้อนต่างมีที่มาจากน้ำท่วมและคนเข้ามาแก้ปัญหาน้ำท่วม ที่มีบทบาทหลักก็ต้องเป็นความรับผิดชอบของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ โดยเฉพาะการบริหารจัดการที่รัฐบาลจะไปโทษน้ำที่มามากกว่าปกติหรืออธิบายว่าใครๆ ก็แก้ไม่ได้เพราะนั่นไม่ใช่ทางแก้ที่ก่อให้เกิดปัญญา ที่สำคัญเราไม่ได้เรียนรู้ที่มาของปัญหา ที่มาของการแก้ไขปัญหา ซึ่งในวิถีพุทธก็มีให้ศึกษาอย่างการนำเรื่องอริยสัจสี่ (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) คือมีความจริงอยู่ 4 ประการได้แก่การมีอยู่ของทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ ความดับทุกข์ และหนทางไปสู่ความดับทุกข์ ซึ่งเมื่อนำมาอธิบายปรากฏการณ์เรื่องน้ำท่วมเราก็จะทำความเข้าใจได้ง่ายขึ้นดังนี้
1. ทุกข์ คือน้ำท่วมที่ยาวนานกำลังเน่าเหม็น และที่สำคัญน้ำได้ทำลายบ้านที่อยู่อาศัย ทรัพย์สินรวมทั้งทำลายเศรษฐกิจพื้นฐาน บางครอบครัวต้องสูญเสียญาติพี่น้องซึ่งมีคนเสียชีวิตจากเหตุการณ์น้ำท่วมไปแล้ว 350 คน
2. สมุทัย คือ ทำไมน้ำถึงท่วม ซึ่งเกิดจากการบริหารจัดการน้ำไม่เป็น ไม่มีประสิทธิภาพ ซึ่งดูได้จากการสัมภาษณ์ของนายกฯ ยิ่งลักษณ์ที่ว่า
“เราดูแลมา 3-4 เดือนแล้ว บางส่วนเข้ามาตั้งแต่เดือนกรกฎาคม และเจอพายุ 4 ลูกติดต่อกัน โดยปกติแล้วเจอพายุลูกหนึ่ง ก็จะถูกระบายผ่านเขื่อน และมีช่วงพักในการระบายน้ำ แต่วันนี้ไม่ใช่ เจอลูกหนึ่งก็เก็บไว้ๆ และเจออีกหลายลูก ก็ยังเก็บต่ออีก จึงกลายเป็นปริมาณน้ำที่สะสมมาถึง 4 ลูก” (ASTVผู้จัดการ 25/10/2554)
จากข้อความข้างต้นสะท้อนว่า การเก็บน้ำในเขื่อนมากเกินไป เก็บไม่ถูกเวลา และระบายแบบไม่มีแผนงานจึงก่อให้เกิดปริมาณน้ำมากกว่าปกติ เมื่อเขื่อนปล่อยน้ำลงมาในขณะที่แม่น้ำในแต่ละพื้นที่มีความสามารถในการรับน้ำที่ไม่เท่ากัน อย่างที่ คุณณรงค์ จิรสรรพคุณากร ผู้อำนวยการกองสารสนเทศระบายน้ำ สำนักระบายน้ำ กทม. อธิบายว่า “แม่น้ำเจ้าพระยาที่จังหวัดชัยนาทสามารถรับน้ำได้ 4,400 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที แต่เมื่อไหลมาถึง อ.บางบาล จ.อยุธยา แม่น้ำเจ้าพระยาช่วงนั้นรับน้ำได้เพียงแค่ 1,300 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เมื่อน้ำมามาก เแต่ความสามารถในแต่ละช่วงรับได้น้อย ไม่ว่าอย่างไรพื้นที่เหล่านั้นก็ต้องท่วม มันก็ต้องล้นออกด้านข้าง ไม่ว่าจะมี กทม. หรือไม่ก็ตาม”
เมื่อไม่เข้าใจการบริหารน้ำในเขื่อน ไม่เข้าใจธรรมชาติของแม่น้ำ น้ำจึงท่วม ประกอบกับไม่มีศูนย์บัญชาการน้ำอย่างมีเอกภาพ การแก้ไขจึงสะเปะสะปะ เมื่อนายกรัฐมนตรีมาแสดงความคิดเห็นต่างๆ จึงเป็นตัวตลกที่ตอบอะไรๆ ผิดพลาดโดยตลอด
3. นิโรธ คือ การแก้ไขน้ำท่วมหรือการทำน้ำท่วมให้หมดไปนี้ คนที่จะเข้าไปจัดการน้ำต้องทำความเข้าใจธรรมชาติของน้ำก่อน ดังคำสอนเป็นพันปีตั้งแต่มีรัฐฉินในจีนที่ว่า
“การสู้กับน้ำ...ต้องเข้าใจธรรมชาติของน้ำ
ธรรมชาติของน้ำ...ย่อมไหลจากที่สูงมาที่ต่ำ
ฉะนั้นต้องปล่อยน้ำให้ไหลลงทะเลให้เร็วที่สุด”
จากบทเรียนของแม่น้ำฮวงโฮหรือแม่น้ำวิปโยคที่มีคนตายนับล้านคน มีมาให้เห็น จีนจึงสรุปเป็นบทเรียนที่ล้ำค่า แม้แต่คำสอนในลัทธิเต๋าที่ว่า “คนที่บริหารจัดการน้ำได้ ย่อมเป็นคนที่สามารถบริหารประเทศไทยได้ และคนที่จะบริหารประเทศได้ก็ควรบริหารจัดการน้ำให้ได้ก่อน”
ในประเทศไทยรัชกาลที่ 5 ได้จ้างวิศวกรชาวเนเธอร์แลนด์มาออกแบบคลองที่เป็นประโยชน์ต่อการชลประทาน และการไหลของน้ำที่สามารถระบายลงทะเลฝั่งตะวันออกและจ้างคนจีนขุดคลองเพื่อให้น้ำลัดไหลลงทะเลฝั่งตะวันตก อีกทั้งกรุงเทพฯ เคยถูกขนานนามว่า “เวนิสตะวันออก” ซึ่งหมายถึงกรุงเทพฯ มีคลองที่รองรับน้ำได้
อย่างมหาศาล แต่วันนี้เมื่อคลองเปลี่ยนเป็นถนน กรรมทั้งมวลจึงมาตกที่คนไทย จึงเป็นเรื่องที่นายกรัฐมนตรีฝึกงานต้องเรียนรู้ให้ได้ว่าการมาเป็นนักการเมืองมาอาสารับใช้ชาตินั้นอย่าทำตัวชั่วช้าสามานย์ อย่างนักการเมืองในอดีตบางพวกที่อ้างการพัฒนามาหากินกับประเทศและเป็นต้นตอของน้ำท่วม อย่างการสร้างสนามบินสุวรรณภูมิในหนองงูเง่าที่เป็นเส้นทางระบายน้ำสู่ทะเลของกรุงเทพฯ และที่สำคัญได้ทำลายคลองสำคัญคือคลองหนองปรือ คลองหนองคา และคลองหนองตะกร้า แม้จะสร้างทางน้ำใหม่ก็ทำให้น้ำระบายในระยะยาวขึ้น เสียเวลาในการผันน้ำมากขึ้น ปัญหาน้ำท่วมขังในชานเมืองด้านตะวันออกจึงมีมากขึ้นตามลำดับ
4. มรรค คือ การปฏิบัติซึ่งทางพระบอกไว้แล้วว่าคิดชอบ ทำชอบ เมื่อรัฐบาลประกาศว่าต้องใช้งบกว่า 9 แสนล้านเยียวยาปัญหาที่ตามมาจากน้ำท่วม ก็ต้องถามก่อนว่าเอาไปทำอะไร วันนี้ภายใต้การแก้ไขปัญหาหรือการอ้างการพัฒนาได้สร้างปัญหาเพิ่มอย่าง การก่อสร้างเส้นทางคมนาคมหลายสายในแนวตะวันออก-ตะวันตกอย่างถนนสุวินทวงศ์ ทางรถไฟสายตะวันออก ทางหลวงกรุงเทพฯ-ชลบุรี (มอเตอร์เวย์) ถนนบางนา-ตราด ถนนเทพารักษ์ ฯลฯ ต่างกีดขวางทางระบายน้ำสู่ทะเล หรือจะมีความคิดที่จะตัดเส้นทางน้ำไหลใหม่อย่างในไต้หวัน ญี่ปุ่นที่มีทางลัดตัดน้ำสู่ทะเล ฯลฯ มรรคนี้เป็นทางที่ช่วยแก้ปัญหาทุกข์ได้ ในขณะเดียวกัน ถ้าผู้บริหารบิดเบี้ยวก็ก่อให้เกิดทุกข์ การหาหนทางแห่งการดับทุกข์จึงไม่เป็นปัญหาสำหรับคนที่มีดวงตาเห็นธรรมและไม่อยากที่จะหาทางออก เพียงแต่อย่าอยู่ในวังวนน้ำเน่าของการฉ้อราษฎร์บังหลวงเท่านั้น
น้ำท่วมกับอริยสัจสี่ข้างต้น ก็พอสะท้อนให้เห็นอะไรบ้าง ส่วนใครหรือผู้บริหารคนไหนมีดวงตาเห็นธรรมหรือไม่ก็เป็นไปตามกรรมที่สร้างกันขึ้นมา แต่ขอฝากให้บรรดาผู้ที่มีอำนาจและยังอยากมีอำนาจว่า
“ประเทศที่เอาปัญญาชนมาขนทราย แล้วเอาควายมาบริหารจัดการนั้น ไม่มีความเจริญฉันใด
ใน ครม.ที่มีวัวร่วมประชุมมากเท่าไร มีความบรรลัย..เอ้ย มีความเป็นไปเร็วฉันนั้น”