เดิมนั้นไทยไม่มีการนำเข้าน้ำดื่มบรรจุขวด การนำเข้าทั้งหมดเป็นการนำเข้าน้ำแร่เท่านั้น อย่างไรก็ตาม จากปัญหาการขาดแคลนน้ำดื่มบรรจุขวด ทำให้รัฐบาลอนุมัติให้มีการนำเข้าน้ำดื่มบรรจุขวดเป็นกรณีเร่งด่วน
จากรายงานของศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าผู้ค้าปลีกรายใหญ่จะมีการนำเข้าจากประเทศมาเลเซียผ่านการขนส่งทางรถ ที่ด่านสะเดา และการขนส่งทางเรือ โดยล็อตแรกจะมีการนำเข้า 2 ตู้คอนเทนเนอร์ หรือประมาณ 14,000 ขวด คาดว่าจะสามารถกระจายสู่เครือข่ายสาขาได้ในต้นเดือนพฤศจิกายน หลังจากนั้นจะมีการนำเข้าอีก 4 ตู้คอนเทนเนอร์ โดยคาดว่าราคาน้ำดื่มนำเข้าจะมีราคาสูงกว่าสินค้าที่ผลิตภายในประเทศ กล่าวคือ น้ำดื่มราคาขวดละ 10 บาท ราคานำเข้าอยู่ที่ 12-15 บาท
อย่างไรก็ตามปริมาณนำเข้าที่ระบุไว้น่าจะเป็นการบรรเทาปัญหาได้เพียงบางส่วนเท่านั้นจากกรณีที่ผู้ผลิตน้ำดื่มบรรจุขวดมีปริมาณการผลิตลดลงจากผลกระทบน้ำท่วม โดยคาดว่าปริมาณการบริโภคน้ำดื่มบรรจุขวดลดลงไปประมาณ 2.32 ล้านขวด/วัน (คำนวณความต้องการน้ำดื่มบรรจุขวดของคนกรุงเทพฯและปริมณฑลประมาณ 5.8 ล้านขวด/วัน จากจำนวนประชากรในกรุงเทพฯและปริมณฑล 7 ล้านคน ปริมาณการดื่มน้ำประมาณ 3 ขวด/คน/วัน จากขวดขนาด 600 มิลลิลิตร และสัดส่วนการบริโภคน้ำดื่มบรรจุขวดของคนกรุงเทพฯและปริมณฑลร้อยละ 27.7 ของการบริโภคน้ำดื่มทั้งหมด )
ในส่วนของผู้ประกอบการเองก็มีปัญหาในเรื่องการกระจายสินค้า จากทั้งปัญหาในการขนส่ง และจุดจำหน่ายบางจุดต้องหยุดการให้บริการชั่วคราว
แนวการบรรเทาปัญหาการขาดแคลนน้ำดื่มอีกแนวทางหนึ่ง คือการขอสนับสนุนเครื่องผลิตน้ำดื่มจากประเทศจีน จำนวน 120 เครื่อง แต่ละเครื่องสามารถผลิตน้ำดื่มได้ 500 ลิตรต่อชั่วโมง โดยติดตั้งที่ศูนย์พักพิง และโรงพยาบาล เมื่อติดตั้งได้ครบจะสามารถให้บริการประชาชนได้กว่า1 ล้านคน โดยเริ่มทำการติดตั้งเครื่องผลิตน้ำดื่มในวันที่ 27 ต.ค.ที่ผ่านมา
ส่วนประชาชนในเขตชุมชนขอให้ใช้บริการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ ซึ่งมีทุกชุมชน และมั่นใจคุณภาพน้ำดื่มได้ เพราะเครื่องกรองน้ำในตู้หยอดเหรียญผ่านการตรวจสอบจากหน่วยงานของรัฐแล้ว โดยประชาชนต้องเตรียมภาชนะไว้เพื่อเก็บสำรองน้ำไว้บริโภคส่งผลให้ยอดจำหน่ายขวดพลาสติกขนาดใหญ่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
อย่างไรก็ตามแนวทางแก้ปัญหานี้จะยังดำเนินการได้ในกรณีที่ในพื้นที่ดังกล่าวไม่มีปัญหาในการจ่ายน้ำประปา
วิกฤตน้ำท่วมในกรุงเทพฯและปริมณฑลส่งผลให้ความต้องการน้ำดื่มบรรจุขวดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นมากกว่าปกติ ในขณะที่ปริมาณการผลิตน้ำดื่มบรรจุขวดเข้าสู่ตลาดลดลง จากการที่โรงงานผลิตน้ำดื่มบรรจุขวดรายใหญ่ที่อยู่ในจังหวัดที่ประสบปัญหาน้ำท่วมต้องหยุดการผลิตชั่วคราว และปัญหาการขาดแคลนขวดPET สำหรับบรรจุน้ำดื่ม รวมทั้งปัญหาในการขนส่ง ส่งผลให้เกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำดื่มบรรจุขวดในร้านจำหน่ายปลีก แนวทางในการแก้ปัญหาของผู้ประกอบการ คือ การย้ายไปผลิตในโรงงานที่ยังไม่ประสบปัญหาน้ำท่วม แต่ก็อาจเกิดปัญหาในเรื่องการขนส่งบ้าง
จากรายงานของศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าผู้ค้าปลีกรายใหญ่จะมีการนำเข้าจากประเทศมาเลเซียผ่านการขนส่งทางรถ ที่ด่านสะเดา และการขนส่งทางเรือ โดยล็อตแรกจะมีการนำเข้า 2 ตู้คอนเทนเนอร์ หรือประมาณ 14,000 ขวด คาดว่าจะสามารถกระจายสู่เครือข่ายสาขาได้ในต้นเดือนพฤศจิกายน หลังจากนั้นจะมีการนำเข้าอีก 4 ตู้คอนเทนเนอร์ โดยคาดว่าราคาน้ำดื่มนำเข้าจะมีราคาสูงกว่าสินค้าที่ผลิตภายในประเทศ กล่าวคือ น้ำดื่มราคาขวดละ 10 บาท ราคานำเข้าอยู่ที่ 12-15 บาท
อย่างไรก็ตามปริมาณนำเข้าที่ระบุไว้น่าจะเป็นการบรรเทาปัญหาได้เพียงบางส่วนเท่านั้นจากกรณีที่ผู้ผลิตน้ำดื่มบรรจุขวดมีปริมาณการผลิตลดลงจากผลกระทบน้ำท่วม โดยคาดว่าปริมาณการบริโภคน้ำดื่มบรรจุขวดลดลงไปประมาณ 2.32 ล้านขวด/วัน (คำนวณความต้องการน้ำดื่มบรรจุขวดของคนกรุงเทพฯและปริมณฑลประมาณ 5.8 ล้านขวด/วัน จากจำนวนประชากรในกรุงเทพฯและปริมณฑล 7 ล้านคน ปริมาณการดื่มน้ำประมาณ 3 ขวด/คน/วัน จากขวดขนาด 600 มิลลิลิตร และสัดส่วนการบริโภคน้ำดื่มบรรจุขวดของคนกรุงเทพฯและปริมณฑลร้อยละ 27.7 ของการบริโภคน้ำดื่มทั้งหมด )
ในส่วนของผู้ประกอบการเองก็มีปัญหาในเรื่องการกระจายสินค้า จากทั้งปัญหาในการขนส่ง และจุดจำหน่ายบางจุดต้องหยุดการให้บริการชั่วคราว
แนวการบรรเทาปัญหาการขาดแคลนน้ำดื่มอีกแนวทางหนึ่ง คือการขอสนับสนุนเครื่องผลิตน้ำดื่มจากประเทศจีน จำนวน 120 เครื่อง แต่ละเครื่องสามารถผลิตน้ำดื่มได้ 500 ลิตรต่อชั่วโมง โดยติดตั้งที่ศูนย์พักพิง และโรงพยาบาล เมื่อติดตั้งได้ครบจะสามารถให้บริการประชาชนได้กว่า1 ล้านคน โดยเริ่มทำการติดตั้งเครื่องผลิตน้ำดื่มในวันที่ 27 ต.ค.ที่ผ่านมา
ส่วนประชาชนในเขตชุมชนขอให้ใช้บริการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ ซึ่งมีทุกชุมชน และมั่นใจคุณภาพน้ำดื่มได้ เพราะเครื่องกรองน้ำในตู้หยอดเหรียญผ่านการตรวจสอบจากหน่วยงานของรัฐแล้ว โดยประชาชนต้องเตรียมภาชนะไว้เพื่อเก็บสำรองน้ำไว้บริโภคส่งผลให้ยอดจำหน่ายขวดพลาสติกขนาดใหญ่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
อย่างไรก็ตามแนวทางแก้ปัญหานี้จะยังดำเนินการได้ในกรณีที่ในพื้นที่ดังกล่าวไม่มีปัญหาในการจ่ายน้ำประปา
วิกฤตน้ำท่วมในกรุงเทพฯและปริมณฑลส่งผลให้ความต้องการน้ำดื่มบรรจุขวดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นมากกว่าปกติ ในขณะที่ปริมาณการผลิตน้ำดื่มบรรจุขวดเข้าสู่ตลาดลดลง จากการที่โรงงานผลิตน้ำดื่มบรรจุขวดรายใหญ่ที่อยู่ในจังหวัดที่ประสบปัญหาน้ำท่วมต้องหยุดการผลิตชั่วคราว และปัญหาการขาดแคลนขวดPET สำหรับบรรจุน้ำดื่ม รวมทั้งปัญหาในการขนส่ง ส่งผลให้เกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำดื่มบรรจุขวดในร้านจำหน่ายปลีก แนวทางในการแก้ปัญหาของผู้ประกอบการ คือ การย้ายไปผลิตในโรงงานที่ยังไม่ประสบปัญหาน้ำท่วม แต่ก็อาจเกิดปัญหาในเรื่องการขนส่งบ้าง