ณ บ้านพระอาทิตย์
โดย : ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
ผลงานและสติปัญญาของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาวิกฤติน้ำท่วมประเทศไทยเป็นอย่างไร ประชาชนทั้งหมดก็คงจะเห็นหมดแล้วตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา โดยไม่ต้องสาธยายอะไรไปมากกว่าสิ่งที่ประชาชนทุกหมู่เหล่าสามารถรับรู้ได้
คงเหลือแต่เพียงว่าในช่วงหลังๆมีขบวนการในการ “โยนความผิด” และสร้างความเข้าใจผิดต่อ “โครงการฝนหลวง” กับ “ชื่อเขื่อน” โดยเจตนาพาดพิงไปยังสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างไม่ถูกต้อง และไม่เป็นธรรม ข้อสำคัญหากไม่นำความจริงเสมอในยุคที่ข้อมูลข่าวสารเข้าถึงประชาชนอย่างรวดเร็วในโลกอินเตอร์เน็ทและแบบปากต่อปากของวิทยุชุมชนแล้ว ความเข้าใจผิดและความเกลียดชังจะรุกลามไปจนยากที่จะแก้ไขในภายหลังได้
ความจริงแล้วเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งนี้เกิดขึ้นเพราะภัยธรรมชาติส่วนหนึ่ง และยังมีการตัดสินใจที่มีปัญหาของนักการเมืองและข้าราชการอีกส่วนหนึ่งด้วย
เพราะการทำฝนหลวงนั้นอยู่ภายใต้หน่วยงาน “สำนักฝนหลวง” ซึ่งจัดตั้งขึ้นมาอยู่ภายใต้สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และการ “ปิดหรือเปิดเขื่อน”ก็อยู่ภายใต้ “กรมชลประทาน” สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เช่นเดียวกัน
ดังนั้นเมื่อเข้าใจแล้วว่าการทำงานของสำนักฝนหลวงและการปิดหรือเปิดเขื่อน ขึ้นอยู่กับ “กระทรวงเกษตรและสหกรณ์” แล้ว ก็ไม่ควรจะไปพิจารณาเรื่อง “อำมาตย์” อยู่เบื้องหลังเพื่อจะมาอ้างเหตุในการรัฐประหารตามที่มีคนบางกลุ่มพยายามที่จะจินตนาการและบิดเบือน
เพราะกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ทั้งในรัฐบาลพรรคเพื่อไทยและรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ก็อยู่ในการควบคุมดูแลโดยพรรคชาติไทยพัฒนาทั้งสิ้น
ประเด็นแรก ที่มีการโจมตีกันเผยแพร่กันในโลก โซเชียล เน็ทเวิร์ค ว่าในเดือน เมษายน 2554 ปรากฏข่าวว่า หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือตอนล่าง เริ่มปฏิบัติการทำฝนหลวงตั้งแต่เดือนเมษายน ถึง ตุลาคม 2554 โดยปรากฏคำสัมภาษณ์ของหัวหน้าหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือตอนล่าง พิษณุโลก กล่าวเพิ่มเติมว่าการปฏิบัติการฝนหลวงในปีนี้ ทางหน่วยได้เตรียมเครื่องบินเกษตรจำนวน 3 ลำ โดยจะขึ้น ปฏิบัติการทุกวัน เฉลี่ยวันละ 3 เที่ยว เริ่มตั้งแต่เดือนเมษายน ถึงเดือน ตุลาคม 2554 คาดว่าการปฏิบัติการฝนหลวงปีนี้จะมีฝนตกตามเป้าหมาย
และประเด็นการโจมตีก็คือ เหตุใดจึงมีการทำฝนหลวงเหนือเขื่อน ทั้งๆ ที่ปีนี้มีน้ำมากและยังมีพายุเข้ามาหลายลูก !!?
ประเด็นนี้ก็ต้องเข้าใจเป็นเบื้องต้นด้วยว่าการทำงานของสำนักฝนหลวงเองก็ต้องประเมินสภาพภูมิอากาศที่ยังมองไม่เห็นข้างหน้า โอกาสประเมินผิดหรือถูกก็ขึ้นอยู่กับความสามารถในคาดการณ์สภาพอากาศ (ในอนาคตที่ยังไม่มีใครเห็น) ซึ่งมีความผันผวนปรวนแปรทั่วโลก
แต่ในอีกด้านหนึ่งสำนักฝนหลวง ที่ขึ้นอยู่กับสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ก็ต้องพิจารณาการทำฝนหลวงจากคำขอจากประชาชนหรือหน่วยงานราชการที่แสดงความจำนงที่จะขอให้มีการทำฝนเทียมอีกด้วย โดยปรากฏแบบฟอร์มทำฝนหลวงในเว็บไซต์ที่เปิดเผยของสำนักฝนหลวงโดยตรง และต้องทำหนังสือส่งตรงถึง “ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์” ที่จะเป็นผู้มีอำนาจในการสั่งการตามระบบต่อไป
ด้วยเหตุผลนี้จึงมีคำตอบจากข้าราชการที่ประจำศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงท่านหนึ่งชี้แจงว่า:
“เนื่องจากยังมีการร้องขอจากประชาชนในบางพื้นที่ที่ไม่ได้รับน้ำฝนและอยู่ในช่วงพื้นที่การเกษตรต้องการน้ำเร่งด่วน เพราะจะมีผลผลิตที่จะเสียหาย ซึ่งในบางพื้นที่ก็มีอ่างเก็บน้ำไว้สำหรับทำประปาแล้ว แต่น้ำในอ่างไม่เพียงพอต่อการทำการเกษตร ส่วนบางหน่วยที่มีฝนตกในพื้นที่เยอะแล้ว ก็มีการหยุดปฏิบัติการและเฝ้าระวังหรือปิดหน่วย เช่น ปฏิบัติการฝนหลวง จังหวัดเชียงใหม่ และนครสวรรค์ ปิดหน่วยปฏิบัติการไปแล้วตั้งแต่วันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 ส่วนหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงพิษณุโลก หยุดปฏิบัติการตั้งแต่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554”
อย่างน้อยก็แสดงให้เห็นว่า การปฏิบัติการฝนหลวง ไม่ได้ทำตามคำขอจากประชาชนหรือหน่วยงานราชการแต่เพียงอย่างเดียว แต่ก็ยังมีการปรับสภาพตามความเป็นจริง และมีการหยุดปฏิบัติการเมื่อสถานการณ์เปลี่ยนไป ส่วนจะเปลี่ยนช้าหรือเร็ว ก็คงเป็นอีกเรื่องวิจารณญาณในการตัดสินใจ
อย่างไรก็ตามปริมาณฝนหลวงไม่ใช่ปัจจัยหลักในเรื่องการทำให้เกิดวิกฤติน้ำท่วมครั้งนี้
ประเด็นที่สอง เรื่องการกักเก็บน้ำในเขื่อน โดยไม่ทยอยปล่อยน้ำออกมาเพื่อระบายลงทะเล ในสถานการณ์ที่น้ำท่วมแล้ว และมีพายุเข้าแล้ว โดยมีลักษณะแตกต่างจากสถิติน้ำในเขื่อนในรอบ 4 ปี จนมีการสะสมน้ำจนเกือบเต็มเขื่อน แล้วจึงมีการปล่อยน้ำออกมาถึงวันละ 100- 140 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน ก่อให้เกิดมวลน้ำมหาศาลที่เข้าท่วมบ้านเรือน ทลายทำนบกั้นและพนังกั้นน้ำอย่างที่เป็นอยู่ในช่วงที่ผ่านมา
ปริมาณน้ำฝนอาจจคาดเดาได้ยาก แต่ปริมาณน้ำในเขื่อนมีสถิติย้อนหลังที่สามารถสืบค้นได้ การที่พรรคเพื่อไทยกล่าวโทษไปยังพรรคประชาธิปัตย์ว่าสะสมน้ำในเขื่อนมากเกินไปจึงถูกส่วนเดียวเท่านั้น เพราะพรรคประชาธิปัตย์ต้องหมดหน้าที่ลงตั้งแต่ วันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 และน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าให้เป็นนายกรัฐมนตรี และได้นำคณะรัฐมนตรีเข้าเฝ้าเพื่อถวายสัตย์ปฏิญาณตนวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2554 การปล่อยน้ำสะสมมากเกินไปจึงหนีไม่พ้นความรับผิดชอบของรัฐบาลพรรคเพื่อไทยด้วย
หลังจากวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2554 จึงถือเป็นอำนาจเต็มในการสั่งการของรัฐบาลพรรคเพื่อไทย โดยมี พรรคร่วมรัฐบาลอย่าง พรรคชาติไทยพัฒนาได้คุมกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แล้วเหตุใดรัฐบาลพรรคเพื่อไทยไม่ทยอยปล่อยน้ำลงมาตั้งแต่วันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2554 อีกทั้งยังสะสมน้ำในเขื่อนต่อไปจนเกือบเต็มเขื่อนแล้วจึงจำยอมต้องปล่อยน้ำในเขื่อนจำนวนมหาศาลรวดเดียว และกลายเป็นปัญหาน้ำท่วมบ้านเรือนมากมายจำนวนมหาศาลอยู่ในขณะนี้
คำถามคือ รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รู้หรือไม่ว่าน้ำท่วมหนัก จำเป็นต้องเร่งระบายน้ำออก หรือว่ารู้แล้วไม่สนใจ หรือสนใจเรื่องอื่นมากกว่า หรือคิดว่าเป็นเรื่องของพรรคชาติไทยพัฒนา รัฐบาลไม่ก้าวก่าย?
ลองดูตารางเวลาการทำงานของ รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร “ก่อนตัดสินใจ”ปล่อยน้ำในเขื่อนภูมิพลอย่างรวดเร็วในวันที่ 1- 7 ตุลาคม พ.ศ. 2554 ที่มีปริมาณเฉลี่ยวันละ 100 ล้านลูกบาศก์เมตร
14 สิงหาคม พ.ศ. 2554 น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เดินทางตรวจสอบน้ำท่วมที่ จังหวัด สุโขทัย จังหวัดแพร่ จังหวัดน่าน
16 สิงหาคม พ.ศ.2554 มีการประชุมคณะรัฐมนตรีเรื่องการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม มีการคาดการณ์ว่าแม่น้ำเจ้าพระยาจะล้นท่วมภาคกลาง คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ์ รายงานตรงถึงนายกรัฐมนตรี
20 สิงหาคม พ.ศ. 2554 น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นประธานประชุม ศอส. ตั้งวอร์รูม โดยมีศูนย์ช่วยเหลือแบบบริการทุกอย่างจุดเดียว หลังจากฝนตกหนัก ภาคเหนือ ดินถล่ม น้ำท่วมขยายวงกว้าง อ่างทองและอยุธยาน้ำไหลบ่าท่วมทั้ง 2 ฝั่ง ในขณะที่เวลานั้นกรมอุตุนิยมวิทยาได้เตือนว่าฝนจะตกหนักต่อเนื่องที่ภาคเหนือและภาคอีสาน
21 สิงหาคม พ.ศ. 2554 น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ตั้ง “บางระกำโมเดล” แบ่งงาน 2 พี 2 อาร์ ในขณะที่มีฝนตกหนักหลายพื้นที่ต่อเนื่อง ทั้งอ่างทอง ชัยนาท ปราจีน เชียงใหม่ เชียงราย สุโขทัย เพชรบูรณ์ น่าน น้ำท่วม
24 สิงหาคม พ.ศ. 2554 รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แถลงนโยบายต่อที่ประชุมรัฐสภา ในขณะที่น้ำท่วมไปยังอุตรดิตถ์ อยุธยา อ่างทอง น้ำท่วมเพิ่มขึ้น
27 สิงหาคม พ.ศ. 2554 กรมชลประทานเตือน น้ำเหนืออีก 5 วันจะถึงอยุธยา จะทำให้แม่น้ำเจ้าพระยาสูงขึ้น 50 เซนติเมตร ในขณะที่เชียงรายฝนตกหนักเช่นกัน (แต่ก็ยังไม่ปล่อยน้ำออกจากเขื่อนซึ่งสะสมมากขึ้น)
29 สิงหาคม พ.ศ. 2554 น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เดินทางไปที่พิษณุโลกเพื่อตรวจ “บางระกำโมเดล”
30 สิงหาคม พ.ศ. 2554 น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ตรวจ “อุดรโมเดล” โดยจะใช้เป็นต้นแบบแก้น้ำท่วมในขณะที่ ศอส. เตือน 19 จังหวัดจะมีฝนตกหนักทั้งภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้
2 – 3 กันยายน พ.ศ. 2554 เขื่อนเจ้าพระยาปล่อยน้ำ 2,785 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (240 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน) ทำให้อยุธยาและอ่างทองท่วมหนัก ในขณะที่มวลน้ำจากภาคเหนือไหมาถึงที่นครสวรรค์
6 กันยายน พ.ศ. 2554 อ่างเก็บน้ำที่จังหวัดอ่างทองพัง ในขณะที่อยุธยาพื้นที่เกษตรเสียหายหนักและยังคงมีฝนตกหนัก
8 กันยายน พ.ศ. 2554 น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ตรวจเขื่อนเจ้าพระยา และเยี่ยมตรวจน้ำท่วม อ่างทอง อยุธยา ในขณะที่กรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ฝนจะตกหนักอีกวันที่ 9-12 กันยายน พ.ศ. 2554 ในขณะที่น้ำในเขื่อนภูมิพลสูงทยอยสะสมน้ำขึ้นมากที่สุดในรอบ 3 ปี
18 – 30 กันยายน พ.ศ. 2554 น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ภารกิจส่วนใหญ่ก็คือการเยี่ยมในพื้นที่น้ำต่างๆมากกว่าการรับมือทางยุทธศาสตร์
52 วันผ่านไปภายใต้รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ที่ทุกเขื่อนสะสมน้ำโดยไม่ระบายออกสู่ทะเลให้เร็ว จนในที่สุดต้นเดือนตุลาคม พ.ศ. 2554 น้ำจากเขื่อนภูมิพล ต้องถูกปล่อยออกมาท่วมบ้านเรือนโดยเฉลี่ยวันละ 100 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน พร้อมกับอีกหลายเขื่อนที่มีลักษณะเดียวกัน สร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงในทุกพื้นที่จนมวลน้ำมาถึงกรุงเทพมหานครในสัปดาห์นี้
คำถามที่ไม่มีความชัดเจนก็คือเหตุใดเราถึงสะสมน้ำมากขนาดนี้ จะเป็นเพราะต้องการทำนาให้ได้ 4 ครั้งต่อปีหรือไม่? หรือเป็นเพราะว่ามีปัญหาความผิดพลาดในการประเมินสถานการณ์? ยิ่งไปกว่านั้นยังพบว่า ในช่วงแรกที่ปล่อยน้ำออกมาอย่างมากมายนั้นมีการเลือกที่จะระบายน้ำไม่ให้ผ่านแม่น้ำท่าจีน เพื่อไม่ให้สะเทือนพื้นที่นาส่วนใหญ่บางจังหวัดที่อยากปลูกข้าวได้ 4 ครั้งต่อปี อีกใช่หรือไม่?
คำถามต่อการทำงานของกรมชลประทานยังลามไปถึง การไม่เปิดประตูระบายน้ำเต็มที่ และไม่ใช้เครื่องสูบน้ำเต็มที่เพื่อระบายน้ำออกให้เร็วผ่านแม่น้ำบางปะกงและสมุทรปราการ เพราะติดขัดเรื่องมวลชน (การเมือง) อีกใช่หรือไม่ จึงทำให้กรุงเทพตอนเหนือและแม่น้ำเจ้าพระยาต้องแบกรับภาระเกินตัวจนต้องท่วมเข้ามาในกรุงเทพมหานครในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมาหรือไม่
แต่ที่น่าสนใจตรงที่เรื่องใหญ่ขนาดนี้ แต่กลับไม่มีทั้งนักการเมืองฝ่ายค้านหรือรัฐบาลออกมาโววาย ราวกับว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้น ทั้งนี้เพราะนักการเมืองพรรคใหญ่ทั้ง 2 ขั้ว ต่างต้องการรักษาสัมพันธ์อันดีเอาไว้กับพรรคชาติไทยพัฒนาที่จะเป็นพรรคร่วมรัฐบาลกับทุกพรรคได้ตลอดเวลานั่นเอง ใช่หรือไม่ !?
โดย : ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
ผลงานและสติปัญญาของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาวิกฤติน้ำท่วมประเทศไทยเป็นอย่างไร ประชาชนทั้งหมดก็คงจะเห็นหมดแล้วตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา โดยไม่ต้องสาธยายอะไรไปมากกว่าสิ่งที่ประชาชนทุกหมู่เหล่าสามารถรับรู้ได้
คงเหลือแต่เพียงว่าในช่วงหลังๆมีขบวนการในการ “โยนความผิด” และสร้างความเข้าใจผิดต่อ “โครงการฝนหลวง” กับ “ชื่อเขื่อน” โดยเจตนาพาดพิงไปยังสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างไม่ถูกต้อง และไม่เป็นธรรม ข้อสำคัญหากไม่นำความจริงเสมอในยุคที่ข้อมูลข่าวสารเข้าถึงประชาชนอย่างรวดเร็วในโลกอินเตอร์เน็ทและแบบปากต่อปากของวิทยุชุมชนแล้ว ความเข้าใจผิดและความเกลียดชังจะรุกลามไปจนยากที่จะแก้ไขในภายหลังได้
ความจริงแล้วเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งนี้เกิดขึ้นเพราะภัยธรรมชาติส่วนหนึ่ง และยังมีการตัดสินใจที่มีปัญหาของนักการเมืองและข้าราชการอีกส่วนหนึ่งด้วย
เพราะการทำฝนหลวงนั้นอยู่ภายใต้หน่วยงาน “สำนักฝนหลวง” ซึ่งจัดตั้งขึ้นมาอยู่ภายใต้สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และการ “ปิดหรือเปิดเขื่อน”ก็อยู่ภายใต้ “กรมชลประทาน” สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เช่นเดียวกัน
ดังนั้นเมื่อเข้าใจแล้วว่าการทำงานของสำนักฝนหลวงและการปิดหรือเปิดเขื่อน ขึ้นอยู่กับ “กระทรวงเกษตรและสหกรณ์” แล้ว ก็ไม่ควรจะไปพิจารณาเรื่อง “อำมาตย์” อยู่เบื้องหลังเพื่อจะมาอ้างเหตุในการรัฐประหารตามที่มีคนบางกลุ่มพยายามที่จะจินตนาการและบิดเบือน
เพราะกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ทั้งในรัฐบาลพรรคเพื่อไทยและรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ก็อยู่ในการควบคุมดูแลโดยพรรคชาติไทยพัฒนาทั้งสิ้น
ประเด็นแรก ที่มีการโจมตีกันเผยแพร่กันในโลก โซเชียล เน็ทเวิร์ค ว่าในเดือน เมษายน 2554 ปรากฏข่าวว่า หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือตอนล่าง เริ่มปฏิบัติการทำฝนหลวงตั้งแต่เดือนเมษายน ถึง ตุลาคม 2554 โดยปรากฏคำสัมภาษณ์ของหัวหน้าหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือตอนล่าง พิษณุโลก กล่าวเพิ่มเติมว่าการปฏิบัติการฝนหลวงในปีนี้ ทางหน่วยได้เตรียมเครื่องบินเกษตรจำนวน 3 ลำ โดยจะขึ้น ปฏิบัติการทุกวัน เฉลี่ยวันละ 3 เที่ยว เริ่มตั้งแต่เดือนเมษายน ถึงเดือน ตุลาคม 2554 คาดว่าการปฏิบัติการฝนหลวงปีนี้จะมีฝนตกตามเป้าหมาย
และประเด็นการโจมตีก็คือ เหตุใดจึงมีการทำฝนหลวงเหนือเขื่อน ทั้งๆ ที่ปีนี้มีน้ำมากและยังมีพายุเข้ามาหลายลูก !!?
ประเด็นนี้ก็ต้องเข้าใจเป็นเบื้องต้นด้วยว่าการทำงานของสำนักฝนหลวงเองก็ต้องประเมินสภาพภูมิอากาศที่ยังมองไม่เห็นข้างหน้า โอกาสประเมินผิดหรือถูกก็ขึ้นอยู่กับความสามารถในคาดการณ์สภาพอากาศ (ในอนาคตที่ยังไม่มีใครเห็น) ซึ่งมีความผันผวนปรวนแปรทั่วโลก
แต่ในอีกด้านหนึ่งสำนักฝนหลวง ที่ขึ้นอยู่กับสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ก็ต้องพิจารณาการทำฝนหลวงจากคำขอจากประชาชนหรือหน่วยงานราชการที่แสดงความจำนงที่จะขอให้มีการทำฝนเทียมอีกด้วย โดยปรากฏแบบฟอร์มทำฝนหลวงในเว็บไซต์ที่เปิดเผยของสำนักฝนหลวงโดยตรง และต้องทำหนังสือส่งตรงถึง “ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์” ที่จะเป็นผู้มีอำนาจในการสั่งการตามระบบต่อไป
ด้วยเหตุผลนี้จึงมีคำตอบจากข้าราชการที่ประจำศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงท่านหนึ่งชี้แจงว่า:
“เนื่องจากยังมีการร้องขอจากประชาชนในบางพื้นที่ที่ไม่ได้รับน้ำฝนและอยู่ในช่วงพื้นที่การเกษตรต้องการน้ำเร่งด่วน เพราะจะมีผลผลิตที่จะเสียหาย ซึ่งในบางพื้นที่ก็มีอ่างเก็บน้ำไว้สำหรับทำประปาแล้ว แต่น้ำในอ่างไม่เพียงพอต่อการทำการเกษตร ส่วนบางหน่วยที่มีฝนตกในพื้นที่เยอะแล้ว ก็มีการหยุดปฏิบัติการและเฝ้าระวังหรือปิดหน่วย เช่น ปฏิบัติการฝนหลวง จังหวัดเชียงใหม่ และนครสวรรค์ ปิดหน่วยปฏิบัติการไปแล้วตั้งแต่วันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 ส่วนหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงพิษณุโลก หยุดปฏิบัติการตั้งแต่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554”
อย่างน้อยก็แสดงให้เห็นว่า การปฏิบัติการฝนหลวง ไม่ได้ทำตามคำขอจากประชาชนหรือหน่วยงานราชการแต่เพียงอย่างเดียว แต่ก็ยังมีการปรับสภาพตามความเป็นจริง และมีการหยุดปฏิบัติการเมื่อสถานการณ์เปลี่ยนไป ส่วนจะเปลี่ยนช้าหรือเร็ว ก็คงเป็นอีกเรื่องวิจารณญาณในการตัดสินใจ
อย่างไรก็ตามปริมาณฝนหลวงไม่ใช่ปัจจัยหลักในเรื่องการทำให้เกิดวิกฤติน้ำท่วมครั้งนี้
ประเด็นที่สอง เรื่องการกักเก็บน้ำในเขื่อน โดยไม่ทยอยปล่อยน้ำออกมาเพื่อระบายลงทะเล ในสถานการณ์ที่น้ำท่วมแล้ว และมีพายุเข้าแล้ว โดยมีลักษณะแตกต่างจากสถิติน้ำในเขื่อนในรอบ 4 ปี จนมีการสะสมน้ำจนเกือบเต็มเขื่อน แล้วจึงมีการปล่อยน้ำออกมาถึงวันละ 100- 140 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน ก่อให้เกิดมวลน้ำมหาศาลที่เข้าท่วมบ้านเรือน ทลายทำนบกั้นและพนังกั้นน้ำอย่างที่เป็นอยู่ในช่วงที่ผ่านมา
ปริมาณน้ำฝนอาจจคาดเดาได้ยาก แต่ปริมาณน้ำในเขื่อนมีสถิติย้อนหลังที่สามารถสืบค้นได้ การที่พรรคเพื่อไทยกล่าวโทษไปยังพรรคประชาธิปัตย์ว่าสะสมน้ำในเขื่อนมากเกินไปจึงถูกส่วนเดียวเท่านั้น เพราะพรรคประชาธิปัตย์ต้องหมดหน้าที่ลงตั้งแต่ วันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 และน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าให้เป็นนายกรัฐมนตรี และได้นำคณะรัฐมนตรีเข้าเฝ้าเพื่อถวายสัตย์ปฏิญาณตนวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2554 การปล่อยน้ำสะสมมากเกินไปจึงหนีไม่พ้นความรับผิดชอบของรัฐบาลพรรคเพื่อไทยด้วย
หลังจากวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2554 จึงถือเป็นอำนาจเต็มในการสั่งการของรัฐบาลพรรคเพื่อไทย โดยมี พรรคร่วมรัฐบาลอย่าง พรรคชาติไทยพัฒนาได้คุมกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แล้วเหตุใดรัฐบาลพรรคเพื่อไทยไม่ทยอยปล่อยน้ำลงมาตั้งแต่วันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2554 อีกทั้งยังสะสมน้ำในเขื่อนต่อไปจนเกือบเต็มเขื่อนแล้วจึงจำยอมต้องปล่อยน้ำในเขื่อนจำนวนมหาศาลรวดเดียว และกลายเป็นปัญหาน้ำท่วมบ้านเรือนมากมายจำนวนมหาศาลอยู่ในขณะนี้
คำถามคือ รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รู้หรือไม่ว่าน้ำท่วมหนัก จำเป็นต้องเร่งระบายน้ำออก หรือว่ารู้แล้วไม่สนใจ หรือสนใจเรื่องอื่นมากกว่า หรือคิดว่าเป็นเรื่องของพรรคชาติไทยพัฒนา รัฐบาลไม่ก้าวก่าย?
ลองดูตารางเวลาการทำงานของ รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร “ก่อนตัดสินใจ”ปล่อยน้ำในเขื่อนภูมิพลอย่างรวดเร็วในวันที่ 1- 7 ตุลาคม พ.ศ. 2554 ที่มีปริมาณเฉลี่ยวันละ 100 ล้านลูกบาศก์เมตร
14 สิงหาคม พ.ศ. 2554 น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เดินทางตรวจสอบน้ำท่วมที่ จังหวัด สุโขทัย จังหวัดแพร่ จังหวัดน่าน
16 สิงหาคม พ.ศ.2554 มีการประชุมคณะรัฐมนตรีเรื่องการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม มีการคาดการณ์ว่าแม่น้ำเจ้าพระยาจะล้นท่วมภาคกลาง คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ์ รายงานตรงถึงนายกรัฐมนตรี
20 สิงหาคม พ.ศ. 2554 น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นประธานประชุม ศอส. ตั้งวอร์รูม โดยมีศูนย์ช่วยเหลือแบบบริการทุกอย่างจุดเดียว หลังจากฝนตกหนัก ภาคเหนือ ดินถล่ม น้ำท่วมขยายวงกว้าง อ่างทองและอยุธยาน้ำไหลบ่าท่วมทั้ง 2 ฝั่ง ในขณะที่เวลานั้นกรมอุตุนิยมวิทยาได้เตือนว่าฝนจะตกหนักต่อเนื่องที่ภาคเหนือและภาคอีสาน
21 สิงหาคม พ.ศ. 2554 น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ตั้ง “บางระกำโมเดล” แบ่งงาน 2 พี 2 อาร์ ในขณะที่มีฝนตกหนักหลายพื้นที่ต่อเนื่อง ทั้งอ่างทอง ชัยนาท ปราจีน เชียงใหม่ เชียงราย สุโขทัย เพชรบูรณ์ น่าน น้ำท่วม
24 สิงหาคม พ.ศ. 2554 รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แถลงนโยบายต่อที่ประชุมรัฐสภา ในขณะที่น้ำท่วมไปยังอุตรดิตถ์ อยุธยา อ่างทอง น้ำท่วมเพิ่มขึ้น
27 สิงหาคม พ.ศ. 2554 กรมชลประทานเตือน น้ำเหนืออีก 5 วันจะถึงอยุธยา จะทำให้แม่น้ำเจ้าพระยาสูงขึ้น 50 เซนติเมตร ในขณะที่เชียงรายฝนตกหนักเช่นกัน (แต่ก็ยังไม่ปล่อยน้ำออกจากเขื่อนซึ่งสะสมมากขึ้น)
29 สิงหาคม พ.ศ. 2554 น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เดินทางไปที่พิษณุโลกเพื่อตรวจ “บางระกำโมเดล”
30 สิงหาคม พ.ศ. 2554 น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ตรวจ “อุดรโมเดล” โดยจะใช้เป็นต้นแบบแก้น้ำท่วมในขณะที่ ศอส. เตือน 19 จังหวัดจะมีฝนตกหนักทั้งภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้
2 – 3 กันยายน พ.ศ. 2554 เขื่อนเจ้าพระยาปล่อยน้ำ 2,785 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (240 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน) ทำให้อยุธยาและอ่างทองท่วมหนัก ในขณะที่มวลน้ำจากภาคเหนือไหมาถึงที่นครสวรรค์
6 กันยายน พ.ศ. 2554 อ่างเก็บน้ำที่จังหวัดอ่างทองพัง ในขณะที่อยุธยาพื้นที่เกษตรเสียหายหนักและยังคงมีฝนตกหนัก
8 กันยายน พ.ศ. 2554 น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ตรวจเขื่อนเจ้าพระยา และเยี่ยมตรวจน้ำท่วม อ่างทอง อยุธยา ในขณะที่กรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ฝนจะตกหนักอีกวันที่ 9-12 กันยายน พ.ศ. 2554 ในขณะที่น้ำในเขื่อนภูมิพลสูงทยอยสะสมน้ำขึ้นมากที่สุดในรอบ 3 ปี
18 – 30 กันยายน พ.ศ. 2554 น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ภารกิจส่วนใหญ่ก็คือการเยี่ยมในพื้นที่น้ำต่างๆมากกว่าการรับมือทางยุทธศาสตร์
52 วันผ่านไปภายใต้รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ที่ทุกเขื่อนสะสมน้ำโดยไม่ระบายออกสู่ทะเลให้เร็ว จนในที่สุดต้นเดือนตุลาคม พ.ศ. 2554 น้ำจากเขื่อนภูมิพล ต้องถูกปล่อยออกมาท่วมบ้านเรือนโดยเฉลี่ยวันละ 100 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน พร้อมกับอีกหลายเขื่อนที่มีลักษณะเดียวกัน สร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงในทุกพื้นที่จนมวลน้ำมาถึงกรุงเทพมหานครในสัปดาห์นี้
คำถามที่ไม่มีความชัดเจนก็คือเหตุใดเราถึงสะสมน้ำมากขนาดนี้ จะเป็นเพราะต้องการทำนาให้ได้ 4 ครั้งต่อปีหรือไม่? หรือเป็นเพราะว่ามีปัญหาความผิดพลาดในการประเมินสถานการณ์? ยิ่งไปกว่านั้นยังพบว่า ในช่วงแรกที่ปล่อยน้ำออกมาอย่างมากมายนั้นมีการเลือกที่จะระบายน้ำไม่ให้ผ่านแม่น้ำท่าจีน เพื่อไม่ให้สะเทือนพื้นที่นาส่วนใหญ่บางจังหวัดที่อยากปลูกข้าวได้ 4 ครั้งต่อปี อีกใช่หรือไม่?
คำถามต่อการทำงานของกรมชลประทานยังลามไปถึง การไม่เปิดประตูระบายน้ำเต็มที่ และไม่ใช้เครื่องสูบน้ำเต็มที่เพื่อระบายน้ำออกให้เร็วผ่านแม่น้ำบางปะกงและสมุทรปราการ เพราะติดขัดเรื่องมวลชน (การเมือง) อีกใช่หรือไม่ จึงทำให้กรุงเทพตอนเหนือและแม่น้ำเจ้าพระยาต้องแบกรับภาระเกินตัวจนต้องท่วมเข้ามาในกรุงเทพมหานครในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมาหรือไม่
แต่ที่น่าสนใจตรงที่เรื่องใหญ่ขนาดนี้ แต่กลับไม่มีทั้งนักการเมืองฝ่ายค้านหรือรัฐบาลออกมาโววาย ราวกับว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้น ทั้งนี้เพราะนักการเมืองพรรคใหญ่ทั้ง 2 ขั้ว ต่างต้องการรักษาสัมพันธ์อันดีเอาไว้กับพรรคชาติไทยพัฒนาที่จะเป็นพรรคร่วมรัฐบาลกับทุกพรรคได้ตลอดเวลานั่นเอง ใช่หรือไม่ !?