ศูนย์เชียงใหม่ - คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) ออกแถลงการณ์คัดค้านโครงการสร้างแก่งเสือเต้น จังหวัดแพร่ พร้อมร่วมสนับสนุนข้อเรียกร้องของคณะกรรมการกลุ่มราษฎรรักษ์ป่า ต.สะเอียบ อ.สอง จ.แพร่ ที่ไม่ต้องการให้มีเขื่อนแห่งนี้ ระบุ จะร่วมต่อต้านอย่างถึงที่สุด
นายสุริยันต์ ทองหนูเอียด เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย แถลงว่า ตามที่ได้มีสถานการณ์น้ำท่วม สร้างผลกระทบต่อพื้นที่ภาคเหนือและภาคกลางบางจังหวัด จนมีความพยายามสร้างกระแสเรียกร้องให้มีการก่อสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น กั้นแม่น้ำยม ในเขตพื้นที่ อ.สอง จ.แพร่ โดยการฉวยโอกาสของนักการเมือง ข้าราชการบางคนนั้น คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) ซึ่งได้ติดตามสถานการณ์ดังกล่าวมาอย่างใกล้ชิด ขอแถลงท่าทีและข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ดังนี้
1.ครป.เห็นว่า โครงการนี้เป็นความพยายามของนักการเมือง โดยเฉพาะพรรคชาติไทยพัฒนาที่ต้องการประโยชน์จากงบประมาณการก่อสร้างมากกว่าประโยชน์ที่แท้จริงของโครงการ หรือคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น และการมีส่วนร่วมของชุมชนแต่ประการใด ทั้งนี้ เพราะนับจากคณะรัฐมนตรีได้มีมติมอบให้กรมชลประทานเป็นผู้รับผิดชอบโครงการ เมื่อปี 2528 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้แต่งตั้งอนุกรรมการดำเนินการแก้ไขผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้านทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่ามีคณะทำงาน 4 ชุด เพื่อสรุปจัดทำแผนในการแก้ไขผลกระทบ
โดยในเดือนกันยายน 2537 กรมชลประทาน ก็ได้ส่งรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมให้สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมพิจารณา ตามขั้นตอน พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2535 ซึ่งขณะนี้ก็ยังไม่มีผลสรุปที่ชัดเจน แต่พบว่าโครงการนี้มีผลกระทบต่อระบบนิเวศวิทยา ชุมชนและรอยแยกแผ่นดินไหวอย่างรุนแรง
2.เราเห็นว่า การก่อสร้างโครงการใดๆ โดยเฉพาะโครงการนี้ ซึ่งจะมีผลกระทบกับชุมชนและระบบนิเวศอย่างรุนแรง รัฐจะต้องให้ชุมชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ตั้งแต่การเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร การรับฟังความคิดเห็น จนถึงการตัดสินใจและการติดตามประเมินผล ซึ่งกำหนดไว้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญหลายๆ มาตรา
โดยเฉพาะรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 มาตรา 67 ซึ่งบัญญัติว่า “สิทธิของบุคคลที่จะมีส่วนร่วมกับรัฐและชุมชน ในการอนุรักษ์บำรุงรักษาและการได้ประโยชน์ จากทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ และในการคุ้มครอง ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ดำรงชีพอยู่ได้อย่างปกติและต่อเนื่อง ในสิ่งแวดล้อมที่จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัย สวัสดิภาพ หรือคุณภาพชีวิตของตน ย่อมได้รับความคุ้มครองตามความเหมาะสม
การดำเนินโครงการหรือกิจกรรม ที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ จะกระทำมิได้ เว้นแต่จะได้ศึกษาและประเมินผลกระทบ ต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนในชุมชน และจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็น ของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียก่อน อย่างเคร่งครัดและรัฐบาลจะต้องแถลงเป็นนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อรัฐสภาอย่างชัดเจนด้วย
3.เราขอเรียกร้องต่อ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่ได้ประกาศว่าจะบริหารประเทศ เพื่อตอบแทนคุณแผ่นดิน ทำงานอย่างมีเป้าหมายใช้ความเป็นมืออาชีพ “สร้างสุข สลายทุกข์” ให้คนไทยทุกคน ว่า ก่อนที่ท่านจะมีการพิจารณาโครงการนี้ รัฐบาลจะต้องดำเนินการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ผลกระทบต่อสุขภาพ มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นผ่านองค์กรอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพเฉพาะกาล ตามที่ประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา
ท้ายที่สุด ครป.ขอสนับสนุนข้อเรียกร้องของคณะกรรมการกลุ่มราษฎรรักษ์ป่า ต.สะเอียบ อ.สอง จ.แพร่ ที่คัดค้านโครงการก่อสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น และจะร่วมต่อสู้กับพี่น้องชาวบ้านจนกว่าจะได้รับชัยชนะจนถึงที่สุด ด้วยความเชื่อมั่นในระบอบประชาธิปไตยและศรัทธาในพลังของประชาชน
นายสุริยันต์ ทองหนูเอียด เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย แถลงว่า ตามที่ได้มีสถานการณ์น้ำท่วม สร้างผลกระทบต่อพื้นที่ภาคเหนือและภาคกลางบางจังหวัด จนมีความพยายามสร้างกระแสเรียกร้องให้มีการก่อสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น กั้นแม่น้ำยม ในเขตพื้นที่ อ.สอง จ.แพร่ โดยการฉวยโอกาสของนักการเมือง ข้าราชการบางคนนั้น คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) ซึ่งได้ติดตามสถานการณ์ดังกล่าวมาอย่างใกล้ชิด ขอแถลงท่าทีและข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ดังนี้
1.ครป.เห็นว่า โครงการนี้เป็นความพยายามของนักการเมือง โดยเฉพาะพรรคชาติไทยพัฒนาที่ต้องการประโยชน์จากงบประมาณการก่อสร้างมากกว่าประโยชน์ที่แท้จริงของโครงการ หรือคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น และการมีส่วนร่วมของชุมชนแต่ประการใด ทั้งนี้ เพราะนับจากคณะรัฐมนตรีได้มีมติมอบให้กรมชลประทานเป็นผู้รับผิดชอบโครงการ เมื่อปี 2528 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้แต่งตั้งอนุกรรมการดำเนินการแก้ไขผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้านทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่ามีคณะทำงาน 4 ชุด เพื่อสรุปจัดทำแผนในการแก้ไขผลกระทบ
โดยในเดือนกันยายน 2537 กรมชลประทาน ก็ได้ส่งรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมให้สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมพิจารณา ตามขั้นตอน พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2535 ซึ่งขณะนี้ก็ยังไม่มีผลสรุปที่ชัดเจน แต่พบว่าโครงการนี้มีผลกระทบต่อระบบนิเวศวิทยา ชุมชนและรอยแยกแผ่นดินไหวอย่างรุนแรง
2.เราเห็นว่า การก่อสร้างโครงการใดๆ โดยเฉพาะโครงการนี้ ซึ่งจะมีผลกระทบกับชุมชนและระบบนิเวศอย่างรุนแรง รัฐจะต้องให้ชุมชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ตั้งแต่การเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร การรับฟังความคิดเห็น จนถึงการตัดสินใจและการติดตามประเมินผล ซึ่งกำหนดไว้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญหลายๆ มาตรา
โดยเฉพาะรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 มาตรา 67 ซึ่งบัญญัติว่า “สิทธิของบุคคลที่จะมีส่วนร่วมกับรัฐและชุมชน ในการอนุรักษ์บำรุงรักษาและการได้ประโยชน์ จากทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ และในการคุ้มครอง ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ดำรงชีพอยู่ได้อย่างปกติและต่อเนื่อง ในสิ่งแวดล้อมที่จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัย สวัสดิภาพ หรือคุณภาพชีวิตของตน ย่อมได้รับความคุ้มครองตามความเหมาะสม
การดำเนินโครงการหรือกิจกรรม ที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ จะกระทำมิได้ เว้นแต่จะได้ศึกษาและประเมินผลกระทบ ต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนในชุมชน และจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็น ของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียก่อน อย่างเคร่งครัดและรัฐบาลจะต้องแถลงเป็นนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อรัฐสภาอย่างชัดเจนด้วย
3.เราขอเรียกร้องต่อ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่ได้ประกาศว่าจะบริหารประเทศ เพื่อตอบแทนคุณแผ่นดิน ทำงานอย่างมีเป้าหมายใช้ความเป็นมืออาชีพ “สร้างสุข สลายทุกข์” ให้คนไทยทุกคน ว่า ก่อนที่ท่านจะมีการพิจารณาโครงการนี้ รัฐบาลจะต้องดำเนินการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ผลกระทบต่อสุขภาพ มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นผ่านองค์กรอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพเฉพาะกาล ตามที่ประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา
ท้ายที่สุด ครป.ขอสนับสนุนข้อเรียกร้องของคณะกรรมการกลุ่มราษฎรรักษ์ป่า ต.สะเอียบ อ.สอง จ.แพร่ ที่คัดค้านโครงการก่อสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น และจะร่วมต่อสู้กับพี่น้องชาวบ้านจนกว่าจะได้รับชัยชนะจนถึงที่สุด ด้วยความเชื่อมั่นในระบอบประชาธิปไตยและศรัทธาในพลังของประชาชน