เมื่อเวลา 09.30 น.วานนี้ (27 ต.ค.) ที่กระทรวงกลาโหม พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รมว.กลาโหม เป็นประธานในการประชุมสภากลาโหม โดยมีผบ.เหล่าทัพเข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียง เพื่อเตรียมความพร้อมและแผนการป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพฯ โดยใช้เวลาในการหารือประมาณ 1 ชั่วโมง
จากนั้น พ.อ.ธนาธิป สว่างแสง โฆษกกระทรวงกลาโหม แถลงว่า รมว.กลาโหม ได้หารือกับ ผบ.เหล่าทัพ เกี่ยวกับแนวทางการเตรียมความพร้อมของกระทรวงกลาโหม ในการรับผิดชอบสภาวะช่วงวิกฤติ 4-5วัน ที่จะถึงนี้ โดยที่ประชุมกำหนดจัดทำแผนในการดูแลป้องกันสถานที่สำคัญ ช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ กทม. และปริมณฑล ซึ่งแผนดังกล่าวนี้จัดทำตามมติ ครม.ที่ 22/54 ลงวันที่ 24 ต.ค.ที่ผ่านมา โดยกระทรวงกลาโหมจัดทำแผนนี้ขึ้นมาเพื่อความเป็นเอกภาพในการสั่งการของกระทรวงกลาโหม และหน่วยขึ้นตรงของกระทรวงกลาโหม
ทั้งนี้ ได้กำหนดไว้ 4 ขั้นตอน คือ 1. การป้องกัน โดยใช้คนทั้งหมดประมาณ 5 หมื่นคน รถ 1 พันกว่าคัน เรือ 1 พันกว่าลำ ดูแลประชาชน โดยประสานงานกับกทม. และกระทรวงมหาดไทย ในพื้นที่จังหวัดต่างๆ นอกจากนี้ต้องพยายามทำทุกทาง เพื่อไม่ให้น้ำเข้ามาในพื้นที่ที่จะต้องดูแล
ขั้น ที่ 2. การดำรงสภาพ หากน้ำเข้ามา และเราจะต้องสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ในพื้นที่ที่กำหนด โดยจะมุ่งเน้นเรื่อง ระบบประปา ไฟฟ้า การจราจร และ การติดต่อสื่อสาร โดยจะมีเจ้าหน้าที่ประสานงานกับ กทม. และตำรวจในพื้นที่
ขั้นที่ 3. อพยพประชาชน ซึ่งกระทรวงกลาโหม เป็นหน่วยงานสนับสนุน โดยต้องฟังคำสั่งจาก นายปลอดประสพ สุรัสวดี รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่จะเป็นหน่วยงานหลัก ซึ่งกระทรวงกลาโหม เตรียมความพร้อมอพยพประชาชน โดยจัดเตรียมคน เรือ ยานพาหนะ อุปกรณ์ในการช่วยเหลือประชาชน หากน้ำเข้ามาในพื้นที่อย่างรวดเร็ว และได้มีการกำหนดให้ประสานงานกับกทม. 23 เขต ที่ได้มีเตรียมการไว้แล้ว โดยมีโรงเรียน 100 กว่าแห่ง รองรับประชาชนได้กว่าหมื่นคน
ทั้งนี้ พื้นที่เสี่ยงภัยมี 4 เขต คือ เขตดอนเมือง จัดเตรียมไว้ 6 โรงเรียน เขตสายไหม เตรียมไว้ 14 โรงเรียน เขตบางพลัด มี 11 โรงเรียน เขตทวีวัฒนา 2 โรงเรียน ในส่วนของ 23 เขต เรามีผู้บังคับหน่วยที่สามารถติดต่อได้โดยตรงกับ กทม. และกระทรวงมหาดไทย ในทุกพื้นที่ ขั้นที่ 4. คือการฟื้นฟู หากสถานการณ์กลับเข้าสู่สภาวะปกติ ก็จะมีการขนย้ายประชาชนกลับเข้าที่ตั้งปกติ โดยมอบหมายให้กองบัญชาการกองทัพไทย เป็นหน่วยงานหลัก ในการดำเนินการร่วมกับ กทม. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
พ.อ.ธนาธิป กล่าวว่า หลังจากแผนดังกล่าวผ่านที่ประชุมสภากลาโหม จะส่งนำเรียนนายกรัฐมนตรี ให้รับทราบ เพื่อจะได้มีการประสานงานได้อย่างทันท่วงที สำหรับแผนดังกล่าวต้องมีการบูรณาการ และสิ่งที่สำคัญคือ การช่วยเหลือประชาชนออกมาจากที่เสี่ยงภัย นอกจากนี้ยังมีทหารในพื้นที่ และเฝ้าสังเกตพร้อมจัดเตรียมการเสริมพนังกั้น น้ำเท่าที่ทราบยังสามารถปฏิบัติงานได้ ยกเว้น เขตบางพลัด ซ.จรัญสนิทวงศ์ 80 ทำได้ยากลำบากเพราะพื้นที่จมน้ำไปแล้ว แต่ยังมีเจ้าหน้าที่ดูแลอยู่
ส่วนบริเวณตั้งแต่คลอง 1 ถึงคลอง 6 มีกองทัพบกดูแล ดอนเมืองมีทหารอากาศดูแล ส่วนคลองทวีวัฒนา มีกองทัพเรือที่จะประสานงานกับผู้ว่าฯนครปฐม ทำพนังกั้นน้ำ ซึ่งขณะนี้ยังดูแลป้องกันในขั้นที่ 1 ได้ มีเฉพาะบางเขตที่ผู้ว่าฯกทม.ได้สั่งการให้เตรียมการอพยพ เช่น เขตลาดพร้าว บางพลัด
พ.อ.ธนาธิป กล่าวด้วยว่า การดูแลพื้นที่กทม. เราใช้กองทัพภาคที่ 1 เป็นหลัก เสริมด้วยกองทัพเรือ ที่ดูแล รพ.ศิริราช และทวีวัฒนา ส่วนอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพอากาศ ทางผบ.ทอ.ได้รายงานว่า สถานการณ์ในพื้นที่ดอนเมือง มีน้ำเข้ามาด้านทิศใต้ แต่ได้เตรียมอพยพออกไปแล้วเมื่อสองสัปดาห์ที่ผ่านมา
ส่วนกองทัพบก ได้เตรียมยกอาวุธยุทโธปกรณ์ขึ้นพื้นที่สูง ส่วนการป้องกันรถถัง ได้มีการก่อกระสอบทราบป้องกันไว้สูงมาก ที่กองพันทหารม้า ที่ 4 รักษาพระองค์ ( ม.พัน 4 รอ. ) ที่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา ส่วนที่กองพลทหารม้าที่ 2 รักษา พระองค์ ( พล.ม. 2 รอ.) มีการก่อกระสอบทราย และเตรียมเครื่องสูบน้ำไว้ด้วย ซึ่งปัจจุบันในพื้นที่จุดเสี่ยง เราใช้กำลังเกือบหมื่นคนในการดูแล โดยที่ผ่านมา เราได้ใช้ทหารจากกองทัพภาคที่ 2 , 3 และ 4 พร้อมดูสถานการณ์อีก 2-3 วันว่า น้ำทะเลจะหนุนมาก หากมีความจำเป็น เราก็พร้อมใช้ทหารกองหนุน ที่ยังไม่ได้ทำอะไรมาช่วยอพยพ ประชาชน
จากนั้น พ.อ.ธนาธิป สว่างแสง โฆษกกระทรวงกลาโหม แถลงว่า รมว.กลาโหม ได้หารือกับ ผบ.เหล่าทัพ เกี่ยวกับแนวทางการเตรียมความพร้อมของกระทรวงกลาโหม ในการรับผิดชอบสภาวะช่วงวิกฤติ 4-5วัน ที่จะถึงนี้ โดยที่ประชุมกำหนดจัดทำแผนในการดูแลป้องกันสถานที่สำคัญ ช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ กทม. และปริมณฑล ซึ่งแผนดังกล่าวนี้จัดทำตามมติ ครม.ที่ 22/54 ลงวันที่ 24 ต.ค.ที่ผ่านมา โดยกระทรวงกลาโหมจัดทำแผนนี้ขึ้นมาเพื่อความเป็นเอกภาพในการสั่งการของกระทรวงกลาโหม และหน่วยขึ้นตรงของกระทรวงกลาโหม
ทั้งนี้ ได้กำหนดไว้ 4 ขั้นตอน คือ 1. การป้องกัน โดยใช้คนทั้งหมดประมาณ 5 หมื่นคน รถ 1 พันกว่าคัน เรือ 1 พันกว่าลำ ดูแลประชาชน โดยประสานงานกับกทม. และกระทรวงมหาดไทย ในพื้นที่จังหวัดต่างๆ นอกจากนี้ต้องพยายามทำทุกทาง เพื่อไม่ให้น้ำเข้ามาในพื้นที่ที่จะต้องดูแล
ขั้น ที่ 2. การดำรงสภาพ หากน้ำเข้ามา และเราจะต้องสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ในพื้นที่ที่กำหนด โดยจะมุ่งเน้นเรื่อง ระบบประปา ไฟฟ้า การจราจร และ การติดต่อสื่อสาร โดยจะมีเจ้าหน้าที่ประสานงานกับ กทม. และตำรวจในพื้นที่
ขั้นที่ 3. อพยพประชาชน ซึ่งกระทรวงกลาโหม เป็นหน่วยงานสนับสนุน โดยต้องฟังคำสั่งจาก นายปลอดประสพ สุรัสวดี รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่จะเป็นหน่วยงานหลัก ซึ่งกระทรวงกลาโหม เตรียมความพร้อมอพยพประชาชน โดยจัดเตรียมคน เรือ ยานพาหนะ อุปกรณ์ในการช่วยเหลือประชาชน หากน้ำเข้ามาในพื้นที่อย่างรวดเร็ว และได้มีการกำหนดให้ประสานงานกับกทม. 23 เขต ที่ได้มีเตรียมการไว้แล้ว โดยมีโรงเรียน 100 กว่าแห่ง รองรับประชาชนได้กว่าหมื่นคน
ทั้งนี้ พื้นที่เสี่ยงภัยมี 4 เขต คือ เขตดอนเมือง จัดเตรียมไว้ 6 โรงเรียน เขตสายไหม เตรียมไว้ 14 โรงเรียน เขตบางพลัด มี 11 โรงเรียน เขตทวีวัฒนา 2 โรงเรียน ในส่วนของ 23 เขต เรามีผู้บังคับหน่วยที่สามารถติดต่อได้โดยตรงกับ กทม. และกระทรวงมหาดไทย ในทุกพื้นที่ ขั้นที่ 4. คือการฟื้นฟู หากสถานการณ์กลับเข้าสู่สภาวะปกติ ก็จะมีการขนย้ายประชาชนกลับเข้าที่ตั้งปกติ โดยมอบหมายให้กองบัญชาการกองทัพไทย เป็นหน่วยงานหลัก ในการดำเนินการร่วมกับ กทม. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
พ.อ.ธนาธิป กล่าวว่า หลังจากแผนดังกล่าวผ่านที่ประชุมสภากลาโหม จะส่งนำเรียนนายกรัฐมนตรี ให้รับทราบ เพื่อจะได้มีการประสานงานได้อย่างทันท่วงที สำหรับแผนดังกล่าวต้องมีการบูรณาการ และสิ่งที่สำคัญคือ การช่วยเหลือประชาชนออกมาจากที่เสี่ยงภัย นอกจากนี้ยังมีทหารในพื้นที่ และเฝ้าสังเกตพร้อมจัดเตรียมการเสริมพนังกั้น น้ำเท่าที่ทราบยังสามารถปฏิบัติงานได้ ยกเว้น เขตบางพลัด ซ.จรัญสนิทวงศ์ 80 ทำได้ยากลำบากเพราะพื้นที่จมน้ำไปแล้ว แต่ยังมีเจ้าหน้าที่ดูแลอยู่
ส่วนบริเวณตั้งแต่คลอง 1 ถึงคลอง 6 มีกองทัพบกดูแล ดอนเมืองมีทหารอากาศดูแล ส่วนคลองทวีวัฒนา มีกองทัพเรือที่จะประสานงานกับผู้ว่าฯนครปฐม ทำพนังกั้นน้ำ ซึ่งขณะนี้ยังดูแลป้องกันในขั้นที่ 1 ได้ มีเฉพาะบางเขตที่ผู้ว่าฯกทม.ได้สั่งการให้เตรียมการอพยพ เช่น เขตลาดพร้าว บางพลัด
พ.อ.ธนาธิป กล่าวด้วยว่า การดูแลพื้นที่กทม. เราใช้กองทัพภาคที่ 1 เป็นหลัก เสริมด้วยกองทัพเรือ ที่ดูแล รพ.ศิริราช และทวีวัฒนา ส่วนอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพอากาศ ทางผบ.ทอ.ได้รายงานว่า สถานการณ์ในพื้นที่ดอนเมือง มีน้ำเข้ามาด้านทิศใต้ แต่ได้เตรียมอพยพออกไปแล้วเมื่อสองสัปดาห์ที่ผ่านมา
ส่วนกองทัพบก ได้เตรียมยกอาวุธยุทโธปกรณ์ขึ้นพื้นที่สูง ส่วนการป้องกันรถถัง ได้มีการก่อกระสอบทราบป้องกันไว้สูงมาก ที่กองพันทหารม้า ที่ 4 รักษาพระองค์ ( ม.พัน 4 รอ. ) ที่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา ส่วนที่กองพลทหารม้าที่ 2 รักษา พระองค์ ( พล.ม. 2 รอ.) มีการก่อกระสอบทราย และเตรียมเครื่องสูบน้ำไว้ด้วย ซึ่งปัจจุบันในพื้นที่จุดเสี่ยง เราใช้กำลังเกือบหมื่นคนในการดูแล โดยที่ผ่านมา เราได้ใช้ทหารจากกองทัพภาคที่ 2 , 3 และ 4 พร้อมดูสถานการณ์อีก 2-3 วันว่า น้ำทะเลจะหนุนมาก หากมีความจำเป็น เราก็พร้อมใช้ทหารกองหนุน ที่ยังไม่ได้ทำอะไรมาช่วยอพยพ ประชาชน