ASTVผู้จัดการรายวัน-“พาณิชย์”แก้ปัญหาสินค้าขาดแคลน นำเข้า 3 กลุ่มเร่งด่วน อาหารและเครื่องดื่ม ของใช้ส่วนตัว และสินค้าเกี่ยวกับน้ำท่วม ขอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอำนวยความสะดวก คาดนำเข้าได้สัปดาห์หน้า เล็งขอใช้พื้นที่สุวรรณภูมิเป็นจุดกระจายสินค้า ครม.เห็นชอบเพิ่มบัญชีสินค้าควบคุมอีก 16 รายการ เน้นสินค้าจำเป็นช่วงน้ำท่วม ด้าน"บิ๊กซี"พร้อมนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศเอง ส่วนแม็คโครยันเปิดทุกสาขาต่อไป
นายยรรยง พวงราช ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการหารือร่วมกับตัวแทนของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กรมศุลกากร กรมสรรพสามิต องค์การคลังสินค้า (อคส.) และสมาคมผู้ค้าปลีกไทย วานนี้ (25 ต.ค.) ว่า ได้กำหนดที่จะนำเข้าสินค้า 3 กลุ่ม เพื่อแก้ไขปัญหาสินค้าขาดแคลนในพื้นที่ต่างๆ ช่วงสถานการณ์น้ำท่วม ได้แก่ กลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม เช่น น้ำดื่ม ปลากระป๋อง ไข่ นมข้นหวาน นมถั่วเหลือง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ผักสด กลุ่มของใช้ส่วนตัว เช่น ผ้าอนามัย กระดาษทิชชู สบู่ ยาสีฟัน แปรงสีฟัน และกลุ่มของใช้เกี่ยวกับน้ำท่วม เช่น เครื่องกรองน้ำ และตู้กดน้ำ เป็นต้น
ทั้งนี้ แนวทางการนำเข้าได้ขอความร่วมมือให้อย. เร่งรัดการออกใบอนุญาตเกี่ยวกับสินค้าอาหารและเครื่องดื่มรวดเร็วขึ้น จากเดิมต้องใช้ระยะเวลา 35 วัน เหลือไม่เกิน 5 วัน รวมทั้งขอกรมปศุสัตว์ กรมวิชาการเกษตร และหน่วยงานของกระทรวงการคลัง อำนวยความสะดวกเรื่องใบอนญาตการนำเข้าเกี่ยวกับภาษีและอากรต่างๆ ให้รวดเร็วขึ้น คาดว่าจะเริ่มนำเข้าสินค้าเหล่านี้ได้ภายในสัปดาห์หน้า และยืนยันว่า เรื่องราคาสินค้าที่นำเข้า จะเป็นราคาตลาด ไม่ได้มีการปรับขึ้นราคาแต่อย่างใด เพราะต้นทุนการนำเข้าสินค้าเหล่านี้ ได้รับการยกเว้นภาษีภายใต้กรอบเขตการค้าเสรีอาเซียน (อาฟตา) อยู่แล้ว
"แม้จะมีการเร่งรัดขั้นตอนใบอนญาตให้รวดเร็วขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าอาหารและเครื่องดื่ม แต่จะไม่มีผลเสียในเรื่องมาตรฐานสินค้า ยืนยันว่าสินค้าที่นำเข้าจะยังคงปลอดภัยและมีมาตรการเดียวกันหมด เพราะผู้นำเข้าสินค้าเหล่านี้ ส่วนใหญ่เป็นผู้ผลิตสินค้าอยู่แล้ว แต่ในภาวะน้ำท่วม ทำให้โรงงานบางส่วนต้องหยุดการผลิตเพื่อป้องกันน้ำท่วม และผู้นำเข้าบางส่วนที่อาจติดขัดศูนย์กระจายสินค้าถูกน้ำท่วม ทำให้มีสินค้าป้อนตลาดไม่ทัน กลุ่มเหล่านี้จะเป็นผู้นำเข้าสินค้าเข้ามา ซึ่งอาจเป็นโรงงานผลิตสินค้าที่ขยายสาขาไปตั้งยังต่างประเทศ และผู้นำเข้าเดิมที่นำเข้าสินค้าในตลาดเหล่านี้เป็นปกติอยู่แล้ว เพียงแต่นำเข้ามาในจำนวนมากขึ้น โดยแหล่งนำเข้าสินค้าส่วนใหญ่จะอยู่ในอาเซียนเป็นหลัก"นายยรรยงกล่าว
นายยรรยงกล่าวว่า ยังได้สั่งการให้อคส.เร่งผลิตข้าวถุงธงฟ้าตามมติของคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) ออกมาจำหน่ายภายในตลาดโดยเร็ว เพราะในตลาดขณะนี้มีแต่ข้าวคุณภาพสูง เช่น ข้าวหอมมะลิ วางจำหน่ายเป็นส่วนใหญ่เท่านั้น ดังนั้นจึงต้องเร่งผลิตข้าวขาว 5% ออกมาจำหน่ายให้กับประชาชนในระดับราคารองลงมาอย่างเร่งด่วน
ด้านการแก้ไขปัญหาศูนย์กระจายสินค้าที่ถูกน้ำท่วม ทำให้ไม่สามารถขนส่งไปยังพื้นที่ต่างๆ ได้นั้น นอกจากศูนย์กระจายสินค้าพิเศษที่ใช้พื้นที่คลังสินค้าของสนามบินดอนเมือง แก้ไขปัญหาให้กับห้างค้าปลีกต่างๆ ไปแล้ว ล่าสุดจะเสนอให้มีการเพิ่มจุดศูนย์กระจายสินค้า โดยจะเจรจากับกระทรวงคมนาคมเพื่อขอใช้พื้นที่เขตปลอดภาษี (ฟรีโซน) ของสนามบินสุวรรณภูมิ รวมทั้งพื้นที่ของกองทัพอากาศ คลังสินค้าของอคส. และศาลากลางจังหวัด เพื่อเป็นศูนย์กลางในการกระจายสินค้าไปยังพื้นที่ต่างๆ ให้เร็วที่สุด
"มาตรการเหล่านี้ เชื่อว่าจะแก้ไขปัญหาสินค้าขาดแคลนได้ เพราะยอมรับว่าแม้จะเร่งให้ผู้ประกอบการผลิตสินค้าเต็มกำลังที่มีอยู่แล้ว แต่ด้วยภาวะที่ไม่ปกติ คือ มีประชาชนซื้อสินค้าจำนวนมากขึ้นหลายเท่า ประกอบกับโรงงานผู้ผลิตสินค้าที่ได้รับผลกระทบน้ำท่วม ดังนั้น จึงต้องนำเข้าสินค้าแก้ไขปัญหาอีกระยะหนึ่ง จนกว่าสถานการณ์น้ำท่วมจะคลี่คลาย เพราะกว่าที่โรงงานที่ได้รับผลกระทบจะตั้งสายการผลิตเหมือนเดิมต้องใช้ระยะเวลา"นายยรรยงกล่าว
นายยรรยงกล่าวอีกว่า ที่ประชุมคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินและบริการ (กกร.) ได้อนุมัติรายการสินค้าควบคุมเพิ่มเติมอีก 16 รายการ ได้แก่ น้ำดื่ม กระดาษชำระ กระดาษเช็ดหน้า ไฟฉาย ถ่านไฟฉาย ยาสีฟัน แปรงสีฟัน ทราย ทรายบรรจุถุง อิฐบล็อก เสื้อชูชีพ เรือพลาสติกขนาดเล็ก รองเท้าบู๊ตยาง เครื่องนอน ถังน้ำ เครื่องสูบน้ำ ผลิตภัณฑ์ยาป้องกันน้ำกัดเท้า และเทียนไข เพิ่มเติมจากรายการสินค้าและบริการควบคุมที่มีอยู่เดิม 41 รายการ รวมเป็น 57 รายการ เพื่อใช้มาตรการกฎหมายในการเข้าไปกำกับดูแลสินค้าจำเป็นที่เกี่ยวข้องกับภาวะน้ำท่วม ป้องกันการฉวยโอกาสปรับขึ้นราคาและกักตุน โดยรายการสินค้าเหล่านี้ คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้พิจารณาเห็นชอบแล้ว
นายฉัตรชัย ตวงรัตนพันธ์ ที่ปรึกษาสมาคมผู้ค้าปลีกไทย กล่าวว่า ขณะนี้มีสินค้าทั่วไปที่หายไปจากระบบตลาดปกติประมาณ 40% เนื่องจากผลกระทบของน้ำท่วม เช่น คลังสินค้าถูกน้ำท่วม ซึ่งมีประมาณ 1,200 ตู้คอนเทนเนอร์ มูลค่ากว่า 600 ล้านบาท ประกอบกับประชาชนเร่งซื้อสินค้าเพื่อใช้ในช่วงน้ำท่วม ยิ่งทำให้สินค้ามีไม่เพียงพอต่อการจำหน่ายให้กับประชาชน เชื่อว่ามาตรการนำเข้าและเพิ่มจุดกระจายสินค้าจะช่วยบรรเทาผลกระทบสินค้าได้ในระดับหนึ่ง
นายกุฎาธาร นาควิโรจน์ ผู้อำนวยการฝ่ายองค์กรสัมพันธ์ บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารเครือข่ายค้าปลีกบิ๊กซี กล่าวว่า ได้ยื่นเรื่องไปทางหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น องค์การอาหารและยา (อย.) รวมทั้งขั้นตอนต่างๆ จากศุลกากร เพื่อขออนุญาตนำเข้าสินค้าจำเป็นตามที่รัฐบาลได้อนุมัติมา เพื่อความสะดวกในการนำเข้าสินค้าให้รวดเร็วขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการผู้บริโภคในขณะนี้ โดยรับประกันคุณภาพและราคาสินค้าที่ไม่แตกต่างกันมากนัก เมื่อเทียบกับสินค้าอุปโภคบริโภคแบรนด์เนมทั่วไปที่ทำตลาดในไทย
ทั้งนี้ บิ๊กซีได้เตรียมแผนนำเข้าสินค้าจำเป็นรายการต่างๆ เช่น น้ำดื่ม, ปลากระป๋อง,ไข่ไก่ จากผู้ผลิตในต่างประเทศ โดยกลุ่มน้ำดื่ม ได้เจรจากับผู้ผลิตน้ำดื่มแบรนด์ “ซีมาสเตอร์” จากประเทศมาเลเซีย ส่วนอาหารกระป๋องมีแผนนำเข้าจากประเทศเวียดนาม เป็นต้น
ส่วนการใช้ศูนย์กระจายสินค้า (ดีซี) ของบริษัทที่ดอนเมือง ได้เริ่มเข้าไปวางระบบพร้อมดำเนินการ ตั้งแต่วันที่ 23 ต.ค.ที่ผ่านมา และพร้อมใช้ดีซีสำรอง อีก 5 แห่งเป็นการชั่วคราว เช่น สำโรง, สุวินทวงศ์ และสุวรรณภูมิ เป็นต้น เพื่อให้เป็นศูนย์กลางกระจายสินค้าไปสาขาต่างๆ ของบิ๊กซี จากปัจจุบันดีซีที่โรงงานนวนครของบิ๊กซีได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมหนักในช่วงที่ผ่านมา และหากสนามบินดอนเมืองเกิดปัญหาน้ำท่วม บิ๊กซีและผู้ประกอบการค้าปลีกรายอื่นๆ ได้เสนอให้ภาครัฐพิจารณาการใช้สนามบินราชการในทำเลอื่นๆ เพื่อรองรับการกระจายสินค้าไปยังภูมิภาค ได้แก่ สุวรรณภูมิ, ตาคลี, สัตหีบ, นครราชสีมา หรือพิษณุโลก เป็นต้น
ด้านนางสาวปริยานุช ณ ตะกั่วทุ่ง ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า แม็คโครยังเปิดให้บริการทุกสาขา ถึงแม้บางสาขาจะอยู่ในพื้นที่ที่น้ำท่วมโดยรอบ แต่ยังสามารถเปิดให้บริการได้ โดยสินค้าที่มีความต้องการมากที่สุดในภาวะน้ำท่วม ได้แก่ น้ำดื่ม ปลากระป๋อง บะหมี่สำเร็จรูป ข้าวสาร ไข่ไก่ ไฟฉาย ถ่านไฟฉาย ถุงขยะ กระดาษชำระ ยากันยุง เครื่องกรองน้ำ และผ้าใบคลุมรถ โดยยอมรับว่าบางรายการสินค้าขาดสต๊อก ซึ่งมีสาเหตุมาจาก 3 ปัจจัยหลัก ปัญหาด้านการขนส่งสินค้าที่ทำได้ล่าช้า เพราะเส้นทางการคมนาคมไปจังหวัดต่างๆ ไม่สะดวก ความต้องการที่สูงกว่าภาวะปกติ เช่น บะหมี่สำเร็จรูป ปลากระป๋อง ข้าวสาร ไข่ไก่ ไฟฉาย และสินค้าบางรายการ ผู้ผลิตหลายรายไม่สามารถผลิตได้ เพราะโรงงานอยู่ในพื้นที่ที่ประสบภัยน้ำท่วมต้องหยุดการผลิต เช่น น้ำดื่ม หรือบางอุตสาหกรรมมีปัญหาไม่สามารถเพิ่มการผลิตได้
“ช่วงนี้ แม็คโครได้ประสานงานอย่างใกล้ชิดกับผู้ผลิตและซัปพลายเออร์ ให้จัดส่งสินค้ามาที่แม็คโครแต่ละสาขาโดยตรง รวมทั้งจัดหาสินค้าจากผู้ผลิตท้องถิ่นมาจำหน่ายเพิ่มเติม โดยแม็คโครมีศูนย์กระจายสินค้าชั่วคราว ที่จ.ชลบุรี และอ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา เพื่อจัดสรรสินค้าตามความต้องการของพื้นที่ให้เหมาะสม ซึ่งเน้นกระจายสินค้าที่จำเป็นไปที่สาขาที่อยู่ในพื้นที่ประสบภัยก่อน เช่น อยุธยา นครสวรรค์ และลพบุรี รวมถึงสาขาในกรุงเทพฯ ด้วย”นางสาวปริยานุชกล่าว
นายยรรยง พวงราช ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการหารือร่วมกับตัวแทนของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กรมศุลกากร กรมสรรพสามิต องค์การคลังสินค้า (อคส.) และสมาคมผู้ค้าปลีกไทย วานนี้ (25 ต.ค.) ว่า ได้กำหนดที่จะนำเข้าสินค้า 3 กลุ่ม เพื่อแก้ไขปัญหาสินค้าขาดแคลนในพื้นที่ต่างๆ ช่วงสถานการณ์น้ำท่วม ได้แก่ กลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม เช่น น้ำดื่ม ปลากระป๋อง ไข่ นมข้นหวาน นมถั่วเหลือง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ผักสด กลุ่มของใช้ส่วนตัว เช่น ผ้าอนามัย กระดาษทิชชู สบู่ ยาสีฟัน แปรงสีฟัน และกลุ่มของใช้เกี่ยวกับน้ำท่วม เช่น เครื่องกรองน้ำ และตู้กดน้ำ เป็นต้น
ทั้งนี้ แนวทางการนำเข้าได้ขอความร่วมมือให้อย. เร่งรัดการออกใบอนุญาตเกี่ยวกับสินค้าอาหารและเครื่องดื่มรวดเร็วขึ้น จากเดิมต้องใช้ระยะเวลา 35 วัน เหลือไม่เกิน 5 วัน รวมทั้งขอกรมปศุสัตว์ กรมวิชาการเกษตร และหน่วยงานของกระทรวงการคลัง อำนวยความสะดวกเรื่องใบอนญาตการนำเข้าเกี่ยวกับภาษีและอากรต่างๆ ให้รวดเร็วขึ้น คาดว่าจะเริ่มนำเข้าสินค้าเหล่านี้ได้ภายในสัปดาห์หน้า และยืนยันว่า เรื่องราคาสินค้าที่นำเข้า จะเป็นราคาตลาด ไม่ได้มีการปรับขึ้นราคาแต่อย่างใด เพราะต้นทุนการนำเข้าสินค้าเหล่านี้ ได้รับการยกเว้นภาษีภายใต้กรอบเขตการค้าเสรีอาเซียน (อาฟตา) อยู่แล้ว
"แม้จะมีการเร่งรัดขั้นตอนใบอนญาตให้รวดเร็วขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าอาหารและเครื่องดื่ม แต่จะไม่มีผลเสียในเรื่องมาตรฐานสินค้า ยืนยันว่าสินค้าที่นำเข้าจะยังคงปลอดภัยและมีมาตรการเดียวกันหมด เพราะผู้นำเข้าสินค้าเหล่านี้ ส่วนใหญ่เป็นผู้ผลิตสินค้าอยู่แล้ว แต่ในภาวะน้ำท่วม ทำให้โรงงานบางส่วนต้องหยุดการผลิตเพื่อป้องกันน้ำท่วม และผู้นำเข้าบางส่วนที่อาจติดขัดศูนย์กระจายสินค้าถูกน้ำท่วม ทำให้มีสินค้าป้อนตลาดไม่ทัน กลุ่มเหล่านี้จะเป็นผู้นำเข้าสินค้าเข้ามา ซึ่งอาจเป็นโรงงานผลิตสินค้าที่ขยายสาขาไปตั้งยังต่างประเทศ และผู้นำเข้าเดิมที่นำเข้าสินค้าในตลาดเหล่านี้เป็นปกติอยู่แล้ว เพียงแต่นำเข้ามาในจำนวนมากขึ้น โดยแหล่งนำเข้าสินค้าส่วนใหญ่จะอยู่ในอาเซียนเป็นหลัก"นายยรรยงกล่าว
นายยรรยงกล่าวว่า ยังได้สั่งการให้อคส.เร่งผลิตข้าวถุงธงฟ้าตามมติของคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) ออกมาจำหน่ายภายในตลาดโดยเร็ว เพราะในตลาดขณะนี้มีแต่ข้าวคุณภาพสูง เช่น ข้าวหอมมะลิ วางจำหน่ายเป็นส่วนใหญ่เท่านั้น ดังนั้นจึงต้องเร่งผลิตข้าวขาว 5% ออกมาจำหน่ายให้กับประชาชนในระดับราคารองลงมาอย่างเร่งด่วน
ด้านการแก้ไขปัญหาศูนย์กระจายสินค้าที่ถูกน้ำท่วม ทำให้ไม่สามารถขนส่งไปยังพื้นที่ต่างๆ ได้นั้น นอกจากศูนย์กระจายสินค้าพิเศษที่ใช้พื้นที่คลังสินค้าของสนามบินดอนเมือง แก้ไขปัญหาให้กับห้างค้าปลีกต่างๆ ไปแล้ว ล่าสุดจะเสนอให้มีการเพิ่มจุดศูนย์กระจายสินค้า โดยจะเจรจากับกระทรวงคมนาคมเพื่อขอใช้พื้นที่เขตปลอดภาษี (ฟรีโซน) ของสนามบินสุวรรณภูมิ รวมทั้งพื้นที่ของกองทัพอากาศ คลังสินค้าของอคส. และศาลากลางจังหวัด เพื่อเป็นศูนย์กลางในการกระจายสินค้าไปยังพื้นที่ต่างๆ ให้เร็วที่สุด
"มาตรการเหล่านี้ เชื่อว่าจะแก้ไขปัญหาสินค้าขาดแคลนได้ เพราะยอมรับว่าแม้จะเร่งให้ผู้ประกอบการผลิตสินค้าเต็มกำลังที่มีอยู่แล้ว แต่ด้วยภาวะที่ไม่ปกติ คือ มีประชาชนซื้อสินค้าจำนวนมากขึ้นหลายเท่า ประกอบกับโรงงานผู้ผลิตสินค้าที่ได้รับผลกระทบน้ำท่วม ดังนั้น จึงต้องนำเข้าสินค้าแก้ไขปัญหาอีกระยะหนึ่ง จนกว่าสถานการณ์น้ำท่วมจะคลี่คลาย เพราะกว่าที่โรงงานที่ได้รับผลกระทบจะตั้งสายการผลิตเหมือนเดิมต้องใช้ระยะเวลา"นายยรรยงกล่าว
นายยรรยงกล่าวอีกว่า ที่ประชุมคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินและบริการ (กกร.) ได้อนุมัติรายการสินค้าควบคุมเพิ่มเติมอีก 16 รายการ ได้แก่ น้ำดื่ม กระดาษชำระ กระดาษเช็ดหน้า ไฟฉาย ถ่านไฟฉาย ยาสีฟัน แปรงสีฟัน ทราย ทรายบรรจุถุง อิฐบล็อก เสื้อชูชีพ เรือพลาสติกขนาดเล็ก รองเท้าบู๊ตยาง เครื่องนอน ถังน้ำ เครื่องสูบน้ำ ผลิตภัณฑ์ยาป้องกันน้ำกัดเท้า และเทียนไข เพิ่มเติมจากรายการสินค้าและบริการควบคุมที่มีอยู่เดิม 41 รายการ รวมเป็น 57 รายการ เพื่อใช้มาตรการกฎหมายในการเข้าไปกำกับดูแลสินค้าจำเป็นที่เกี่ยวข้องกับภาวะน้ำท่วม ป้องกันการฉวยโอกาสปรับขึ้นราคาและกักตุน โดยรายการสินค้าเหล่านี้ คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้พิจารณาเห็นชอบแล้ว
นายฉัตรชัย ตวงรัตนพันธ์ ที่ปรึกษาสมาคมผู้ค้าปลีกไทย กล่าวว่า ขณะนี้มีสินค้าทั่วไปที่หายไปจากระบบตลาดปกติประมาณ 40% เนื่องจากผลกระทบของน้ำท่วม เช่น คลังสินค้าถูกน้ำท่วม ซึ่งมีประมาณ 1,200 ตู้คอนเทนเนอร์ มูลค่ากว่า 600 ล้านบาท ประกอบกับประชาชนเร่งซื้อสินค้าเพื่อใช้ในช่วงน้ำท่วม ยิ่งทำให้สินค้ามีไม่เพียงพอต่อการจำหน่ายให้กับประชาชน เชื่อว่ามาตรการนำเข้าและเพิ่มจุดกระจายสินค้าจะช่วยบรรเทาผลกระทบสินค้าได้ในระดับหนึ่ง
นายกุฎาธาร นาควิโรจน์ ผู้อำนวยการฝ่ายองค์กรสัมพันธ์ บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารเครือข่ายค้าปลีกบิ๊กซี กล่าวว่า ได้ยื่นเรื่องไปทางหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น องค์การอาหารและยา (อย.) รวมทั้งขั้นตอนต่างๆ จากศุลกากร เพื่อขออนุญาตนำเข้าสินค้าจำเป็นตามที่รัฐบาลได้อนุมัติมา เพื่อความสะดวกในการนำเข้าสินค้าให้รวดเร็วขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการผู้บริโภคในขณะนี้ โดยรับประกันคุณภาพและราคาสินค้าที่ไม่แตกต่างกันมากนัก เมื่อเทียบกับสินค้าอุปโภคบริโภคแบรนด์เนมทั่วไปที่ทำตลาดในไทย
ทั้งนี้ บิ๊กซีได้เตรียมแผนนำเข้าสินค้าจำเป็นรายการต่างๆ เช่น น้ำดื่ม, ปลากระป๋อง,ไข่ไก่ จากผู้ผลิตในต่างประเทศ โดยกลุ่มน้ำดื่ม ได้เจรจากับผู้ผลิตน้ำดื่มแบรนด์ “ซีมาสเตอร์” จากประเทศมาเลเซีย ส่วนอาหารกระป๋องมีแผนนำเข้าจากประเทศเวียดนาม เป็นต้น
ส่วนการใช้ศูนย์กระจายสินค้า (ดีซี) ของบริษัทที่ดอนเมือง ได้เริ่มเข้าไปวางระบบพร้อมดำเนินการ ตั้งแต่วันที่ 23 ต.ค.ที่ผ่านมา และพร้อมใช้ดีซีสำรอง อีก 5 แห่งเป็นการชั่วคราว เช่น สำโรง, สุวินทวงศ์ และสุวรรณภูมิ เป็นต้น เพื่อให้เป็นศูนย์กลางกระจายสินค้าไปสาขาต่างๆ ของบิ๊กซี จากปัจจุบันดีซีที่โรงงานนวนครของบิ๊กซีได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมหนักในช่วงที่ผ่านมา และหากสนามบินดอนเมืองเกิดปัญหาน้ำท่วม บิ๊กซีและผู้ประกอบการค้าปลีกรายอื่นๆ ได้เสนอให้ภาครัฐพิจารณาการใช้สนามบินราชการในทำเลอื่นๆ เพื่อรองรับการกระจายสินค้าไปยังภูมิภาค ได้แก่ สุวรรณภูมิ, ตาคลี, สัตหีบ, นครราชสีมา หรือพิษณุโลก เป็นต้น
ด้านนางสาวปริยานุช ณ ตะกั่วทุ่ง ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า แม็คโครยังเปิดให้บริการทุกสาขา ถึงแม้บางสาขาจะอยู่ในพื้นที่ที่น้ำท่วมโดยรอบ แต่ยังสามารถเปิดให้บริการได้ โดยสินค้าที่มีความต้องการมากที่สุดในภาวะน้ำท่วม ได้แก่ น้ำดื่ม ปลากระป๋อง บะหมี่สำเร็จรูป ข้าวสาร ไข่ไก่ ไฟฉาย ถ่านไฟฉาย ถุงขยะ กระดาษชำระ ยากันยุง เครื่องกรองน้ำ และผ้าใบคลุมรถ โดยยอมรับว่าบางรายการสินค้าขาดสต๊อก ซึ่งมีสาเหตุมาจาก 3 ปัจจัยหลัก ปัญหาด้านการขนส่งสินค้าที่ทำได้ล่าช้า เพราะเส้นทางการคมนาคมไปจังหวัดต่างๆ ไม่สะดวก ความต้องการที่สูงกว่าภาวะปกติ เช่น บะหมี่สำเร็จรูป ปลากระป๋อง ข้าวสาร ไข่ไก่ ไฟฉาย และสินค้าบางรายการ ผู้ผลิตหลายรายไม่สามารถผลิตได้ เพราะโรงงานอยู่ในพื้นที่ที่ประสบภัยน้ำท่วมต้องหยุดการผลิต เช่น น้ำดื่ม หรือบางอุตสาหกรรมมีปัญหาไม่สามารถเพิ่มการผลิตได้
“ช่วงนี้ แม็คโครได้ประสานงานอย่างใกล้ชิดกับผู้ผลิตและซัปพลายเออร์ ให้จัดส่งสินค้ามาที่แม็คโครแต่ละสาขาโดยตรง รวมทั้งจัดหาสินค้าจากผู้ผลิตท้องถิ่นมาจำหน่ายเพิ่มเติม โดยแม็คโครมีศูนย์กระจายสินค้าชั่วคราว ที่จ.ชลบุรี และอ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา เพื่อจัดสรรสินค้าตามความต้องการของพื้นที่ให้เหมาะสม ซึ่งเน้นกระจายสินค้าที่จำเป็นไปที่สาขาที่อยู่ในพื้นที่ประสบภัยก่อน เช่น อยุธยา นครสวรรค์ และลพบุรี รวมถึงสาขาในกรุงเทพฯ ด้วย”นางสาวปริยานุชกล่าว