ASTVผู้จัดการรายวัน -“พิชัย”ลั่นน้ำมัน-ก๊าซฯ ไม่ขาดแคลนช่วงน้ำท่วม แต่ยอมรับการขนส่งอาจล่าช้าไปบ้าง เหตุต้องปรับเส้นทางเดินที่อ้อมมากขึ้น โดยเฉพาะภาคเหนือ อีสาน เผยวิกฤตน้ำท่วมไทยต้องเตรียมรับมือเล็งสำรองน้ำมันเพิ่มจาก 18 วันเป็น 29 วัน
นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า จากภาวะน้ำท่วมที่เกิดขึ้นยังไม่ส่งผลกระทบต่อการผลิตน้ำมันและก๊าซแต่อย่างใด โดยยืนยันว่ามีเพียงพอกับความต้องการไม่ขาดแคลนแน่นอน แต่ปัญหาในเรื่องขนส่งยอมรับว่าอาจจะต้องใช้ระยะเวลานานกว่าปกติ เพราะต้องปรับเส้นทางเดินรถใหม่เพื่อให้หลีกเลี่ยงพื้นที่น้ำท่วม โดยเฉพาะภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ
ทั้งนี้ ภาวะน้ำท่วมล่าสุด มีปั๊มน้ำมันที่ปิดให้บริการไปแล้ว 242 แห่ง ปั๊มแอลพีจี 88 แห่ง ปั๊มเอ็นจีวี 60 แห่ง และโรงบรรจุก๊าซ 18 แห่ง ซึ่งกรณีน้ำท่วมขณะนี้ ถือเป็นเหตุการณ์วิกฤตของประเทศ รวมถึงปัจจัยภายนอกประเทศที่อาจเกิดขึ้น ดังนั้น ในอนาคตกระทรวงพลังงานจึงมีแผนเตรียมพร้อมในเรื่องการสำรองพลังงาน เป็นกรณีฉุกเฉินโดยการเพิ่มการสำรองน้ำมันจาก 18 วัน เป็น 29 วัน เพื่อรองรับความต้องการใช้ในช่วงเกิดวิกฤต
“แนวทางการเพิ่มสำรองน้ำมันจะต้องจัดทำแผนการดำเนินงานให้ชัดเจน โดยเฉพาะการสำรองน้ำมันที่เกิดขึ้นจะเป็นหน้าที่ใครระหว่างรัฐกับเอกชน ซึ่งในเบื้องต้นเห็นว่าขณะนี้ยังมีคลังน้ำมันของภาคเอกชนที่ยังสามารถเพิ่มการสำรองได้อีก“นายพิชัยกล่าว
ทั้งนี้ การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วานนี้ (25 ต.ค.) ได้รายงานให้ทราบถึงผลการจัดเก็บรายได้จากปิโตรเลียมในปีงบประมาณ 2554 มีจำนวน1.38 แสนล้านบาท ถือเป็นการจัดเก็บรายได้ที่สูงมาก ดังนั้น เงินจำนวนดังกล่าวสามารถที่จะนำมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนานโยบายต่างๆ เกี่ยวกับพลังงานได้ทั้งระยะสั้นและยาว
นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า จากภาวะน้ำท่วมที่เกิดขึ้นยังไม่ส่งผลกระทบต่อการผลิตน้ำมันและก๊าซแต่อย่างใด โดยยืนยันว่ามีเพียงพอกับความต้องการไม่ขาดแคลนแน่นอน แต่ปัญหาในเรื่องขนส่งยอมรับว่าอาจจะต้องใช้ระยะเวลานานกว่าปกติ เพราะต้องปรับเส้นทางเดินรถใหม่เพื่อให้หลีกเลี่ยงพื้นที่น้ำท่วม โดยเฉพาะภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ
ทั้งนี้ ภาวะน้ำท่วมล่าสุด มีปั๊มน้ำมันที่ปิดให้บริการไปแล้ว 242 แห่ง ปั๊มแอลพีจี 88 แห่ง ปั๊มเอ็นจีวี 60 แห่ง และโรงบรรจุก๊าซ 18 แห่ง ซึ่งกรณีน้ำท่วมขณะนี้ ถือเป็นเหตุการณ์วิกฤตของประเทศ รวมถึงปัจจัยภายนอกประเทศที่อาจเกิดขึ้น ดังนั้น ในอนาคตกระทรวงพลังงานจึงมีแผนเตรียมพร้อมในเรื่องการสำรองพลังงาน เป็นกรณีฉุกเฉินโดยการเพิ่มการสำรองน้ำมันจาก 18 วัน เป็น 29 วัน เพื่อรองรับความต้องการใช้ในช่วงเกิดวิกฤต
“แนวทางการเพิ่มสำรองน้ำมันจะต้องจัดทำแผนการดำเนินงานให้ชัดเจน โดยเฉพาะการสำรองน้ำมันที่เกิดขึ้นจะเป็นหน้าที่ใครระหว่างรัฐกับเอกชน ซึ่งในเบื้องต้นเห็นว่าขณะนี้ยังมีคลังน้ำมันของภาคเอกชนที่ยังสามารถเพิ่มการสำรองได้อีก“นายพิชัยกล่าว
ทั้งนี้ การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วานนี้ (25 ต.ค.) ได้รายงานให้ทราบถึงผลการจัดเก็บรายได้จากปิโตรเลียมในปีงบประมาณ 2554 มีจำนวน1.38 แสนล้านบาท ถือเป็นการจัดเก็บรายได้ที่สูงมาก ดังนั้น เงินจำนวนดังกล่าวสามารถที่จะนำมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนานโยบายต่างๆ เกี่ยวกับพลังงานได้ทั้งระยะสั้นและยาว